ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดสุโขทัย

พิกัด: 17°01′N 99°45′E / 17.01°N 99.75°E / 17.01; 99.75
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สุโขทัย)
จังหวัดสุโขทัย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Sukhothai
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย
เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา
งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ
สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสุโขทัยเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสุโขทัยเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสุโขทัยเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นพฤทธิ์ ศิริโกศล
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2568)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด6,596.092 ตร.กม. (2,546.765 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 30
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด577,866 คน
 • อันดับอันดับที่ 43
 • ความหนาแน่น87.60 คน/ตร.กม. (226.9 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 51
รหัส ISO 3166TH-64
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ตาล
 • ดอกไม้บัวหลวง
 • สัตว์น้ำปลาก้างพระร่วง
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนนิกรเกษม ตำบลธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64000
 • โทรศัพท์0 5561 4531
 • โทรสาร0 5561 1619
เว็บไซต์http://www.sukhothai.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สุโขทัย เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ในภาคกลางตอนบน หรือบางที่จัดเป็นภาคเหนือตอนล่าง มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และลำปาง (เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ) มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม เป็นที่ตั้งอาณาจักรของชนชาติไทยเมื่อกว่า 700 ปีที่ผ่านมา คำว่า "สุโขทัย" มาจากคำสองคำคือ "สุข+อุทัย" มีความหมายว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข "

ประวัติศาสตร์

[แก้]

สมัยสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

[แก้]

ในพื้นที่ของจังหวัดสุโขทัยปัจจุบัน ในอดีตเป็นที่ตั้งของรัฐหนึ่งที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ ต่อมาเมื่อจักรวรรดิขแมร์และอาณาจักรพุกามเสื่อมอำนาจ ทำให้เกิดรัฐใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาไล่เลี่ยกัน ราว พ.ศ. 1782 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพงเป็นผลสำเร็จ และได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย โดยพ่อขุนบางกลางหาวราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สุโขทัยพระองค์แรกของอาณาจักรสุโขทัย ในรัชกาลต่อมา พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 1782 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง โดยพระองค์มีพระเชษฐา 2 พระองค์และพระขนิษฐา 2 พระองค์ พระเชษฐาพระองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาพระองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า "พระยาบานเมือง" ซึ่งได้เสวยราชสมบัติต่อจากพระบรมชนกนาถ และเมื่อพ่อขุนบานเมืองได้เสด็จสวรรคตแล้ว พ่อขุนรามคำแหงจึงเสวยราชสมบัติต่อมา พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยหรือตัวหนังสือไทยขึ้นเมื่อมหาศักราช ๑๒๐๕

   ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีข้อความปรากฎว่า “เมื่อก่อนลานสืไทนี๋บ่มี ๑๒๐๕ สก ปีมแมพ่ขุนรามคํแหงหาใคร่ใจในใจแล่ใศ่ลายสืไทนี๋ สายสืไทนี๋ จี่งมีเพื่อขุนผู๋น๋นนใศ่ไว๋” หา แปลว่า ด้วยตนเอง (ไทยขาวยังใช้อยู่) ใคร่ในใจ แปลว่า คำนึงในใจ (จากพจนานุกรมไทยอาหม) ข้อความที่อ้างถึงแสดงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยแบบที่จารึกไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑   ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ ในจารึกในที่นี้เป็นภาษาในการจารึกเพื่อปริวรรตขึ้นมาใช้ในทางด้านการจารึก แต่เราไม่สามารถทราบถึง การพูดการจา หรือสำเนียงในสมัยสุโขทัยได้เลยว่าเขาพูดจากันอย่างไร มีเพียงข้อสันนิษฐานของทาง ศูนย์มามนุษยวิทยาสิรินเจได้ปริวรรตอักษรไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 - 20 

ซึ่งช่วงต้นนั้นตรงกับสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้นเอง หลังจากประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายในและการแทรกแซงจากอยุธยา ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด[3]

ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สุโขทัยถูกกำหนดให้เป็นหัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร มีการกำหนดเป็นเมืองเอก โท หรือตรี ตามลำดับความสำคัญ ภายหลังการเสียกรุงครั้งที่หนึ่งและหลังประกาศอิสรภาพ และหลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวหัวเมืองเหนือทั้งปวง (เมืองพระพิษณุโลกสองแคว เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิจิตร และเมืองพระบาง) ลงมาไว้ที่อยุธยาเพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ ผ่านไป 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ และเปลี่ยนสุโขทัยจากหัวเมืองชั้นนอก เป็นหัวเมืองชั้นโท คือเมืองพระยามหานครที่มีความสำคัญรองลงมา มีอยู่ 6 หัวเมือง ทางเหนือมีสวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ เพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง สุโขทัยยังคงมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นโทจนถึงต้นสมัยรัตนโกสินทร์[ต้องการอ้างอิง]

ยุคมณฑลเทศาภิบาลถึงปัจจุบัน

[แก้]
แผนที่อาณาเขตของสองจังหวัด พ.ศ. 2460 (1. จังหวัดสวรรคโลก 2. จังหวัดศุโขทัย)

จนกระทั่งยุครัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2437 ทรงยกเลิกระบบกินเมืองและระบบหัวเมืองแบบเก่า และกำหนดให้ใช้ระบบมณฑลเทศาภิบาล โดยจัดการปกครองส่วนภูมิภาคขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย เป็นมณฑล เมือง อำเภอ หมู่บ้าน ทำให้บริเวณที่เป็นจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน มีการจัดตั้งเมืองในระบบมณฑลเทศาภิบาลอยู่ด้วยกัน 2 แห่ง ภายใต้การปกครองของมณฑลพิษณุโลก ได้แก่ เมืองสวรรคโลก ซึ่งครอบคลุมส่วนเหนือของจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน และ เมืองศุโขทัย (ตามการสะกดเดิม) ซึ่งครอบคลุมส่วนใต้

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลัง พ.ศ. 2459 คำว่า "จังหวัด" ได้กลายเป็นคำที่เรียกหน่วยการปกครองระดับต่ำกว่ามณฑลแทนคำว่า "เมือง" เพื่อแยกความกำกวมจากคำว่าเมืองที่ใช้เรียกที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด (อำเภอเมือง) ทำให้เมืองศุโขทัยและเมืองสวรรคโลกเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น จังหวัดศุโขทัย และ จังหวัดสวรรคโลก ตามลำดับ[4]

ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2460 จังหวัดศุโขทัยแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 1 กิ่ง ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่[4]

ส่วนจังหวัดสวรรคโลกแบ่งออกเป็น 2 อำเภอ ได้แก่[4]

ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการยุบเลิกบางมณฑลและบางจังหวัด โดยยุบเลิกจังหวัดสุโขทัยและรวมท้องที่อำเภอสุโขทัยธานี อำเภอบ้านไกร อำเภอคลองตาล กิ่งอำเภอลานหอย กิ่งอำเภอโตนด เข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดสวรรคโลก[5]

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476 ขึ้น ทำให้มณฑลทั้งหมดถูกล้มเลิกไป จังหวัดจึงกลายเป็นเขตการปกครองระดับสูงที่สุดของประเทศไทย

ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482 มีการย้ายศาลากลางจังหวัดสวรรคโลกมาตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอสุโขทัยธานี และเปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัดสวรรคโลกเป็น จังหวัดสุโขทัย รวมทั้งเปลี่ยนชื่ออำเภอสุโขทัยธานี เป็นอำเภอเมืองสุโขทัย และอำเภอเมืองสวรรคโลก เป็นอำเภอสวรรคโลก[6]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ตามการแบ่งจังหวัดเป็นภาคโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติและราชบัณฑิตยสภา จังหวัดสุโขทัยตั้งอยู่ในภาคกลาง บริเวณตอนบนของภาค หากแบ่งเขตตามการพยากรณ์อากาศและเศรษฐกิจ สังคม จะจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครตามระยะทางหลวงแผ่นดินประมาณ 440 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ภูมิประเทศ

[แก้]

พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสุโขทัยจะเป็นที่ราบลุ่ม ทางตอนเหนือและตอนใต้ของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีเขาหลวงเป็นภูเขาที่มีความสูงที่สุด วัดจากระดับน้ำทะเลมีความสูงประมาณ 1,200 เมตร โดยมีแนวภูเขายาวเป็นพืดทางด้านทิศตะวันตก ส่วนพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดจะเป็นที่ราบ มีแม่น้ำยมไหลผ่านจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ผ่านอำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอเมืองสุโขทัย และอำเภอกงไกรลาศ ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดสุโขทัยยาวประมาณ 170 กิโลเมตร[7]

ภูมิอากาศ

[แก้]

จังหวัดสุโขทัยตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งลึกเข้ามาในแผ่นดิน จึงมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง เกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27.9 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อนอากาศร้อนอบอ้าว อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33.8 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนที่สุดอยู่ในเดือนเมษายน ซึ่งเคยตรวจอุณหภูมิสูงที่สุดได้ 44.5 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 ส่วนในฤดูหนาวอากาศมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23.0 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศหนาวที่สุดอยู่ในเดือนมกราคม ซึ่งเคยตรวจอุณหภูมิต่ำที่สุดได้ 5.5 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2517[8][9]

ข้อมูลภูมิอากาศของสุโขทัย
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °F 88.9 92.1 96.1 100.2 94.8 92.8 91.8 91.2 90.9 91 89.4 87.8 92.26
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °F 64.8 68 72.1 76.5 76.5 76.8 76.6 76.1 75.7 75.2 70.3 65.8 72.88
ปริมาณฝน นิ้ว 0.461 0.272 0.654 2.689 6.232 8.319 5.807 6.906 11.547 7.591 0.24 0.374 51.087
Average high °C 31.6 33.4 35.6 37.9 34.9 33.8 33.2 32.9 32.7 32.8 31.9 31.0 33.48
Average low °C 18.2 20.0 22.3 24.7 24.7 24.9 24.8 24.5 24.3 24.0 21.3 18.8 22.71
Rainfall cm 1.17 0.69 1.66 6.83 15.83 21.13 14.75 17.54 29.33 19.28 0.6 0.95 129.76
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา. "ค่ามาตรฐาน 30 ปีของสุโขทัย (1981-2010)" https://www.tmd.go.th/weather/province/last30years-1981-2010/sukhothai/10/373201

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้]
  • ตราประจำจังหวัด: รูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับบนพระแท่นมนังคศิลาอาสน์
  • ธงประจำจังหวัด: ธงพื้นสีแดง-เหลือง-เขียว แบ่งตามแนวนอน แถบสีเหลืองนั้นกว้างเป็น 2 เท่าของแถบสีแดงและสีเขียว ที่มุมธงด้านคันธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับบนพระแท่นมนังคศิลาอาสน์
  • คำขวัญประจำจังหวัด: มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ตาล (Borassus flabellifer)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวหลวง (Nelumbo nucifera)

การเมืองการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

การปกครองของสุโขทัยแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ, 86 ตำบล, 843 หมู่บ้าน

แผนที่อำเภอในจังหวัดสุโขทัย
ลำดับที่ ชื่ออำเภอ แผนที่ พื้นที่
(ตร.กม)
ประชากร
(คน)[10]
จำนวน
ตำบล
จำนวน
หมู่บ้าน
1. เมืองสุโขทัย
581.474 101,546 10 97
2. บ้านด่านลานหอย
1,018.11 47,785 7 71
3. คีรีมาศ
521.9 55,954 10 100
4. กงไกรลาศ
502.382 62,888 11 109
5. ศรีสัชนาลัย
2,050.511 90,706 11 148
6. ศรีสำโรง
565.731 68,096 13 118
7. สวรรคโลก
586.192 80,244 14 117
8. ศรีนคร
199.865 25,297 5 49
9. ทุ่งเสลี่ยม
569.932 48,744 5 59

ทำเนียบเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย

[แก้]

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บริหารทั้งพื้นที่ของจังหวัดสุโขทัย คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย และมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับพื้นฐาน 90 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลเมือง 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย เทศบาลเมืองสวรรคโลก และเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี, เทศบาลตำบล 18 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 69 แห่ง[11]

รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุโขทัย
ชื่อ ประเภท อำเภอ จำนวนประชากร (คน)
สุโขทัยธานี เทศบาลเมือง อำเภอเมืองสุโขทัย 13,664
บ้านสวน เทศบาลตำบล 4,265
เมืองเก่า 7,104
บ้านกล้วย 15,950
บ้านสวน องค์การบริหารส่วนตำบล
เมืองเก่า
ปากแคว
ยางซ้าย
บ้านหลุม
ตาลเตี้ย
ปากพระ
วังทองแดง
ลานหอย เทศบาลตำบล อำเภอบ้านด่านลานหอย 3,539
ตลิ่งชัน 9,966
ลานหอย องค์การบริหารส่วนตำบล
บ้านด่าน
วังตะคร้อ
วังน้ำขาว
หนองหญ้าปล้อง
วังลึก
ทุ่งหลวง เทศบาลตำบล อำเภอคีรีมาศ 7,062
บ้านโตนด 2,962
โตนด องค์การบริหารส่วนตำบล
บ้านป้อม
สามพวง
ศรีคีรีมาศ
หนองจิก
นาเชิงคีรี
หนองกระดิ่ง
บ้านน้ำพุ
ทุ่งยางเมือง
กงไกรลาศ เทศบาลตำบล อำเภอกงไกรลาศ 4,021
กง องค์การบริหารส่วนตำบล
ไกรนอก
ไกรกลาง
ไกรใน
ดงเดือย
ป่าแฝก
กกแรต
ท่าฉนวน
หนองตูม
บ้านใหม่สุขเกษม
ศรีสัชนาลัย เทศบาลเมือง อำเภอศรีสัชนาลัย 14,876
หาดเสี้ยว เทศบาลตำบล 6,459
ป่างิ้ว องค์การบริหารส่วนตำบล
แม่สำ
แม่สิน
บ้านตึก
หนองอ้อ
ดงคู่
บ้านแก่ง
สารจิตร
ศรีสำโรง เทศบาลตำบล อำเภอศรีสำโรง 7,161
วังลึก องค์การบริหารส่วนตำบล
สามเรือน
บ้านนา
วังทอง
นาขุนไกร
เกาะตาเลี้ยง
วัดเกาะ
บ้านไร่
ทับผึ้ง
บ้านซ่าน
วังใหญ่
ราวต้นจันทร์
เมืองสวรรคโลก เทศบาลเมือง อำเภอสวรรคโลก 14,804
ในเมือง เทศบาลตำบล 8,053
ป่ากุมเกาะ 8,125
คลองยาง 7,648
เมืองบางขลัง 4,826
คลองกระจง องค์การบริหารส่วนตำบล
วังไม้ขอน
ย่านยาว
นาทุ่ง
เมืองบางยม
ท่าทอง
ปากน้ำ
หนองกลับ
ศรีนคร เทศบาลตำบล อำเภอศรีนคร 3,012
ศรีนคร องค์การบริหารส่วนตำบล
นครเดิฐ
น้ำขุม
คลองมะพลับ
หนองบัว
ทุ่งเสลี่ยม เทศบาลตำบล อำเภอทุ่งเสลี่ยม 7,201
เขาแก้วศรีสมบูรณ์ 7,808
กลางดง 12,157
บ้านใหม่ไชยมงคล องค์การบริหารส่วนตำบล
ไทยชนะศึก
ทุ่งเสลี่ยม

การขนส่ง

[แก้]

ทางถนน

[แก้]

จังหวัดสุโขทัยมีระยะห่างจากกรุงเทพมหานครอยู่ประมาณ 427 กม. มีทางหลวงสายสำคัญที่ตัดผ่าน ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ซึ่งเป็นถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมต่อกับจังหวัดตากและจังหวัดพิษณุโลก, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 เชื่อมต่อกับจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดแพร่, และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102 เชื่อมต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์ สามารถเดินทางได้ด้วย รถส่วนตัวและรถสาธารณะ เช่น รถทัวร์ รถประจำทาง รถตู้ สามารถขึ้นได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุโขทัย และจุดจอดรับทั่วจังหวัดในแต่ละอำเภอ

ทางราง

[แก้]
สถานีรถไฟสวรรคโลก

ในสุโขทัย มีสถานีรถไฟ 2 แห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก และสถานีรถไฟคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร โดยเป็นทางรถไฟสายรองที่แยกออกจากเส้นทางรถไฟสายเหนือจาก สถานีชุมทางบ้านดารา ปัจจุบันมีเพียงขบวนเดียวที่เข้าออกเส้นทางสายนี้ คือ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 405/406 ศิลาอาสน์-สวรรคโลก-ศิลาอาสน์

โดยคาดว่าในอนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงสายเหนือตัดผ่านจังหวัดสุโขทัย โดยมีสถานี 2 แห่งที่ตั้งในจังหวัด ได้แก่ สถานีรถไฟความเร็วสูงสุโขทัย และสถานีรถไฟความเร็วสูงศรีสัชนาลัย[12]

ทางอากาศ

[แก้]

มี ท่าอากาศยานสุโขทัย หรือ สนามบินสุโขทัย ตั้งอยู่ในเขต 3 ตำบล คือ ต.ท่าทอง ต.คลองกระจง และ ต.ย่านยาว อ.สวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ให้บริการโดย บางกอกแอร์เวย์ส ของ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด โดยมีเส้นทางคือ กรุงเทพ/สุวรรณภูมิ-สุโขทัย 4 เที่ยวทุกวัน[13]

ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ

[แก้]

การศึกษา

[แก้]

ดูบทความหลักที่:รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสุโขทัย

สถานศึกษาในจังหวัดสุโขทัยมีทั้งหมด 371 แห่ง แบ่งได้ดังนี้

สถานศึกษาแบ่งตามสังกัด
สังกัด จำนวน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[14] 35
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต1[15] 124
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต2[16] 162
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย[17] 27
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา[18] 7
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 10
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 3
รวม 368
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สังกัด/ องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษา สุโขทัย เขต1

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษา สุโขทัย เขต2

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน รวม
อำเภอ
เมืองสุโขทัย 7 32 - 5 4 48
บ้านด่านลานหอย 2 24 - 2 - 28
คีรีมาศ 4 32 - 2 - 38
กงไกรลาศ 1 36 - 3 - 40
ศรีสัชนาลัย 4 - 59 4 1 68
ศรีสำโรง 3 - 35 4 3 45
สวรรคโลก 10 - 29 4 2 45
ศรีนคร 2 - 14 1 - 17
ทุ่งเสลี่ยม 2 - 25 2 - 29
รวม 35 124 162 27 10 358

*สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุโขทัย แบ่งเป็นสองเขต ดูบทความหลักที่:รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสุโขทัย*

โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ

[แก้]

เมืองสุโขทัย : โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม (โรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัย), โรงเรียนอุดมดรุณี (โรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัย (หญิง))

บ้านด่านลานหอย : โรงเรียนบ้านด่านล่านหอยวิทยา

ศรีสำโรง : โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์

คีรีมาศ : โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม

สวรรคโลก : โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา (โรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัย)

กงไกรลาศ : โรงเรียนกงไกรลาศวิทยา

ศรีนคร : โรงเรียนศรีนคร

ศรีสัชนาลัย : โรงเรียนเมืองเชลียงวิทยา

ทุ่งเสลี่ยม : โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์

ระดับอาชีวศึกษา
สังกัด ชื่อ ประเภท ที่ตั้งอำเภอ
อาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย วิทยาลัยเทคนิค เมืองสุโขทัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย วิทยาลัยอาชีวศึกษา
วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย วิทยาลัยสารพัดช่าง
วิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย วิทยาลัยการอาชีพ ศรีสัชนาลัย
วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง วิทยาลัยการอาชีพ ศรีสำโรง
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สวรรคโลก
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย วิทยาลัยนาฏศิลป เมืองสุโขทัย
รวม 7 แห่ง

ระดับอุดมศึกษา

[แก้]

สาธารณสุข

[แก้]

จังหวัดสุโขทัยมีโรงพยาบาลอยู่กระจายทั่วจังหวัด โดยมีโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วไปหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่ อยู่สองแห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสุโขทัย (โรงพยาบาลประจำจังหวัด) และโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย (โรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่) และโรงพยาบาลขนาดอื่น ๆ อีก 130 แห่ง[20]

โรงพยาบาลประจำอำเภอ

[แก้]
  • โรงพยาบาลกงไกรลาส
  • โรงพยาบาลคีรีมาศ
  • โรงพยาบาลบ้านด่านลานหอย
  • โรงพยาบาลศรีนคร
  • โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย
  • โรงพยาบาลสวรรคโลก
  • โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม

โรงพยาบาลเอกชน

[แก้]
  • โรงพยาบาลพัฒนเวชสุโขทัย
  • โรงพยาบาลรวมแพทย์ สุโขทัย
  • สถานพยาบาลหมออาคม

เศรษฐกิจ

[แก้]

จังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดขนาดกลาง มีประชากรอยู่ทั้งหมด 585,352 คน เป็นลำดับที่ 43 ของประเทศไทย ความหนาแน่น 88.74 คนต่อตารางกิโลเมตร มีจำนวนแรงงานทั้งสิ้น 336,555 คน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดทั้งหมด 47,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.3 ของประเทศไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว 77,681 บาทต่อปี หรือ 6,473 บาทต่อเดือน[21]

โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดสุโขทัยแบ่งเป็นภาคบริการ 53%, ภาคเกษตร 35% และภาคอุตสาหกรรม 12% ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ สินค้าเกษตรพืชเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การบริการ และการใช้จ่ายภาครัฐ โดยมีการลงทุนจากภาครัฐประมาณ 3,253 ล้านบาทต่อปี[22]

การท่องเที่ยว

[แก้]

จังหวัดสุโขทัยมีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 926,877 คน แบ่งเป็นจากในประเทศ 850,448 คน และจากต่างประเทศ 76,429 คน โดยทำรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด 2,047 ล้านบาท ส่วนมากมีจุดหมายปลายทางที่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย[23]

สถานที่ท่องเที่ยวภายในจังหวัดสุโขทัย
เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย
ตำบล ชื่อสถานที่ ตำบล ชื่อสถานที่
เมืองเก่า ศาลหลักเมืองสุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหง

พระราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

วัดศรีชุม(พระอจนะ)

วัดตะพานหิน

เตาทุเรียง

เขื่อนทำนบพระร่วง(สรีดพงษ์)

ศรีสัชนาลัย ศาลหลักเมืองศรีสัชนาลัย

ศาลหลักเมืองเชลียง(ศาลพระร่วงพระลือ)

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

ย่านพานิชย์หัตกรรมเงินทองโบราณ 800 ปี

สนามแข่งขันBMXเฉลิมพระเกียรติ(หนองช้าง)

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร (วัดพระปรางค์)

แหล่งขุดข้นโบราณคดีโครงกระดูก(วัดชมชื่น)

พระราชานุสาวรีย์พระมหาธรรมราชาที่ ๑(พระยาลิไท)

วัดเชิงคีรี(หลวงพ่อโต 700 ปี)

พิพิธภัณฑ์ชุมชนศรีสัชนาลัย

บ้านศิลปะศิลาแลงอาร์ตแกลอรี่(วัดโคกสิงคาราม)

บ้านกล้วย ทุ่งทะเลหลวง

พุทธมณฑลสุโขทัย ทุ่งทะเลหลวง

โครงการสวนสัตว์สุโขทัย

สวนพฤษศาสตร์พระแม่ย่า สุโขทัย

หนองอ้อ ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก(เตาทุเรียง)

ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านโบราณหาดเสี้ยว(สุนทรีผ้าไทย)

ชุมชนผ้าทอไทครั้ง

ธานี ศาลพระแม่ย่า ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย

พระพุทธอุทยานสุโขทัย

บ้านแก่ง อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย

อ่างเก็บน้ำแม่ท่าแพ

บ้านสวน พิพิธภัณฑ์ปลาในวรรณคดี

สวนหลวง ร.๙

หาดเสี้ยว สาธรพิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ

ชุมชนไทพวน บ้านหาดเสี้ยว

บ้านหลุม พิพิธภัณฑ์สังคโลก บ้านตึก ท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านนาต้นจั่น

ปางช้างศรีสัชนาลัย(หมู่บ้านช้างบ้านภูนก)

สารจิตร ศูนย์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านคุกพัฒนา โดย อพท.
สวรรคโลก ทุ่งเสลี่ยม
ตำบล ชื่อสถานที่ ตำบล ชื่อสถานที่
เมืองสวรรคโลก ศาลหลักเมืองสวรรคโลก

พิพิธภัณฑ์โรงเรียนสตรี "อนันตนารี" พิพิธภัณฑ์โรงพักเรือนทรงปั้นหยา พิพิธภัณฑ์ที่ว่าการอำเภอสวรรคโลก(หลังเก่า) วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร (วัดจวน)ชุมชนบ้านโบราณตลาดเมืองสวรรคโลก สถานีรถไฟสวรรคโลก

ทุ่งเสลี่ยม วัดทุ่งเสลี่ยม

วัดพิพัฒน์มงคล

คลองกระจง โครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย

ท่าอากาศยานสุโขทัย(สนามบินสุโขทัย)

กลางดง วัดเชิงผา

หอรบโบราณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม(ในเขตทุ่งเสลี่ยม)

ย่านยาว พระราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอสวรรคโลก

บ้านใหม่ไชยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล
เมืองบางขลัง เมืองโบราณบางขลัง

พระราชานุสาวรีย์พ่อขุนบางกลางหาว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

ศรีสำโรง
วังพิณพาทย์ กุฏิพระสวรรค์วรนายก (ทองคำ โสโณ)วัดสวรรคาราม(วัดกลาง) ตำบล ชื่อสถานที่
วังไม้ขอน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก นาขุนไกร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม(ในเขตศรีสำโรง)
ป่ากุมเกาะ สวนหลวงพระร่วงเฉลิมพระเกียรติ (ทุ่งแม่ระวิง)
บ้านด่านลานหอย คีรีมาศ
ตำบล ชื่อสถานที่ ตำบล ชื่อสถานที่
วังน้ำขาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม(ในเขตบ้านด่านลานหอย) นาเชิงคีรี อุทยานแห่งชาติรามคำแหง
ตลิ่งชัน พิพิธภัณฑ์โบราณคดีชุมชนบ้านวังหาด โตนด ศาลพระแม่ย่า อำเภอคีรีมาศ
ทุ่งหลวง เครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง
กงไกรลาศ ศรีนคร
ตำบล ชื่อสถานที่ ตำบล ชื่อสถานที่
กง วัดกงไกรลาศ

ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านกง

ศรีนคร สถานีรถไฟคลองมะพลับ

วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม พระอารามหลวง

งานเทศกาลและประเพณีในจังหวัดสุโขทัย

[แก้]

จะจัดขึ้นช่วงปลายเดือนตุลาคม ถึง เดือนพฤศจิกายนของทุกๆปี ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อ.เมืองสุโขทัย โดยจะมีกิจกรรมการจัดตลาดปสาน, การประกวดนางนพมาศ, การแสดงนาฏศิลป์ไทย, ลอยกระทง และยังมีการแสดงพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ของทุกวันตลอดการจัดงาน

งานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง

[แก้]

จัดขึ้นในวันที่ 18-19เมษายนของทุกปี ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์เจ้าพ่อ เมืองด้ง ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย การจัดงานจัดขึ้นเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชู “หมื่นนคร” หรือ “เจ้าพ่อเมืองด้ง” ผู้สร้างเมืองด้ง

งานหมากม่วงหมากปรางและงานของดีศรีสวรรคโลก

[แก้]

จัดขึ้นระหว่าง เดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายน ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอสวรรคโลก อ.สวรรคโลก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะมะม่วง มะปราง ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงและมีผลผลิตเป็นจำนวนมากของอำเภอสวรรคโลก

งานประเพณีสงกรานต์และเทศกาลอาหารเมืองสวรรคโลก

[แก้]

จัดขึ้นทุกวันที่ 11-15 เมษายน ของทุกปี ไหว้พระ 3 ฤทธิ์ จัดขึ้นเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีอันดีงามให้แก่ประชาชน ส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองสวรรคโลก ณ สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอสวรรคโลก

งานวันพิชิตยอดเขาหลวง

[แก้]

เป็นงานประจำปีที่จังหวัดสุโขทัยจัดให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป ได้เดินทางขึ้นสู่ยอดเขาหลวงในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง อำเภอคีรีมาศ

งานสักการะพระแม่ย่า

[แก้]

เป็นงานจัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม มีมัจฉากาชาด เดินแบบแฟชั่นการกุศล ร่วมสักการะพระแม่ย่า และมีมหรสพและอาหารชื่อดังทั่วประเทศ

งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

[แก้]

จัดขึ้นในช่วง 17-19 มกราคม ของทุกปีที่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีการแสดงแสงสีเสียง ประกวดลูกหลานพ่อขุน ตลาดโบราณ

งานแห่ช้างบวชนาคไทยพวน หาดเสี้ยว

[แก้]

จัดขึ้นในวันที่ 7 เมษายน ของทุกปี ที่วัดหาดเสี้ยว ต.หาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย ภายในงานมีแห่ช้างข้ามลำน้ำยม มีบรรพชาอุปสมบท และการแสดงพื้นบ้าน

ผู้มีชื่อเสียงที่เกิดในจังหวัดสุโขทัย

[แก้]

วงการบันเทิง

[แก้]
  • ชินกร ไกรลาศ (ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง เพลงลูกทุ่ง พ.ศ.2541)
  • ประทีป สุขโสภา (ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง เพลงพื้นบ้าน พ.ศ.2563)
  • พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ หรือ เท่ง เถิดเทิง เป็นสมาชิกแก๊งสามช่า
  • บุญญาวัลย์ พงษ์สุวรรณ หรือ ส้มเช้ง สามช่า เป็นนักแสดงตลก
  • พวง แก้วประเสริฐ หรือ น้าพวง เชิญยิ้ม เป็นนักแสดงตลก และ เป็น 1 ในสมาชิกจำอวดหน้าม่าน (เพลงฉ่อย) [24]
  • อติรุจ กิตติพัฒนะ (แคน) พิธิกรและผู้ประกาศข่าวช่อง 3 เอชดี
  • ดรุณี สุทธิพิทักษ์ หรือ เป็กกี้ ศรีธัญญา เป็นศิลปินอิสระ
  • สุภิสรา ศรีสุจินต์ (แก้ม ภิสรา) อดีตแชมป์ 103 สมัย จากรายการ ไมค์หมดหนี้ เสี่ยงโชค และ ศิลปินสังกัด แบมบูบีท [25]
  • สิริกร เจียรสวัสดิ์โสภณ นักร้อง นักแสดง อดีตผู้เข้าแข่งขัน เพลงเอก (ฤดูกาลที่ 3) ทีมโค้ชโบ๊ท ปรัชญา

วงการการเมือง

[แก้]
  • นาตยา กรุณามิตร อดีตผู้สมัครสมาชิกผู้แทนราษฏร พรรคก้าวไกล แบบแบ่งเขต เขต1
  • ชูศักดิ์ คีรีมาศทอง สมาชิกผู้แทนราษฏร พรรคเพื่อไทย แบบแบ่งเขต เขต2
  • วศินภัทร์ กิตตินันท์พาณิช อดีตผู้สมัครสมาชิกผู้แทนราษฏร พรรคก้าวไกล แบบแบ่งเขต เขต2
  • ประภาพร ทองปากน้ำ สมาชิกผู้แทนราษฏร พรรคเพื่อไทย แบบแบ่งเขต เขต3
  • กัญญาวีร์ ทองสงค์ อดีตผู้สมัครสมาชิกผู้แทนราษฏร พรรคก้าวไกล แบบแบ่งเขต เขต3
  • จักรวาล ชัยวิรัตน์นุกุล สมาชิกผู้แทนราษฏร พรรคเพื่อไทย แบบแบ่งเขต เขต4
  • นวพันธ์ เอื้อคณิต อดีตผู้สมัครสมาชิกผู้แทนราษฏร พรรคก้าวไกล แบบแบ่งเขต เขต4
  • ประภาภรณ์ เชยวัดเกาะ อดีตผู้สมัครสมาชิกผู้แทนราษฏร พรรคประชาธิปัตย์ แบบแบ่งเขต เขต1

วงการกีฬา

[แก้]
  • พันตำรวจโท วิจารณ์ พลฤทธิ์ อดีตนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น โอลิมปิกฤดูร้อน ซิดนีย์ 2000

พระภิกษุสงฆ์/สามเณร

[แก้]
  • หลวงพ่อห้อม อมโร อดีตเจ้าอาวาสวัดคูหาสุวรรณ
  • สามเณร กวีพัฒน์ ช่างทำ (สามเณรสกาย) อดีตสามเณรปลูกปัญญาธรรมปี ๑๐

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์ 2565.
  3. "เมืองลูกหลวง สถาบันปกเกล้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-19. สืบค้นเมื่อ 2023-01-05.
  4. 4.0 4.1 4.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. 29 เมษายน 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-10-01.
  5. "ประกาศ เรื่องยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 576–578. 29 กุมภาพันธ์ 1932. สืบค้นเมื่อ 2024-06-03.{{cite journal}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. [1] เก็บถาวร 2008-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒
  7. "ข้อมูลภาพรวมจังหวัด สำนักงานแรงงาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-19. สืบค้นเมื่อ 2023-02-24.
  8. ภูมิอากาศจังหวัดสุโขทัย ศูนย์ภูมิอากาศ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา มกราคม 2566
  9. กรมอุตุนิยมวิทยา ค่ามาตรฐาน 30 ปี (1981-2010) สุโขทัย
  10. สถิติจำนวนประชากรทางการทะเบียน
  11. ข้อมูลจำนวน อปท. แยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  12. รถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย
  13. ท่าอากาศยานสุโขทัย
  14. ที่ตั้งโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  15. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต1
  16. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต2
  17. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน[ลิงก์เสีย]/
  18. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถานศึกษาในสังกัด สอศ. ในจังหวัดสุโขทัย[ลิงก์เสีย]
  19. หมวดหมู่:สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสุโขทัย
  20. Healthserv.net รายชื่อโรงพยาบาลในจังหวัดสุโขทัย
  21. สำนักงานคลังจังหวัดสุโขทัย[ลิงก์เสีย]
  22. [2][ลิงก์เสีย]
  23. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย
  24. "แก่แล้วต้องเก๋าด้วย! "น้าพวง เชิญยิ้ม" สูงวัยแบบมีคุณค่า ชราแบบมีคุณภาพ". www.sanook.com/movie. 2023-05-20.
  25. "Facebook". www.facebook.com.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

17°01′N 99°45′E / 17.01°N 99.75°E / 17.01; 99.75

ก่อนหน้า จังหวัดสุโขทัย ถัดไป
ไม่มี
อดีตเมืองหลวงราชอาณาจักรแห่งประเทศไทย
(พ.ศ. 1792 - พ.ศ. 1981)
กรุงศรีอยุธยา
(พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310)