ฟรีดริชส์ฮาเฟิน
ฟรีดริชส์ฮาเฟิน | |
---|---|
ฟรีดริชส์ฮาเฟินในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 | |
พิกัด: 47°39′N 9°29′E / 47.650°N 9.483°E | |
ประเทศ | เยอรมนี |
รัฐ | บาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค |
จังหวัด | ทือบิงเงิน |
อำเภอ | โบเดินเซไครส์ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี (2017–25) | Andreas Brand[1] (อิสระ) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 69.91 ตร.กม. (26.99 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 400 เมตร (1,300 ฟุต) |
ประชากร (2020-12-31)[2] | |
• ทั้งหมด | 61,221 คน |
• ความหนาแน่น | 880 คน/ตร.กม. (2,300 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+01:00 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+02:00 (CEST) |
รหัสไปรษณีย์ | 88045–88048 |
รหัสโทรศัพท์ | 07541, 07544 |
ทะเบียนพาหนะ | FN |
เว็บไซต์ | www.friedrichshafen.de |
ฟรีดริชส์ฮาเฟิน (เยอรมัน: Friedrichshafen) เป็นเมืองอุตสาหกรรมบนแนวชายฝั่งทางเหนือของทะเลสาบโบเดิน ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศเยอรมนีในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค บริเวณชายแดนประเทศสวิตเซอร์แลนด์กับประเทศออสเตรีย
เมืองฟรีดริชส์ฮาเฟินจัดตั้งในปี ค.ศ. 1811 โดยจัดตั้งขึ้นจากเมืองเดิมที่มีชื่อว่า บูคฮอร์น (Buchhorn) เมืองใหม่นี้ได้รับการตั้งชื่อว่า โฮเฟิน (Hofen) จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีการตั้งโรงงานผลิตเรือเหาะขึ้นที่เมืองนี้ ซึ่งทำให้โฮเฟินกลายเมืองอุตสาหกรรมทางการบินมาตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยมีบริษัทมายบัคเป็นผู้นำ แต่หลังสงครามบริษัทผลิตอากาศยานในโฮเฟินก็หันไปผลิตรถยนต์แทน เนื่องจากผลของสนธิสัญญาสนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งจำกัดบทบาทของเยอรมนีลง ทำให้อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่นกลายเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรายหลักของโลก
หลังพรรคนาซีครองอำนาจในเยอรมนี ฟรีดริชส์ฮาเฟินก็กลับมาผลิตเครื่องบินอีกครั้ง แต่ในสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1943 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ฟรีดริชส์ฮาเฟินถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก และเขตเมืองเก่าถูกทำลายไปจนหมด ตัวเมืองสามในสี่ถูกทำลาย หลังสงครามสิ้นสุด เมืองก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสอยู่ช่วงหนึ่ง และอุตสาหกรรมการบินในเมืองนี้ก็ถูกสั่งยุติไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากมีการรวมประเทศเยอรมนี ปัจจุบันฟรีดริชส์ฮาเฟินเป็นฐานการผลิตอะไหล่และชิ้นส่วนเครื่องบินของแอร์บัสและบริษัทผลิตเครื่องยนต์เจ็ต โรลส์-รอยซ์
เมืองพี่น้อง
[แก้]ฟรีดริชส์ฮาเฟินเป็นเมืองพี่น้องกับเมืองดังนี้:[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Aktuelle Wahlergebnisse, Staatsanzeiger, accessed 11 September 2021.
- ↑ "Bevölkerung nach Nationalität und Geschlecht am 31. Dezember 2020" [Population by nationality and sex as of December 31, 2020] (CSV). Statistisches Landesamt Baden-Württemberg (ภาษาเยอรมัน). มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2021.
- ↑ "Partnerstädte, Freundschaften & Patenschaften". friedrichshafen.de (ภาษาเยอรมัน). Friedrichshafen. สืบค้นเมื่อ 2021-02-03.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 11 (11 ed.). 1911.
- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาเยอรมัน)