ข้ามไปเนื้อหา

ภูเขาซีนาย (คัมภีร์ไบเบิล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภูเขาซีนาย (พระคัมภีร์))

ในคำภีร์ไบเบิล ภูเขาซีนาย (อังกฤษ: Mount Sinai; ฮีบรู: הַר סִינַי ‎, Har Sinai) เป็นภูเขาที่พระเจ้าทรงประทานบัญญัติ 10 ประการแก่โมเสส[1] ในหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ภูเขาโฮเรบ โดยทั่วไปแล้ว นักวิชาการถือว่า "ซีนาย" กับ "โฮเรบ" เป็นที่เดียวกัน[2]

ที่ตั้งของภูเขาซีนายในไบเบิลยังคงเป็นที่โต้แย้ง โดยมีการโต้แย้งมากสุดในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19[3] โองการจากคัมภีร์ฮีบรูอธิบายว่ามีการประกาศของพระเจ้า (theophany) ที่ภูเขาซีนาย โดยนักวิชาการส่วนน้อย เช่น ชาลส์ ทิลสโตน เบค (1873) แนะนำว่าอาจแปลตรงตัวเป็นภูเขาไฟ[4]

ภูเขาซีนายถือเป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม[5][6]

ประวัติ

[แก้]
พระเจ้าปรากฏแก่โมเสสที่เขาซีนาย
พระเป็นเจ้าประทานแผ่นศิลาบัญญัติสิบประการแก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย

ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ หนังสืออพยพ ได้กล่าวไว้ว่า ภูเขาแห่งนี้แต่ก่อนชื่อว่า "โฮเรบ" พระเป็นเจ้าได้ปรากฏแก่โมเสสครั้งแรกที่นี่ โดยปรากฏในรูปแบบไฟลุกบนต้นไม้ แต่ไม่ไหม้ โดยตรัสกับโมเสสว่าให้ปลดปล่อยชาวอิสราเอลที่เป็นทาสอยู่ในอียิปต์ หลังจากปลดปล่อยทาสให้เป็นไทได้สำเร็จ พระเป็นเจ้าทรงเรียกโมเสสให้ไปเข้าเฝ้าสี่สิบวันสี่สิบคืนบนภูเขาซีนาย จากนั้นพระเป็นเจ้าทรงประทานแผ่นศิลา ซึ่งบันทึกบัญญัติสิบประการแก่โมเสส

ดูเพิ่ม

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Hoffmeier, J.K. (6 October 2005). Ancient Israel in Sinai: The evidence for the authenticity of the wilderness tradition. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-988260-1.

อ้างอิง

[แก้]
  1. อพยพ 19
  2. Coogan, Michael David. The Old Testament: A Historical and Literary Introduction to the Hebrew Scriptures. Oxford University Press, USA, 2017: pg. 108
  3. George Manginis, Pillar of Fire or Dust? Jabal Mūsā in the Nineteenth Century', Proceedings of the Multidisciplinary Conference on the Sinai Desert; "The years between the 1830s and the 1870s, which mark the highpoint of the Sinai controversy, witnessed the rise of European countries into worldwide economic and political prominence... The 1856 Treaty of Paris ensured better access for Europeans into Ottoman territory and casual visitors collected intelligence alongside antiquities... The peninsula was strategically situated on the sea route from the Mediterranean to India through the Suez Canal which opened to traffic in 1869, a few months after the conclusion of the Ordnance Survey"
  4. James K. Hoffmeier (2005). Ancient Israel in Sinai ISBN 0198035403 p. 131. "Now that Rameses is known to be located at Qantir in the Sharkiya province of the east Delta, this means that Beke's proposed site of ... Hermann Gunkel, Hugo Gressman, Martin Noth and Jean Koenig. They all thought that the biblical descriptions of the theophany at Mt. Sinai described volcanic activity, and since there was no evidence of volcanoes in Sinai, that northern Arabia was the more likely."
  5. Sharīf, J.; Herklots, G. A. (1832). Qanoon-e-Islam: Or, The Customs of the Moosulmans of India; Comprising a Full and Exact Account of Their Various Rites and Ceremonies, from the Moment of Birth Till the Hour of Death. Parbury, Allen, and Company. koh-e-toor.
  6. Abbas, K. A. (1984). The World is My Village: A Novel with an Index. Ajanta Publications.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]