น้ำจิ้ม
หน้าตา
น้ำจิ้มแจ่ว | |
ประเภท | เครื่องชูรส |
---|---|
แหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
น้ำจิ้ม เป็นเครื่องชูรสอาหารที่แพร่หลายในประเทศไทย ประกอบไปด้วยรสเค็ม รสหวาน รสเผ็ด และรสเปรี้ยว[1] โดยน้ำจิ้มมักจะเหลวมากกว่าน้ำพริก ยกเว้นซอสศรีราชาซึ่งสามารถเรียกได้ทั้งน้ำจิ้มศรีราชาและน้ำพริกศรีราชา
น้ำจิ้มสามารถกินกับอาหารประเภทย่างและนึ่งได้ โดยน้ำจิ้มนี้ประกอบไปด้วยกระเทียม น้ำปลา น้ำมะนาว และพริกขี้หนู
น้ำจิ้มต่าง ๆ
[แก้]น้ำจิ้มที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย ได้แก่
- น้ำจิ้มไก่ เป็นน้ำจิ้มที่พบได้แพร่หลายทั่วประเทศ มีรสหวานมาก เผ็ดน้อย มักจะถูกเรียกว่าซอสพริกหวาน นิยมกินกับไก่ย่าง ไก่ทอด หรือทอดมันปลากรายเป็นหลัก
- น้ำจิ้มแจ่ว นิยมกินกับข้าวเหนียว หมูปิ้ง หมูย่าง หรือไก่ย่าง[2]
- น้ำจิ้มสะเต๊ะ กินกับหมูสะเต๊ะ
- อาจาด มีส่วนผสมของแตงกวา หัวหอม และพริก ผสมกับน้ำส้มสายชู กินกับหมูสะเต๊ะ
- น้ำจิ้มสุกี้ กินกับสุกียากี้ มีส่วนผสมของน้ำมันงาและน้ำมันหอย[3]
- น้ำจิ้มเต้าเจี้ยว มีส่วนผสมของเต้าเจี้ยว กินกับข้าวมันไก่
- น้ำจิ้มอาหารทะเล มีส่วนผสมของกระเทียม น้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาล และพริก กินกับอาหารทะเลย่างหรือนึ่ง[4]
- น้ำจิ้มทอดมัน กินกับทอดมันปลา คล้ายกับน้ำจิ้มไก่ แต่มีส่วนผสมของแตงกวา ถั่วบด และผักชี โดยทอดมันกุ้งกับทอดมันปูจะกินกับน้ำจิ้มบ๊วยแทน
- น้ำจิ้มแป๊ะซะ กินกับปลานึ่งในกะหล่ำปลี
อ้างอิง
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ อาหารไทย
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-09. สืบค้นเมื่อ 2015-11-08.
- ↑ "วิธีทำน้ำจิ้มแจ่ว - น้ำจิ้มพริกแห้งแบบไทย - SheSimmers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-25. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สุกี้แห้งสะพานเหลือง - ช่างภาพออสทิน บูช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-30. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Clay's Kitchen : ตำราอาหารไทย". สืบค้นเมื่อ 21 กันยายาน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)