ข้ามไปเนื้อหา

สังสารวัฏ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วัฏสงสาร)
ภวจักรในศาสนาพุทธที่กล่าวถึงสังสารวัฏ

วัฏสงสาร, สังสารวัฏ หรือ สงสารวัฏ (อักษรเทวนาครี: संसार, saṃsāra) เป็นศัพท์บาลี/สันสกฤตที่มีความหมายว่า "โลก"[1][2] กับแนวคิดการกลับมาเกิดและ "วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต สสาร การดำรงอยู่" ความเชื่อพื้นฐานในศาสนาอินเดียส่วนใหญ่[3][4] สังสารวัฏเป็นที่นิยมในแนวคิดการเวียนว่ายตายเกิด[2][5] บางครั้งสื่อด้วยคำหรือวลีอื่นอย่าง การเกิดใหม่, วงจรกรรม, การกลับชาติมาเกิด หรือ Punarjanman และ "วัฏจักรของการล่องลอยอย่างไร้จุดหมาย เร่ร่อน หรือการดำรงอยู่ทางโลก"[2][6]

แนวคิดสังสารวัฏมีที่มาจากวรรณกรรมหลังพระเวท ทฤษฎีนี้ไม่ได้พูดถึงตัวพระเวทเอง[7][8] โดยปรากฏในรูปแบบที่พัฒนาแล้ว แต่ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการในอุปนิษัทตอนต้น[9][10] การแสดงธรรมเกี่ยวกับสังสารวัฏยังพบในศาสนาสมณะ เช่น พุทธและเชน เช่นเดียวกันกับสำนักปรัชญาฮินดูหลายแห่งประมาณหลังกลางสหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช[10][11] หลักคำสอนเกี่ยวกับสังสารวัฏถูกเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฎีกรรมในศาสนาฮินดู และการปลดปล่อยจากสังสารวัฏถือเป็นแก่นแท้ของการแสวงหาจิตวิญญาณของธรรมเนียมอินเดีย ตลอดจนข้อขัดแย้งภายในของตน[12][13] การปลดปล่อยตนเองจากสังสารวัฏมีชื่อเรียกว่าโมกษะ, นิพพาน, Mukti หรือ Kaivalya[6][14][15]

ความหมายและศัพทมูล

[แก้]

สังสารวัฏหมายถึง "การพเนจร"[2][16] หรือ "โลก" ซึ่งคำนี้มีความหมายว่า "การเปลี่ยนวัฏจักร"[1] สังสารวัฏเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฎีกรรมและสื่อถึงความเชื่อที่ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งมวลต้องเวียนว่ายตายเกิด คำนี้ยังปรากฏในวลีที่คล้ายกันอย่าง "วัฏจักรของการดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง", "การเกิดใหม่", "วงจรกรรม", "วงล้อชีวิต" และ "วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต สสาร การดำรงอยู่"[2][5][17]

Monier-Williams รายงานว่า สังสารวัฏ (saṃsāra) มีรากมาจาก Saṃsṛ (संसृ) หมายถึง "เวียนไปเวียนมา, หมุนเวียน, ไปสู่หรือได้มา, เคลื่อนที่เป็นวง"[18] แนวคิดนี้อยู่ตรงข้ามกับแนวคิดโมกษะ ซึ่งมีอีกชื่อว่า mukti, นิพพาน, นิรวาณ หรือ kaivalya ซึ่งสื่อถึงการปลดปล่อยตนเองจากวัฏจักรอันไร้จุดหมาย[6][18]

แนวคิดสังสารวัฏพัฒนาขึ้นหลังสมัยพระเวท และสืบต้นตอในชั้นSamhita เช่น ในฤคเวทส่วนที่ 1.164, 4.55, 6.70 และ 10.14[9][19][20] ในขณะที่แนวคิดที่กล่าวถึงในชั้น Samhita ของพระเวท ยังไม่มีคำแสดงที่กระจ่าง และแนวคิดนี้พัฒนาเต็มที่ในอุปนิษัทตอนต้น[21][22] Damien Keown ระบุว่าแนวคิด "การเวียนว่ายตายเกิด" ปรากฏขึ้นประมาณ 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช[23] คำว่าสังสารวัฏกับโมกษะยังปรากฏในหลักวิชาอุปนิษัทบางเล่ม เช่น โองการที่ 1.3.7 ของ Katha Upanishad,[24] โองการที่ 6.16 ของ Shvetashvatara Upanishad[25] และโองการที่ 1.4 กับ 6.34 ของMaitri Upanishad[26][27]

ศาสนาฮินดู

[แก้]
การปล่อยตนเองจากสังสารวัฏหรือโมกษะ ถือเป็นเป้าหมายจิตวิญญาณสูงสุดในศาสนาฮินดู แต่ธรรมเนียมในศาสนาโต้แย้งว่าจะเข้าถึงสถานะนี้อย่างไร ซ้าย: การอุทิศตนด้วยความรักเป็นสิ่งที่แนะนำในประเพณีฮินดูแบบทวิภาคี ขวา: การทำสมาธิเป็นข้อแนะนำสำหรับประเพณีฮินดูที่ไม่ใช่ทวิภาคี

ในศาสนาฮินดู สังสารวัฏเป็นการเดินทางสู่อาตมัน[28] ตามธรรมเนียมฮินดู ร่างกายตาย แต่อาตมะไม่ตาย ซึ่งถือว่าเป็นความจริงนิรันดร์ ทำลายไม่ได้ และสุคติ[28] ทุกสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงกัน เป็นวัฏจักร และประกอบด้วยสองสิ่ง คือตัวตนหรืออาตมัน และร่างกายหรือวัตถุ[29] ตามความเชื่อฮินดู สิ่งที่คงอนันต์นามว่าอาตมันจะไม่กลับชาติมาเกิด มันจะไม่เปลี่ยนแปลงและอยู่ยงคงกระพัน[29] ตรงกันข้าม ร่างกายและบุคลิกภาพสามารถเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เกิดและตาย[29] กรรมในปัจจุบันส่งผลต่อสถานการณ์ในอนาคตในชีวิตนี้ เช่นเดียวกันกับรูปร่างและชีวิตในดินแดนในอนาคตด้วย[30][31] ในมุมมองชีวิตของฮินดู ความตั้งใจและการกระทำที่ดีนำไปสู่อนาคตที่ดี ความตั้งใจและการกระทำที่ไม่ดีนำไปสู่อนาคตที่ไม่ดี[32]

ศาสนาพุทธ

[แก้]
thangka ของทิเบต แสดงภาพภวจักรและดินแดนทั้งหกในสังสารวัฏของจักรวาลวิทยาแบบพุทธ[33]

ในศาสนาพุทธ Jeff Wilson อธิบายถึงสังสารวัฏเป็น "วัฏจักรแห่งชีวิต ความตาย และการเกิดใหม่ที่ไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุด"[34] มีอีกชื่อว่าภวจักร มักกล่าวถึงในคัมภีร์ศาสนาพุทธว่า punarbhava (การเกิดใหม่) รากฐานและจุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดของศาสนาพุทธคือนิพพาน การปลดปล่อยตนจากวัฏจักรของการดำรงอยู่[34][35][36]

สังสารวัฏ ถือเป็นสิ่งที่คงอยู่ถาวรในศาสนาพุทธ เช่นเดียวกับศาสนาอินเดียอื่น ๆ Paul Williams ระบุว่า ในแนวคิดศาสนาพุทธ กรรมเป็นตัวนำสังสารวัฏถาวร และ "ไม่บรรลุนิพพาน ในแต่ละครั้งจะมีผู้ถือกำเนิดและตายเพื่อไปเกิดในภพอื่นตามเหตุอันไม่มีตัวตนโดยสมบูรณ์แห่งกรรมของตน วัฏจักรการเกิด การเกิดและตายใหม่ที่ไม่สิ้นสุดนี้คือสังสารวัฏ"[37] อริยสัจ 4 ที่พุทธศาสนาทุกนิกายยอมรับ เป็นสิ่งที่จะยุติการเกิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสังสารวัฏนี้ และวัฏจักรแห่งทุกข์ที่เกี่ยวข้อง[38][39][40]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Klaus Klostermaier 2010, p. 604.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Mark Juergensmeyer & Wade Clark Roof 2011, pp. 271–72.
  3. Yadav, Garima (2018), "Abortion (Hinduism)", Hinduism and Tribal Religions, Encyclopedia of Indian Religions, Springer Netherlands, pp. 1–3, doi:10.1007/978-94-024-1036-5_484-1, ISBN 978-9402410365
  4. Flood, Gavin D. (1996), An Introduction to Hinduism, Cambridge University Press
  5. 5.0 5.1 Rita M. Gross (1993). Buddhism After Patriarchy: A Feminist History, Analysis, and Reconstruction of Buddhism. State University of New York Press. pp. 148. ISBN 978-1-4384-0513-1.
  6. 6.0 6.1 6.2 Shirley Firth (1997). Dying, Death and Bereavement in a British Hindu Community. Peeters Publishers. pp. 106, 29–43. ISBN 978-90-6831-976-7.
  7. A.M. Boyer: Etude sur l'origine de la doctrine du samsara. Journal Asiatique, (1901), Volume 9, Issue 18, S. 451–53, 459–68
  8. Yuvraj Krishan: . Bharatiya Vidya Bhavan, 1997, ISBN 978-81-208-1233-8
  9. 9.0 9.1 A.M. Boyer (1901), Etude sur l'origine de la doctrine du samsara, Journal Asiatique, Volume 9, Issue 18, pp. 451–53, 459–68
  10. 10.0 10.1 Stephen J. Laumakis 2008, pp. 90–99.
  11. Yuvraj Krishan (1997). The Doctrine of Karma: Its Origin and Development in Brāhmaṇical, Buddhist, and Jaina Traditions. Bharatiya Vidya Bhavan. pp. 17–27. ISBN 978-81-208-1233-8.
  12. Obeyesekere 2005, pp. 1–2, 108, 126–28.
  13. Mark Juergensmeyer & Wade Clark Roof 2011, pp. 272–73.
  14. Michael Myers 2013, p. 36.
  15. Harold Coward 2008, p. 103.
  16. Lochtefeld 2002, p. 589.
  17. Yuvraj Krishan (1988), Is Karma Evolutionary?, Journal of Indian Council of Philosophical Research, Volume 6, pp. 24–26
  18. 18.0 18.1 Monier Monier-Williams (1923). A Sanskrit-English Dictionary. Oxford University Press. pp. 1040–41.
  19. Louis de La Vallée-Poussin (1917). The way to Nirvana: six lectures on ancient Buddhism as a discipline of salvation. Cambridge University Press. pp. 24–29.
  20. Yuvraj Krishan (1997). The Doctrine of Karma: Its Origin and Development in Brāhmaṇical, Buddhist, and Jaina Traditions. Bharatiya Vidya Bhavan. pp. 11–15. ISBN 978-81-208-1233-8.
  21. Stephen J. Laumakis 2008, p. 90.
  22. Dalal 2010, pp. 344, 356–57.
  23. Damien Keown 2004, p. 248.
  24. Katha Upanishad प्रथमोध्यायः/तृतीयवल्ली Wikisource
  25. Shvetashvatara Upanishad षष्ठः अध्यायः Wikisource
  26. Maitri Upanishad Wikisource, Quote: ३ चित्तमेव हि संसारम् तत्प्रयत्नेन शोधयेत्
  27. GA Jacob (1963), A concordance to the Principal Upanishads and Bhagavad Gita, Motilal Banarsidass, pp. 947–48
  28. 28.0 28.1 Mark Juergensmeyer & Wade Clark Roof 2011, p. 272.
  29. 29.0 29.1 29.2 Jeaneane D. Fowler 1997, p. 10.
  30. Mukul Goel (2008). Devotional Hinduism: Creating Impressions for God. iUniverse. p. 6. ISBN 978-0-595-50524-1.
  31. Christopher Chapple (1986), Karma and creativity, State University of New York Press, ISBN 0-88706-251-2, pp. 60–64
  32. Jeaneane D. Fowler 1997, p. 11.
  33. Patrul Rinpoche; Dalai Lama (1998). The Words of My Perfect Teacher: A Complete Translation of a Classic Introduction to Tibetan Buddhism. Rowman Altamira. pp. 61–99. ISBN 978-0-7619-9027-7.
  34. 34.0 34.1 Jeff Wilson (2010). Saṃsāra and Rebirth, in Buddhism. Oxford University Press. doi:10.1093/obo/9780195393521-0141. ISBN 978-0195393521.
  35. Edward Conze (2013). Buddhist Thought in India: Three Phases of Buddhist Philosophy. Routledge. p. 71. ISBN 978-1-134-54231-4., Quote: "Nirvana is the raison d’être of Buddhism, and its ultimate justification."
  36. Gethin 1998, p. 119.
  37. Williams 2002, pp. 74–75.
  38. Paul Williams, Anthony Tribe & Alexander Wynne 2012, pp. 30–42.
  39. Robert Buswell Jr. & Donald Lopez Jr. 2013, pp. 304–05.
  40. Peter Harvey (2015). Steven M. Emmanuel (บ.ก.). A Companion to Buddhist Philosophy. John Wiley & Sons. pp. 26–44. ISBN 978-1-119-14466-3. Quote: "the first features described as painful [dukkha] in the above DCPS [Dhamma-cakka-pavatana Sutta in Vinaya Pitaka] quote are basic biological aspects of being alive, each of which can be traumatic. The dukkha of these is compounded by the rebirth perspective of Buddhism, for this involves repeated re-birth, re-aging, re-sickness, and re-death."

ข้อมูลทั่วไปและอ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]