สุรินทร์ เศรษฐมานิต
สุรินทร์ เศรษฐมานิต | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ก่อนหน้า | ชุบ กาญจนประกร |
ถัดไป | อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2478 |
ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุรินทร์ เศรษฐมานิต เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเป็นอดีตรองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติ
[แก้]ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุรินทร์ เศรษฐมานิต หรือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรินทร์ เศรษฐมานิต เกิดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2478 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมโยธา จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขา Public Health Engineering
การทำงาน
[แก้]ศ.กิตติคุณ สุรินทร์ เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2506 เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2515 สมัยของศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สรเทศน์ เป็นอธิการบดี ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อรุณ สรเทศน์) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2517[2] เขากลับเข้ารับหน้าที่คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2518 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (ครม.41) ในปี พ.ศ. 2523 แทน ศ.ดร.ชุบ กาญจนประกร[3][4] จากนั้นเขาได้กลับเข้ารับราชการ และได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2531
ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุรินทร์ เศรษฐมานิต ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราภิชาน ประจำสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 162/2517
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2013-07-17.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-07-17.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔๑, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
ก่อนหน้า | สุรินทร์ เศรษฐมานิต | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ชุบ กาญจนประกร | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (11 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523) |
อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2478
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- ศาสตราภิชาน
- อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วิศวกรชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา