ข้ามไปเนื้อหา

ความส่องสว่าง (ทัศนศาสตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความส่องสว่าง
สัญลักษณ์ทั่วไป
E, Ev
หน่วยเอสไอลักซ์ (lx)
มิติL-2 J

ความส่องสว่าง (illuminance) คือค่าฟลักซ์ส่องสว่างที่ตกกระทบลงบนพื้นที่หน่วยหนึ่ง[1] เป็นปริมาณทางกายภาพที่ใช้ในการวัดแสงที่ส่องสว่างบนพื้นผิวของวัตถุ เป็นหนึ่งในปริมาณทางจิตฟิสิกส์ ที่แสดงถึงปริมาณที่มนุษย์รับรู้ หน่วย SI ที่ใช้คือ ลักซ์ (สัญลักษณ์: lx) หรือลูเมนต่อตารางเมตร (สัญลักษณ์: lm m-2)

คำนิยาม

[แก้]

เมื่อพิจารณาพื้นที่ขนาดเล็ก ΔS บนพื้นผิวของวัตถุ และให้ Φ(ΔS) เป็นฟลักซ์ส่องสว่างที่ตกกระทบบนพื้นที่ขนาดเล็ก ΔS แล้ว ค่าความส่องสว่างนิยามได้ว่าเป็น

คุณสมบัติ

[แก้]
ความส่องสว่าง

ความส่องสว่างเป็นตัวบ่งชี้ว่าวัตถุนั้นสว่างมากน้อยเพียงใด และใช้เพื่อระบุความส่องสว่างของโต๊ะหรือห้อง ดังที่แสดงในรูปด้านขวา หากวัตถุที่ส่องสว่างไม่ตั้งฉากกับลำแสงแต่เอียงเข้าหาวัตถุที่ส่องสว่างก็จะมืด ความแตกต่างระหว่างความส่องสว่างและฟลักซ์ส่องสว่างนั้นคือต้องคำนึงถึงพื้นที่ของวัตถุที่ส่องสว่างหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ถ้าแสงจากหลอดไฟฟ้ามีค่าฟลักซ์ส่องสว่างเดียวกัน หนังสือที่อยู่ห่างออกไปจะมืดกว่าหนังสือที่อยู่ใกล้ นั่นเพราะค่าความส่องสว่างต่ำ ด้วยเหตุนี้จึงใช้หน่วยลักซ์เพื่อระบุปริมาณแสงบนโต๊ะ ในขณะที่ใช้หน่วยแคนเดลากับหลอดไฟที่เป็นแหล่งกำเนิดแสง

ตัวอย่างค่าความส่องสว่าง

[แก้]

เพื่อให้เห็นภาพชัด ค่าความส่องสว่างของสภาพแวดล้อมที่เจอได้ในชีวิตประจำวันอาจแสดงได้ดังตารางนี้

สภาพแวดล้อม ความส่องสว่าง (ลักซ์)
แสงแดดจัด 100,000
ฟ้าครึ้ม 500~6,000
วาดภาพ 600
อ่านหนังสือ 500
เล่นกีฬาตอนกลางคืน 400
ในห้องทำงาน 300
ไฟตามถนน 5
พระจันทร์เต็มดวง 0.2
แสงดาว 0.0003

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Illuminance, 17-21-060". CIE S 017:2020 ILV: International Lighting Vocabulary, 2nd edition. CIE - International Commission on Illumination. 2020. สืบค้นเมื่อ 20 April 2023.