ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย

พิกัด: 19°55′41″N 99°51′50″E / 19.9281502°N 99.8639278°E / 19.9281502; 99.8639278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย
Chiang Rai Municipality School 6
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นท.๖, CRMS6
ประเภทโรงเรียนโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คติพจน์บาลี: นตฺถิ ปัญฺญา สมาอาภา
(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)
ศาสนาพระพุทธศาสนา
สถาปนา10 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ผู้ก่อตั้งนายวันชัย จงสุทธานามณี
สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครเชียงราย
ผู้อำนวยการนายประชวน เขื่อนเพชร
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1–6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
วิทยาเขต
  • โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย แผนกมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย แผนกมัธยมศึกษาตอนต้น
สี
คำขวัญวิชาการเป็นเลิศ ประเสริฐศีลธรรมจรรยา กีฬาเด่นเป็นสง่า ร่วมพัฒนาชุมชน
เพลงมาร์ชเทศบาล 6
เว็บไซต์tesaban6.ac.th

โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย (ย่อ: ท.๖) เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนเทศบาล 6 เป็นโรงเรียนรัฐบาล สังกัดเทศบาลนครเชียงราย และเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษใน อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ภายใต้ความร่วมมือของเทศบาลนครเชียงราย เปิดสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 เฉพาะเขตโรงเรียนฝั่งตะวันตกของถนนเวียงบูรพา (ปัจจุบันเป็นเขตแผนกมัธยมศึกษาตอนต้น) ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย และ ในปี พ.ศ. 2552 ได้ทำการแยกแผนกมัธยมศึกษาตอนปลายออกจากแผนกมัธยมศึกษาตอนต้น โดยย้ายไปฝั่งตรงข้ามที่ เขตแผนกมัธยมศึกษาตอนปลาย ของฝั่งตะวันออกถนนเวียงบูรพา[1]

ประวัติ

[แก้]

เดิมชื่อ โรงเรียนเทศบาล 6 ได้เริ่มเปิดการศึกษาครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2542 ภายใต้นโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษาและเพิ่มพูนศักยภาพทางการเรียนรู้ให้แก่เยาวชนของนายวันชัย จงสุทธนามณี นายกเทศมนตรี และนายทวี ธรรมอดิศัย ปลัดเทศบาลนครเชียงราย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนครั้งแรกจำนวน 10 ล้านบาท จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และสภาเทศบาลนครเชียงราย อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมอีก 72,000,000 บาทและได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่สำรองส่วนราชการจำนวน 34 ไร่เศษ โดยนายวิจารณไชยนันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย หลังจากนั้นได้ทำบุญอาคารเรียนและเปิดโรงเรียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 โดย อุไรวรรณ เทียนทอง อดีตรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน

หลังจากเริ่มเปิดการศึกษาได้ 10 ปี ในปี พ.ศ. 2552 ขยายห้องเรียนโดยย้ายแผนกมัธยมศึกษาตอนปลายไปจัดการเรียนการสอน ณ อาคาร 1 (750 ปี) และ อาคาร 2 (สิงหนวัติ) บริเวณฝั่งตรงข้ามของถนนเวียงบูรพา คือ ฝั่งมัธยมศึกษาตอนปลาย

ระบบการเรียน

[แก้]

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

[แก้]
  • หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์แบบเข้มข้น [2][3][4]
  • หลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษ [2][3][4]

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

[แก้]
  • หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ [4]
  • หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ [2][3][4]
  • หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์แบบเข้มข้น [2][3][4]
  • หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านภาษาอังกฤษเสริมภาษาจีน [2][3][4]

ความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานภายนอก

[แก้]
  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง: ในยุคก่อตั้งสถานศึกษาได้ระยะเวลาสามปี ได้มีโครงการความร่วมมือในการใช้สถานที่โรงเรียนเพื่อจัดเป็นที่ทำการและการเรียนการสอนชั่วคราวของ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จนทางมหาวิทยาลัยได้จัดสร้างอาคารเรียนของตัวเองแล้วเสร็จ และได้มีความร่วมมือจากทางมหาวิทยาลัยมาจนถึงปัจจุบันในการพัฒนาบุครากรครูในการเรียนการสอนและการฝึกอบรมทางด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์
  • มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช: ในปี พ.ศ. 2559 นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย พร้อมด้วยนางอนุรักษ์ บุตรสาร คณะผู้บริหาร และคณะครูโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย เข้าพบ รศ.นพ.อนันต์ มโนมัยพิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อประสานความร่วมมือทางวิชาการ ในการพัฒนาการศึกษาของเทศบาลนครเชียงราย โดยการจัดตั้งหลักสูตรเตรียมนักเรียนเพื่อศึกษาต่อทางด้านแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพขี้น ซึ่งทางมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มี คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ ในการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย

รายนามผู้บริหาร

[แก้]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายสุเนศณ์ บุตรสาร พ.ศ. 2542 - 2556
2 นางอนุรักษ์ บุตรสาร พ.ศ. 2557 - 2558
3 นายประชวน เขื่อนเพชร พ.ศ. 2559 - 2567

อาคารสถานที่

[แก้]

เขตแผนกมัธยมศึกษาตอนปลาย

[แก้]
อาคาร 1 (750 ปี) เป็นอาคารที่ใหญ่ที่สุดในโรงเรียน
  • อาคาร 1 (750 ปี) เป็นอาคารที่ใหญ่ที่สุดในโรงเรียน ห้องเรียนส่วนใหญ่อาคารนี้เป็นห้องเรียนสำหรับนักเรียน หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์แบบเข้มข้น มัธยมศึกษาปีที่ 5-6
    • บริเวณชั้นหนึ่ง เป็นที่ตั้งฝ่ายบริหารงานกิจการหลักต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น ห้องผู้อำนวยการ, ห้องวิชาการ ฯลฯ
    • ชั้นใต้ดิน เป็นโรงจอดรถจักรยานยนต์ สำหรับนักเรียนแผนกมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • อาคาร 2 (หอประชุมพญามังราย) เป็นหอประชุมขนาดใหญ่ในเขตแผนกมัธยมศึกษาตอนปลาย
    • ชั้นบน เป็นสถานที่จัดกิจกรรมในร่มสำคัญต่าง ๆ ของโรงเรียน
    • ชั้นล่าง เป็นโรงอาหาร สำหรับนักเรียนแผนกมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • อาคาร 3 (อาคารอำนวยการ) ตึกการเงินของโรงเรียน และ ชั้นสามเป็นห้องเรียนสาธารณะ
ลานซีเมนต์สนามบาสเกตบอลเกตบอลและสนามฟุตบอล บริเวณหน้าอาคาร 4
  • อาคาร 4 เป็นที่ตั้งห้องเรียนสำหรับนักเรียน หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านภาษาอังกฤษเสริมภาษาจีนและ เป็นที่ตั้งห้องพักครูภาษาต่างประเทศ
  • อาคาร 5 อาคารนี้เป็นห้องเรียนสำหรับนักเรียน หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์แบบเข้มข้น มัธยมศึกษาปีที่ 4
  • อาคาร 6 เป็นอาคารสำหรับนักเรียน หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์
    • ชั้นหนึ่ง เป็นที่ตั้งห้องปฏิบัติการทางชีววิทยาและ ห้องปฏิบัติการทางเคมี
  • อาคาร 7 อาคารนี้เป็นห้องเรียนสำหรับนักเรียน หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • ชั้นหนึ่ง เป็นที่ตั้งห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรมศาสตร์และ เป็นที่ตั้งห้องอาหารสำหรับบุคลากรโรงเรียน
  • ซุ้มพระ ตั้งอยู่บริเวณหน้าอาคาร 1 (750 ปี) เป็นที่ตั้งองค์พระพุทธรูปของโรงเรียนและ เป็นสถานที่พักผ่อนย่อนใจ
  • รูปปั้นพ่อขุน ตั้งอยู่หน้าลานซีเมนต์หันหน้าไปทางทิศตะวันตกของ สนามบาสเกตบอลเกตบอลและสนามฟุตบอล เป็นประติมากรรมพญามังรายของโรงเรียน

เขตแผนกมัธยมศึกษาตอนต้น

[แก้]
บริเวณประตู2 ของแผนกมัธยมศึกษาตอนต้น
  • อาคาร 1 เป็นที่ตั้งห้องเรียนสำหรับนักเรียน หลักสูตรพิเศษภาคภาษาอังกฤษและ เป็นที่ตั้งห้องพักครูภาษาต่างประเทศ
  • อาคาร 2 เป็นที่ตั้งห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา, ห้องปฏิบัติการทางเคมี และ ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์
  • อาคาร 3 เป็นที่ตั้งของห้องสมุด และ เป็นห้องกระจกเพื่อสำหรับการเต้นด้วยตัวเอง
  • อาคาร 4 อาคารนี้เป็นห้องเรียนสำหรับนักเรียน หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์แบบเข้มข้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
  • อาคาร 5 เป็นอาคารสำหรับนักเรียน หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์แบบเข้มข้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
  • อาคาร 6 เป็นที่ตั้งห้องเรียนสำหรับนักเรียน หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์แบบเข้มข้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
  • อาคารเรือนพักจามจุรี เป็นห้องพักชั่วคราวสำหรับแขกหรือนักเรียนของโรงเรียน ที่ต้องทำกิจกรรมในโรงเรียนข้ามคืน
  • อาคารอเนกประสงค์ (หอประชุม) คือ หอประชุมแบบเปิดในเขตแผนกมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นสถานที่จัดกิจกรรมในร่มสำคัญต่างๆของโรงเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและ เป็นสนามวอลเลย์บอล ภายในตัว
  • โรงอาหาร เป็นโรงอาหารสำหรับนักเรียนแผนกมัธยมศึกษาตอนต้น และเป็นที่ตั้งห้องอาหารสำหรับบุคลากรโรงเรียน
  • สระว่ายน้ำ เป็นสระว่ายน้ำแห่งเดียวของโรงเรียน เป็นสถานที่เรียนว่ายน้ำของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1
  • ศูนย์การเรียนรู้ภาษาจีน เป็นห้องเรียนภาษาจีนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

อ้างอิง

[แก้]
  1. ":: ประวัติโรงเรียน – Chiang Rai Municipality School 6". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-04.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 สถาบันส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมถ์
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "ศูนย์สะเต็มศึกษาของ สสวท. โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-22. สืบค้นเมื่อ 2017-04-19.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "ประกาศเทศบาลนครเชียงราย เรื่อง รับสมัครนักเรียนเข้า ศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ โรงเรียนเทศบาล ๖ นครเชียงราย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-22. สืบค้นเมื่อ 2017-04-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

19°55′41″N 99°51′50″E / 19.9281502°N 99.8639278°E / 19.9281502; 99.8639278