Nepenthes fusca
บทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนี้มีชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีชื่อสามัญเป็นภาษาไทย |
Nepenthes fusca | |
---|---|
หม้อกลางของ N. fusca จาก Crocker Range | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช (Plantae) |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Caryophyllales |
วงศ์: | Nepenthaceae |
สกุล: | Nepenthes |
สปีชีส์: | N. fusca |
ชื่อทวินาม | |
Nepenthes fusca Danser (1928) | |
ชื่อพ้อง | |
|
Nepenthes fusca ( มาจากภาษาละติน: fuscus = น้ำตาลเข้ม, มืด ซึ่งมาจากสีของหม้อ[1]) , หมือมีอีกชื่อหนึ่งว่า Dusky Pitcher-Plant[2] เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถิ่นเดียวของบอร์เนียว พบขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเล 1200-2500 เมตร และในธรรมชาติมักพบบนต้นไม้ใหญ่คล้ายกับกาฝาก แต่เดิมพบในป่าที่ปกคลุมไปด้วยมอสส์ มันเป็นญาติใกล้ชิดกับ N. faizaliana และนักพฤกษศาสตร์บางคนพิจารณาเป็นชนิดเดียวกันกับ N. zakriana
ประวัติทางพฤกษศาสตร์
[แก้]N. fusca ถูกเก็บได้ครั้งแรกโดย เฟรดเดอร์ริก เอ็นเดอร์ต (Frederik Endert) ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1925 จากภูเขาแคมมูล (Kemul) ในกาลีมันตันตะวันออก ที่ความสูง 1500 ม. มันถูกค้นพบระหว่างการสำรวจใจกลางบอร์เนียวโดยสถาบันวิจัยป่าไม้แห่งโบกอร์ (Bogor) (หรือที่รู้จักกันในชื่อบิตเทนซอร์ก (Buitenzorg)) [3] ซึ่งในการสำรวจครั้งนั้นเอ็นเดอร์ตเก็บ N. mollis มาได้ด้วยเหมือนกัน[4][a] ตัวอย่างของ N. fusca ถูกตั้งชื่อว่า Endert 3955 เป็นเพศผู้และเก็บรักษาที่หอพรรณไม้แห่งโบกอร์ ซึ่งเป็นหอพรรณไม้ของสวนพฤกษศาสตร์โบกอร์[5][6] เอ็นเดอร์ตเขียนเกี่ยวกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ในบัญชีรายละเอียดปี ค.ศ. 1927 ของคณะสำรวจไว้[3] ถึงแม้เขาจะระบุบผิดว่าเป็น N. veitchii[5][6]
N. fusca ถูกแจกจงรูปแบบ[b]ในปี ค.ศ. 1928 โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ที่ชื่อ บี.เอช. แดนเซอร์ (B. H. Danser) ในเอกสารสัมนา "The Nepenthaceae of the Netherlands Indies (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์) "[5] แดนเซอร์เขียนเกี่ยวกับ N. fusca ไว้ว่า:[5]
นี้เป็นชนิดใหม่ ร่วมกับ N. Veitchii และ N. stenophylla เป็นญาติใกล้ชิดกับ N. maxima แต่สามารถแบ่งแยกกันได้ชัดเจน ตามที่เอ็นเดอร์ตบันทึกไว้มันเติบโตในป่าบนสันเขาหินแคบๆที่ปกคลุมด้วยฮิวมัส หาได้ไม่ยาก
นักพฤกษศาสตร์ชื่อเจน สเชลาเลอร์ (Jan Schlauer) ได้บันทึกความแตกต่างระหว่างตัวอย่างต้นแบบของ N. fusca และต้นไม้จากซาบะฮ์ที่อ้างเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้[7] ดังต้นไม้ที่แสดงในรูปประกอบในหนังสือ Nepenthes of Mount Kinabalu (หม้อข้าวหม้อแกงลิงจากภูเขากีนาบาลู) ของคุระตะนั้นคือ N. stenophylla (ต่างจาก N. fallax อย่างชัดเจน) [6][c] ส่วนแมตทิว จิบบ์ (Matthew Jebb) ไม่พิจาณาลักษณะที่แตกต่างเพียงพอที่แยกข้อผิดถูกที่เด่นชัดที่ระดับชนิด เขาแนะว่าตัวอย่างต้นแบบประกอบด้วยหม้อกลางและหม้อบนซึ่งตรงข้ามกับรูปแบบที่แท้จริงทั้งสอง ทำให้มันผิดแบบไป[7]
การจัดลำดับชั้นทางอนุกรมวิธานรูปแบบลำต้นที่ไม่แน่นอนนี้โดยมากมาจากข้อเท็จจริงว่า N. fusca นั้นไม่รู้ที่ตั้งแบบฉบับและต้นไม้ที่คล้ายกันนั้นถูกเหมาเอาว่าอยู่ในชนิดนี้[4] แมตทิว จิบบ์และมาร์ติน ชีก (Martin Cheek) พยายามแก้ปัญหาความสับสนนี้ในเอกสารของพวกเขาในปี ค.ศ. 1997 โดยให้ N. fusca นั้นแพร่พันธุ์ไปทั่วและเป็นชนิดที่มีความหลากหลายสูง[8]
ชนิดย่อย
[แก้]ชนิดย่อยสองชนิดของ N. fusca ที่ถูกพรรณาไว้: N. fusca ชนิดย่อย apoensis และ N. fusca ชนิดย่อย kostermansiana ทั้งสองถูกตั้งชื่อโดยเจ.เอช. อดัม (J. H. Adam) และ ซี.ซี. วิลคัก (C. C. Wilcock) และภายหลังตีพิมพ์ลงในเอกสารของจิบบ์และชีกปี ค.ศ. 1997[8] ชื่อทั้งสองถูกเผยแพร่ออกไปโดยปราศจากการแจกแจงที่ดีพอ ทำให้มันถูกพิจารณาเป็นชื่อตั้งไร้คำบรรยาย[6] ชนิดย่อย apoensis ถูกอธิบายรูปแบบบนพื้นฐาน Chai 35939 ตัวอย่างถูกเก็บจากภูเขาอโพ (Apo) [6] สเชลาเลอร์พิจารณาว่าเป็นชื่อพ้องกับ N. fallax[6] N. fusca ชนิดย่อย kostermansiana ถูกคิดว่าเป็นตัวกำหนดชนิดที่ถูกต้อง ตัวอย่างของชนิดย่อยนี้ (Kostermans 21495) ถูกเก็บได้ในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1963 จากแม่น้ำคีลไล (Kelai) , ภูเขาอินจาพา (Njapa) , บเรา (Berau) [6] มันเก็บอยู่ที่หอพรรณไม้แห่งชาติประเทศเนเธอร์แลนด์ในไลเดน (Leiden) [6]
Nepenthes maxima
[แก้]N. maxima หม้อข้าวหม้อแกงลิงพื้นเมืองของซูลาเวซี, นิวกินี, และหมู่เกาะโมลุกกะ เป็นหนึ่งในชนิดที่คิดว่ามีการกระจายตัวทั่วบอร์เนียว ผู้แต่งบางคนเขียนไว้ว่ามันแพร่ไปทั่วบนเกาะ[1] ความสับสนนี้เกิดมาจากความคล้ายคลึงกันของ N. fusca และ N. maxima และจากการติดป้ายผิดของเมล็ดที่เก็บโดยชาร์ลส์ เคอร์ทีส (Charles Curtis) เนื่องจากเคอร์ทีสไม่ละเอียดละออในการบันทึกสถานที่ตั้งของต้นไม้ ถึงแม้แต่เดิมเชื่อว่าเขาเก็บ N. curtisii (ปัจจุบันถูกพิจารณเป็นชื่อพ้องของ N. maxima) มา[9] ในบอร์เนียวนักพฤกษศาสตร์ที่ชื่อชาร์ลส์ คลาร์ก (Charles Clarke) ชี้ว่าเมื่อเขาไปซูลาเวซีในการเดินทางเดียวกัน และพบ N. maxima ที่นั่น[7]
แมตทิว จิบบ์และมาร์ติน ชีกแก้ไขความสับสนนี้ในบทความของพวกเขาในปี ค.ศ. 1997 โดยอ้างถึงหมายเลขของต้นไม้จากบอร์เนียวที่ระบุบว่าเป็น N. maxima ที่จริงนั้นเป็น N. fusca ด้วยวิธีนั้นสามารถแยกรูปแบบก่อนหน้านี้จากเกาะได้[8]
Nepenthes zakriana
[แก้]ปี ค.ศ. 1996, เจ.เอช. อดัม (J. H. Adam) และ ซี.ซี. วิลคัก (C. C. Wilcock) ได้พรรณาถึง Nepenthes curtisii ชนิดย่อย zakriana[10][d] สิบปีต่อมาอดัมและฮาฟิซา เอ. เฮมิด (Hafiza A. Hamid) ได้ยกมันขึ้นเป็นชนิดในชื่อ Nepenthes zakriana [11] เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถิ่นเดียวของรัฐซาบะฮ์, เกาะบอร์เนียว ขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเล 1200 - 1500 เมตร[11]
อดัมและฮาฟิซาเขียนไว้ว่า N. zakriana " แตกต่างจาก Nepenthes fusca โดย เส้นกลางใบนูนเด่นชัด, มีติ่งแหลมยาวบนผิวใต้ฝาหม้อของหม้อล่างและหม้อบน; และตรงกลางส่วนฐานของเส้นกลางใบมีต่อมรูปเล็บ (nail-shaped) ยื่นเป็นหงอน"[11] อย่างไรก็ตาม, บางคนมีข้อสงสัยต่อ N. zakriana ที่จะยกขึ้นเป็นชนิด[12] และใน Pitcher Plants of Borneo (พืชกินแมลงแห่งบอร์เนียว) แต่งโดย แอนเทีย ฟิลลิปซ์ (Anthea Phillipps) , แอนโทนี แลมบ์ (Anthony Lamb) , และชีอัน ลีล์ (Ch'ien Lee) N. zakriana ถูกพิจารณาให้เป็นเพียงความหลากหลายของ N. fusca ในธรรมชาติ[4]
Nepenthes sp. A
[แก้]ในเอกสารของชาร์ลส์ คลาร์กในปี ค.ศ. 1997 ที่ชื่อ Nepenthes of Borneo (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งบอร์เนียว) บัญชีรายชื่อที่ไม่ระบุบอนุกรมวิธาน "Nepenthes sp. A" ที่ถูกบันทึกจากอุทยานแห่งชาติกูนุงมูลูในรัฐซาราวัก[7] มีลักษณะคล้ายกับ N. fusca และอาจจะเป็นชนิดเดียวกัน[7] ถึงแม้ว่าสีของมันจะไม่เหมือนทั่วๆไปของชนิดนี้[13] หม้อของพืชชนิดนี้คล้ายกับที่เจ.เอช. อดัมและซี.ซี. วิลคักพรรณาลักษณะ[14] ของ N. faizaliana[7] แต่ N. faizaliana มีฝาหม้อกลม (ตรงข้ามกับฝาสามเหลี่ยมแคบของ N. fusca และ "Nepenthes sp. A") แสดงว่าทั้งสองชนิดไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน[7] คลาร์กเสนอว่าชนิดนี้อาจเป็น N. fusca ภายใต้ลักษณะโดยรวมของ N. fusca โดยจิบบ์ และชีก แต่ยังคงจัดอยู่ในชนิดที่ไม่ระบุบเพราะเรายังรู้เกี่ยวกับมันยังไม่ดีนัก[7]
ภาพประกอบแรกของ "Nepenthes sp. A" อยู่ในบทความปี ค.ศ. 1988 โดยแอนเทีย ฟิลลิปซ์และแอนโทนี แลมบ์ในส่วนไม่ระบุบชนิด[15]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]N. fusca เป็นไม้เลื้อยไต่ ลำต้นอาจยาวได้ถึง 10 ม.[4] และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 มม. ปล้องเป็นวงกลมเมื่อตัดขวางยาว 7 ซม.[7]
ใบมีก้านใบและมีผิวใบคล้ายหนัง แผ่นใบเป็นรูปไข่กลับถึงรูปรียาว 15 ซม.กว้าง 6 ซม. ปลายแหลมถึงมลและอาจเป็นแบบก้นปิดนิดหน่อย ฐานของแผ่นใบค่อยๆสอบเรียวไปยังก้านใบ ก้านใบ (ยาว ≤4 ซม.) [1]เป็นร่องยาวและมีปีกแคบๆหุ้มรอบลำต้น มีเส้นใบมากกว่า 3 เส้นใบตามยาวที่ปรากฏอยู่ทั้งสองข้างของเส้นกลางใบ[1] ถึงแม้ว่าจะเห็นไม่ชัดเจน มีเส้นใบแบบขนนกจำนวนมาก สายดิ่งยาวประมาณ 5 ซม.[7]
หม้อล่างรูปทรงกระบอกตลอดทั้งหม้อ ปกติสูง 20 ซม.กว้าง 4 ซม.ถึงแม้จะมีตัวอย่างที่สูง 28 ซม.ที่ได้รับการบันทึกไว้[4] ปีกครุยคู่ (กว้าง ≤5 มม.) ยาวตลอดผิวหน้าและชิ้นครุยยาว 10 มม.แต่ละชิ้นห่างกัน 6 มม.[1] มีต่อมอยู่บนผิวด้านในบริเวณส่วนล่างของหม้อ มีขนาดเล็ก มีความหนาแน่น 600 ถึง 650 ต่อตารางเซนติเมตร[5] ปากหม้อวางตัวตามขวางด้านหน้าและยาวขึ้นไปสู่คอที่ด้านหลังที่เพอริสโตมแผ่ราบ (กว้าง ≤12 มม.) มีฟันไม่ชัดเจน (ยาว ≤0.3 มม.) [1] ฝาหม้อรูปไข่แคบและมีสันบนผิวล่าง เดือยเดี่ยวยาว 10 มม.อยู่ใกล้ฐานของฝาปิด[7]
หม้อบนเป็นรูปกรวยแคบทางก้นที่ติดกับสายดิ่งถึงสองในสามของหม้อและกลายเป็นกรวยกว้างในส่วนที่เหลือ มันมีขนาดพอๆกับหม้อล่างทั่วไปวัดได้ 18 ซม. ขนาดใหญ่สุดที่พบ 26 ซม.[4] มีต่อมย่อยอาหารเล็กๆประมาณ 1500 ถึง 2000 ต่อมต่อตารางเซนติเมตร[5] ฝาหม้อเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบปลายโค้งลง[4] ปีกหม้อจะลดรูปเหลือแค่สัน[7]
N. fusca มีช่อดอกขนาดกะทัดรัดแบบช่อกระจะ ก้านช่อดอกยาว 6 ซม.ในขณะที่แกนกลางยาวไม่เกิน 10 ซม. หนึ่งก้านช่อดอกมีดอก 1-2 ดอก ยาว 8 มม. ไม่มีใบประดับ กลีบเลี้ยงเป็นรูปรียาว 4 มม.[7]
มีสิ่งปกคลุมยาวในส่วนที่กำลังเจริญ ขนสีน้ำตาล อย่างไรก็ตามมันจะหายไปในระหว่างการเติบโต ส่วนที่เจริญเต็มที่แล้วมีเพียงขนสีน้ำตาลสั้นๆหร็อมแหร็มปกคลุม[7]
นิเวศวิทยา
[แก้]N. fusca เป็นพืชถิ่นเดียวของบอร์เนียวที่ๆมันมีการกระจายตัวเป็นวงกว้างจากกาลีมันตันกลางถึงตะวันตกเฉียงเหนือของซาบะฮ์[7] มันถูกพบในบรูไน, อินโดนีเซีย(กาลีมันตัน) , และ มาเลเซีย (ซาบะฮ์และรัฐซาราวัก) [16] หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้พบที่ระดับความสูง 1200 ถึง 2500 ม.จากระดับน้ำทะเล[7] อย่างไรก็ตาม บางครั้งมีรายงานว่าพบ N. fusca ที่ระดับความสูง 600 ม.[17] และในซาราวักถูกพบใกล้กับระดับความสูง 300 ม.ในป่าดิบเขา[4]
ส่วนมาก N. fusca เป็นพืชอิงอาศัยคล้ายกาฝากพบในที่ร่มในป่ามอสส์บนความสูงจากพื้น 10 ถึง 15 ม.[4] ด้วยเหตุนี้ทำให้พบมันได้ยากมาก เราจะพบก็แค่เพียงหม้อแห้งๆของมันที่ตกลงมาพบพื้นป่าเท่านั้น[18][17] ในประเด็นนี้ มันสามารถพิจารณาเป็น "ความเท่าเทียมกันทางนิเวศวิทยา" ของ N. bongso จากสุมาตราได้[19] และเป็นการยากมากที่ N. fusca จะขึ้นบนพื้นในที่เปิดโล่งใกล้กับป่าดิบเขา[7] หรือตามถนนตัดไม้[4] บ่อยครั้งมักพบอยู่บริเวณเดียวกันกับ N. fallax, N. reinwardtiana, และ N. tentaculata[20]
หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ถูกพบได้ในหลายๆภูเขาทั่วบอร์เนียว สามารถพบในหลายๆแห่งบนภูเขากีนาบาลู[21][22], รวมถึงแคมบาร์รังก์กอฮ์ (Kambarangoh) , ที่ราบสูงมาเร เพเร (Marai Parai) , แนวเขาฝั่งตะวันออก, และแม่น้ำแบมแบนกอน (Bambangan) ราว 1500 ม.[1] เราสามารถพบมันเติบโตอยู่ข้างถนนไปสู่สำนักงานอุทยานและสถานีไฟฟ้าที่มีถนนตัดผ่านอุทยานเพื่อการซ่อมบำรุง[18] เหล่านี้เป็นที่หนึ่งที่ N. fusca สามารถพบเห็นได้ง่าย[18] ในปี ค.ศ. 1997 ถึง 1998 ปรากฏการณ์เอลนีโญมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ N. fusca ที่ขึ้นริมถนนเหล่านี้ เป็นผลมาจากอากาศร้อนที่รุนแรง ประชากรส่วนใหญ่จึงตายไปจนถึง "ต้นไม้ทั้งหมดถูกทำลายไป"[13] มีแต่ต้นไม้ที่อยู่บริเวณมีร่มเงาที่รอดมาและกลับมาแพร่พันธุ์เพิ่มขึ้นในปีถัดๆมา[13]
มีการพบ N. fusca ในบริเวณภูเขาแทมบูยูกอน (Tambuyukon) [1] เหมือนกัน บนภูเขาทรุสมาดี (Trus Madi) พบที่ความสูง 1800 ม.เติบโตคล้ายกาฝากบนต้น Eleocarpus [23] รูปแบบสีเหลืองพบในภูเขาลุมมาร์กู (Lumarku) ในซาบะฮ์[4] บนภูเขามูลู (Mulu) ในซาราวัก N. fusca พบที่ระดับความสูง 1200 ม. การกระจายพันธุ์ของมันไม่ซ้อนทับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นอีกสองชนิดที่ขึ้นคล้ายกาฝากเช่นกัน คือ: N. vogelii ที่ขึ้นในระดับความสูง 1200 ถึง 1500 ม., และ N. hurrelliana ที่พบในระดับที่สูงกว่า 1500 ม.[4] ที่อื่นๆที่พบเห็นได้ก็มี ภูเขาอาแลบ (Alab) (จุดสูงสุดของเทือกเขาคร็อกเกอร์) และถนนคีมมานิส์ (Kimanis) –คีนนินเกา (Keningau) ที่ตัดผ่านเทือกเขาคร็อกเกอร์[4]
N. fusca ถูกจัดเป็นระดับเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในบัญชีแดงของ IUCN ปี ค.ศ. 2006 บนพื้นฐานการประเมินในปี ค.ศ. 2000[16] ข้อตกลงนี้ถูกประเมินอย่างไม่เป็นทางการโดยชาร์ลส์ คลาร์ก ผู้จัดระดับเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของชนิดบนพื้นฐานของเกณฑ์ IUCN ในปี ค.ศ. 1997 อย่างไรก็ตามคลาร์กบันทึกว่าเมื่อประชากรส่วนใหญ่ของ N. fusca วางตัวอยู่ในเส้นแบ่งเขตของอุทยานแห่งชาติ "มันไม่น่าจะถูกคุกคามในอนาคตตามที่คาดการณ์ไว้"[7] ซึ่งนำไปสู่การพิจารณาซึ่งเขาแนะให้พิจารณาแก้ไขการประเมินจากชนิดพันธุ์ที่มีแผนงานอนุรักษ์รองรับ (Conservation Dependent) เสียใหม่[7] อย่างไรก็ตามมันกลับแตกต่างจากการประเมินโดยศูนย์ติดตามผลการอนุรักษ์ (World Conservation Monitoring Centre) ที่จัดให้ N. fusca เป็น "ไม่ถูกคุกคาม" ซึ่งอยู่ระดับต่ำที่สุด[24]
ญาติใกล้ชิด
[แก้]มีการคาดกันว่า N. fusca มีญาติใกล้ชิดคือ N. fallax, N. hurrelliana, N. platychila, N. stenophylla, และ N. vogelii[4] ส่วน N. mollis ที่ยังเป็นปริศนานั้น ซึ่งผู้แต่งบางคนจัดให้เป็นชนิดเดียวกันกับ N. hurrelliana[25] ก็อาจจะเป็นญาติใกล้ชิดด้วยเหมือนกัน
หม้อล่างของ N. hurrelliana อาจจะแตกต่างแต่หม้อบนของมันกับคล้ายกับ N. fusca หม้อข้าวหม้อแกงลิงของบอร์เนียวมีเพียงสองชนิดเท่านั้นที่มีฝาหม้อเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ หม้อบนของ N. hurrelliana แตกต่างตรงมีปากที่ราบและยกขึ้นสูงที่ด้านหลังและมีขนหยาบแข็งใต้ฝา[4]
N. hurrelliana คล้ายกับรูปแบบของ N. fusca จากทางใต้ของเทือกเขาคร็อกเกอร์ในรัฐซาบะฮ์เป็นพิเศษ โดยมันมีเพอริสโตมกว้าง, ส่วนคอดยาวกว่า, และฝาเป็นรูปสามเหลี่ยมมากกว่าตัวอย่างอื่นๆในชนิด[4] อย่างไรก็ตาม, เพอริสโตมก็ไม่กว้างเท่าใน N. hurrelliana และมันก็ไม่มีสิ่งปกคลุมเหมือนกับ N. hurrelliana ยิ่งกว่านั้น N. hurrelliana ยังแตกต่างในการกระจายตัวของต่อมน้ำต้อยบนผิวล่างของฝา[4]
N. vogelii ที่ถูกเก็บได้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1961 ถูกติดป้ายเป็น N. fusca[4] ในปี ค.ศ. 1969 นักพฤกษศาสตร์ที่ชื่อไซเกะโอะ คุระตะได้ตรวจสอบตัวอย่างนี้และหมายเหตุว่ามันไม่จัดเป็นความผันผวนของ N. fusca[4] แต่กระนั้นตัวอย่างนี้ยังคงไม่ถูกระบุบจนกระทั่งปี ค.ศ. 2002[26] N. vogelii แตกต่างตรงมีหม้อที่เล็กกว่ามากและไม่มีรยางค์ใต้ฝา[26] แถมฝาของ N. vogelii เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้างซึ่งตรงข้ามกับฝาสามเหลี่ยมแคบของ N. fusca[4][17] สีของหม้อเป็นสีครีมสว่างมีจุดสีเข้มที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว[17]
N. faizaliana ก็คล้ายกับ N. fusca มาก ในการพรรณารูปแบบของมัน เจ.เอช. อดัมและซี.ซี. วิลคักแบ่งแยกบนพื้นฐานของโครงสร้างช่อดอก, ขนาดของพื้นที่ต่อมในพื้นผิวภายในของหม้อบน และการเจริญและลักษณะของสิ่งปกคลุม[14][7] แถม N. fusca มีฝาที่แคบมากซึ่งตรงข้ามกับฝารูปกลมของ N. faizaliana[7]
N. platychila สามารถแบ่งแยกจาก N. fusca บนพื้นฐานของเพอริสโตมที่กว้างกว่าและฝาหม้อ โดย N. fusca ไม่มีรยางค์ที่ผิวด้านใต้[4] N. fusca ถูกคิดว่าเป็นญาติใกล้ชิดกับ N. eymae จากซูลาเวซี, และ N. maxima ที่แพร่ไปทั่วในซูลาเวซี, นิวกินี, และหมู่เกาะโมลุกกะ[27]
ลูกผสมทางธรรมชาติ
[แก้]เพราะมันมีการกระจายตัวกว้างตลอดทั้งบอร์เนียว N. fusca จึงมีลูกผสมกับชนิดอื่นเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามลูกผสมที่เหมือน N. fusca เองยากที่จะพบเห็นเพราะมันเจริญเติบโตแบบกาฝาก[4]
N. burbidgeae × N. fusca
[แก้]N. burbidgeae × N. fusca เป็นที่รู้จักกันตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1980 ขณะทำการสำรวจรัฐซาบะฮ์[20]
N. fallax × N. fusca
[แก้]ลูกผสมนี้ถูกพบที่ส่วนลาดด้านตะวันออกของภูเขา Trus Madi ในป่าดิบเขาส่วนล่างที่พบ N. fallax และ N. fusca อยู่ในบริเวณเดียวกัน มันเหมือนกับ N. fallax มากแต่ต่างกันตรงฝาปิดที่เป็นรูปไข่[4] ลูกผสมนี้อาจถูกลงบัญชีเป็น N. fusca × N. stenophylla ถ้า N. fallax และ N. stenophylla ถูกพิจารณาเป็นชนิดเดียวกัน[4]
N. fusca × N. lowii
[แก้]ลูกผสมนี้ดังเดิมถูกระบุบว่าถูกผสมกับ N. chaniana (หรือที่รู้จักกันในชื่อ N. pilosa ในเวลานั้น) [28] โดยชาร์ลส์ คลาร์ก[7] อย่างไรก็ตามแอนเทีย ฟิลลิปซ์, แอนโทนี แลมบ์, และชีอัน ลีล์ กลับแสดงความเห็นที่ผิดกัน ไม่มีสิ่งที่แสดงว่าสืบทอดมาจาก N. fusca อย่างเช่น ฝารูปสามเหลี่ยมและคอยืด[4] เขาเขียนว่าเกิดจาก N. fusca และ N. lowii อยู่ร่วมกันในบริเวณเดียวกัน ที่ซึ่ง N. chaniana หาได้ยาก[4] ชนิดอื่นที่อาจเป็นพ่อแม่ของมันคือ N. stenophylla ก็ไม่พบในบริเวณนั้น[4]
N. fusca × N. lowii ถูกค้นพบโดยร็อบ แคนต์ลีย์ (Rob Cantley) และชาร์ลส์ คลาร์กบนบูกิต บาทู ลาวี (Bukit Batu Lawi) ในรัฐซาราวัก[7] คลาร์กพบลูกผสมนี้ที่มีขนาดใหญ่ในเทือกเขาคร็อกเกอร์ของรัฐซาบะฮ์ในภายหลัง โดยเฉพาะใกล้ยอดเขาอาแลบ[7] หม้อของ N. fusca × N. lowii มีเอวคอดมีสีเขียวถึงม่วงเข้มตลอดทั้งหม้อ[7]
ลูกผสมต่างจาก N. fusca ตรงขนแข็งใต้ฝา ตรงกันข้ามมันมีสิ่งปกคลุมหนาแน่นบนลำต้นและที่ขอบของแผ่นใบ ซึ่งเปรียบเทียบกับต้นและใบของ N. lowii ที่เกลี้ยง มันต่างจาก N. lowii ตรงเพอริสโตมที่เป็นวงกลมเมื่อตัดขวาง ขณะที่หม้อล่างของ N. lowii มีฟันนูนขึ้นมาชัดเจน แต่ของ N. fusca × N. lowii มีไม่ชัดนัก, ต่อมรยางค์ใต้ฝา,[7] ซึ่งสืบทอดลักษณะมาจาก N. fusca
N. fusca × N. lowii มีลักษณะบางส่วนคล้ายกับ N. chaniana × N. veitchii โดยสามารถแยกจากกันได้จากเพอริสโตมโดยตัวหลังมีลักษณะกว้าง, ผาย และมีรูปทรงกระบอกนิดหน่อย ลูกผสมชนิดนี้มีฝารูปไข่เล็กน้อย ไม่มีขนแข็งแบบที่มีใน N. lowii และสิ่งปกคลุมหนาแน่นบริเวณต้นและใบ[7]
N. fusca × N. reinwardtiana
[แก้]มีการคาดกันว่า N. naquiyuddinii เป็นลูกผสมระหว่าง N. fusca และ N. reinwardtiana ซึ่งขึ้นในบริเวณใกล้ๆกับมัน[4] แต่โดยทั่วไปแล้ว มันถูกคิดว่าเป็นชื่อพ้องเฮเทอโรไทปิกของ N. reinwardtiana[12]
N. fusca × N. tentaculata
[แก้]N. fusca × N. tentaculata ถูกค้นพบโดยลินูส กอกูส์ซิงก์ (Linus Gokusing) ใกล้ยอดเขาในภูเขาอาแลบ ในป่าดิบเขาที่ความสูง 1800 ถึง 2000 ม.[4] พบขึ้นกระจายตัวบริเวณเดียวกับพ่อแม่ของมันที่มีอยู่มากมายในบริเวณนั้น[4]
ลูกผสมชนิดอื่น
[แก้]มีลูกผสมของ Nepenthes fusca กับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นที่ถูกบันทึกไว้ดังนี้: N. platychila,[29] N. rajah,[7] และ N. veitchii[7]
หม้อของ N. hurrelliana มีลักษณะอยู่กึ่งกลางระหว่าง N. fusca และ N. veitchii เรื่องนี้นำไปสู่การคาดเดาเรื่องเชื้อสายของหม้อข้าวข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ ซึ่งมีหลายคนคาดเดาว่ามันอาจมีต้นกำเนิดจากลูกผสม[17] อย่างไรก็ตาม N. hurrelliana นั้นถูกแยกออกจากลูกผสมทางธรรมชาติของ N. fusca × N. veitchii และผู้เขียนส่วนมากยกให้มันเป็นชนิดอย่างสมบูรณ์[30][17][4]
การปลูกเลี้ยง
[แก้]มีข้อมูลความต้องการอันน้อยนิดที่เผยแพร่ออกมาของ N. fusca ปี ค.ศ. 2004 ผู้ชำนาญการเพาะเลี้ยง โรเบอร์ต แซกคิลอตโต (Robert Sacilotto) เขียนบทความสำหรับ Carnivorous Plant Newsletter (จดหมายข่าวพืชกินแมลง) ที่รวบรวมความต้องการโดยประมาณของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่สูงหลายชนิดจากประสบการณ์ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1996 ถึง 2001[31]
แซกคิลอตโตพบว่า N. fusca มีความอดทนในสภาวะที่กว้าง ยกเว้นต้นไม้ที่ไม่ได้รับสารฆ่ารา ไม่มีกลุ่มทดสอบไหนมีอัตราการรอดชีวิตน้อยกว่า 75% N. fusca ทนต่ออุณหภูมิในช่วง 10 ถึง 38°C (50 ถึง 100°F) เวลากลางคืนให้ลดอุณหภูมิต่ำกว่า 21°C (70°F) ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเติบโต ต้นไม้ในที่ร่มจะโตช้าและให้หม้อน้อย การทดลองแสดงให้เห็นว่า N. fusca เติบโตได้ดีเมื่อความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในช่วง 65 ถึง 90%[31]
หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ดูเหมือนจะเติบโตได้ดีในเครื่องปลูกที่มีส่วนผสมดังนี้:ก้อนพีทมอสส์ 10%, เพอร์ไลต์ 30%, และอีก 60% ประกอบไปด้วย สแฟกนัม มอสส์ และเปลือกสน เครื่องปลูกควรเป็นกรดเล็กน้อย pH อยู่ระหว่าง 4.5 ถึง 5.0 คุณสมบัติในการนำกระแสไฟฟ้าระหว่าง 10 และ 45 ไมโครซีเมนส์[31]
ความส่องสว่าง 6400–8600 lx (600–800 fc) ดีที่สุดเมื่อต้นไม้โตภายใต้แสงแดด, โคมไอโซเดียม (Sodium vapor) , และโคมเมตทอล ฮาไลด์ (metal halide) อย่างไรก็ตามพื้นที่ตัวอย่างอยู่ภายใต้การผสมของหลอดโกร-ลักซ์ (Gro-Lux) และหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ 5400–7500 lx (500–700 fc) (แม้ว่าการเติบโตจะอยู่ในระดับเดียวกัน) ต้นไม้จะเปลี่ยนรูปแบบเมื่อนำมาใช้แสดงตามที่จัดเหมือนถูกย้อมสี จากใบสีเขียวจะกลายเป็นแดง กระบนหม้อจะเข้มขึ้น[31]
N. fusca ตอบสนองได้ดีในการให้ปุ๋ยเพียงหนึ่งในสี่จากปกติโดยดูได้จากหม้อ มดเป็นแหล่งอาหารที่ได้ผล[31]
ดูเพิ่ม
[แก้]- a.^ ระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคมปี ค.ศ. 1925, เอ็นเดอร์ตได้สำรวจเนินรอบภูเขาแคมมูล, ขึ้นยอดเขา (1,847 ม.) หลายครั้ง, และหมู่บ้านใกล้เคียงของลองก์ มีเฮียงก์ (Long Mehiang) , ลองก์ เคียว (Long Kiau) , และลองก์ เพตทัก (Long Petak) [32] เขาเก็บ N. fusca ได้ในวันที่ 12 ตุลาคม และ N. mollis ในวันที่ 17 ตุลาคม[5]
Folia mediocria breviter petiolata, lamina lanceolata, nervis longitudinalibus utrinque c. 2, vagina caulis 1/2 amplectente ; ascidia rosularum ignota ; ascidia inferiora magnitudine mediocria, parte inferiore anguste ovata, os versus subcylindrica, parte superiore alis 2 fimbriatis ; peristomio in collum elongato, applanato, 4-10 mm lato, costis c. 1/3-2/3 mm distantibus, dentibus c. tam longis quam latis ; operculo anguste ovato, subcordato, facie inferiore appendice lateraliter applanata ; ascidia superiora magnitudine mediocria, infundibuliformia, costis 2 prominentibus ; peristomio in collum elongato, applanato, 3-8 mm lato, costis 1/3-1/4 mm distantibus, dentibus brevissimis ; operculo anguste ovato, subcordato, facie inferiore prope basin appendice lateraliter applanata ; inflorescentia racemis parvus, pedicillis inferioribus c. 8 mm longis, omnibus 1-floris v. partim 2-floris ; indumentum iuventute densissimum, denique passim densum, breve, e pilis patentibus crassis simplicibus v. basi ramosis compositum.
- c.^ บางคนถือเอา N. fallax อยู่ในชุดชื่อพ้องของ N. stenophylla[8][7] ขณะที่บางคนถือว่าเป็นสองชนิดที่ต่างกัน ซึ่งพืชที่อ้างว่าเป็น N. stenophylla ที่จริงอาจจะเป็น N. fallax[33] แทน
- d.^ ชนิดย่อยนี้ได้ชื่อตาม เอ.เอช. แซกรี (A. H. Zakri) ,[11][34] ผู้อำนวยการของ United Nations University Institute of Advanced Studies และ N. curtisii (sensu เจ.เอช. อดัม & วิลคัก) เองก็ถูกพิจารณาเป็นชื่อพ้องเฮเทอโรไทปิก ของ N. stenophylla โดยนักอนุกรมวิธานบางคน[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Kurata, S. 1976. Nepenthes of Mount Kinabalu. Sabah National Parks Publications No. 2, Sabah National Parks Trustees, Kota Kinabalu.
- ↑ Phillipps, A. & A. Lamb 1996. Pitcher-Plants of Borneo. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
- ↑ 3.0 3.1 Endert, F.H. 1927. Botanisch en floristisch verslag. In: D.W. Buijs, H. Witkkamp, F.H. Endert, H.C. Siebers & D.F.K. Bosch. Midden-Oost-Borneo Expeditie 1925. G. Kolff & Co., Weltevreden. (ดัตช์)
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 4.16 4.17 4.18 4.19 4.20 4.21 4.22 4.23 4.24 4.25 4.26 4.27 4.28 4.29 4.30 Phillips, A., A. Lamb & C.C. Lee 2008. Pitcher Plants of Borneo. Second Edition. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 Danser, B.H. 1928. 13. Nepenthes fusca DANS., nova spec.. In: The Nepenthaceae of the Netherlands Indies. Bulletin de Jardin de Botanique, Buitenzorg, Série III, 9 (3–4) : 249–438.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 Schlauer, J. 2006. Nepenthes fusca เก็บถาวร 2011-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Database.
- ↑ 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 7.11 7.12 7.13 7.14 7.15 7.16 7.17 7.18 7.19 7.20 7.21 7.22 7.23 7.24 7.25 7.26 7.27 7.28 7.29 Clarke, C.M. 1997. Nepenthes of Borneo. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Jebb, M.H.P. & M.R. Cheek 1997. A Skeletal Revision of Nepenthes (Nepenthaceae). Blumea 42 (1) : 1–106.
- ↑ 9.0 9.1 Schlauer, J. 2006. Nepenthes curtisii เก็บถาวร 2011-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Database.
- ↑ Adam, J.H. & C.C. Wilcock 1996. Pitcher plants of Mt. Kinabalu in Sabah. The Sarawak Museum Journal 50 (7) : 145–165.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 Adam, J.H. & Hafiza A. Hamid 2006. Pitcher Plants (Nepenthes) Recorded from Keningau-Kimanis Road in Sabah, Malaysia.PDF (2.40 MiB) International Journal of Botany 2 (4) : 431-436. ISSN 1811-9700
- ↑ 12.0 12.1 Rice, B.A. 2006. Do you want to tell me about a species I missed? The Carnivorous Plant FAQ.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 Steiner, H. 2002. Borneo: Its Mountains and Lowlands with their Pitcher Plants. Toihaan Publishing Company, Kota Kinabalu.
- ↑ 14.0 14.1 Adam, J.H. & C.C. Wilcock 1991. A new species of Nepenthes (Nepenthaceae) from Sarawak. Blumea 36 (1) : 123–125.
- ↑ Phillipps, A. & A. Lamb 1988. Pitcher-plants of East Malaysia and Brunei. Nature Malaysiana 13 (4) : 8–27.
- ↑ 16.0 16.1 Schnell, D., P. Catling, G. Folkerts, C. Frost, R. Gardner, et al. 2000. Nepenthes fusca. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Listed as Vulnerable (VU C2 v2.3).
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 Clarke, C.M. & C.C. Lee 2004. Pitcher Plants of Sarawak. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 Clarke, C.M. 2001. A Guide to the Pitcher Plants of Sabah. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
- ↑ Clarke, C.M. 2001. Nepenthes of Sumatra and Peninsular Malaysia. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
- ↑ 20.0 20.1 Lowrie, A. 1983. Sabah Nepenthes Expeditions 1982 & 1983.PDF Carnivorous Plant Newsletter 12 (4) : 88–95.
- ↑ Triplitt, R. 1985. Nepenthes—Color Them Unique.PDF Carnivorous Plant Newsletter 14 (2) : 40–42, 48–49.
- ↑ Malouf, P. 1995. A visit to Kinabalu Park.PDF Carnivorous Plant Newsletter 24 (3) : 64–69.
- ↑ Marabini, J. 1984. A Field Trip to Gunong Trusmadi.PDF (442 KiB) Carnivorous Plant Newsletter 13 (2) : 38–40.
- ↑ Simpson, R.B. 1995. Nepenthes and Conservation. Curtis's Botanical Magazine 12: 111–118.
- ↑ Salmon, B.[R.] 1999. Nepenthes mollis (Nepenthaceae) —Rediscovered?PDF (561 KiB) Carnivorous Plant Newsletter 28 (1) : 24–26.
- ↑ 26.0 26.1 Schuiteman, A. & E.F. de Vogel 2002. Nepenthes vogelii (Nepenthaceae) : a new species from Sarawak. Blumea 47 (3) : 537–540.
- ↑ D'Amato, P. 1993. Nepenthes eymai.PDF Carnivorous Plant Newsletter 22 (1–2) : 21.
- ↑ Clarke, C.M., C.C. Lee & S. McPherson 2006. Nepenthes chaniana (Nepenthaceae) , a new species from north-western Borneo. Sabah Parks Journal 7: 53–66.
- ↑ Lee, C.C. 2002. Nepenthes platychila (Nepenthaceae) , a New Species of Pitcher Plant from Sarawak, Borneo. Gardens Bulletin Singapore 54: 257–261.
- ↑ Cheek, M., M. Jebb, C.C. Lee, A. Lamb & A. Phillipps. 2003. Nepenthes hurrelliana (Nepenthaceae) , a New Species of Pitcher Plant from Borneo. Sabah Parks Nature Journal 6: 117–124.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 31.3 31.4 31.5 Sacilotto, R. 2004. Experiments with highland Nepenthes seedlings: A Summary of Measured Tolerances. Carnivorous Plant Newsletter 33 (1) : 26–31.
- ↑ van Steenis-Kruseman, M.J., et al. 2006. Cyclopaedia of Malesian Collectors: Frederik Hendrik Endert. Nationaal Herbarium Nederland.
- ↑ Schlauer, J. 2006. Nepenthes fallax เก็บถาวร 2011-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Database.
- ↑ "UNU/IAS: A. H. Zakri". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-10. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04.
- Sacilotto, R. 2004. Experiments with highland Nepenthes seedlings: A Summary of Measured Tolerances. Carnivorous Plant Newsletter 33 (1) : 26–31.
- Schnell, D., Catling, P., Folkerts, G., Frost, C., Gardner, R., et al. (2000). Nepenthes fusca. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Listed as Vulnerable (VU C2 v2.3)