เตียวกี๋
หน้าตา
เตียวกี๋ (จาง จี้) | |
---|---|
張既 | |
ข้าหลวงมณฑลเลียงจิ๋ว (涼州刺史 เหลียงโจวชื่อฉื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 223 | |
กษัตริย์ | โจผี |
ข้าหลวงมณฑลยงจิ๋ว (雍州刺史 ยงโจวชื่อฉื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 213 – ค.ศ. 220 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
หัวหน้ารัฐบาล | โจโฉ |
เจ้าเมืองเกงเตียว (京兆尹 จิงเจ้าอิ่น) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 211 – ค.ศ. 213 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
หัวหน้ารัฐบาล | โจโฉ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ เขตเกาหลิง นครซีอาน มณฑลฉ่านซี |
เสียชีวิต | ค.ศ. 223[a] |
บุตร |
|
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | เต๋อหรง (德容) |
สมัญญานาม | ซู่โหว (肅侯) |
บรรดาศักดิ์ | ซีเซียงโหว (西鄉侯) |
เตียวกี๋[2] (เสียชีวิต ค.ศ. 223) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า จาง จี้ (จีน: 張既; พินอิน: Zhāng Jì) ชื่อรอง เต๋อหรง (จีน: 德容; พินอิน: Déróng) เป็นขุนนางในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและต้นยุคสามก๊กของจีน ในยุทธการที่ด่านตงก๋วนเมื่อปี ค.ศ. 211 เตียวกี๋ แฮหัวเอี๋ยน และคนอื่น ๆ รักษานครเตียงอั๋นจากการโจมตีของขุนศึกม้าเฉียวและพันธมิตร ตั้งแต่ปี ค.ศ. 213 ถึง ค.ศ. 220 เตียวกี๋ดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงของมณฑลยงจิ๋ว ในปี ค.ศ. 220 หลังยุคราชวงศ์ฮั่นสิ้นสุดลงและยุคสามก๊กเริ่มต้นขึ้น เตียวกี๋รับราชการในรัฐวุยก๊กในตำแหน่งข้าหลวงของมณฑลเลียงจิ๋ว ในปี ค.ศ. 221 เตียวกี๋มีผลงานปราบกบฏชนเผ่าหลูฉุ่ยหู (盧水胡) ในเส้นทางเหอซี
เตียวอิบบุตรชายของเตียวกี๋ก็รับราชการเป็นขุนนางของรัฐวุยก๊ก
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ (黃初四年薨。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 15.
- ↑ (โจโฉจึงว่า เรามีชัยชนะครั้งนี้ก็อาศรัยท่านทั้งปวง แล้วปูนบำเหน็จทหารผู้ใหญ่ผู้น้อยโดยความชอบ จึงมอบทหารของม้าเฉียวซึ่งจับได้มาเปนชะเลยนั้นให้แก่แฮหัวเอี๋ยนคุมอยู่รักษาเมืองเตียงอั๋น ให้เตียวกี๋เจ้าเมืองเกงเตียวอยู่ช่วยราชการด้วย) "สามก๊ก ตอนที่ ๔๘". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ June 14, 2023.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซันกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซันกั๋วจื้อจู้).