ข้ามไปเนื้อหา

อาบูจา

พิกัด: 9°4′N 7°29′E / 9.067°N 7.483°E / 9.067; 7.483
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาบูจา
เทศบาล
เมืองหลวงสหพันธ์ (FCC)
เขตเทศบาลอาบูจา
จากบนสุด ซ้ายไปขวา: ภาพมุมสูงของถนนในเขตไมตามา, มัสยิดแห่งชาติอาบูจา, หินซูมา, น้ำพุในสวนมิลเลนเนียม, สำนักงานใหญ่ธนาคารกลางแห่งประเทศไนจีเรีย และย่านธุรกิจในยามค่ำคืน
จากบนสุด ซ้ายไปขวา: ภาพมุมสูงของถนนในเขตไมตามา, มัสยิดแห่งชาติอาบูจา, หินซูมา, น้ำพุในสวนมิลเลนเนียม, สำนักงานใหญ่ธนาคารกลางแห่งประเทศไนจีเรีย และย่านธุรกิจในยามค่ำคืน
สมญา: 
ABJ
อาบูจาตั้งอยู่ในไนจีเรีย
อาบูจา
อาบูจา
อาบูจาตั้งอยู่ในแอฟริกา
อาบูจา
อาบูจา
พิกัด: 9°4′N 7°29′E / 9.067°N 7.483°E / 9.067; 7.483
ประเทศไนจีเรีย
เขตปกครองเฟเดอรัลแคพิทอลเทร์ริทอรี
เขตรัฐบาลท้องถิ่นสภาเขตเทศบาลอาบูจา (AMAC)
ตั้งถิ่นฐานค.ศ. 1828
จัดตั้งเทศบาล1 ตุลาคม ค.ศ. 1984
ประกาศเป็นเมืองหลวง12 ธันวาคม ค.ศ. 1991
การปกครอง
 • ผู้วางแผนเมืององค์การพัฒนาเมืองหลวงสหพันธ์ (FCDA)
 • ผู้บริหารเมืองสภาบริหารมหานครอาบูจา (AMMC)
พื้นที่[1]
 • เทศบาล1,769 ตร.กม. (683 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง713 ตร.กม. (275 ตร.ไมล์)
ความสูง360 เมตร (1,180 ฟุต)
ประชากร
 (2011)[1]
 • เทศบาล1,235,880 คน
 • อันดับอันดับที่ 7
 • ความหนาแน่น700 คน/ตร.กม. (1,800 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง2,440,000[3] คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง3,423 คน/ตร.กม. (8,870 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล6,000,000 (โดยประมาณ)[2] คน
เขตเวลาUTC+1 (GMT+1)
รหัสไปรษณีย์900211–900288
ภูมิอากาศทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw)
เว็บไซต์fcta.gov.ng

อาบูจา (อังกฤษ: Abuja) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศไนจีเรีย ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศในเฟเดอรัลแคพิทอลเทร์ริทอรี (FCT) อาบูจาเป็นเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ในคริสตทศวรรษ 1980[4] เพื่อแทนที่เลกอส ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศ ในฐานะเมืองหลวงแห่งใหม่เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1991[5]

อาบูจามีภูมิลักษณ์ที่สำคัญคือหินอาโซ ซึ่งเป็นหินขนาดใหญ่ความสูง 400-เมตร (1,300-ฟุต) เกิดจากการกร่อนของน้ำ ศูนย์ประธานาธิบดีไนจีเรีย, รัฐสภาแห่งชาติ,[6] ศาลฎีกา และพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองมีการขยายตัวไปทางทิศใต้ นอกจากนี้ ยังมีหินซูมา หินขนาดใหญ่อีกแห่งซึ่งมีความสูง 792-เมตร (2,598-ฟุต) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมือง บริเวณทางด่วนที่ไปคาดูนา

ใน ค.ศ. 2006 อาบูจามีประชากร 776,298 คน[7] ทำให้เป็นหนึ่งใน 10 นครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศ (อยู่อันดับที่ 8) องค์การสหประชาชาติเปิดเผยว่าอาบูจามีการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 139.7 ระหว่างปี 2000 ถึง 2010 ทำให้เป็นนครที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ณ ขณะนั้น[8]

ใน ค.ศ. 2015 นครมีอัตราการเติบโตต่อปีอย่างน้อยร้อยละ 35 ทำให้ยังคงเป็นนครที่เติบโตเร็วที่สุดในทวีปแอฟริกาและเป็นหนึ่งในนครที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก[9] พื้นที่เขตมหานครอาบูจามีประชากรประมาณ 6 ล้านคนโดยประมาณใน ค.ศ. 2016 ทำให้เป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศรองจากเลกอส[2][10]

อาบูจาเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางศาสนาหลายแห่ง อาทิ มัสยิดแห่งชาติไนจีเรียและศูนย์คริสตศาสนิกชนแห่งชาติไนจีเรีย และยังเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติเอ็นนัมดี อาซีกีเว อาบูจายังเป็นหนึ่งในเมืองหลวงที่ถูกสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ในแอฟริกา เช่นเดียวกันกับหนึ่งในเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในทวีป[11]

อาบูจาเป็นศูนย์กลางการบริหารและการเมืองของประเทศ และเป็นเมืองหลวงที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปเนื่องจากอิทธิพลทางการเมืองและภูมิศาสตร์ของประเทศที่มีต่อภูมิภาค[12] อาบูจายังเป็นสถานที่ที่ใช้จัดการประชุมหลายครั้ง เช่น การประชุมของหัวหน้ารัฐบาลในเครือจักรภพเมื่อปี 2003 และการประชุมเศรษฐกิจโลกของแอฟริกาเมื่อปี 2014[13][14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Federal Capital Territory (Nigeria)". City Population. สืบค้นเมื่อ 26 October 2015.
  2. 2.0 2.1 Jaiyeola, Andrews. "FCT Minister Harps on Development of Satellite Towns". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2017. สืบค้นเมื่อ 22 November 2016.
  3. Demographia (January 2015). Demographia World Urban Areas (PDF) (11th ed.). สืบค้นเมื่อ 2 March 2015.
  4. "Life of poverty in Abuja's wealth". news.bbc.co.uk. BBC News, Tuesday, 13 February 2007. 2007-02-13. สืบค้นเมื่อ 2007-08-10.
  5. Roman Adrian Cybriwsky, Capital Cities around the World: An Encyclopedia of Geography, History, and Culture, ABC-CLIO, USA, 2013, p. 2
  6. "National Assembly | Federal Republic of Nigeria". www.nassnig.org. สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.
  7. "Legal Notice on Publication of 2006 Census Final Results" (PDF). Policy and Legal Advocacy Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 March 2013. สืบค้นเมื่อ 10 June 2012.
  8. "World's Fastest Growing Cities are in Asia and Africa". Euromonitor. 2 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 2015. สืบค้นเมื่อ 26 October 2015.
  9. "Top 5 Cities To Do Business in Nigeria. ABUJA Is 2nd". Abuja Facts. 22 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2016. สืบค้นเมื่อ 26 October 2015.
  10. "Abuja Nigeria". ftan.org.ng. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-08. สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.
  11. Murray, Senan. "Life of poverty in Abuja's wealth." BBC. Tuesday 13 February 2007. Retrieved 12 September 2011.
  12. "The Nigeria Capital City – AMLSN – Salt City 2020" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-26. สืบค้นเมื่อ 2021-01-23.
  13. "The Nigeria Capital City – AMLSN – Salt City 2020" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-26. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
  14. "Aso Rock Declaration on Development and Democracy: Partnership for Peace and Prosperity | The Commonwealth". thecommonwealth.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-26. สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]