ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สโมสรฟุตบอลโอสถสภา)
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ
ฉายาพลังเอ็ม
ก่อตั้งพ.ศ. 2514[1]
(ในนาม สโมสรโอสถสภา)
พ.ศ. 2553
(ในนามสโมสรโอสถสภา เอ็ม 150 - สระบุรี)
พ.ศ. 2559
(ในนามสโมสรซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ)
ยุบ2560 (เป็น จัมปาศรี ยูไนเต็ด)
สนามสนามกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย บางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ
ความจุ4,100 คน
หัวหน้าผู้ฝึกสอนคนสุดท้ายสุขสันต์ คุณสุทธิ์
ฤดูกาลสุดท้าย
2560

อันดับที่ 18 (ตกชั้นจาก ไทยลีก)
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลซุปเปอร์พาวเวอร์ สมุทรปราการ เป็นอดีตสโมสรฟุตบอลในจังหวัดสมุทรปราการ เคยลงเล่นในระดับ ไทยลีก และเคยได้สิทธิ์ทำการแข่งขัน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2544/45 และปี พ.ศ. 2550 ในการแข่งขัน เอเอฟซีคัพ และเป็นทีมที่มีผลการแข่งขันแพ้ต่อเนื่องมากที่สุดในไทยลีกนานถึง 27 นัด เมื่อฤดูกาล 2560[2]

ประวัติสโมสร

[แก้]

เริ่มก่อตั้งสโมสรขึ้นในปี พ.ศ. 2514 ในนาม สโมสรโอสถสภา โดยก่อตั้งพร้อมกับสโมสรกีฬาต่างๆ ของ บริษัท โอสถสภา จำกัด[3] โดยเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของพนักงานของบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยที่ทำงานอยู่ โดยสามารถคว้าแชมป์การแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ควีนสคัพ ได้ 3 ติดต่อกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2547 และชนะเลิศการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ก. ได้ 2 สมัย

ต่อมาสโมสรฟุตบอลโอสถสภาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลโอสถสภา เอ็ม-150 โดยมีผู้สนับสนุนอย่าง เครื่องดื่มเอ็ม-150 เป็นผู้สนับสนุนหลัก ต่อมาทางสโมสรฯก็ได้พยายามสร้างฐานแฟนบอลใหม่ในเขตนอกกรุงเทพมหานคร เช่น ร่วมมือกับทาง อบจ. สระบุรี[4] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2556 และพร้อมกับเปลื่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลโอสถสภา เอ็ม-150 สระบุรี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2557 จึงย้ายสนามมาเล่นใน ราชมังคลากีฬาสถาน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2559 สโมสรได้ย้ายที่ตั้งและสนามเหย้ามาที่ สนามกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย บางพลี[5] และได้ร่วมมือกับทาง อบจ.สมุทรปราการ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทีมอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านบุคลากร และด้านการบริหาร เพื่อยกระดับทีม ให้ก้าวสู่มาตรฐานการแข่งขันฟุตบอลระดับสากล ตามกระแสความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ทางโอสถสภาได้โอนสิทธิ์การทำทีมให้กับทาง บริษัทซุปเปอร์พาวเวอร์และได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลซุปเปอร์พาวเวอร์ สมุทรปราการ โดยทางโอสถสภาจะเป็นเพียงสปอนเซอร์ให้กับทีมเท่านั้น

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ทีมจัมปาศรี ยูไนเต็ด ได้ซื้อสิทธิ์การทำทีมมาจาก ซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ และได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ จังหวัดมหาสารคาม[6] แต่สโมสรไม่ผ่านคลับไลเซนซิ่งจึงไม่สามารถลงเล่นในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2561 ได้

สัญลักษณ์สโมสร

[แก้]

สนามเหย้า

[แก้]

สโมสรฟุตบอลเอ็มพาวเวอร์ สมุทรปราการ มีสนามเหย้าใหม่คือ เอ็มพาวเวอร์สเตเดียม ย้ายมาจาก สนามราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าแทบทั้งฤดูกาล เนื่องจาก สโมสรฟุตบอลสระบุรี ได้เลื่อนชั้นขึ้นมา และตามกฎห้ามทีมในระดับไทยพรีเมียร์ลีกใช้สนามเหย้าร่วมกัน

เอ็มพาวเวอร์สเตเดียม เป็นสนามของการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการ โดยทางโอสถสภาได้ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อทำสนามใหม่ และพัฒนาเมืองสมุทรปราการให้เป็นเมืองกีฬา[7]

หลังจากที่ซุปเปอร์ พาวเวอร์ยุบทีมไป เอ็มพาวเวอร์สเตเดียมก็ได้ถูกใช้งานเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ซิตี้ โดยเปลี่ยนชื่อสนามเป็น “สมุทรปราการสเตเดียม”

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดสุดท้ายของสโมสร

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย ประภาส กอบแก้ว
2 MF ไทย สุรเดช ธงชัย
3 DF ไทย คริสต์มาส สมเป็น
4 MF ไทย ฟาหริด หมาดโสะ
5 DF บัลแกเรีย ลูย์เบน นีโกลอฟ
6 DF ลาว เกศดา สุกสะหวัน
7 MF ไทย กิตติภพ อุปะชาคำ
9 FW ชิลี รัมเซส บุสโตส
11 MF ไทย อานนท์ สันหมาด
15 DF ไทย วันใหม่ เศรษฐนันท์
18 GK ไทย วันชัย สุวรรณอินทร์
19 FW ไทย โชคลาภ นิลแสง
20 DF ไทย อาทิตย์ เอื้อเฟื้อ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
22 DF ไทย ทศพร ชูชิน
25 FW ไทย นลธวัช รักอก
29 FW ไทย อริยพล จันทร์สอน
30 GK ไทย พิริยะ นัยเนตร
33 MF เกาหลีใต้ ลี ค็อน-พิล
35 DF ไทย กฤติกร โพธิ์งาม
36 DF ไทย สามารถ เพชรหนู
39 DF ไทย วศิน ทองสง
44 MF ไทย รามณรงค์ ยอดจันทร์
77 MF ไทย จิระเดช แสงสง่า
80 FW บราซิล มูเรย์รา
89 MF ไทย ธีรกรณ์ สุนทรเวช
99 DF ไทย ธนพล อุดมลาภ

อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอน

[แก้]

ผลงาน

[แก้]

ทีมชุดใหญ่

[แก้]

ทีมชุดเยาวชน

[แก้]

ผลงานที่ดีสุดในระดับเอเชีย

[แก้]

ผลงานในลีก

[แก้]
  • 2541 - ไทยลีก - อันดับ 10
  • 2542 - ไทยลีก - อันดับ 4
  • 2543 - ไทยลีก - อันดับ 8
  • 2544/45 - ไทยลีก - อันดับ 2
  • 2545/46 - ไทยลีก - อันดับ 6
  • 2546/47 - ไทยลีก - อันดับ 3
  • 2547/48 - ไทยลีก - อันดับ 3
  • 2549 - ไทยลีก - อันดับ 2
  • 2550 - ไทยลีก - อันดับ 9
  • 2551 - ไทยลีก - อันดับ 4
  • 2552 - ไทยลีก - อันดับ 5
  • 2553 - ไทยลีก - อันดับ 7
  • 2554 - ไทยลีก - อันดับ 6
  • 2555 - ไทยลีก - อันดับ 5
  • 2556 - ไทยลีก - อันดับ 8
  • 2557 - ไทยลีก - อันดับ 11
  • 2558 - ไทยลีก - อันดับ 11
  • 2559 - ไทยลีก - อันดับ 15
  • 2560 - ไทยลีก - อันดับ 18 (ตกชั้นสู่ไทยลีก 2)

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://web.archive.org/web/20030803202531/http://www.siamsport.com/thaileague/team_osotsapa.html Thai League 2002-03 สโมสรโอสถสภา - สยามกีฬา
  2. Finally a win for Super Power - Bangkok Post
  3. https://web.archive.org/web/20030803202531/http://www.siamsport.com/thaileague/team_osotsapa.html Thai League 2002-03 สโมสรโอสถสภา - สยามกีฬา
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-22. สืบค้นเมื่อ 2017-05-03.
  5. เปิดตำนาน!!พลังเอ็มกับสนามบางพลี หยุดสักทีกับชีวิตพเนจร - SMMSPORT[ลิงก์เสีย]
  6. 9 ปี 4 จังหวัด ตำนานโอสถสภา ย้ายถิ่นสู่สารคาม
  7. ""พลังเอ็ม" เตรียมใช้ "เทพหัสดิน" เป็นรังเหย้าปีหน้า". ผู้จัดการออนไลน์. 7 November 2014. สืบค้นเมื่อ 9 November 2014.[ลิงก์เสีย]
  8. https://web.archive.org/web/20040123004800/http://ofc.osotspa.co.th/ เว็บไซต์เก่าสโมสรโอสถสภา

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]