ข้ามไปเนื้อหา

การให้วัคซีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การให้วัคซีน
การแทรกแซง
ICD-9-CM99.3-99.5

การให้วัคซีน (อังกฤษ: vaccination) เป็นการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง หมายถึงการให้สารที่เป็นแอนติเจน (วัคซีน) เข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันชนิดรับมา (adaptive immunity) เป็นแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อเชื้อก่อโรคหนึ่งๆ ซึ่งจะสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อได้ เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่ได้รับวัคซีนมากถึงระดับหนึ่งก็จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้น ทำให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือรับวัคซีนไม่ได้ ได้รับประโยชน์ในการป้องกันโรคจากผู้ที่มีภูมิคุ้มกันเหล่านี้ไปด้วย ประสิทธิผลของการให้วัคซีนนั้นได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางและเป็นที่ยืนยันแล้ว[1][2][3] โดยพบว่าการให้วัคซีนเป็นวิธีการในการป้องกันโรคติดเชื้อที่ได้ผลดีที่สุด[4] การมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อก่อโรคเป็นวงกว้างจากการให้วัคซีนนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษยชาติสามารถกำจัดเชื้อโรคบางอย่างให้หมดไปได้ เช่น ฝีดาษ และอีกหลายเชื้อที่กำลังจะหมดไป เช่น โปลิโอ หัด และบาดทะยัก เป็นต้น

การปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษเป็นความพยายามครั้งแรกๆ ในการป้องกันโรคติดเชื้อโดยมนุษย์[5][6] และวัคซีนโรคฝีดาษก็เป็นวัคซีนชนิดแรกของโลกที่ถูกผลิตตามมา โดยถูกผลิตขึ้นใน ค.ศ. 1796 โดยแพทย์ชาวอังกฤษชื่อเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ แม้จะมีคนอีกไม่น้อยกว่า 6 คนได้ใช้หลักการเดียวกันนี้พยายามทำวัคซีนมาก่อนแล้วแต่เขาเป็นคนแรกที่ได้ตีพิมพ์หลักฐานการค้นพบ ประสิทธิภาพ และคำแนะนำในการผลิตวัคซีนนี้แก่สาธารณะ[7] ต่อมาหลุยส์ ปาสเตอร์ได้นำแนวคิดนี้ไปพัฒนาแนวคิดว่าด้วยจุลชีววิทยา วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันเช่นนี้ถูกเรียกว่าการให้วัคซีน (vaccination) เนื่องจากวิธีแรกๆ ในการผลิตวัคซีนนั้นทำจากไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในวัว (ภาษาลาตินว่า vacca)[5][7] ฝีดาษเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายและมีอันตรายถึงแก่ชีวิต ผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อจะเสียชีวิต 20-60% และเด็กจะเสียชีวิต 80%[8] โรคนี้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนราว 300-500 ล้านคนในศตวรรษที่ 20 ก่อนที่จะถูกกำจัดหมดไปใน ค.ศ. 1979[9][10][11]

ในบางสังคมยังมีข้อถกเถียงเรื่องการให้วัคซีนในหลายประเด็น ทั้งทางวิทยาศาสตร์ จริยธรรม การเมือง ความปลอดภัยทางการแพทย์ และทางศาสนา การบาดเจ็บจากวัคซีนนั้นเกิดขึ้นจริงแต่พบได้น้อยมาก[12] ในสหรัฐอเมริกาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนจะได้รับค่าชดเชยจากโครงการชดเชยการบาดเจ็บจากวัคซีนแห่งชาติ ความสำเร็จของการป้องกันโรคด้วยการให้วัคซีนในช่วงแรกทำให้ได้รับการยอมรับจากสังคม โครงการให้วัคซีนเป็นวงกว้างเช่นที่ทำโดยรัฐบาลนั้นมีส่วนสำคัญมากในการลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคติดเชื้อในหลายๆ พื้นที่

อ้างอิง

[แก้]
  1. Fiore, Anthony E.; Bridges, Carolyn B.; Cox, Nancy J. (2009). "Seasonal influenza vaccines". Current Topics in Microbiology and Immunology. 333: 43–82. doi:10.1007/978-3-540-92165-3_3. ISBN 978-3-540-92164-6. PMID 19768400.
  2. Chang, Yuli; Brewer, Noel T.; Rinas, Allen C.; Schmitt, Karla; Smith, Jennifer S. (July 2009). "Evaluating the impact of human papillomavirus vaccines". Vaccine. 27 (32): 4355–62. doi:10.1016/j.vaccine.2009.03.008. PMID 19515467.
  3. Liesegang, Thomas J. (August 2009). "Varicella zoster virus vaccines: effective, but concerns linger". Canadian Journal of Ophthalmology. 44 (4): 379–84. doi:10.3129/i09-126. PMID 19606157.
  4. Sources:
  5. 5.0 5.1 Lombard, Murielle; Pastoret, Paul-Pierre; Moulin, Anne-Marie (2007). "A brief history of vaccines and vaccination". Revue scientifique et technique (International Office of Epizootics). 26 (1): 29–48. doi:10.20506/rst.26.1.1724. PMID 17633292.
  6. Behbehani, Abbas M. (1983). "The smallpox story: life and death of an old disease". Microbiological Reviews. 47 (4): 455–509. PMC 281588. PMID 6319980.
  7. 7.0 7.1 Plett, Peter C. (2006). "Übrigen Entdecker der Kuhpockenimpfung vor Edward Jenner [Peter Plett and other discoverers of cowpox vaccination before Edward Jenner]". Sudhoffs Archiv (ภาษาเยอรมัน). 90 (2): 219–32. PMID 17338405. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-15. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.
  8. Riedel, Stefan (2005). "Edward Jenner and the history of smallpox and vaccination". Baylor University Medical Center Proceedings. 18 (1): 21–5. doi:10.1080/08998280.2005.11928028. PMC 1200696. PMID 16200144.
  9. Koplow, David A. (2003). Smallpox: the fight to eradicate a global scourge. Berkeley: University of California Press. ISBN 0-520-24220-3.
  10. "UC Davis Magazine, Summer 2006: Epidemics on the Horizon". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-11. สืบค้นเมื่อ 2008-01-03.
  11. How Poxviruses Such As Smallpox Evade The Immune System, ScienceDaily.com, 1 February 2008.
  12. http://www.nhs.uk/Conditions/vaccinations/Pages/mmr-side-effects.aspx

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]