ข้ามไปเนื้อหา

พี-ราเมส

พิกัด: 30°47′56″N 31°50′9″E / 30.79889°N 31.83583°E / 30.79889; 31.83583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พี-ราเมส
รูปสลักส่วนพระบาทของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 2 ที่พี-ราเมส
พี-ราเมสตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
พี-ราเมส
แสดงที่ตั้งภายในประเทศอียิปต์
ที่ตั้งกันติร์, เขตผู้ว่าการอัชชัรกียะฮ์, อียิปต์
ภูมิภาคอียิปต์ล่าง
พิกัด30°47′56″N 31°50′9″E / 30.79889°N 31.83583°E / 30.79889; 31.83583
ประเภทที่อยู่อาศัย
พื้นที่18 km2 (6.9 sq mi)
ความเป็นมา
ผู้สร้างราเมสเซสที่ 2
สร้างศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสต์ศักราช
ละทิ้งประมาณ 1060 ปีก่อนคริสต์ศักราช
สมัยจักรวรรดิอียิปต์จนถึงสมัยระหว่างกลางที่สาม
pr
Z1
ramsss
pr-rꜥmssw[1]
ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์

พี-ราเมส (อังกฤษ: Pi-Ramesses, /pɪərɑːmɛs/; อียิปต์โบราณ: pr-rꜥ-ms-sw แปลว่า "บ้านของราเมสเซส")[2] เป็นเมืองหลวงใหม่ที่สถาปนาขึ้นในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบเก้าโดยฟาโรห์ราเมสเซสที่ 2 (1279–1213 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ที่หมู่บ้านกันติร์ ซึ่งอยู่ใกล้กับโบราณสถานเมืองอะวาริส เมืองพี-ราเมสเป็นสถานที่ของพระราชวังฤดูร้อนในช่วงรัชสมัยฟาโรห์เซติที่ 1 (ประมาณ 1290–1279 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และอาจจะถูกสร้างขึ้นโดยฟาโรห์ราเมสเซสที่ 1 (ประมาณ 1292–1290 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ในช่วงที่พระองค์ทรงเป็นขุนนางในช่วงการปกครองของฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบ

การค้นพบ

[แก้]
แผนที่ของอียิปต์ล่างที่ปรากฏตำแหน่งของเมืองทานิสและอะวาริส ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองพี-ราเมส

ในปี ค.ศ. 1884 ฟลินเดอรส์ เพตรีได้เดินทางมาถึงอียิปต์เพื่อเริ่มการขุดค้น โดยการขุดค้นครั้งแรกของเพตรีอยู่ที่เมืองทานิส ซึ่งเดินทางมาพร้อมกับคนงานจำนวน 170 คน ซึ่งต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1930 ซากปรักหักพังที่เมืองทานิสถูกสำรวจโดยปีแยร์ ม็องแต กองเศษหินจากสมัยรามเสสที่แตกหักจำนวนมากที่เมืองทานิส เป็นหลักฐานให้นักโบราณคดีระบุว่าเป็นเศษหินมาจากเมืองพี-ราเมส แต่ในที่สุดแล้วก็ได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ปรากฏอนุสาวรีย์และจารึกเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นบริเวณดังกล่าว[3]

ในปี ค.ศ. 1960 มันเฟรด เบียตัคทราบได้ว่า เมืองพี-ราเมส ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าตั้งอยู่ที่แม่น้ำสาขาตะวันออกสุดของแม่น้ำไนล์ เบียตัคจึงพยายามทำแผนที่แม่น้ำสาขาทั้งหมดของบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์โบราณอย่างระมัดระวังและพบว่าแม่น้ำสาขาเปลูเซีย ซึ่งอยู่ทางตะวันออกสุดในรัชสมัยของฟาโรห์ราเมสเซส ในขณะที่แม่น้ำสาขาทานิส (เช่น แม่น้ำสาขาที่เมืองทานิสตั้งอยู่) นั้นไม่มีอยู่จริง ดังนั้น การขุดค้นจึงเริ่มขึ้นที่บริเวณที่ค้นพบเครื่องปั้นดินเผาจากสมัยราเมสเซสมากที่สุด ซึ่งก็คือบริเวณเตลล์ อัลดับอะฮ์ และกันติร์ ถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏร่องรอยของที่อยู่อาศัยก่อนหน้านี้ที่ปรากฏให้เห็นบนพื้นผิว แต่ในไม่ช้าการค้นพบก็ระบุว่า เตลล์ อัลดับอะฮ์ เป็นเมืองหลวงอะวาริสของผู้ปกครองฮิกซอส ส่วนหมู่บ้านกันติร์ได้รับการยอมรับว่าเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงพี-ราเมสจากช่วงสมัยราเมสเซส[4] หมู่บ้านกันติร์หรือเมืองพี-ราเมส ตั้งอยู่ห่างออกไปประมาณ 30 กิโลเมตร (19 ไมล์) ไปทางใต้ของเมืองทานิส ส่วนเตลล์ อัลดับอะฮ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองอะวาริส ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของหมู่บ้านกันติร์ ประมาณ 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์)[3]

ในปี ค.ศ. 2017 นักโบราณคดีจากพิพิธภัณฑ์รอยเมอร์และเพลิไซอุสได้ขุดพบรอยเท้าเด็กที่ก้นครก[5] และชิ้นส่วนของผนังทาสี ซึ่งอาจจะเป็นปูนเปียกเฟรสโกที่รอการศึกษาเพิ่มเติม โดยเชื่อกันว่าใช้เป็นของตกแต่งที่สถานที่อย่างพระราชวังหรือวิหาร[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gauthier, Henri (1925). Dictionnaire des Noms Géographiques Contenus dans les Textes Hiéroglyphiques Vol. 2. p. 101.
  2. Tyldesley, Joyce (October 30, 2001). Ramesses: Egypt's Greatest Pharaoh. Penguin. p. 90. ISBN 978-0-14-028097-5.
  3. 3.0 3.1 Miller, James Maxwell; Dearman, J. Andrew; Graham, M. Patrick (2001-01-01). The Land that I Will Show You: Essays on the History and Archaeology of the Ancient Near East in Honor of J. Maxwell Miller (ภาษาอังกฤษ). A&C Black. pp. 264–7. ISBN 9781841272573.
  4. Nile Delta: a review of depositional environments and geological history. Geological Society of London, Special Publications; 1989; v. 41; p. 99-127
  5. "New Discovery Shows Children Have Always Played in the Mud", Ginger Perales. New Historian. February 27, 2017. Retrieved 2 mar 2017
  6. "Children’s footprints and painted murals preserved at site linked to Biblical exodus" เก็บถาวร 2017-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Garry Shaw. The Art Newspaper. February 14, 2017. Retrieved 2 mar 2017