พรรคแนวร่วมสังคมนิยม
พรรคแนวร่วมสังคมนิยม | |
---|---|
หัวหน้า | แคล้ว นรปติ |
รองหัวหน้า | เกริก ระวังภัย |
เลขาธิการ | พรชัย แสงชัจจ์ |
ก่อตั้ง | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 |
ที่ทำการ | 408 ถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ แขวงบางขุนพรม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
สภาผู้แทนราษฎร | 10 / 269 |
สภาผู้แทนราษฎร | 9 / 279 |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคแนวร่วมสังคมนิยม (อังกฤษ: Socialist Front Party) พรรคการเมืองที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2517 โดยจดทะเบียนจัดตั้งพรรคเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 มีแคล้ว นรปติ เป็นหัวหน้าพรรค[1]
ประวัติ
[แก้]พรรคแนวร่วมสังคมนิยม เป็นพรรคการเมืองปีกซ้าย[2] อันมีที่มาจากพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค ตั้งแต่ยุคที่มีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี[3]
การเลือกตั้ง 26 มกราคม 2518
[แก้]การเลือกตั้งครั้งนี้ทางพรรคได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งทั้งหมด 74 คนได้ที่นั่งในสภาทั้งสิ้น 10 ที่นั่ง[4] หลังเลือกตั้งพรรคแนวร่วมสังคมนิยม ได้สนับสนุน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ ม.ร.ว.เสนีย์ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 และจัดตั้งคณะรัฐมนตรี แต่ได้คะแนนเสียงสนับสุนนเพียง 103 คน ไม่ถึงครึ่งของสภา (135 คน) รัฐธรรมนูญสมัยนั้น กำหนดว่า การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต้องได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อถึงวันแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภา วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 ปรากฏว่า รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ได้รับเสียงสนับสนุนเพียง 111 เสียง ถือว่าไม่ได้รับความไว้วางใจจาก สภาผู้แทนผู้แทนราษฎร ม.ร.ว.เสนีย์ และพรรคประชาธิปัตย์ จึงแสดงความรับผิดชอบ โดยการลาออก และสละสิทธิ์การตั้งรัฐบาล
พรรคแนวร่วมสังคมนิยมแห่งประเทศไทย
[แก้]นายแคล้ว นรปติ กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 ในชื่อ "พรรคแนวร่วมสังคมนิยมแห่งประเทศไทย" ได้รับเลือกตั้ง 1 ที่นั่ง[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ Wilson, David A.. China, Thailand and the Spirit of Bandung (Part II), in The China Quarterly, No. 31 (Jul. - Sep., 1967), pp. 96-127
- ↑ Ockey, James. Through Multiple Transitions in Thailand. Variations on a Theme: Societal Cleavages and Party Orientations เก็บถาวร 2009-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, in Party Politics 2005; 11; 728
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.