ข้ามไปเนื้อหา

วัคซีนเชื้อตาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัคซีนเชื้อตาย (อังกฤษ: killed vaccine, inactivated vaccine) เป็นวัคซีนประเภทหนึ่งที่ประกอบจากตัวไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพก่อโรคที่เพาะขึ้นแล้วทำให้ตายหรือไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ จึงไม่สามารถก่อโรคได้ เทียบกับวัคซีนเป็น ๆ (live vaccine) ที่ใช้จุลชีพก่อโรคที่ยังเป็น ๆ ถึงแม้แทบทั้งหมดก็จะเป็นวัคซีนที่ลดฤทธิ์เชื้อแล้ว (attenuated vaccine) จุลชีพก่อโรคของวัคซีนที่ฆ่าเชื้อจะเพาะในภาวะที่ควบคุมแล้วฆ่าเพื่อลดศักยภาพก่อโรคและป้องกันไม่ให้ติดโรคจากวัคซีน[1] ไวรัสอาจฆ่าด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ด้วยความร้อนหรือฟอร์มาลดีไฮด์

วัคซีนเชื้อตายยังสามารถแบ่งประเภทได้อีกตามวิธีที่ใช้ฆ่าเชื้อ[2]

  • วัคซีนชนิดเต็ม (whole virus vaccine) ใช้ไวรัสทั้งตัวแต่ฆ่าด้วยความร้อน สารเคมี หรือการฉายรังสี[3]
  • วัคซีนแยกส่วน (split virus vaccine) ผลิตโดยใช้สารซักฟอกเพื่อแยกตัวไวรัส[2]
  • วัคซีนหน่วยย่อย (subunit vaccine) ผลิตโดยแยกเอาแอนติเจนของไวรัสที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด และกำจัดองค์ประกอบอื่น ๆ ที่จำเป็นในการรอดชีวิตและการแพร่พันธุ์ของไวรัส และที่อาจก่อผลที่ไม่พึงประสงค์[2][3]

เพราะไวรัสฆ่าเชื้อมักทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองอ่อนกว่าเทียบกับเมื่อใช้ไวรัสเป็น ๆ การใส่ตัวเสริมภูมิคุ้มกัน (immunologic adjuvant)[A] หรือการฉีดยาหลายครั้งอาจจำเป็นเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพ[1][2][3] วัคซีนที่ลดฤทธิ์มักเลือกใช้กับคนสุขภาพดีเพราะการใช้วัคซีนเพียงโดสเดียวก็มักจะปลอดภัยและมีประสิทธิภาพดีมาก แต่บางคนก็ไม่สามารถรับวัคซีนลดฤทธิ์ได้เพราะเสี่ยงเกิน (เช่น คนชรา หรือคนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง) สำหรับคนเหล่านั้น วัคซีนฆ่าเชื้อแล้วก็จะช่วยป้องกันโรคได้

ตัวอย่าง

[แก้]

ตัวอย่างของวัคซีนเชื้อตาย เช่น:[6]

กลไก

[แก้]

เมื่อทำลายอนุภาคจุลชีพก่อโรคแล้ว จุลชีพก็จะไม่สามารถแพร่พันธุ์ แต่ยังคงสภาพบางอย่างที่ระบบภูมิคุ้มกันสามารถระบุแล้วตอบสนองด้วยกลไกแบบปรับตัวได้ เมื่อผลิตอย่างถูกต้อง วัคซีนย่อมไม่สามารถแพร่โรค แต่การฆ่าจุลชีพก่อโรคอย่างไม่ถูกต้องอาจทำให้ติดโรคได้ เพราะจุลชีพก่อโรคที่ฆ่าแล้วมักจะทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองอ่อนกว่าจุลชีพเป็น ๆ การผสมใส่ตัวเสริมภูมิคุ้มกัน (immunologic adjuvant)[A] หรือการฉีดยาหลายครั้งอาจจำเป็นเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพ[1][2][3]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ในวิทยาภูมิคุ้มกัน ตัวเสริม (adjuvant) เป็นองค์ประกอบที่เพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อแอนติเจน หรือปรับปรุงภูมิคุ้มกันให้ใกล้กับระดับการตอบสนองที่ต้องการเพิ่มขึ้น[4] คำภาษาอังกฤษว่า "adjuvant" มาจากคำละตินว่า adiuvare ซึ่งแปลว่า ช่วย คือ "ตัวเสริมภูมิคุ้มกัน (immunologic adjuvant) นิยามว่าเป็นสารอะไรก็ได้ที่เร่ง ยืดระยะ หรือเพิ่มการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อแอนติเจนโดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับแอนติเจนในวัคซีนโดยเฉพาะ"[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Petrovsky, Nikolai; Aguilar, Julio César (2004-09-28). "Vaccine adjuvants: Current state and future trends". Immunology and Cell Biology (ภาษาอังกฤษ). 82 (5): 488–496. doi:10.1111/j.0818-9641.2004.01272.x. ISSN 0818-9641. PMID 15479434. S2CID 154670.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 WHO Expert Committee on Biological Standardization (2016-01-07). "Influenza". World Health Organization (WHO). สืบค้นเมื่อ 2016-05-16.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Types of Vaccines". Vaccines.gov. U.S. Department of Health and Human Services. 2013-07-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-09. สืบค้นเมื่อ 2016-05-16.
  4. "Guideline on Adjuvants in Vaccines for Human Use" (PDF). The European Medicines Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 2013-05-08.
  5. Sasaki, Shin; Okuda, Kenji (2000). The Use of Conventional Immunologic Adjuvants in DNA Vaccine Preparations. DNA Vaccines: Methods and Protocols. Humana Press. ISBN 978-0-89603-580-5. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. "Immunization". สืบค้นเมื่อ 2009-03-10.