ข้ามไปเนื้อหา

ไทยลีก 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไทยลีก ดิวิชั่น 1)
ไทยลีก 2 (Thai League 2)
ก่อตั้ง2540
ประเทศ ไทย
สมาพันธ์เอเอฟซี
จำนวนทีม18 (ตั้งแต่ 2562)
ระดับในพีระมิด2
เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก
ตกชั้นสู่ไทยลีก 3
ถ้วยระดับประเทศไทยเอฟเอคัพ
ถ้วยระดับลีกไทยลีกคัพ
ถ้วยระดับนานาชาติเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก (ผ่านบอลถ้วย)
ทีมชนะเลิศปัจจุบันนครราชสีมา มาสด้า (สมัยที่ 2)
(ฤดูกาล 2566–67)
ชนะเลิศมากที่สุดเพื่อนตำรวจ (4 สมัย)
เว็บไซต์Thai League 2 (T2)
ปัจจุบัน: ฤดูกาล 2567–68

ไทยลีก 2 (อังกฤษ: Thai League 2; ชื่อย่อ T2) เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ ระดับที่สองใน ประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2540 ภายใต้การบริหารของ บริษัท ไทยลีก จำกัด มีสโมสรฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 18 สโมสร ดำเนินการแข่งขัน ในช่วงระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคมของทุกปี โดยแต่ละสโมสรจะแข่งขันแบบพบกันหมด สองนัดเหย้าเยือนรวม 34 นัดต่อสโมสรต่อฤดูกาล รวมทั้งหมด 306 นัดต่อฤดูกาล

ประวัติ

[แก้]

ก่อนหน้าที่จะมีการจัดการแข่งขัน การแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสองของประเทศ คือ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (ถ้วยน้อย) ซึ่งจัดการแข่งขันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 จนถึงปี พ.ศ. 2539 ต่อมาทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีความคิดในการที่จะปรับปรุงระบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศ โดยเริ่มก่อตั้งฟุตบอลลีกสูงสุดขึ้น และมีปรับโครงสร้างลีก โดยได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกระดับที่สองแทน เพื่อรองรับสโมสรที่ตกชั้นจาก ไทยลีก ฤดูกาล 2539 และ สโมสรที่ขึ้นชั้นมาจาก ถ้วย ข. ฤดูกาล 2539 โดยแข่งขันระบบลีกแบบพบกันหมดสองนัด เหย้า-เยือน ซึ่งมีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขันใน ฤดูกาลแรก 10 สโมสร โดยมีการเพลย์ออฟเลื่อนชั้น-ตกชั้น อีกด้วย

การควบรวมลีก

[แก้]

โดยในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการปรับเปลื่ยนระบบการแข่งขัน เพื่อให้สอดคล้องกับการรวมลีกในอนาคต จึงทำให้ ฤดูกาล 2549 เป็นฤดูกาลแรกที่ยกเลิกการเพลย์ออฟเลื่อนชั้น-ตกชั้น โดยจะให้สโมสรชนะเลิศและรองชนะเลิศของการแข่งขัน เลื่อนชั้นไปทำการแข่งขันใน ไทยลีก โดยอัตโนมัติ[1] และสืบเนื่องจากการที่ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดการแข่งขัน ไทยลีกดิวิชัน 2 ขึ้นมาเป็นลีกระดับสาม แทนที่ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ทำให้มีการเปลื่ยนแปลงคือให้สองทีมอันดับสุดท้ายของตาราง (อันดับที่ 11 และ 12) ตกชั้นไปทำการแข่งขันใน ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2550

จนกระทั่งในปีถัดมา (พ.ศ. 2550) จึงมีการควบรวม โปรวินเชียลลีก โดยได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ[2] ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีกทั้งสองเข้าเป็นลีกเดียว โดยให้สิทธิ์สโมสรที่จบอันดับ 4-14 ในการแข่งขัน โปรลีก ฤดูกาล 2549 เข้าร่วมการแข่งขันในลีก โดยรวมกับ สโมสรที่จบอันดับ 3-10 ของ ฤดูกาล 2549 เป็น 24 สโมสร และปรับโครงสร้างลีกให้ลดจำนวนสโมสรที่ทำการแข่งขัน เหลือ 16 สโมสร ใน ฤดูกาล 2551

การปรับโครงสร้างลีกสู่ลีกอาชีพ

[แก้]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ออกระเบียบว่าด้วยความเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นผลให้สมาคมฯ ต้องดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อบริหารลีกและจัดการแข่งขันแทนที่ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดยได้มีการจัดตั้ง บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ขึ้น ส่งผลให้มีการแข่งขันเชิงรูปแบบ การบริหารจัดการให้เป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น รวมทั้งแพร่หลายออกไปยังส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ โดยใน ฤดูกาล 2554 สมาคมฯ ประกาศเพิ่มจำนวนสโมสรที่จะทำการแข่งขัน เป็น 18 สโมสรเป็นตันมาจนถึงปัจจุบัน

โครงสร้างของลีก

[แก้]

การเลื่อนชั้น

[แก้]

ในช่วงจัดการแข่งขันใหม่ๆ จนถึง ฤดูกาล 2548 การเลื่อนชั้นจะมีหลักเกณฑ์คือ สโมสรที่ชนะเลิศจะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปทำการแข่งขันในไทยลีกโดยอัตโนมัติ และจะมีการเพลย์ออฟ เลื่อนชั้น-ตกชั้น ระหว่างสโมสรที่จบอันดับรองชนะเลิศ กับสโมสรอันดับที่ 11 ของไทยลีก (จนถึง ฤดูกาล 2543) ต่อมาใน ฤดูกาล 2545/46 มีการเปลี่ยนแปลง โดยให้สโมสรที่ชนะเลิศ และรองชนะเลิศเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ และการเพลย์ออฟยังคงเดิม แต่ให้สิทธิ์สโมสรที่จบการแข่งขันด้วยอันดับที่ 3 จะต้องไปแข่งเพลย์ออฟ เลื่อนชั้น-ตกชั้น กับอันดับที่ 8 ของไทยลีกจนถึงฤดูกาล 2548

ใน ฤดูกาล 2563 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการแข่งขันใหม่ ซึ่งได้นำระบบการเพลย์ออฟกลับมาใช้อีกครั้งกล่าวคือ ยังคงให้สโมสรชนะเลิศและรองชนะเลิศจะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปทำการแข่งขันใน ไทยลีก โดยอัตโนมัติ แต่จะให้สโมสรที่จบการแข่งขันอันดับที่ 3 - 6 จะต้องมาทำการแข่งขันเพลย์ออฟเพื่อหาสโมสรชนะเลิศเพลย์ออฟเลื่อนชั้นขึ้นไปทำการแข่งขันในไทยลีก ซึ่งแตกต่างจากหลายฤดูกาลก่อนหน้าที่มีการเลื่อนชั้นทั้งหมด 3 สโมสร โดยใช้ตารางอันดับเมื่อจบการแข่งขัน (กล่าวคือ สโมสรชนะเลิศ รองชนะเลิศ และ สโมสรที่จบอันดับ 3 ในการแข่งขันได้เลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ)

การตกชั้น

[แก้]

สำหรับการตกชั้นไปเล่นใน ไทยเนชันนัลลีก ของสโมสรในลีกไทยลีก 2 นั้น ทีมอันดับ 16-18 จะต้องตกชั้นลงมาเล่นใน ไทยเนชันนัลลีก ในขณะเดียวกัน สโมสรชนะเลิศทั้งสายบน และ ล่างของประเทศ รวมไปถึงสโมสรชนะเลิศเพลย์ออฟ (สโมสรรองชนะเลิศของทั้งสองสาย) จะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นมาทำการแข่งขันแทน โดยในสองฤดูกาลแรกของการแข่งขัน ได้จัดให้สโมสรอันดับที่ 10 ตกชั้นโดยอัตโนมัติ และสโมสรอันดับที่ 9 จะต้องไปเพลย์ออฟ เลื่อนชั้น-ตกชั้น กับสโมสรรองชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ของปีนั้นๆ และยกเลิกไปใน ฤดูกาล 2542 ต่อมาเมื่อมีการจัดการแข่งขัน ไทยลีกดิวิชัน 2 ขึ้นในปี พ.ศ. 2550 ทำให้มีการปรับกฎระเบียบ โดยสโมสรที่จบสองอันดับสุดท้ายของ ฤดูกาล 2549 ตกชั้นลงไปเล่นดิวิชั่น 2 ต่อมาเมื่อมีการปรับโครงสร้างลีก โดยใน ฤดูกาล 2550 กำหนดให้สโมสรที่จบอันดับที่ 8-12 ของสาย A และ B ตกชั้นไปทำการแข่งขันดิวิชั่น 2 เพื่อปรับโครงสร้างลีกให้ได้ 16 ทีมใน ฤดูกาลถัดไป

สโมสรที่เข้าร่วมไทยลีก 2 (ฤดูกาล 2567–68)

[แก้]
ที่ตั้งของสโมสรจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในการแข่งขันไทยลีก 2 ฤดูกาล 2567–68
สโมสร ที่ตั้ง สนามเหย้า ความจุ อันดับฤดูกาล 2566–67
เกษตรศาสตร์ เอฟซี กรุงเทพมหานคร
(จตุจักร)
สนามกีฬาอินทรีจันทรสถิตย์ 3,275 16
จันทบุรี เอฟซี จันทบุรี สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี 5,000 12
ชลบุรี เอฟซี ชลบุรี ชลบุรี ไดกิ้น สเตเดียม 8,600 14 (ไทยลีก)
ชัยนาท ฮอร์นบิล ชัยนาท เขาพลองสเตเดียม 8,625 14
เชียงใหม่ ยูไนเต็ด เชียงใหม่ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี 25,000 9
ตราด เอฟซี ตราด สนามกีฬากลางจังหวัดตราด 5,000 16 (ไทยลีก)
นครศรี ยูไนเต็ด นครศรีธรรมราช สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช (ชาติตระการโกศล) 5,000 5
บางกอก เอฟซี กรุงเทพมหานคร
(ทุ่งครุ)
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางมด 10,000 1 (ไทยลีก 3)
โปลิศ เทโร เอฟซี กรุงเทพมหานคร (หลักสี่) สนามบุณยะจินดา 3,500 15 (ไทยลีก)
พลังกาญจน์ เอฟซี กาญจนบุรี สนามกีฬาจังหวัดกาญจนบุรี 18,000 13
พัทยา ยูไนเต็ด ชลบุรี สนามกีฬาหนองปรือ 6,000 7
แพร่ ยูไนเต็ด แพร่ ห้วยม้า สเตเดียม 2,500 11
มหาสารคาม เอสบีที เอฟซี มหาสารคาม สนามกีฬากลางจังหวัดมหาสารคาม 3,500 3 (ไทยลีก 3)
ลำปาง เอฟซี ลำปาง สนามกีฬากลางจังหวัดลำปาง(หนองกระทิง) 5,500 8
ศรีสะเกษ ยูไนเต็ด ศรีสะเกษ สนามศรีนครลำดวน 11,200 2 (ไทยลีก 3)
สมุทรปราการ ซิตี้ สมุทรปราการ
(บางพลี)
สนามกีฬาลาดกระบัง 54 5,100 15
สุพรรณบุรี เอฟซี สุพรรณบุรี สนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรี 15,279 10
อยุธยา ยูไนเต็ด พระนครศรีอยุธยา สนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 6,000 6

ทำเนียบสโมสร

[แก้]

ชนะเลิศและเลื่อนชั้น

[แก้]

2540 ถึง 2549

[แก้]
# ฤดูกาล ชนะเลิศ รองชนะเลิศ สโมสรที่เลื่อนชั้น
1 2540 ธนาคารกรุงไทย โอสถสภา ธนาคารกรุงไทย, โอสถสภา
2 2541 ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ อัสสัมชัญ ศรีราชา-สันนิบาต สมุทรปราการ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ
3 2542 ตำรวจ ราชนาวี ตำรวจ, ราชนาวี
4 2543 พนักงานยาสูบ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย พนักงานยาสูบ
5 2544/45 กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ธนาคารทหารไทย กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
6 2545/46 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ราชนาวี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ราชนาวี
7 2547 ทศท คอร์ปอเรชั่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทศท คอร์ปอเรชั่น, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
8 2548 ทหารบก ไทยฮอนด้า ทหารบก, ไทยฮอนด้า
9 2549 ตำรวจ ราชนาวี ตำรวจ, ราชนาวี

2550 ถึง 2562

[แก้]
# ฤดูกาล ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับสาม สโมสรที่เลื่อนชั้น
10 2550 ศุลกากร จุฬาฯ-สินธนา โค้ก-บางพระ ศุลกากร, จุฬาฯ-สินธนา, โค้ก-บางพระ, สมุทรสงคราม
11 2551 เมืองทองฯ ยูไนเต็ด ศรีราชา-สันนิบาต ราชนาวี เมืองทองฯ ยูไนเต็ด, ศรีราชา-สันนิบาต, ราชนาวี
12 2552 เพื่อนตำรวจ ทหารบก ศรีสะเกษ เอฟซี เพื่อนตำรวจ, ทหารบก, ศรีสะเกษ เอฟซี
13 2553 ศรีราชา เอฟซี ขอนแก่น เอฟซี เชียงราย ยูไนเต็ด ศรีราชา เอฟซี, ขอนแก่น เอฟซี, เชียงราย ยูไนเต็ด
14 2554 บุรีรัมย์ เอฟซี ชัยนาท เอฟซี บีบีซียู วัวชน ยูไนเต็ด, ชัยนาท เอฟซี, บีบีซียู
15 2555 ราชบุรี มิตรผล สุพรรณบุรี เอฟซี แบงค็อก ยูไนเต็ด ราชบุรี มิตรผล, สุพรรณบุรี เอฟซี, แบงค็อก ยูไนเต็ด
16 2556 แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด สิงห์ท่าเรือ พีทีที ระยอง แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด, สิงห์ท่าเรือ, พีทีที ระยอง
17 2557 นครราชสีมา มาสด้า กัลฟ์ สระบุรี ราชนาวี นครราชสีมารางวัล, กัลฟ์ สระบุรี, ราชนาวี
18 2558 เพื่อนตำรวจ พัทยา ยูไนเต็ด สุโขทัย เอฟซี พัทยา ยูไนเต็ด, สุโขทัย เอฟซี, บีบีซียู เอฟซี[3]
19 2559 ไทยฮอนด้า ลาดกระบัง อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด การท่าเรือ ไทยฮอนด้า ลาดกระบัง, อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด, การท่าเรือ
20 2560 ชัยนาท ฮอร์นบิล แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล พีที ประจวบ ชัยนาท ฮอร์นบิล, แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล, พีที ประจวบ
21 2561 พีทีที ระยอง ตราด เอฟซี เชียงใหม่ เอฟซี พีทีที ระยอง, ตราด เอฟซี, เชียงใหม่ เอฟซี
22 2562 บีจี ปทุม ยูไนเต็ด โปลิศ เทโร ระยอง เอฟซี บีจี ปทุม ยูไนเต็ด, โปลิศ เทโร, ระยอง เอฟซี

2563 ถึง ปัจจุบัน

[แก้]
# ฤดูกาล ชนะเลิศ รองชนะเลิศ สโมสรที่เข้ารอบเพลย์ออฟ สโมสรที่เลื่อนชั้น
23 2563–64 หนองบัว พิชญ เชียงใหม่ ยูไนเต็ด นครปฐม ยูไนเต็ด, ขอนแก่น ยูไนเต็ด, แพร่ ยูไนเต็ด, ชัยนาท ฮอร์นบิล หนองบัว พิชญ, เชียงใหม่ ยูไนเต็ด, ขอนแก่น ยูไนเต็ด
24 2564–65 ลำพูน วอร์ริเออร์ สุโขทัย ตราด, ลำปาง, ชัยนาท ฮอร์นบิล, แพร่ ยูไนเต็ด ลำพูน วอร์ริเออร์, สุโขทัย, ลำปาง
25 2565–66 นครปฐม ยูไนเต็ด ตราด อุทัยธานี, คัสตอม ยูไนเต็ด, เชียงใหม่ ยูไนเต็ด, สุพรรณบุรี นครปฐม ยูไนเต็ด, ตราด, อุทัยธานี
26 2566–67 นครราชสีมา มาสด้า หนองบัว พิชญ ระยอง, เชียงใหม่, นครศรีฯ ยูไนเต็ด, อยุธยา ยูไนเต็ด นครราชสีมา มาสด้า, หนองบัว พิชญ, ระยอง

รางวัล

[แก้]

ผู้ทำประตูสูงสุดของฤดูกาล

[แก้]
ปี ผู้เล่น สโมสร ประตู
2566–67 บราซิล เดย์วีซง เฟร์นังจิส นครราชสีมา มาสด้า 22
2565–66 บราซิล รีการ์ดู ซังตุส อุทัยธานี 28
2564–65 บราซิล ทาเลส ลิมา ครูซ อุดรธานี (13 ประตู)
ลำพูน วอร์ริเออร์ (9 ประตู)
22
2563–64 บราซิล เปาโล คอนราโด ขอนแก่น ยูไนเต็ด 25
2562 บราซิล ติอาโก ชูลาปา ระยอง 19
2561 บราซิล บารอส ทาเดลี ตราด 18
2560 บราซิล ฌูนาตัน เฟร์ไรรา เรอิส ม.เกษตรศาสตร์ 25
2559 มาซิโดเนียเหนือ ฮริสติยาน คีรอฟสกี ประจวบ 17
2558 บราซิล ฟีลีปี เฟร์ไรรา
ไทย ธนา ชะนะบุตร
สุโขทัย
เพื่อนตำรวจ
25
2557 โกตดิวัวร์ บาโบ มาร์ค แลนดรี อ่างทอง 19
2556 บราซิล เลอังดรู จี โอลีเวย์รา ดา ลุส สิงห์ท่าเรือ 24
2555 อังกฤษ ลี ทัค บางกอก 23
2554 ไทย อดิศักดิ์ ศรีกำปัง
ไทย ภูวดล สุวรรณชาติ
ปตท.ระยอง
ชัยนาท
21
2553 ไทย ชัยณรงค์ ทาทอง จุฬาฯ ยูไนเต็ด 19
2552 ไทย วุฒิพงษ์ เกิดกุล รัตนบัณฑิต 27
2551 ไทย ทนงศักดิ์ พรมดาด
โกตดิวัวร์ มุสซา ซิลลา
ราชวิถี
สุพรรณบุรี
18
2550 ไทย มานะ หลักชุม สุราษฎร์ธานี 12
2549 ไทย อานนท์ สังข์สระน้อย เซ็นทรัล 20
2548 ไทย อานนท์ สังข์สระน้อย เซ็นทรัล 16
2547 ไทย จักรพงษ์ สมบูรณ์ ทหารบก 14
2545/46 ไทย กฤษขจร วงษ์รัตนะ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 15
2544/45 ไทย ชูชีพ ปุจฉาการณ์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 16
2543 ไทย พิพัฒน์ ต้นกันยา
ไทย ไชยา สอนไชยา
แคเมอรูน คาราแมน
ราชประชา
กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
พนักงานยาสูบ
10
2542 ไทย ยอดชาย เดชเลย์ ตำรวจ 15
2541 ไทย ปุณณรัตน์ จงรักษ์ ระยอง-ราชพฤกษ์ 17
2540 แคเมอรูน เบลลี่ เย็บ พนักงานยาสูบ 18

ผู้เล่นยอดเยี่ยม

[แก้]
ปี ผู้เล่น สโมสร
2566–67 บราซิล เดย์วีซง เฟร์นังจิส นครราชสีมา มาสด้า
2565–66

ผู้จัดการทีม/หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม

[แก้]
ปี ผู้ฝึกสอน สโมสร
2566–67 ไทย ธีระศักดิ์ โพธิ์อ้น นครราชสีมา มาสด้า
2565–66

เงินรางวัลและถ้วยรางวัล

[แก้]

เงินรางวัล

[แก้]

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัท ไทยลีก จำกัด เป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัล สำหรับสโมสรฟุตบอลซึ่งได้คะแนนรวม เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลในอันดับต่างๆ ดังต่อไปนี้

อันดับที่ รางวัล
อันดับที่ 1 5,000,000 บาท
อันดับที่ 2 3,000,000 บาท
อันดับที่ 3 1,000,000 บาท
อันดับที่ 4 500,000 บาท
อันดับที่ 5 300,000 บาท
อันดับที่ 6 100,000 บาท
อันดับที่ 7 50,000 บาท

นอกจากนี้ ยังมีเงินบำรุงสโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน และโล่รางวัลสำหรับสโมสรที่มีมารยาทยอดเยี่ยม, ผู้จัดการทีม/หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม, ผู้ทำประตูสูงสุด, นักฟุตบอลเยาวชนผู้มีผลงานโดดเด่น และผู้เล่นยอดเยี่ยมตำแหน่งต่างๆ คือผู้รักษาประตู, กองหลัง, กองกลาง, กองหน้า[4]

ถ้วยรางวัลชนะเลิศ

[แก้]

ถ้วยรางวัลชนะเลิศ เป็นถ้วยเกียรติยศที่ทาง “สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ” และ “ฝ่ายจัดการแข่งขัน” จะมอบให้กับทีมชนะเลิศในวันแข่งขันนัดเหย้าที่เป็นนัดสุดท้ายของทีมชนะเลิศในแต่ละประเภท โดยมอบให้ครองเป็นเกียรตินาน 1 ปีและจะต้องส่งคืนให้กับ บริษัท ไทยลีก จำกัด ก่อนจบฤดูกาลของการแข่งขันปีถัดไปไม่น้อยกว่า 2 เดือน รวมทั้งจะต้องรับผิดชอบต่อการชำรุดหรือสูญหายของถ้วยรางวัลระหว่างที่ครอบครองอยู่ด้วย ทั้งนี้ “สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ” และ “ฝ่ายจัดการแข่งขัน” ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกคืนถ้วยรางวัลชนะเลิศได้ตลอดเวลา

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://web.archive.org/web/20060702011415/http://fat.or.th/download/Division1-2006-Policy.doc ระเบียบการแข่งขันฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 2006 - ส.ฟ.ท.
  2. https://web.archive.org/web/20070202012321if_/http://www.fat.or.th:80/Download/SATMemo.doc บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัปภ์ - เว็บไซต์เก่า ส.ฟ.ท.
  3. https://www.thairath.co.th/content/574898 'ทีมเพื่อนตำรวจ' อดเตะไทยลีก ดันบีบีซียูเสียบแทน - ไทยรัฐออนไลน์
  4. "ประกาศรางวัล และโล่ห์เกีรยติยศ ฟุตบอลสปอนเซอร์ ไทยพรีเมียร์ลีก และลีกดิวิชั่น 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2012-03-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]