พรรคมัชฌิมาธิปไตย
พรรคมัชฌิมาธิปไตย | |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | สมศักดิ์ เทพสุทิน |
หัวหน้า | อนงค์วรรณ เทพสุทิน |
เลขาธิการ | พรทิวา นาคาศัย |
โฆษก | ศุภพรพงศ์ ชวนบุญ |
คำขวัญ | ชีวิตร่ำรวย ประชาเป็นสุข ได้รับความเป็นธรรม |
ก่อตั้ง | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 |
ถูกยุบ | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (1 ปี 62 วัน) |
แยกจาก | พรรคไทยรักไทย พรรคประชาราช |
ถัดไป | พรรคภูมิใจไทย (โดยพฤตินัย) พรรคชาติไทยพัฒนา |
ที่ทำการ | 131 ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร |
จุดยืน | กลาง[1] |
สี | แดงและน้ำเงิน |
เว็บไซต์ | |
http://www.matchima.or.th | |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคมัชฌิมาธิปไตย (อังกฤษ: Neutral Democratic Party; ชื่อเดิม: พรรคมัชฌิมา[2]) เป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งโดยกลุ่มมัชฌิมา ซึ่งนำโดยนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน (ภรรยานายสมศักดิ์ เทพสุทิน) และกลุ่มนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาราช มีนโยบายรวม 42 ข้อ โดยนโยบายหลัก ๆ ได้แก่ ขุดบ่อน้ำทั้งประเทศ 9 ล้านบ่อ, ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าตลอดสาย เหลือเพียง 15 บาทเป็นระยะเวลา 10 ปี, ประกันราคาพืชผลทางการเกษตรในราคาที่สูง, เรียนฟรีจนถึงปริญญาตรี เพื่อสำหรับการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550
ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2551 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีมติให้นายประชัยพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เนื่องจากวินิจฉัยว่า การยื่นใบลาออกของนายประชัยตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ที่ประชุมของพรรคได้มีมติให้ นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน เป็นหัวหน้าคนใหม่สืบไป รวมทั้งได้เปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค โดยมีทั้งหมด 14 คน แต่ยังคงนโยบายเดิม รวมทั้งเปลี่ยนที่ทำการพรรคใหม่จาก ชั้น 10 อาคารทีพีไอทาวเวอร์ ถนนจันทน์ตัดใหม่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร เป็นเลขที่ 131 ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร อันเป็นที่ตั้งเดิมของกลุ่มมัชฌิมา[3]
กรรมการผู้บริหารพรรค
[แก้]- นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรค
- นางพรทิวา นาคาศัย เลขาธิการพรรค
- พลตรีอินทรัตน์ ยอดบางเตย รองหัวหน้าพรรค
- พันตำรวจโทบรรยิน ตั้งภากรณ์ รองหัวหน้าพรรค
- นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา รองหัวหน้าพรรค
- นายวีระศักดิ์ จินารัตน์ รองหัวหน้าพรรค
- ร้อยเอกรชฏ พิสิษฐบรรณกร รองเลขาธิการพรรค
- นายดิษฐ์อัชพณ สูตรสุคนธ์ รองเลขาธิการพรรค
- นายศุภพรพงษ์ ชวนบุญ โฆษกพรรค
- นายพิเชษฐ์ หวังเทพอนุเคราะห์ รองโฆษกพรรค
- วันมูหะมัดนอร์ มะทา กรรมการบริหารพรรค (ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง พ.ศ.2550) (ลาออกวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550)
- ซูการ์โน มะทา กรรมการบริหารพรรค (ลาออกวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550)
นโยบายพรรค
[แก้]พรรคมัชฌิมาธิปไตย มีนโยบายพรรค 42 ข้อ แบ่งออกเป็น 13 กลุ่ม คือ
- บททั่วไป
- ด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังและการลงทุน
- ด้านการคมนาคมขนส่ง
- ด้านแรงงาน
- ด้านการท่องเที่ยว
- ด้านพลังงาน
- ด้านการเพิ่มรายได้เกษตรกร
- ด้านที่ดินและแหล่งน้ำ
- ด้านการบริหารระบบราชการและส่วนท้องถิ่น
- ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
- ด้านสาธารณสุข
- ด้านการส่งเสริมกลุ่มสตรีและความมั่นคงของสถาบันครอบครัว
- ด้านกีฬา
การเลือกตั้ง
[แก้]ผลการเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2550 | 7 / 480
|
450,382 | 1.50% | 7 | ร่วมรัฐบาล | อนงค์วรรณ เทพสุทิน |
ยุบพรรค
[แก้]ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อพิจารณากรณี พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ลงมติ 4 ต่อ 1 เห็นชอบตามที่นายอภิชาติ สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เสนอให้ส่งเรื่องถึงอัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยยุบพรรคพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมติเสียงข้างน้อย 1 เสียง คือ นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ฝ่ายกิจการสอบสวนสอบสวน
โดยในส่วนของคำวินิจฉัยเรื่องพรรคมัชฌิมาธิปไตย ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์สั่งยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย เนื่องจากมีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ[4] โดยกลุ่ม สส. ของพรรคมัชฌิมาธิปไตยได้ย้ายมารวมตัวกับกลุ่มเพื่อนเนวินจากพรรคพลังประชาชน ก่อตั้งพรรคภูมิใจไทยขึ้น และเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อสนับสนุนให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี[5]
กรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตยชุดที่ถูกคำสั่งยุบพรรค
[แก้]กรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย ชุดที่ถูกคำสั่งยุบพรรค เป็นผลให้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี
- นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ หัวหน้าพรรค
- นายประมวล เลี่ยวไพรัตน์ รองหัวหน้าพรรค
- นายสุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรค (ถูก กกต.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง)
- พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย รองหัวหน้าพรรค
- พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ รองหัวหน้าพรรค
- นายประดุจ มั่นหมาย รองหัวหน้าพรรค
- นายการุณ ใสงาม รองหัวหน้าพรรค
- นายธนพร ศรียากูล รองหัวหน้าพรรคและนายทะเบียนสมาชิกพรรค
- นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา รองหัวหน้าพรรค
- นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน เลขาธิการพรรค
- นายมนู มณีวัฒนา รองเลขาธิการพรรค
- ร้อยเอก รชฏ พิสิษฐบรรณกร รองเลขาธิการพรรค
- นายสมบูรณ์ ทองบุราณ รองเลขาธิการพรรค
- นายสุวิช ชมพูนุทจินดา รองเลขาธิการพรรค
- นายศิลปิน บูรณศิลปิน เหรัญญิกพรรค
- นายณรงค์ พิริยอเนก โฆษกพรรค
- นายสมพร หลงจิ รองโฆษกพรรค
- นายศุภพรพงศ์ ชวนบุญ รองโฆษกพรรค
- นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รองโฆษกพรรค
- พันตำรวจเอก สุเทพ สัตถาผล กรรมการบริหารพรรค
- นายชุมพร ขุณิกากรณ์ กรรมการบริหารพรรค
- นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์ กรรมการบริหารพรรค
- นางมาลีรัตน์ แก้วก่า กรรมการบริหารพรรค
- นายคำนวณ เหมาะประสิทธิ์ กรรมการบริหารพรรค
- นายกฤษฎา สัจจกุล กรรมการบริหารพรรค
- นายสุขุม เลาวัณย์ศิริ กรรมการบริหารพรรค
- นายนาวิน ขันธหิรัญ กรรมการบริหารพรรค
- นางบุษบา ยอดบางเตย กรรมการบริหารพรรค
- นายดิษฐ์อัชพณ สูตรสุคนธ์ กรรมการบริหารพรรค
ภายหลังการยุบพรรค
[แก้]สส. ของพรรคที่ยังเหลืออยู่ได้ย้ายไปสังกัดพรรคอื่น ดังนี้
- พรรคภูมิใจไทย 8 คน
- พรรคชาติไทยพัฒนา 2 คน
- พรรคประชาธิปัตย์ 1 คน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายพรรค ข้อบังคับพรรค และกรรมการบริหารพรรค (พรรคมัชฌิมา)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (112 ง): 89–107. 2007-11-06. สืบค้นเมื่อ 2023-10-11.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคมัชฌิมา
- ↑ กกต. ได้มีมติให้นายประชัยพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ศาล รธน.มติเอกฉันท์! สั่งยุบ “พปช.” ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี - “ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้ เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
- ↑ "111 ร่วมเปิดตัวพรรคภูมิใจไทย - "บุญจง" ปัดปูทางดัน "เนวิน" สู่เก้าอี้นายกฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 2009-01-14. สืบค้นเมื่อ 2023-08-06.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์พรรคมัชฌิมาธิปไตย เก็บถาวร 2007-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- นโยบายพรรคมัชฌิมาธิปไตย เก็บถาวร 2007-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน