ข้ามไปเนื้อหา

ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้าAPM ณ สถานีอาคาร SAT-1
รถไฟฟ้าAPM ณ สถานีอาคาร SAT-1
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย
ประเภทระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ
จำนวนสาย1
จำนวนสถานี2
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน28 กันยายน พ.ศ. 2566; 14 เดือนก่อน (2566-09-28)
ผู้ดำเนินงานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ลักษณะทางใต้ดิน
ล้อขับเคลื่อนNeoVal (AirVal version)
จำนวนขบวน6
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง1 km (0.62 mi)
การจ่ายไฟฟ้า750V DC
ความเร็วสูงสุด80 km/h (50 mph)
ผังเส้นทาง

แอร์พอร์ต เรล ลิงก์
อาคารผู้โดยสารหลัก
อาคาร SAT-1
โครงการในอนาคต

ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อังกฤษ: Suvarnabhumi Airport Automated People Mover) หรือ เอพีเอ็ม สุวรรณภูมิ เป็นระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติใต้ทางวิ่งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เชื่อมอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566 โดยมีระยะทางรวม 1 กิโลเมตร (0.62 ไมล์) จากอาคารผู้โดยสารหลักถึงอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และเป็นระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติในท่าอากาศยานสายแรกในประเทศไทย[1]

การดำเนินงาน

[แก้]

ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้บริการ 2 สถานี ได้แก่ สถานีอาคารผู้โดยสารหลัก และสถานีอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ระบบขนส่งผู้โดยสารให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ทุก ๆ 3 นาที ใช้เวลาประมาณ 2 นาทีต่อเที่ยว ทุกสถานีมีการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาและหน้าจอบอกข้อมูล

สถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง
อาคารผู้โดยสารหลัก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาคารผู้โดยสารหลักท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ไป ทางออก A-B-C-D-E-F-G

อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ทางออกS101-S128

นอกจากนี้ ในอนาคตเส้นทางระบบขนส่งผู้โดยสารจะต่อขยายไปยังอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 2 และอาคารผู้โดยสารรองทางทิศใต้ของท่าอากาศยานอีกด้วย[2]

ขบวนรถ

[แก้]

เอพีเอ็ม สุวรรณภูมิมีขบวนรถคือ NeoVal (AirVal version) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าล้อยางแบบไร้คนขับ วิ่งบนทางคอนกรีต คล้ายกับขบวนรถของรถไฟใต้ดินแรน สาย B ขบวนรถมีทั้งหมด 6 ขบวน 1 ขบวนมี 2 ตู้ ผลิตโดยโรงงานฐานการผลิตของซีเมนส์ ที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย มีความกว้างของขบวนรถ 2.80 เมตร (9 ฟุต 2 นิ้ว) โดยแต่ละคันมี 25 ที่นั่ง แต่ละขบวนสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 210 คน และเมื่อคำนวณแล้วระบบสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 3,590 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง รองรับความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (50 ไมล์ต่อชั่วโมง)[3]

ขบวนรถควบคุมอาณัติสัญญาณด้วยระบบ TrainGuard MT Communicated Based Control System (CBTC)[4]

ขบวนรถชุดแรกมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563[5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เม.ย.ปีหน้า "สุวรรณภูมิ" เปิดยานลูกSAT1 นั่งรถไฟฟ้าขึ้นเครื่องเสริมทัพไต่อันดับ".
  2. "ทอท.กางแผนลงทุนระบบรถไฟฟ้าภายในสุวรรณภูมิเฉียด2หมื่นล้าน". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  3. ""ยานลูกSAT1สุวรรณภูมิ"..พร้อม!! ปล่อยรถไฟฟ้าAPMส่งขึ้นเครื่อง".
  4. "มาแล้ว "รถไฟฟ้าไร้คนขับ" สนามบินสุวรรณภูมิ".
  5. "รถไฟฟ้ามาแล้ว! พรุ่งนี้หย่อน 'APM' ขบวนแรกลงอุโมงค์ 'สนามบินสุวรรณภูมิ'".