ศาสนาในประเทศลาว
ศาสนาในประเทศลาวที่มีผู้นับถือมากที่สุดคือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยมีประชากรที่นับถือศาสนาถึงร้อยละ 66[2] กลุ่มชาติพันธุ์ลาวหรือ ลาว "ที่ต่ำ" (ลาวลุ่มและลาวหล่ม) เกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท อย่างไรก็ตาม กลุ่มเหล่านี้มีเพียงร้อยละ 40-50 ของประชากรทั้งหมด[3] ส่วนประชากรที่เหลืออยู่ในชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์จำเพาะอย่างน้อย 48 กลุ่ม[3] ส่วนใหญ่นับถือศาสนาผีที่มีความเชื่อหลากหลายไปตามกลุ่ม[3]
ศาสนาผีเป็นศาสนาหลักของกลุ่มชนชาวไททางเหนือ เช่น ไทดำและไทแดง เช่นเดียวกันกับกลุ่มชนมอญ-เขมรและทิเบต-พม่า[3] แม้แต่ในบรรดาลาวที่ต่ำ ความเชื่อ "ผี" ก่อนการมาของศาสนาพุทธหลายอย่าง ถูกรวมเข้ากับแนวปฏิบัติของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท[3] ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์มีผู้นับถือเพียงประมาณร้อยละ 2 ของประชากรทั้งหมด[3] ศาสนาขนาดเล็กอื่น ๆ ได้แก่ศาสนาบาไฮ, อิสลาม, พุทธนิกายมหายาน และลัทธิขงจื๊อ[3] โดยมีจำนวนพลเมืองที่เป็นอเทวนิยมหรืออไญยนิยมน้อยมาก[3]
ถึงแม้ว่ารัฐบาลห้ามชาวต่างชาติเข้ามาเปลี่ยนศาสนา ชาวต่างชาติที่พำนักอาศัยบางคนที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจเอกชนหรือองค์กรพัฒนาเอกชนทำกิจกรรมทางศาสนาอย่างเงียบ ๆ[3] แนวลาวส้างซาดมีหน้าที่ดูแลกิจการศาสนาภายในประเทศ และองค์กรทางศาสนาทุกแห่งในประเทศลาวต้องจดทะเบียนกับองค์กรนี้[4]
ศาสนาพุทธ
[แก้]ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในลาว มีวัดทั่วประเทศราว 5,000 วัด ชายลาวที่นับถือศาสนาพุทธจะบวชเป็นพระภิกษุในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต มีพระภิกษุในประเทศราว 22,000 รูป และเป็นพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่ราว ๆ 9,000 รูป มีสตรีที่บวชเป็นแม่ชี พระภิกษุส่วนใหญ่ในลาวเป็นมหานิกายหลัง พ.ศ. 2518 แต่ก็ยังมีที่เป็นธรรมยุติกนิกายอยู่บ้างเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่จะอยู่ในเวียงจันทน์
พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ซึ่งเป็นพระเจดีย์แบบลาวจัดเป็นสถานที่ที่สำคัญทางพุทธศาสนาในลาว และมีงานฉลองในเดือนพฤศจิกายน วัดของศาสนาพุทธนิกายมหายานในลาวเป็นของชาวเวียดนาม 2 แห่ง ชาวจีน 2 แห่ง
ประวัติศาสตร์
[แก้]คาดว่าศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศลาวเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13 โดยผ่านมาทางมอญและได้แพร่หลายไปจนทั่วประเทศในราวพุทธศตวรรษที่ 19 กษัตริย์ลาวทรงให้การสนับสนุนพุทธศาสนา ในอดีตพระสงฆ์ในลาวมีบทบาทด้านการให้การศึกษาแก่ประชาชน แต่หมดบทบาทไปเมื่อฝรั่งเศสจัดการศึกษาแบบตะวันตกขึ้น จนกระทั่งญี่ปุ่นเข้ามาในลาว มีการจัดตั้งขบวนการชาตินิยมลาวโดยใช้พุทธศาสนาเป็นศูนย์กลาง วัดมีบทบาทในการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช[5]
ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา ขบวนการประเทศลาวพยายามนำพระสงฆ์มาอยู่ฝ่ายซ้าย ในขณะที่รัฐบาลราชอาณาจักรลาวก็พยายามควบคุมพระสงฆ์ หลังจากที่มีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้มีการเปรียบเทียบคำสอนในพุทธศาสนากับลัทธิมาร์กซิสม์[5] พระสงฆ์บางส่วนถูกส่งไปค่ายสัมมนา พระสงฆ์บางส่วนลาสิกขาและหนีมาประเทศไทย การบวชพระและเณรลดลง วัดว่างเปล่ามากขึ้น
สถานการณ์ของพุทธศาสนาดีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2522 โดยนโยบายของรัฐบาลให้อิสระมากขึ้น จำนวนพระสงฆ์มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลัง พ.ศ. 2523 ทำให้การควบคุมทางการเมืองผ่อนคลาย การเฉลิมฉลองทางพุทธศาสนาเพิ่มขึ้น รวมทั้งงานฉลองพระธาตุหลวงที่จัดขึ้นอีกครั้งใน พ.ศ. 2529 หลังจากถูกห้ามไปนาน
ศาสนาผี
[แก้]ศาสนาผีมีอิทธิพลต่อชาวลาวทุกกลุ่ม แม้แต่ชาวลาวลุ่มที่นับถือพุทธศาสนา แต่ก็นับถือผีควบคู่ไปด้วย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญ มนุษย์จะมีขวัญประจำตัว เมื่อขวัญออกจากร่างกายจะต้องทำพิธิสู่ขวัญ ศาสนาของชาวลาวเทิงและชาวลาวสูงหลายเผ่าเป็นการนับถือผี ทั้งในธรรมชาติและผีบรรพบุรุษ อาการเจ็บไข้ได้ป่วยจะเกี่ยวข้องกับการกระทำของผี
ศาสนาคริสต์
[แก้]ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาของชนกลุ่มน้อยในลาว นิกายที่พบได้แก่โรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ เช่น คริสตจักรสายประกาศข่าวประเสริฐลาว และคริสตจักรเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ เป็นต้น
คริสตชนนิกายโรมันคาทอลิกมีประมาณ 45,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวญวน อยู่ในเขตเมืองหลักและบริเวณรอบ ๆ แม่น้ำโขง ทางภาคกลางและภาคใต้ ส่วนในภาคเหนือมีผู้นับถือศาสนาคริสต์จำนวนน้อย คริสตชนนิกายโปรเตสแตนต์มีน้อยแต่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้น คาดว่ามีประมาณ 100,000 คน คริสตจักรเพรสไบทีเรียน มักเป็นชนเผ่าที่พูดภาษาในกลุ่มมอญ-เขมร โดยเฉพาะชาวขมุทางภาคเหนือและชาวบรูทางภาคกลาง และกำลังเพิ่มจำนวนในหมู่ชาวม้งและชาวเย้า ผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์พบในเวียงจันทน์ ไชยบุรี หลวงพระบาง เชียงขวาง บอลิคำไซ สุวรรณเขต จำปาศักดิ์ และอัตตะปือ
ศาสนาอิสลาม
[แก้]มีมุสลิมน้อยมากในลาวคิดเป็นร้อยละ 0.01 ของประชากรทั้งหมด[6] ส่วนใหญ่พบในเวียงจันทน์ซึ่งมีมัสยิดเป็นของตนเอง มีมุสลิมที่เป็นชาวจามบางส่วนอพยพหนีภัยในยุคเขมรแดงจากกัมพูชามาสู่ลาว[7]
ศาสนาบาไฮ
[แก้]ศาสนาบาไฮเริ่มเข้าสู่ลาวเมื่อ พ.ศ. 2498[8] มีกลุ่มชนที่นับถือศาสนานี้ราว 8000 คน ในเวียงจันทน์ เมืองไกสอนพมวิหาร และปากเซ
อื่น ๆ
[แก้]ดินแดนบางส่วนของลาวเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเขมร และยังคงมีโบสถ์พราหมณ์เหลืออยู่ ในเมืองใหญ่มีกลุ่มคนที่นับถือลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://assets.pewresearch.org/wp-content/uploads/sites/11/2012/12/globalReligion-tables.pdf [bare URL PDF]
- ↑ Pew Research Center 2015
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 "Laos". International Religious Freedom Report 2007. U.S. Department of State. 2007. สืบค้นเมื่อ October 26, 2021. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
{{cite web}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ USCIRF Annual Report 2009 - The Commission's Watch List: Laos เก็บถาวร 2012-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 5.0 5.1 ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. พุทธศาสนากับสังคมการเมืองในอุษาคเนย์ ใน อุษาคเนย์ที่รัก. สุเจน กรรพฤทธิ์ และ สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ, บก. กทม. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2553
- ↑ “2008 Report on International Religious Freedom,” Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor, Under Secretary for Democracy and Global Affairs, United States Department of State, September 2008.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-01-16.
- ↑ `Abdu'l-Bahá (1991). Tablets of the Divine Plan (Paperback ed.). Wilmette, Illinois, USA: Bahá'í Publishing Trust. pp. 40–42. ISBN 0-87743-233-3.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|origdate=
ถูกละเว้น แนะนำ (|orig-date=
) (help)
ข้อมูล
[แก้]- Savada, Andrea Matles, บ.ก. (1995). Laos: a country study (3rd ed.). Washington, D.C.: Federal Research Division, Library of Congress. ISBN 0-8444-0832-8. OCLC 32394600. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
{{cite encyclopedia}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์)