ข้ามไปเนื้อหา

จือจื้อทงเจี้ยน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จือจื้อทงเจี้ยน
ส่วนหนึ่งจากม้วนต้นฉบับของจือจื้อทงเจียน
ผู้ประพันธ์ซือหม่า กวาง และคณะ
ชื่อเรื่องต้นฉบับ資治通鑑
ภาษาภาษาจีนคลาสสิก
หัวเรื่องประวัติศาสตร์จีน
วันที่พิมพ์ค.ศ. 1084
ชนิดสื่อม้วนตำรา
ข้อความจือจื้อทงเจี้ยน ที่ วิกิซอร์ซ
จือจื้อทงเจี้ยน
อักษรจีนตัวเต็ม資治通鑑
อักษรจีนตัวย่อ资治通鉴
ความหมายตามตัวอักษร"กระจกสะท้อนการปกครอง"

จือจื้อทงเจี้ยน (จีน: 資治通鑑; พินอิน: Zīzhì Tōngjiàn; เวด-ไจลส์: Tzŭ1-chih4 t'ung1-chien4; แปลตรงตัว: "กระจกสะท้อนการปกครอง") เป็นงานอ้างอิงบุกเบิกของประวัติศาสตร์นิพนธ์จีน รวบรวมเสร็จในปี ค.ศ. 1084 ในยุคราชวงศ์ซ่งเหนือในรูปแบบบันทึกเหตุการณ์ที่บันทึกประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ 403 ปีก่อนคริสตกาลถึง ค.ศ. 959 ครอบคลุมยุคสมัยของ 16 ราชวงศ์และกินช่วงเวลาเกือบ 1,400 ปี[1] บันทึกหลักจัดเป็น 294 ม้วนตำรา (เจฺวี่ยน เทียบเท่ากับ "บท" ของหนังสือ) มีตัวอักษรจีนทั้งหมดประมาณ 3 ล้านตัว

ในปี ค.ศ. 1065 จักรพรรดิซ่งอิงจงมีรับสั่งให้ขุนนางชื่อซือหม่า กวาง (ค.ศ. 1019–1086) เป็นผู้นำโครงการในการรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ของจีน พระราชทานทุนและอำนาจในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนเองแก่ซือหม่า กวาง ซือหม่า กวางและคณะใช้เวลา 19 ปีในการทำงานจนสำเร็จลุล่วง[1] และนำบันทึกประวัติศาสตร์จือจื้อทงเจี้ยนขึ้นถวายจักรพรรดิซ่งเฉินจง (ผู้ขึ้นครองราชย์ถัดจากจักรพรรดิซ่งอิงจง) ในปี ค.ศ. 1084 จือจื้อทงเจี้ยนได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และมีอิทธิพลอย่างมากต่อทั้งนักวิชาการและในระดับสาธารณชน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Xu 2005, p. 20.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • 通鑑綱目 [Chinese Literature: Tongjian gangmu]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2022.
  • Barenghi, Maddalena (2014). Historiography and narrative construction of the Five Dynasties Period (907-960) in the Zizhi tongjian and its sources (Doctoral dissertation). Ca' Foscari University of Venice.
  • Chan, Ming K. (1975). "The Historiography of the Tzu-chih t'ung-chien: A Survey". Monumenta Serica. 31: 1–38. doi:10.1080/02549948.1974.11731093. JSTOR 40726165.
  • 司马光 (20 มกราคม 2022) [北宋]. 陈光崇; 李昌宪 (บ.ก.). 《资治通鉴》 [Comprehensive Mirror to Aid in Government]. 中国大百科全书 (第三版网络版 ed.). 中国大百科全书出版社.
  • De Crespigny, Rafe (1973). "Universal Histories". ใน Leslie, Donald D.; Mackerras, Colin; Gungwu, Wang (บ.ก.). Essays on the Sources for Chinese History. Columbia: University of South Carolina Press. pp. 64–70.
  • Fang, Achilles (1952). The Chronicle of the Three Kingdoms. Harvard-Yenching Institute Studies VI, Harvard University Press.
  • Needham, Joseph (1954). Science and Civilisation in China. Vol. 1. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-05799-8.
  • Partington, James Riddick (1960). A History of Greek Fire and Gunpowder. Cambridge: W. Heffer & Sons.
  • Tillman, Hoyt (2004). "Textual Liberties and Restraints in Rewriting China's Histories The Case of Ssu-ma Kuang's Re-construction of Chu-ko Liang's Story". ใน Lee, Thomas H.C. (บ.ก.). The New and the Multiple. Hong Kong: Chinese University Press.
  • Wilkinson, Endymion (2000). Chinese History: a manual (Revised and enlarged ed.). Cambridge: Harvard University Asia Center. ISBN 0-674-00249-0.
  • Xiao-bin, Ji (2003). "Mirror for Government: Ssu-ma Kuang's Thought on Politics and Government". ใน Lee, Thomas H.C. (บ.ก.). Tzu-chih t'ung-chien. Hong Kong: Chinese University Press. pp. 1–32.
  • Xu, Elina-Qian (2005). "2.1 Introduction to the Sources on the Pre-dynastic Khitan". Historical development of the pre-dynastic Khitan (Doctoral dissertation). University of Helsinki, Faculty of Arts, Institute for Asian and African Studies.
  • Yang, Bo. Modern Chinese Edition of Zizhi Tongjian. Vol. 1. Taipei: Yuan-Liou Publishing Co. ISBN 957-32-0795-8. The first of a set of 72 volumes.
  • Yap, Joseph P. (2009). Wars With The Xiongnu, A Translation from Zizhi tongjian. Bloomington, IN: AuthorHouse. ISBN 978-1-4490-0604-4..
  • Yap, Joseph P. (2016). Zizhi tongjian: Warring States and Qin by Sima Guang Volume 1 to 8 - 403-207 BCE. แปลโดย Yap, Joseph P. North Charleston, SC: CreateSpace. ISBN 978-1-5330-8693-8. With annotations and translation of Yang Kuan's textual research on the Warring States.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]