ปรีดา กรรณสูต
ปรีดา กรรณสูต | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521 | |
นายกรัฐมนตรี | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ก่อนหน้า | อินทรีย์ จันทรสถิตย์ |
ถัดไป | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กันยายน พ.ศ. 2463 อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี |
เสียชีวิต | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (88 ปี) |
คู่สมรส | หม่อมราชวงศ์เติมแสงไข รพีพัฒน์ ธีราณี สิรยายน |
ปรีดา กรรณสูต (1 กันยายน พ.ศ. 2463 — 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตอธิบดีกรมประมง
การทำงาน
[แก้]ปรีดา กรรณสูต หรือที่รู้จักกันในนาม ดร.ปรีดา กรรณสูต เริ่มเข้ารับราชการครั้งแรกในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมประมงในปี พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2514[1] และเข้ามารับตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อนจะได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520[2] ต่อจากอินทรีย์ จันทรสถิตย์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521 และได้ย้ายไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[3] และพ้นจากตำแหน่งเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 เพื่อไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[4]
ปรีดา กรรณสูต เคยร่วมก่อตั้งพรรคการเมือง ร่วมกับพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2525 และได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคชาติประชาธิปไตย[5]
ครอบครัว
[แก้]ปรีดา กรรณสูต สมรสกับหม่อมราชวงศ์เติมแสงไข รพีพัฒน์ ธิดาของหม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์ (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์กับหม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา) กับหม่อมเจ้าเริงจิตร์แจรง อาภากร (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์กับหม่อมกิม อาภากร ณ อยุธยา) มีบุตรสี่คน คือ รุจน์, จรัลธาดา, แสงสูรย์ และดาลัต กรรณสูต[6]
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]ปรีดา กรรณสูต ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม และ ฉัตรเบญจาประกอบศพ (ลงโกศจริง) และได้มีพิธีพระราชทานเพลิงศพใน วันจันทร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ในการพระราชทานเพลิงศพ[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ปรีดา กรรณสูต ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2515 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2516 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[11]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[13]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2515 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 2
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติอธิบดีกรมประมง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-23. สืบค้นเมื่อ 2016-12-14.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 99 ตอนที่ 154 วันที่ 20 ตุลาคม 2525
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ "พระราชทานเพลิงศพนายปรีดา กรรณสูตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2014-08-04.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๘๙, ๑๕ มีนาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๕๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๓, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2463
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2551
- อธิบดีกรมประมง
- ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย
- พรรคชาติประชาธิปไตย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- สกุลกรรณสูต
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัยชั้นที่ 3
- บุคคลจากอำเภอบางปลาม้า
- นักการเมืองจากจังหวัดสุพรรณบุรี