ข้ามไปเนื้อหา

เล่ากี๋ (หลิว ฉี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เล่ากี๋ (หลิว ฉี)
劉琦
ข้าหลวงมณฑลเกงจิ๋ว (荊州刺史)
(ในนาม)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 209
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ก่อนหน้าเล่าจ๋อง (ในฐานะเจ้ามณฑล)
ถัดไปเล่าปี่ (ในฐานะเจ้ามณฑล)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ปรากฏ
เสียชีวิตค.ศ. 209
บุพการี
อาชีพขุนพล, ขุนนาง

เล่ากี๋ (เสียชีวิต ค.ศ. 209) หรือชื่อในภาษาจีนกลางว่า หลิว ฉี (จีนตัวย่อ: 刘琦; จีนตัวเต็ม: 劉琦; พินอิน: Liú Qí) เป็นขุนพลและขุนนางที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็นบุตรชายคนโตของเล่าเปียวเจ้ามณฑลเกงจิ๋ว เล่ากี๋สนับสนุนและให้ที่หลบภัยแก่เล่าปี่ในขณะที่เล่าปี่หลบหนีจากกองกำลังของโจโฉหลังถูกตีแตกพ่ายในยุทธการที่สะพานเตียงปันเกี้ยว และร่วมสนับสนุนเล่าปี่และจิวยี่ในยุทธนาวีที่ผาแดง

ความขัดแย้งระหว่างพี่น้อง

[แก้]

แม้ว่าเล่ากี๋จะเป็นบุตรชายคนโตของเล่าเปียว แต่น้องชายของเขาคือเล่าจ๋อง ก็มีโอกาสที่ดีกว่าในการสืบทอดตำแหน่งของเล่าเปียว เพราะเขาแต่งงานกับหลานสาวของชัวฮูหยิน ภรรยาคนที่ 2 ของเล่าเปียว กลุ่มตระกูลชัวซึ่งมีสมาชิกรวมถึงชัวมอ น้องชายของชัวฮูหยิน และเตียวอุ๋น มีอิทธิพลต่อการบริหารเกงจิ๋วของเล่าเปียว ในขณะที่กลุ่มตระกูลชัวมีอิทธิพลมากขึ้น พวกเขากดดันให้เล่าเปียวแต่งตั้งเล่าจ๋องเป็นทายาทในตำแหน่งเจ้ามณฑลเกงจิ๋ว[1][2]

หลังจากการเสียชีวิตของหองจอในยุทธการที่กังแฮเมื่อปี ค.ศ. 208 เล่ากี๋ได้อาสาเป็นเจ้าเมืองกังแฮ (ปัจจุบันคืออำเภอซินโจว เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์) คนใหม่ ซึ่งอยู่ห่างจากซงหยงเมืองเอกของมณฑลเกงจิ๋วไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 250 กิโลเมตร บางแหล่งข้อมูลระบุว่าเล่ากี๋ขอให้เล่าเปียวแต่งตั้งตนเป็นเจ้าเมืองกังแฮเพื่อหลบหนีความขัดแย้งระหว่างพี่น้องหรือเขาอาจจะถูกตระกูลชัวบังคับให้ออกจากซงหยง[3] ไม่ว่าในกรณีใด เล่ากี๋ก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำในการต่อสู้ขับไล่กองกำลังของซุนกวน ผู้ซึ่งเข้ายึดเมืองกังแฮหลังจากชัยชนะเหนือหองจอ[4]

ไม่นานหลังจากที่เล่ากี๋ย้ายไปกังแฮ เล่าเปียวก็ถึงแก่อสัญกรรมอย่างกะทันหันในซงหยง[5] และเล่าจ๋องก็สืบทอดตำแหน่งเจ้าเกงจิ๋วต่อจากเขา[6] ต่อจากนี้ไปเล่ากี๋ปฏิบัติต่อเล่าจ๋องน้องชายของเขาเหมือนเป็นศัตรู และอาจโจมตีเขาหากกองทัพของโจโฉไม่มาถึงเสียก่อน

กองทัพของโจโฉยกมาจากทางเหนือ ไม่ไกลจากซงหยง เล่ากี๋หนีไปทางใต้ข้ามแม่น้ำแยงซี[7] และเนื่องจากขาดกำลังทหารและการสนับสนุนทางการเมืองในการทำสงครามกับโจโฉ เล่าจ๋องจึงได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษาอาวุโส 15 คนให้ยอมจำนนและมอบอำนาจปกครองมณฑลเกงจิ๋วให้กับโจโฉ[8] หลังจากนั้นไม่นานเล่าปี่ซึ่งค่อนข้างตกที่นั่งลำบากหลังจากพ่ายแพ้อย่างย่อยยับที่ยุทธการที่สะพานเตียงปันเกี้ยว ได้ข้ามแม่น้ำฮั่นซุยไปยังกังแฮพร้อมกับที่ปรึกษาที่ใกล้ชิดหลายสิบคน ขุนพล และประชาชนนับแสนคน และได้พบกับเล่ากี๋[9] เล่ากี๋นำกองทัพของเขาคุ้มกันเล่าปี่และผู้ติดตามกลับไปที่แม่น้ำฮั่นซุยเพื่อรวบรวมกองกำลังของเล่าปี่ที่กระจัดกระจายไปหลังจากยุทธการที่สะพานเตียงปันเกี้ยว[10]

ยุทธนาวีที่ผาแดง

[แก้]

เล่ากี๋อ้างว่ามีกำลังพลประมาณ 10,000 นาย เป็นไปได้ว่ากองกำลังในพื้นที่ของเขามีขนาดเทียบได้กับกองกำลังที่สร้างขึ้นใหม่ของเล่าปี่รวมถึงกองเรือของกวนอู[11][12][13]

ด้วยข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพียงเล็กน้อยที่บันทึกไว้เกี่ยวกับยุทธนาวีที่ผาแดงกลายเป็นตำนานที่สั่งสมมาหลายศตวรรษ จึงยากที่จะพูดได้ว่ากองกำลังของเล่ากี๋มีบทบาทอย่างไรในยุทธนาวีครั้งนี้ แต่ด้วยกองกำลังผสมของซุนกวน เล่าปี่ และเล่ากี๋ต้องเผชิญหน้ากับกองทัพจำนวนมาก กองทหารของเขาจึงมีส่วนร่วมในการสู้รบ ซึ่งอาจอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของเขา

หลังจากชัยชนะในยุทธนาวีครั้งนั้นเหนือโจโฉ เล่ากี๋ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงมณฑลเกงจิ๋ว และสืบทอดตำแหน่งต่อจากบิดาของเขาในที่สุด แม้ว่าจะในนามก็ตาม[14] เขาเสียชีวิตที่กังแฮภายในเวลาไม่กี่เดือนหลังจากได้รับการแต่งตั้ง[15] หลังจากการเสียชีวิตของเล่ากี๋ เล่าปี่ก็ได้เข้ารับตำแหน่งเจ้ามณฑลเกงจิ๋ว[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จดหมายเหตุสามก๊ก, หน้าที่ 213.
  2. Generals of the South, p. 241.
  3. ชีวประวัติเล่าเปียวในจดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าเล่ากี๋ถูกบังคับให้ออกจากซงหยง (หน้าที่ 213); ชีวประวัติจูกัดเหลียงในจดหมายเหตุสามก๊กเดียวกันนี้อ้างว่าเล่ากี๋เสนอตนให้มีตำแหน่งเจ้าเมืองกังแฮหลังเล่ากี๋ได้ปรึกษากับจูกัดเหลียงอย่างลับ ๆ (หน้าที่ 914) บันทึกหลังนี้มีบันทึกเช่นกันใน พงศาวดารฮั่นยุคหลัง (หน้าที่ 2423) และ จือจื้อทงเจี้ยน (หน้าที่ 2081–2).
  4. History of Chinese Warfare, 4:120.
  5. จดหมายเหตุสามก๊ก, หน้าที่ 914. อรรถาธิบายของเผย์ ซงจือ (หน้าที่ 214) อ้างอิงจาก Yu Huan's Dianlüe (典略) claiming Liu Biao had been sick for some time, and Liu Qi was denied entrance to see his father by his brother's political allies. The Book of the Later Han (p. 2423) and Zizhi Tongjian (p. 2082) follow this.
  6. In many sources, Liu Qi apparently discovered his brother's succession when he received the seal of a marquis from him. Infuriated, he threw it to the ground (Book of the Later Han p. 2424; Zizhi Tongjian p. 2082).
  7. Book of the Later Han, p. 2424.
  8. Generals of the South, p. 242.
  9. Records of the Three Kingdoms, p. 898.
  10. History of Chinese Warfare 4:121.
  11. Records of the Three Kingdoms, p. 878.
  12. Records of the Three Kingdoms, p. 915.
  13. Generals of the South, p. 255.
  14. Records of the Three Kingdoms, p. 879.
  15. Generals of the South, p. 289.
  16. ประวัติของเล่าปี่ใน จดหมายเหตุสามก๊ก อ้างว่าผู้สนับสนุนของเล่ากี๋แนะนำให้เล่าปี่ดำรงตำแหน่งเจ้ามณฑล (หน้า 879).
  • Chen, Shou (1977) [280s or 290s]. Pei, Songzhi (บ.ก.). Records of the Three Kingdoms 三國志. Taipei: Dingwen Printing.
  • de Crespigny, Rafe (2004) [1990]. Generals of the South (internet ed.). Faculty of Asian Studies, Australian National University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-07.
  • Fan, Ye, บ.ก. (1965) [445]. Book of the Later Han 後漢書. Beijing: Zhonghua Publishing House.
  • Luo, Guanzhong (14th century). Romance of the Three Kingdoms (Sanguo Yanyi).
  • National Defense University Historical Warfare Compilation Committee (1983) [1972]. History of Chinese Warfare 中國歷代戰爭史. Vol. 4. Taipei: Military Translation Press.
  • Sima, Guang, บ.ก. (1956) [1084]. Zizhi Tongjian 資治通鑒. Beijing: Zhonghua Publishing House.