ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนศิริมาตย์เทวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนศิริมาตย์เทวี
Sirimart Thevi School
ข้อมูล
ชื่ออื่นศ.ท. (S.T.)
ประเภทโรงเรียนเอกชน
สถาปนา29 ธันวาคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
ผู้ก่อตั้งบาทหลวงเอ็ดมอน แวร์ดิแอร์
ผู้อำนวยการซิสเตอร์ วราภรณ์ ชีวเรืองโรจน์
ระดับปีที่จัดการศึกษาอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3
สี   สีแดง-สีขาว
คำขวัญประพฤติเยี่ยม เรียนดี กีฬาเด่น บำเพ็ญตนรับใช้ผู้อื่น
ต้นไม้ต้นชงโค
เว็บไซต์www.sirimartthevi.ac.th

โรงเรียนศิริมาตย์เทวี (อังกฤษ: Sirimart Thevi School) เป็นเซมินารีและโรงเรียนเอกชนโรมันคาทอลิกในความดูแลของสังฆมณฑลเชียงใหม่ - เชียงราย เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1951 โดยบาทหลวงเอ็ดมอน แวดิแอร์ ชาวเบลเยียม ซึ่งเป็นอธิการโบสถ์แม่พระองค์อุปถัมป์ พาน ในสมัยนั้น

ประวัติ

[แก้]

ประวัติโรงเรียน

[แก้]
  • คุณพ่อแวร์ดิแอร์ อธิการโบสถ์แม่พระองค์อุปถัมป์ ได้ริเริ่มสร้างโรงเรียนแห่งแรกขึ้น ได้รับอนุญาตจากทางการให้เป็นโรงเรียนพิเศษ ใน วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2493 มีนักเรียนรุ่นแรก 7 คน[1]
  • 30 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ทางจังหวัดเชียงรายได้ส่งเรื่องขออนุญาตเปิดโรงเรียนคืน เนื่องจากว่าตามกฎหมายที่ออกใหม่ เจ้าของและผู้จัดการโรงเรียนต้องเป็นคนไทย ดังนั้นคุณพ่อจึงจัดทำเรื่องใหม่ส่งไปอีกครั้ง
  • 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ได้รับอนุญาตเปิดโรงเรียนเป็นทางการชื่อว่า “โรงเรียนสุรารักษ์” (เทวดารักษา) โดยมีนายอำเภอพาน นายกมล สุทธนะ, ศึกษาธิการอำเภอ นายสมัคร สิทธิเลิศ ผู้ใหญ่ทางอำเภอ พ่อค้า ประชาชน และนางสาวอัมพร บุรารักษ์ (ตำแหน่งนางสาวไทยปี พ.ศ. 2493) ได้มาร่วมเป็นเกียรติในการเปิดป้ายชื่อโรงเรียน [1]
  • 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 เปิดเรียนเป็นวันแรก มีนักเรียนทั้งชาย-หญิง ทั้งหมด 82 คน ในจำนวนนี้มีนักเรียนคาทอลิก 37 คน และในภาคเรียนที่สองมีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 97 คน มีคุณครู 3 ท่าน [1]
  • มีนาคม พ.ศ. 2495 (ช่วงปิดเทอม) คุณพ่อแวร์ได้ซื้อโรงเรียนสิทธิศาสตร์ศึกษา เป็นโรงเรียนมัธยมของเอกชน แล้วทำการรื้ออาคารเรียนนำมาปลูกสร้างเป็นโบสถ์ไม้มุงหลังคาด้วยใบตองตึง ฝาวัดเป็นไม้ไผ่ขัดแตะ สร้างวัดใหม่ใกล้ถนนพหลโยธิน
  • พ.ศ. 2596 ได้รวมโรงเรียนทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศิริมาตย์เทวี”
  • พ.ศ. 2503 ได้รับการรับรองวิทยฐานะ มีความเทียบเท่ากับโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนอื่น ๆ
  • พ.ศ. 2504 คุณพ่อคาร์โล ลูซซี่ บาทหลวงหนุ่มไฟแรงจากประเทศอิตาลี ท่านเอาใจใส่ดูแลครู นักเรียน คนงานของโรงเรียนอย่างทั่วถึง สนับสนุนให้ครูไปอบรมเพิ่มเติมในภาคฤดูร้อนเพื่อเลื่อนวิทยาฐานะของตนเอง ท่านได้สร้างอาคารเรียนที่คุณพ่อแวร์ดิแอร์สร้างไม่เสร็จ จึงได้ตึกงามสองชั้น นอกจากนี้ท่านได้รื้อตึกแถวชั้นเดียวออก และได้สร้างตึกสองชั้นอีกสองหลังชื่อ “King” และ “Queen” ส่วนตึกที่สร้างต่อจากคุณพ่อแวร์ดิแอร์ชื่อ “Baby” สร้างโรงอาหารให้มีขนาดกว้างใหญ่พอเพียงแก่จำนวนนักเรียน สร้างห้องสุขาเพิ่มเติม สนามหน้าอาคารเรียนตึกคิงใช้เป็นที่ทำกิจกรรมเคารพธงชาติและให้การอบรมนักเรียนก่อนเข้าเรียน สร้างถังซีเมนต์เก็บน้ำฝนไว้ใช้ตลอดปี ต่อน้ำประปา ซื้อเครื่องดนตรี อุปกรณ์วงดุริยางค์ รับครูสอนดนตรี สนับสนุนให้มีวงโยธวาทิต ซื้อที่ดินจากสัตบุรุษที่มีอาณาเขตติดโรงเรียน 1 รายคือที่ดินของพ่ออุ้ยผง วิญญา ได้เจรจาแลกที่ดินพ่ออุ้ยแก้ว ธรรมพิชัย ทำสนามเด็กเล่นให้กว้างขึ้น พ่ออุ้ยแก้ว ได้เล็งเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่โรงเรียน ท่านจึงยินดีแลกที่ จัดที่ซึ่งสูงลาดขึ้นไปให้เป็นเป็นขั้นบันได้ใช้เป็นอัฒจันทร์ให้แก่นักเรียนเวลามีกิจกรรมกีฬาสี หรือกิจกรรมอื่น ๆ
  • พ.ศ. 2520 คุณพ่อดำรง บุญรติวงศ์ (กังก๋ง) จากเขตมิสซังราชบุรีมาประจำที่โบสถ์พาน ท่านได้สร้าง “ตึกฟาติมา” “ตึกดอมินิก” สร้างสนามวอลเล่ย์บอลใหม่ ทำถนนคอนกรีต เทคอนกรีตสนามบาสเก็ตบอลหน้าตึกคิงส์ สร้างตึกอนุบาล
  • พ.ศ. 2534 คุณพ่อเจษฎา บุญรติวงศ์ ผู้เจริญรอยตามคุณอา (คุณพ่อดำรง บุญรติวงศ์) ได้สร้างหอประชุมร่วมกับศิษย์เก่าไว้ให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • พ.ศ. 2536 คณะอุร์สุลินแห่งประเทศไทยได้รับงานโรงเรียนศิริมาตย์เทวีของมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่ ที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย คณะซิสเตอร์ได้เข้ามาทำการพัฒนาและดูแลโรงเรียนในสมัยนั้น
  • พ.ศ. 2537 คุณพ่อ ธนัย สุวรรณใจ ท่านได้สร้างศาลาทรงไทย 3 หลังงามเด่นเป็นสง่าอยู่หน้าอาคาร King หลังหนึ่งถวายแด่ประกาศกเอลียาห์ หลังหนึ่งถวายโมเสส และอีกหลังถวายแด่พระเยซู
  • พ.ศ. 2542 คุณพ่อปิยะ โรจนมารีวงศ์ บาทหลวงอาวุโส มากด้วยประสบการณ์จากมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่ใจดี พูดตรง พูดจริง ทำจริง รักเด็ก ๆ คุณพ่อเป็นคนเคร่งครัด จริงจัง ท่านบริหารโรงเรียนด้วยความเข้มงวด เคร่งครัดในระเบียบวินัย ติดตามการเรียนการสอนของครูและนักเรียน
  • พ.ศ. 2544 คุณพ่อดุรงฤทธิ์ กระบวนศิริ จากเขตมิสซังเชียงใหม่ อดีตเซมินาเรียนรุ่นเล็กของโบสถ์แม่พระองค์อุปถัมภ์ และเป็นเซมินาเรียนคนแรกของที่นี่ที่ได้รับศีลบวชเป็นบาทหลวง ท่านได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ให้พอเพียงกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น ได้สร้างอาคารเรียนชื่อว่า “ตึกพระแม่มารีย์” เปิดใช้อาคารเรียนเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ชื่อ ศิริมาตย์เทวี

[แก้]

คุณพ่อแวร์ดิแอร์ ได้ขอให้คุณแม่บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ จากคณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน ตั้งชื่อโรงเรียน “ MATER DEI ” (มาแตร์เดอี) เป็นภาษาไทยว่า “ศิริมาตย์เทวี” หมายความว่า พระมารดาพระเจ้า[2]

ทำเนียบผู้บริหาร

[แก้]

ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต

[แก้]
ทำเนียบผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนศิริมาตย์เทวี

ที่ รายนาม เริ่มต้นวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1. บาทหลวง แวร์ดิแอร์ พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2502
2. บาทหลวง เตรสซี่ พ.ศ. 2502 พ.ศ. 2504
3. บาทหลวง คาร์โล ลูซซี่ พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2515
4. บาทหลวง แปร์ลินี พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2518
5. บาทหลวง นิพจน์ เทียนวิหาร พ.ศ. 2519 (3 เดือน)
6. บาทหลวง ดำรง บุญรติวงศ์ (กังก๋ง) พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2529 ดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการโรงเรียน
7. บาทหลวง ดำรัส ลิมาลัย พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2530
8. บาทหลวง ปรีชา พลอยจินดา พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2533 ดำรงจำแหน่ง ผู้จัดการโรงเรียน
9. บาทหลวง เจษฎา บุญรติวงศ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2537 ดำรงจำแหน่ง ผู้จัดการโรงเรียน
10. บาทหลวง ธนัย สุวรรณใจ พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2538
11. บาทหลวง สรุสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธ์ พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2542
12. บาทหลวง ปิยะ โรจนะมารีวงศ์ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2544
13. บาทหลวง ดุรงค์ฤทธิ์ กระบวนศิริ พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2550
14. บาทหลวง เจริญ นันทการ พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2556
15. บาทหลวง ดุรงค์ฤทธิ์ กระบวนศิริ (สมัยที่ 2) พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2558
16. บาทหลวง จินตศักดิ์ ยุชัยสิทธิกุล พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2563
17. บาทหลวง ศักดิ์ชัย บวรเดชภัคดี พ.ศ. 2564 ถึงปัจจุบัน

ผู้บริหาร

[แก้]
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนศิริมาตย์เทวี

ที่ รายชื่อ ตำแหน่ง ปีการศึกษา หมายเหตุ
1. นาย ประกิจ กิจเจริญ ครูใหญ่ พ.ศ. 2493
2. นางสาว ประเทือง เกิดสว่าง ผู้จัดการ / ครูใหญ่ พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2498
3. ซิสเตอร์ สดับ พงศ์ศิริพัฒน์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2498 ถึง พ.ศ. 2501 คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ
ผู้จัดการ/ครูใหญ่ พ.ศ. 2501 ถึง พ.ศ. 2504
4. นาย สมบูรณ์ ขันธปรีชา ผู้จัดการ พ.ศ. 2498 ถึง พ.ศ. 2501
5. นางสาว พิสมัย โลกามิตร ผู้จัดการ พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2505
6. นาย ถวิล (ณัฐ) ทองธรรมชาติ ครูใหญ่ พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2507 ลาออก เพื่อไปศึกษาต่อ
7. ซิสเตอร์ ประพันธ์ สุจิตานันท์ ผู้จัดการ พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2511 คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ
8. นางสาว อรพินท์ เกิดสว่าง (1) ครูใหญ่ พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2511
9. ซิสเตอร์ ทองหล่อ ตระกูลเง็ก ผู้จัดการ / ครูใหญ่ พ.ศ. 2511 คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ
10. นางสาว อรพินท์ เกิดสว่าง (2) ผู้จัดการ / ครูใหญ่ พ.ศ. 2511 ถึง พ.ศ. 2514 ขอลาออกจาก ครูใหญ่ แต่ยังคงเป็น ผู้จัดการ
ผู้จัดการ พ.ศ. 2514 ถึง พ.ศ. 2520
11. นาย ประยูร วิจิตรวงศ์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2514 ถึง พ.ศ. 2519
12. นาย อนวัช พฤฒิพงศ์พิสุทธิ์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2519 ถึง พ.ศ. 2544
13. ซิสเตอร์ อุรษา ทองอำไพ ผู้จัดการ พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2531 คณะภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์
14. ซิสเตอร์ กัญญา คุวินทร์พันธุ์ ผู้จัดการ พ.ศ. 2537 ถึง พ.ศ. 2544 คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน
15. ซิสเตอร์ รัชนี ดีสุดจิต ผู้จัดการ / ครูใหญ่ พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2550 คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน
16. ซิสเตอร์ วันเพ็ญ ไชยเผือก ผู้จัดการ / ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2555 คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
17. บาทหลวง สันติ ยอเปย ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2556 สังฆมณฑลเชียงใหม่
18. บาทหลวง ดุรงค์ฤทธิ์ กระบวนศิริ ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2558 สังฆมณฑลเชียงใหม่
19. ซิสเตอร์ ดร.ชวาลา เวชยันต์ ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2563 คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ
20. ซิสเตอร์ วราภรณ์ ชีวเรืองโรจน์ ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการ 2564 ถึงปัจจุบัน คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ

อาคารเรียน

[แก้]
  • อาคาร King เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา 1-3
  • อาคาร Queen ชั้น 1 เป็นที่ตั้งสำหรับ ห้องพักครู ห้องพยาบาล และห้องผู้บริหาร ชั้น 2 เป็นห้องเรียนสำหรับ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5
  • อาคาร Baby อาคารเรียน แผนกอนุบาล
  • อาคารชั่วคราว ป.5 ป.6 (ชื่อเดิม) เดิม เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5-6 ปัจจุบัน เป็นห้องสาระการเรียนรู้ ทั้ง 8 สาระ
  • ตึกดอมีนิก ซาวีโอ เป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 และ ห้องธนาคารโรงเรียน
  • โรงอาหาร เป็นที่รับประทานอาหารของครู และ นักเรียน ชั้นบน เป็นห้องสมุดแผนก ประถมฯ ส่วนของอาคารนี้รวมถึง ห้องพยาบาลกลาง
  • ห้องดนตรี เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระ ดนตรี-นาฏศิลป์
  • หอประชุม เป็นที่ตั้งของ หอประชุมกลาง ด้านหลังเป็นที่ตั้งของ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ส่วนของหอประชุมด้านทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งของห้อง ศิลปะ และ ห้องพักครู
  • แผนกธุรการ ตั้งอยู่ประตูทางเข้า ด้านทิศเหนือ เป็นที่ตั้งของกลุ่มบริหารงานทั่วไป และแผนกธุรการ
  • อาคาร พระแม่มารีย์ เป็นอาคาร 4 ชั้น ใต้ถุงโล่ง เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนมัธยม ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องศาสนา ห้องแนะแนว

ศิษย์เก่า

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 75 ปี กลุ่มคริสตชน โบสถ์แม่พระองค์อุปถัมป์,http://emaphan.org/index.php/history/75-years?showall=1[ลิงก์เสีย]
  2. สาส์นแสดงความยินดี, ซิสเตอร์อรศรี มนตรี :http://emaphan.org/index.php/san เก็บถาวร 2011-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]