อำเภอบางบ่อ
อำเภอบางบ่อ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Bang Bo |
ถนนภายในเขตเทศบาลตำบลบางบ่อ | |
คำขวัญ: ถิ่นประมงเลื่องลือ ขึ้นชื่อปลาสลิด ศักดิ์สิทธิ์หลวงปู่ปาน สนุกสนานผะหมี ประเพณีแข่งเรือพาย หลากหลายอุตสาหกรรม ผู้นำการเกษตร | |
แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ เน้นอำเภอบางบ่อ | |
พิกัด: 13°34′27″N 100°50′10″E / 13.57417°N 100.83611°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สมุทรปราการ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 245.007 ตร.กม. (94.598 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 118,914 คน |
• ความหนาแน่น | 485.35 คน/ตร.กม. (1,257.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10560, 10550 (เฉพาะตำบลคลองด่าน) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1102 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบางบ่อ หมู่ที่ 1 ถนนรัตนราช ตำบลบางบ่อ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ 10560 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
บางบ่อ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำภอบางบ่อตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง (กรุงเทพมหานคร) อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และอำเภอบ้านโพธิ์ (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองกาหลง คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองหนึ่งเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางปะกง (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองพระยาสมุทร คลองฉะบัง คลองบางพลีน้อย คลองหอมศีล คลองสำโรง คลองปีกกา คลองก้นบึ้ง คลองสีล้งเก่า และคลองสีล้งใหม่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ จรดอ่าวไทยตอนใน (น่านน้ำเขตจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี)[1]
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง มีคลองลึก คลองด่านน้อย คลองชลประทาน คลองหัวเกลือ คลองสาม คลองร้อย คลองหัวเกลือ คลองกะลาวน คลองสำโรง คลองสนามพลี คลองสนามพลีเก่า คลองบางเซา คลองชวดใหญ่ คลองท่าข้าม และคลองกาหลงเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่ออำเภอ
[แก้]คำว่า บาง (น.) หมายถึง ทางน้ำเล็ก ๆ ที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล หรือตำบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน ส่วนคำว่า บ่อ (น.) หมายถึง ช่องลึกลงไปในดินหรือในหินใช้เป็นที่ขังน้ำขังปลาเป็นต้น (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542)
เมื่อรวมกันแล้วคำว่า บางบ่อ น่าจะหมายถึง ท้องที่ที่มีทางน้ำเล็ก ๆ อยู่ใกล้ทะเล มีการกักเก็บน้ำไว้ใช้ หรือขุดบ่อล่อปลาให้เข้าไปอยู่เวลาน้ำขึ้น และเปิดน้ำออกเพื่อจับปลาเวลาน้ำลง
ประวัติ
[แก้]หมู่บ้านบางบ่อได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2439[2] ในครั้งแรกตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่บ้านคอลาด (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านทางตอนเหนือของตำบลบางบ่อ) จึงได้ชื่อว่า อำเภอคอลาด[2] แต่เนื่องจากที่ตั้งนี้อยู่ห่างไกลจากตำบลอื่นมาก ประชาชนมาติดต่อราชการไม่สะดวก ใน พ.ศ. 2443 ทางการจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางพลี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีลำคลองจาก 3 ทางไหลมาบรรจบกัน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อำเภอบางเหี้ย[3] ตามลำคลองสำคัญสายหนึ่งของท้องถิ่นซึ่งมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "คลองด่าน"
ใน พ.ศ. 2472 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลบางบ่อ แต่ก็ยังใช้ชื่ออำเภอตามเดิม[3] จนกระทั่งในปลายปีถัดมา (พ.ศ. 2473) กระทรวงมหาดไทยจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอบางเหี้ยเป็น อำเภอบางบ่อ ตามชื่อตำบลที่ตั้งอำเภอและตามชื่อที่ประชาชนนิยมเรียก[4] และใช้ชื่อนี้ตั้งแต่นั้นมา ส่วนตำบลบางเหี้ยที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ตำบลคลองด่าน" ในภายหลังเมื่อ พ.ศ. 2483[5] เนื่องจากทางการ (สมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี) เห็นว่าไม่สุภาพและไม่เป็นมงคล[3]
ครั้นใน พ.ศ. 2486 จังหวัดสมุทรปราการถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นเกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอบางบ่อถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร[6] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2489 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นมาอีกครั้ง[7] อำเภอบางบ่อจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของทางจังหวัดจนถึงปัจจุบัน
- วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ตั้งตำบลเปร็ง แยกออกจากตำบลคลองสวน ตั้งตำบลคลองนิยมยาตรา แยกออกจากตำบลบางพลีน้อย[8]
- วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2494 โอนพื้นที่หมู่ 14, 19 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางเสาธง อำเภอบางพลี มาขึ้นกับตำบลเปร็ง อำเภอบางบ่อ โดยตั้งเป็นหมู่ที่ 8 และ 9 ของตำบลเปร็งตามลำดับ[9]
- วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบางบ่อในท้องที่บางส่วนของตำบลบางบ่อ[10]
- วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลคลองด่านในท้องที่บางส่วนของตำบลคลองด่าน[11]
- วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลคลองสวนในท้องที่บางส่วนของตำบลคลองสวน[12]
- วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางบ่อ สุขาภิบาลคลองด่าน และสุขาภิบาลคลองสวน เป็นเทศบาลตำบลบางบ่อ เทศบาลตำบลคลองด่าน และเทศบาลตำบลคลองสวนตามลำดับ[13]
- วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีน้อยเป็นเทศบาลตำบลบางพลีน้อย[14]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอบางบ่อแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 8 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 74 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[15] |
---|---|---|---|---|
1. | บางบ่อ | Bang Bo | 11
|
35,458
|
2. | บ้านระกาศ | Ban Rakat | 10
|
7,002
|
3. | บางพลีน้อย | Bang Phli Noi | 11
|
9,064
|
4. | บางเพรียง | Bang Phriang | 6
|
26,862
|
5. | คลองด่าน | Khlong Dan | 14
|
28,029
|
6. | คลองสวน | Khlong Suan | 7
|
2,888
|
7. | เปร็ง | Preng | 9
|
4,227
|
8. | คลองนิยมยาตรา | Khlong Niyom Yattra | 6
|
3,362
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอบางบ่อประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางบ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางบ่อ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–3
- เทศบาลตำบลคลองด่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองด่าน เฉพาะหมู่ที่ 6 และบางส่วนของหมู่ที่ 5, 7–11, 13–14
- เทศบาลตำบลคลองสวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสวนทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางพลีน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพลีน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางบ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางบ่อ เฉพาะหมู่ที่ 4–11 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–3
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านระกาศ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านระกาศทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางเพรียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเพรียงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองด่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองด่าน เฉพาะหมู่ที่ 1–4, 12 และบางส่วนของหมู่ที่ 5, 7–11, 13–14
- องค์การบริหารส่วนตำบลเปร็ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเปร็งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนิยมยาตรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองนิยมยาตราทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (92 ก): 430–437. 29 กันยายน 2502.
- ↑ 2.0 2.1 ศิริพร กิตติสุขเจริญ. สมุทรปราการ. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 47.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 ศิริพร กิตติสุขเจริญ. สมุทรปราการ. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 48.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบกิ่งอำเภอ เปลี่ยนชื่อและย้ายอำเภอกับโอนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47: 226–228. 19 ตุลาคม 2473. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2009-10-07.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57: 263–267. 30 กรกฎาคม 2483. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2009-10-07.
- ↑ "พระราชบัญญัติยุบและรวมการปกครองบางจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๘๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 59 (77 ก): 2447–2449. 10 ธันวาคม 2485. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-09.
- ↑ "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช ๒๔๘๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (29 ก): 315–317. 9 พฤษภาคม 2489. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2009-10-07.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-09.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและเขตอำเภอในท้องที่จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (57 ง): 3812–3813. 11 กันยายน 2494.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางบ่อ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (พิเศษ 45 ง): 11–12. 30 พฤษภาคม 2499.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (29 ง): 801–802. 26 พฤษภาคม 2506.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (105 ง): 2444–2445. 29 ตุลาคม 2506.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-09.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเทศบาลตำบลบางพลีน้อย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (พิเศษ 156 ง): 3. 23 ธันวาคม 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.