ข้ามไปเนื้อหา

สุมาเอี๋ยน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุมาเอี๋ยน (ซือหม่า เหยียน)
司馬炎
จักรพรรดิจิ้นอู่ตี้
พระสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนในยุคราชวงศ์ถัง วาดโดยเหยียน ลี่เปิ่น
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ้น
ครองราชย์8 กุมภาพันธ์ 266[a] – 16 พฤษภาคม ค.ศ. 290
ถัดไปจักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้
จีนอ๋อง / อ๋องแห่งจิ้น (晉王 จิ้นหวาง)
ดำรงตำแหน่ง7 กันยายน[1] ค.ศ. 265 – 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266
ก่อนหน้าสุมาเจียว
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก
ดำรงตำแหน่ง7 กันยายน ค.ศ. 265 – 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266
ก่อนหน้าสุมาเจียว
ประสูติค.ศ. 236
สวรรคต16 พฤษภาคม ค.ศ. 290 (53-54 พรรษา)[2]
พระมเหสีหยาง เยี่ยน
หยาง จื่อ
หวาง เยฺวี่ยนจี
พระราชบุตรจักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้
ซือหมา เจี่ยน
ซือหมา เหว่ย์
ซือหมา ยฺหวิ่น
ซือหม่า เยี่ยน
ซือหม่า เสีย
ซือหม่า อี้
ซือหมา อิ่ง
ซือหมา เหยี่ยน
จักรพรรดิจิ้นหฺวายตี้
เจ้าหญิงฉางชาน
เจ้าหญิงผิงหยาง
เจ้าหญิงซินเฟิง
เจ้าหญิงหยางผิง
เจ้าหญิงอู่อาน
เจ้าหญิงฝานชาง
เจ้าหญิงเซียงเฉิง
เจ้าหญิงสิงหยาง
เจ้าหญิงสิงหยาง
เจ้าหญิงอิ่งชฺวาน
เจ้าหญิงกว่างผิง
เจ้าหญิงหลิงโช่ว
พระนามเต็ม
ชื่อสกุล: สุมา (จีน: 司馬; พินอิน: sī mǎ; ซือหม่า)
ชื่อตัว: เอี๋ยน (จีน: ; พินอิน: yán; เหยียน)
ชื่อรอง: อานชื่อ (จีน: 安世; พินอิน: Ānshì)
พระสมัญญานาม
อู่ (จีน: ; พินอิน: ),
มีความหมายว่า: "การยุทธ"
วัดประจำรัชกาล
ชื่อจู่ (จีน: 世祖; พินอิน: shì zǔ)
พระราชบิดาสุมาเจียว
พระราชมารดาหวาง ยฺเหวียนจี

จักรพรรดิจิ้นอู่ตี้ (จีนตัวย่อ: 晋武帝; จีนตัวเต็ม: 晉武帝; พินอิน: Jìn Wǔ Dì; เวด-ไจลส์: Chin Wu-Ti) ชื่อตัว สุมาเอี๋ยน (ค.ศ. 263 - 16 พฤษภาคม ค.ศ. 290[b]) หรือในภาษาจีนกลางว่า ซือหม่า เหยียน (จีน: 司馬炎; พินอิน: Sīmǎ Yán) ชื่อรอง อานชื่อ (จีน: 安世; พินอิน: Ānshì) เป็นหลายปู่ของสุมาอี้ หลานลุงของสุมาสู และบุตรชายของสุมาเจียว สุมาเอี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์จิ้นหลังจากบังคับโจฮวนจักรพรรดิลำดับสุดท้ายของรัฐวุยก๊กให้สละราชบัลลังก์ให้พระองค์ พระองค์ครองราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 266 ถึง ค.ศ. 290 และหลังจากการพิชิตรัฐง่อก๊กในปี ค.ศ. 280 พระองค์ก็ทรงเป็นจักรพรรดิของจีนที่กลับมารวมเป็นหนึ่ง จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนยังทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องความฟุ่มเฟือยและความหมกมุ่นโลกีย์ โดยเฉพาะภายหลังจากการรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่ง มีหลายตำนานที่เล่าขานสมรรถภาพอันเหลือเชื่อของพระองค์ในการทรงมีสัมพันธ์กับสนมนับหมื่นคน

จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนทรงมักถูกมองว่าเป็นผู้มีพระทัยกว้างขวางและมีพระเมตตา แต่ก็ทรงถูกมองว่าเป็นผู้ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายด้วย ความมีพระทัยความกว้างขวางและพระเมตตาของพระองค์นั้นบ่อนทำลายการปกครองของพระองค์เอง เพราะพระองค์ทรงกลายเป็นผู้โอนอ่อนต่อการฉ้อราษฎร์บังหลวงและความสุรุยสุร่ายของตระกูลขุนนาง (世族 ชื่อจู๋ หรือ 士族 ชื่อจู๋, ชนชั้นเจ้าของที่ดินทางการเมืองหรือทางระบบข้าราชการตั้งแต่ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกจนถึงยุคราชวงศ์ถัง) มากเกินไป ซึ่งตระกูลเหล่านี้รีดเอาทรัพย์สินของของราษฎรไป นอกจากนี้ เมื่อจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนก่อตั้งราชวงศ์จิ้นขึ้น พระองค์ทรงวิตกกังวลในเรื่องเสถียรภาพของการปกครอง และทรงเชื่อว่ารัฐก่อนหน้าอย่างวุยก๊กต้องล่มสลายเนื่องจากความผิดพลาดที่มอบอำนาจให้ตระกูลสุมา พระองค์จึงพระราชทานอำนาจอย่างสูงให้กับเหล่าพระปิตุลา พระภาดา และพระโอรสของพระองค์ รวมถึงพระราชทานอำนาจทางการทหารอย่างอิสระด้วย การดำเนินการเช่นนี้กลับส่งผลทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพของราชวงศ์จิ้นตะวันตก เนื่องจากเหล่าอ๋องต่างทำสงความภายในต่อกันและกันที่รู้จักในคำเรียกว่าสงครามแปดอ๋องภายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนไม่นาน และจากนั้น "ห้าชนเผ่า" ก็ก่อการกำเริบขึ้น ซึ่งเป็นโค่นล้มราชวงศ์จิ้นตะวันตก และทำให้ราชวงศ์จิ้นตะวันออกที่สืบทอดอำนาจต่อมาจำต้องย้ายไปภูมิภาคทางฝั่งใต้ของแม่น้ำห้วย (淮河 หฺวายเหอ)

พระประวัติก่อนการก่อตั้งราชวงศ์จิ้น

[แก้]

สุมาเอี๋ยนเกิดในปี ค.ศ. 236 ในฐานะบุตรชายคนโตของสุมาเจียวและภรรยาคือหวาง ยฺเหวียนจี (王元姬) ซึ่งเป็นบุตรสาวของอองซกบัณฑิตลัทธิขงจื๊อ ในช่วงเวลานั้น สุมาเจียวเป็นข้าราชการระดับกลางในราชสำนักของรัฐวุยก๊กและเป็นสมาชิกของตระกูลที่มีเอกสิทธิ์ในฐานะบุตรชายของขุนพลสุมาอี้ หลังสุมาอี้ยึดอำนาจจากผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โจซองในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 ในอุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง สุมาเจียวก็ขึ้นมามีอำนาจในรัฐมากยิ่งขึ้น หลังการเสียชีวิตของสุมาอี้ในเดือนกันยายน ค.ศ. 251 สุมาเจียวขึ้นมาเป็นผู้ช่วยของสุมาสูผู้เป็นพี่ชายและเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คนใหม่ หลังสุมาสูเสียชีวิตในเดือนมีนาคม ค.ศ. 255 สุมาเจียวขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และเป็นผู้กุมอำนาจสูงสุดในราชสำนักวุยก๊ก

สุมาเอี๋ยนเริ่มมีบทบาทสำคัญครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในปี ค.ศ. 260 เมื่อกำลังทหารที่ภักดีต่อสุมาเจียวที่นำโดยกาอุ้นเอาชนะความพยายามของโจมอจักรพรรดิแห่งวุยก๊กที่จะทรงชิงพระราชอำนาจขึ้น แล้วปลงพระชนม์โจมอ ในช่วงเวลานั้น สุมาเอี๋ยนในฐานะขุนพลระดับกลางได้รับมอบหมายจากสุมาเจียวผู้บิดาให้ไปเชิญและถวายการอารักขาโจฮวน (ในเวลานั้นยังมีพระนามว่าเฉา หฺวาง) จักรพรรดิองค์ใหม่ จากเขตศักดินาเดิมของพระองค์มายังนครหลวงลกเอี๋ยง (洛陽 ลั่วหยาง) สุมาเอี๋ยนจึงเดินทางไปเงียบกุ๋น (鄴城 เย่เฉิง; ปัจจุบันคือนครหานตาน มณฑลเหอเป่ย์) เพื่อรับโจฮวน[4] หลังจากสุมาเจียวได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจินก๋ง (晉公 จิ้นกง) หรือก๋งแห่งจิ้นในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 263 จากการพิชิตจ๊กก๊กได้ สุมาเอี๋ยนก็ได้รับการเสนอให้เป็นทายาท แต่ในช่วงเวลานั้น สุมาเจียวลังเลว่าคนใดระหว่างสุมาเอี๋ยนหรือสุมาฮิวที่เป็นน้องชายของสุมาเอี๋ยนที่จะเหมาะสมในการเป็นรัชทายาทมากกว่า เนื่องจากสุมาฮิวถือว่าเป็นผู้มีความสามารถและยังไปเป็นบุตรบุญธรรมของสุมาสูพี่ชายของสุมาเจียวที่ไม่มีบุตรชายสืบสกุลของตน และสุมาเจียวระลึกถึงบทบาทของสุมาสูพี่ชายในการยึดอำนาจให้ตระกูลสุมา จึงเห็นว่าตควรจะคืนอำนาจให้เชื้อสายของพี่ชาย แต่ข้าราชการระดับสูงหลายคนสนับสนุนสุมาเอี๋ยน และสุมาเจียวก็เห็นด้วย หลังจากสุมาเจียวได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจีนอ๋อง (晉王 จิ้นหวาง) หรืออ๋องแห่งจิ้นในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 264 (ซึ่งเป็นการมาถึงขั้นสุดท้ายก่อนการชิงราชบัลลังก์) สุมาเอี๋ยนได้รับการแต่งตั้งเป็นราชทายาทแห่งจิ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 265[5][c]

ในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 265 สุมาเจียวเสียชีวิตโดยยังไม่ได้ชิงราชบัลลังก์วุยก๊ก สุมาเอี๋ยนขึ้นเป็นจีนอ๋องในวันถัดมา ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 สุมาเอี๋ยนบังคับโจฮวนให้สละราชบัลลังก์ ถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐวุยก๊ก สี่วันต่อมาในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2566 สุมาเอี๋ยนสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ้น

ในฐานะจักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ้น

[แก้]

ต้นรัชสมัย: การก่อตั้งระบบการเมืองของราชวงศ์จิ้น

[แก้]

จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนทรงหาทางหลีกเลี่ยงสิ่งที่พระองค์เห็นว่าเป็นจุดอ่อนร้ายแรงของวุยก๊ก นั่นคือการขาดอำนาจของเหล่าเจ้าชาย ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 ทันทีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงแต่งตั้งให้พระปิตุลา พระภาดา พระอนุชา และพระโอรสเป็นอ๋อง อ๋องแต่ละพระองค์มีอำนาจบัญชาการทหารทหารอย่างอิสระและมีอำนาจเต็มในอาณาเขตของตน ระบบนี้แม้ว่าถูกปรับลดลงหลังสงครามแปดอ๋องและการสูญเสียดินแดนทางเหนือของจีน แต่ก็ยังคงอยู่ในราชวงศ์จิ้นตลอดช่วงเวลาที่ราชวงศ์ดำรงอยู่ และถูกนำมาปรับใช้โดยราชวงศ์ใต้ที่มีอำนาจถัดจากราชวงศ์จิ้นด้วย

อีกปัญหาหนึ่งที่จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนทรงเห็นในระบบการเมืองของวุยก๊กคือความเข้มงวดของกฎหมายอาญา พระองค์จึงทรงหาทางปฏิรูประบบการลงอาญาให้มีความปรานีมากยิ่งขึ้น แต่ผู้ที่ได้ผลประโยชน์หลักจากการปฏิรูปนี้กลับกลายเป็นชนชั้นสูง เนื่องจากเป็นที่ชัดเจนว่าความปรานีนั้นถูกมอบให้ในลักษณะที่ไม่เท่าเทียม ชนชั้นสูงที่กระทำความผิดมักเพียงถูกตำหนิ ในขณะที่ไม่มีการลดโทษอาญาให้กับสามัญชนอย่างมีนัยสำคัญ เรื่องนี้นำไปสู่การทุจริตใหญ่หลวงและการใช้ชีวิตอย่างสุรุ่ยสุร่ายของชนชั้นสูง ในขณะที่คนยากจนไม่ได้รับการช่วยเหลือจากราชสำนัก ตัวอย่างเช่นในปี ค.ศ. 267 เมื่อข้าราชการระดับสูงหลายคนถูกพบว่ามีความผิดฐานร่วมมือกับนายอำเภอในการยึดที่ดินสาธารณะมาเป็นของตนเอง จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนทรงปฏิเสธที่จะลงโทษข้าราชการระดับสูงเหล่านี้ แต่กลับให้ลงโทษนายอำเภออย่างรุนแรง

จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนทรงเผชิญหน้ากับปัญหาทางการทหาร 2 ประเด็นแทบจะทันทีหลังการขึ้นครองราชย์ ได้แก่การคุกคามอย่างต่อเนื่องจากทัพของง่อก๊กที่เป็นรัฐอริภายใต้การปกครองของจักรพรรดิซุนโฮ และการการก่อกบฏของชนเผ่าในมณฑลฉินโจว (秦州) และเลียงจิ๋ว (涼州 เหลียงโจว) (ทั้งสองมณฑลอยู่ในพื้นที่ของมณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ข้าราชการส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับชนเผ่าเซียนเปย์ (鮮卑), เกี๋ยง (羌 เชียง) และชนเผ่าอื่น ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน รวมถึงชนเผ่าซฺยงหนู (匈奴) ซึ่งตั้งรกรากในบริเวณที่เป็นมณฑลชานซีในปัจจุบันหลังการยุบรัฐของชนเผ่าซฺยงหนูโดยโจโฉในปี ค.ศ. 216 ภายใต้จับตามองของข้าราชการชาวจีน เหล่าข้าราชการต่างเกรงกลัวความสามารถทางการทหารของชนเผ่าเหล่านั้น จึงต่างทูลแนะนำจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนให้ปราบกบฏชนเผ่าเหล่านี้เสียก่อนที่จะพิจารณาเรื่องการพิชิตง่อก๊ก อย่างไรก็ตาม ด้วยการสนับสนุนของขุนพลเอียวเก๋าและองโยยรวมถึงนักยุทธศาสตร์จาง หฺวา (張華) จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนจึงโปรดให้เตรียมการภูมิภาคบริเวณชายแดนด้านใต้และด้านตะวันออกเพื่อเตรียมการทำศึกกับง่อก๊กตลอดช่วงต้นรัชสมัย ขณะเดียวกันก็ทรงส่งขุนพลจำนวนหนึ่งเข้ารบกับชนเผ่า

กลางรัชสมัย: การรวมจักรวรรดิจีนเป็นหนึ่ง

[แก้]

ปลายรัชสมัย: การก่อตัวของภัยพิบัติ

[แก้]

ชื่อศักราช

[แก้]

พระราชวงศ์

[แก้]

บรรพบุรุษ

[แก้]
สุมาหอง (ค.ศ. 149–219)
สุมาอี้ (ค.ศ. 179–251)
สุมาเจียว (ค.ศ. 211–265)
จาง วาง
จาง ชุนหฺวา (ค.ศ. 189–247)
ชานชื่อ ชาวเมืองโห้ลาย
สุมาเอี๋ยน (ค.ศ. 236–290)
อองลอง (เสียชีวิต ค.ศ. 228)
อองซก (ค.ศ. 195–256)
หยางชื่อ ชาวเมืองฮองหลง
หวาง ยฺเหวียนจี (ค.ศ. 217–268)
หยางชื่อ

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. วันปิ่งอิ๋น (丙寅) ของเดือน 12 ของศักราชไท่ฉื่อ (泰始) ปีที่ 1
  2. บทพระราชประวัติสุมาเอี๋ยนในจิ้นชูระบุว่าจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนสวรรคตขณะพระชนมายุ 55 พรรษา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ในวันจี๋โหยว (己酉) ของเดือน 4 ในศักราชไท่ซี (太熙) ปีที่ 1 ในรัชสมัยของพระองค์ เทียบได้กับวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 290 ในปฏิทินกริกอเรียน เมื่อคำนวณแล้วปีประสูติของพระองค์ควรเป็นปี ค.ศ. 263[3]
  3. เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 ถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 265 ในปฏิทินจูเลียน แต่ในจือจื้อทงเจี้ยนเล่มที่ 78 ระบุว่าสุมาเอี๋ยนได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาท (世子 ชื่อจื่อ) ในวันปิ๋งอู่ (丙午) ของเดือน 10 ในศักราชเสียนซี (咸熙) ปีที่ 1 ซึ่งเทียบได้กับวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 264 ในปฏิทินจูเลียน

อ้างอิง

[แก้]

  1. SGZ has: "On the day renchen (September 7), the Crown Prince of Jin, Sima Yan, succeeded to his enfeoffment and inherited his rank; he assumed the Presidency of the myriad officials and had gifts and documents of appointments conferred upon him, all in conformity with ancient institutions". Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.

  2. ฝาน เสฺวียนหลิงและคณะ. จิ้นชู, เล่มที่ 3, บทพระราชประวัติจักรพรรดิอู่ตี้
  3. ([太熙元年四月]己酉,帝崩于含章殿,时年五十五...) จิ้นชู เล่มที่ 3.
  4. (使中护军司马炎迎燕王宇之子常道乡公璜于邺,以为明帝嗣。炎,昭之子也。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 77

  5. Jin shu, Chronicle of Wudi states: "In the second year of Xianxi, in the fifth month, Sima Yan was appointed Crown Prince of Jin. Chronicles of the Three Kingdoms, Achilles Fang.

ก่อนหน้า สุมาเอี๋ยน ถัดไป
โจฮวน
วุยก๊ก
จักรพรรดิจีน
(ค.ศ. 266–290)
จักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้