ข้ามไปเนื้อหา

เขื่อนสิรินธร

พิกัด: 15°12′22.82″N 105°25′44.96″E / 15.2063389°N 105.4291556°E / 15.2063389; 105.4291556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขื่อนสิรินธร
เขื่อนเมื่อมองจากแม่น้ำโดมน้อย
แผนที่
ชื่อทางการเขื่อนสิรินธร
ประเทศประเทศไทย
ที่ตั้งอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
พิกัด15°12′22.82″N 105°25′44.96″E / 15.2063389°N 105.4291556°E / 15.2063389; 105.4291556
เริ่มก่อสร้างมิถุนายน พ.ศ. 2511
เปิดดำเนินการ27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514; 53 ปีก่อน (2514-11-27)
เจ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เขื่อนและทางน้ำล้น
ชนิดของเขื่อนเขื่อนหินถม
ปิดกั้นแม่น้ำโดมน้อย
ความสูง42 m (138 ft)
ความยาว940 m (3,080 ft)
อ่างเก็บน้ำ
อ่างเก็บน้ำอ่างเก็บน้ำสิรินธร
ปริมาตรกักเก็บน้ำ1,966,000,000 m3 (1,593,862 acre·ft)
พื้นที่กักเก็บน้ำ2,097 km2 (1,311,000 rai)
พื้นที่ผิวน้ำ288 km2 (180,000 rai)[1]
ความยาวสูงสุดของอ่างเก็บน้ำ ที่ระดับกักเก็บปกติ43 km (27 mi)
ความลึกสุดของน้ำ ที่ระดับกักเก็บปกติเฉลี่ย: 5.1 m (17 ft)[2]
ชนิดของเขื่อนเขื่อนหินถม
โรงไฟฟ้า
ผู้ดำเนินการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
กําลังการผลิตติดตั้ง36 เมกะวัตต์
กำลังผลิตรายปี90 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง

เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนดินเอนกประสงค์ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ตั้งอยู่ในอำเภอสิรินธร (เดิมอยู่ในเขตอำเภอพิบูลมังสาหาร) จังหวัดอุบลราชธานี[3]

ประวัติ

[แก้]

เขื่อนสิรินธรเริ่มก่อสร้างในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2511 และมีการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512[4] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขนานนามว่า เขื่อนสิรินธร โดยตัวเขื่อนและระบบส่งไฟฟ้าระยะแรก สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2514

ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนสิรินธร[5] จากนั้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้ส่งมอบเขื่อนสิรินธรให้อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดังเช่นปัจจุบัน

ชาวบ้านประมาณ 2,000 กว่าครัวเรือนต้องย้ายที่ขึ้นที่สูงเพื่อทำอ่างเก็บน้ำ ชาวบ้านหลายคนบอกว่าไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอต่อการสูญเสียที่อยู่อาศัยและได้ค่าตอบแทนแค่ 20% ของที่ดิน มากไปกว่านั้น พวกเขาอ้างว่าที่ดินใหม่มีคุณภาพแย่และมีพืชผลเจริญเติบโตไม่มาก และคลองชลประทานที่เสนอให้สร้างกลับไม่ได้สร้างเลย[6] ยังมีในเรื่องของการมิได้มีการจ่ายค่าชดเชยใดๆจากภาครัฐ ปัญหานี้ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันที่มีชาวบ้านตกหล่นจากการช่วยเหลือเยี่ยวยา

ลักษณะเขื่อนและโรงไฟฟ้า

[แก้]

เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สร้างปิดกั้นลำโดมน้อยอันเป็นสาขาของแม่น้ำมูล ที่บริเวณแก่งแซน้อย ตำบลช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ตัวเขื่อนมีความสูง 42 เมตร ยาว 940 เมตร สันเขื่อนกว้าง 7.5 เมตร อ่างเก็บน้ำ มีพื้นที่ประมาณ 288 ตารางกิโลเมตรสามารถกักเก็บน้ำได้ 1,966.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด 142.2 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไว้ 3 เครื่อง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 12,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 36,000 กิโลวัตต์ ซึ่งผลิดไฟฟ้าปีละ 90,000 เมกะวัตต์-ชั่วโมง[7]

เขื่อนสิรินธร มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลกบนพื้นที่ผิวน้ำในเขื่อน ซึ่งเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีกำลังผลิตติดตั้ง 45 เมกะวัตต์ และได้เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ จะมีการติดตั้งเพิ่มให้ครบ 16 โครงการทั่วประเทศ[8][9]

การใช้ประโยชน์

[แก้]

นอกประโยชน์ในการผลิตกำลังไฟฟ้าแล้ว เขื่อนสิรินธรยังเป็นแหล่งประมง และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี[10] โดยบริเวณเขื่อนได้มีการจัดสร้าง สวนสิรินธร เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยมีพิธีเปิดสวนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน[11] และมีสนามกอลฟ์อยู่ทางเหนือของทะเลสาบ[12]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Renovation of Small Hydropower Plants by Hydropower Construction Division in 2005". Hydro Power Construction Division. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2011. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.
  2. "Variations and patterns of fish yields in large reservoirs in Thailand" (PDF). National Institute for Environmental Studies (Japan). 17 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 January 2013. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.
  3. "Sirindhorn Dam". Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-14. สืบค้นเมื่อ 28 June 2020.
  4. "เขื่อนสิรินธร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-22. สืบค้นเมื่อ 2010-12-23.
  5. "พระราชกรณียกิจ และเหตุการณ์สำคัญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-02. สืบค้นเมื่อ 2010-12-23.
  6. Imhof, Aviva. "DAM-BUSTING - anti-dam protests in Thailand". The Ecologist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2012. สืบค้นเมื่อ 6 March 2011.
  7. "Renovation of Small Hydropower Plants". Electricity Generating Authority of Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2011. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.
  8. โซลาร์ฯ ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธรใหญ่สุดในโลก! จ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ว กฟผ.ลุยต่อ 15 โครงการทั่วประเทศ
  9. “โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด” ต้นแบบโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดของคนไทย
  10. อุบลราชธานีไกด์
  11. Thailand (Eyewitness Travel Guides) (1st American ed.). DK Publishing, Inc. 1997. pp. 289. ISBN 0-7894-1949-1.
  12. Sirindhorn Reservoir (Map). Google Maps. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.