ข้ามไปเนื้อหา

เมี่ยงคำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมี่ยงคำ
มื้ออาหารว่าง
อุณหภูมิเสิร์ฟอุณหภูมิห้อง
ส่วนผสมหลักมะพร้าวคั่ว, กุ้งแห้ง, ขิง, ถั่วลิสงคั่ว, หอมแดง, มะนาว, พริกขี้หนู, น้ำตาลปี๊บ, น้ำปลา, กะปิ, ใบทองหลาง, ใบชะพลู
พลังงาน
(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม)
319 กิโลแคลอรี (1336 กิโลจูล)[1]
คุณค่าทางโภชนาการ
(ต่อ100 กรัม serving)
โปรตีน8.4 กรัม
ไขมัน16.9 กรัม
คาร์โบไฮเดรต33.5 กรัม

เมี่ยงคำ เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางสมุนไพรสูงเพราะมีคุณสมบัติในการบำรุงรักษาธาตุทั้งสี่ เพื่อให้สมดุลกัน

วิธีการจัดรับประทานให้จัดใบชะพลูหรือใบทองหลางใส่จานวางเครื่องปรุงอย่างละน้อยลงบนใบชะพลูหรือใบทองหลางที่จัดเรียงไว้ ตักน้ำเมี่ยงหยอดห่อเป็นคำ ๆ รับประทาน

ใน พ.ศ. 2557 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้ขึ้นทะเบียนเมี่ยงคำให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ในสาขาความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล เพื่อป้องกันมิให้สูญหาย พร้อมกับมรดกทางวัฒนธรรมอย่างอื่น[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศศพินทุ์ ดิษนิล (1 สิงหาคม 2549). "เมี่ยงคำ". หมอชาวบ้าน. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประกาศ! ข้าวต้มมัด-เมี่ยงคำ เป็นมรดกเสี่ยงสูญหายของชาติ". เอ็มไทยดอตคอม. 11 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-26. สืบค้นเมื่อ 13 September 2014.