ข้ามไปเนื้อหา

ประธานาธิบดีลาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ປະທານປະເທດແຫ່ງສປປລາວ
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ทองลุน สีสุลิด
ตั้งแต่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564
จวนหอคำ นครหลวงเวียงจันทน์
วาระ5 ปี
ผู้ประเดิมตำแหน่งเจ้าสุภานุวงศ์
สถาปนา3 ธันวาคม พ.ศ. 2518
รองรองประธานาธิบดีลาว
เงินตอบแทน1,170,000 กีบต่อเดือน[1]

ประธานาธิบดีลาว หรือภาษาลาวเรียก ปะทานปะเทด (ลาว: ປະທານປະເທດ) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว: ປະທານປະເທດແຫ່ງສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ) เป็นประมุขแห่งรัฐของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นับแต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมวดที่ 6 มาตรา 65 บัญญัติไว้ว่า "ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นตัวแทนของประชาชนชาวลาวทุกคนทั้งที่อาศัยอยู่ภายในและต่างประเทศ"[2]

ที่มาและวาระการดำรงตำแหน่ง

[แก้]

ประธานาธิบดีลาวมีที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสภาแห่งชาติ โดยได้รับคะแนนเสียงมากกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาแห่งชาติที่เข้าร่วมการประชุม และมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระของสภาแห่งชาติ (สภาแห่งชาติมีวาระ 5 ปี)[2]

อำนาจและหน้าที่

[แก้]

หน้าที่ของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมาตรา 67 มีดังนี้[2]

  1. ประกาศใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่สภาแห่งชาติได้รับรองแล้ว
  2. ออกรัฐบัญญัติและคำสั่งของประธานาธิบดี
  3. เสนอแต่งตั้งหรือถอดถอนนายกรัฐมนตรีต่อสภาแห่งชาติเพื่อพิจารณาเห็นชอบ
  4. แต่งตั้งหรือถอดถอนตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง โยกย้าย หรือถอดถอนตำแหน่งสมาชิกรัฐบาลภายหลังที่สภาแห่งชาติได้รับรองเห็นชอบแล้ว
  5. แต่งตั้งหรือถอดถอนรองประธานศาลประชาชนสูงสุดตามการเสนอของประธานศาลประชาชนสูงสุด แต่งตั้งหรือถอดถอนรองอัยการประชาชนสูงสุดตามการเสนอของอัยการประชาชนสูงสุด
  6. แต่งตั้ง โยกย้าย หรือถอดถอนเจ้าแขวง เจ้าครองนคร ตามการเสนอของนายกรัฐมนตรี
  7. ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  8. อนุมัติเลื่อนชั้นหรือปลดชั้นนายพลของกองทัพ ตามการเสนอของนายกรัฐมนตรี
  9. เรียกประชุมและเป็นประธานกองประชุมพิเศษของรัฐบาล
  10. อนุมัติประดับเหรียญคำแห่งชาติ เหรียญกิตติคุณ เหรียญชัย และนามยศสูงสุดแห่งรัฐ
  11. อนุมัติการให้อภัยโทษ
  12. อนุมัติการระดมพลทั่วไปหรือเป็นภาคส่วน อนุมัติการประกาศภาวะฉุกเฉินในทั่วประเทศหรือในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง
  13. ประกาศให้สัตยาบันหรือบอกล้างสนธิสัญญาที่ได้ลงนามกับต่างประเทศ
  14. แต่งตั้งผู้แทนมีอำนาจเต็มของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไปประจำอยู่ต่างประเทศหรือเรียกกลับประเทศตามการเสนอของนายกรัฐมนตรี รับรองผู้แทนมีอำนาจเต็มของต่างประเทศที่มาประจำอยู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปฏิบัติสิทธิและหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย

ตำแหน่งรองประธานาธิบดี

[แก้]

รองประธานาธิบดีลาวเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากประธานาธิบดี และปฏิบัติหน้าที่แทนประธานาธิบดีในกรณีประธานาธิบดีไม่สามารถทำหน้าที่ได้ มีที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสภาแห่งชาติ โดยได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาแห่งชาติที่เข้าร่วมการประชุม[2]

รายชื่อประธานาธิบดี

[แก้]
ลำดับ ประธานาธิบดี ระยะเวลา พรรคการเมือง นายกรัฐมนตรี
(ดำรงตำแหน่ง)
ภาพ ชื่อ
(เกิด-เสียชีวิต)
เริ่ม สิ้นสุด รวมระยะเวลา
1 เจ้า
สุภานุวงศ์

ສຸພານຸວົງ
(1909–1995)
2 ธันวาคม
1975
15 สิงหาคม
1986
10 ปี 256 วัน พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
ไกสอน พมวิหาน
(1975–1991)
พูมี วงวิจิด
ພູມີ ວົງວິຈິດ
(1909–1994)
รักษาการ
31 ตุลาคม
1986
15 สิงหาคม
1991
4 ปี 288 วัน พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
2 ไกสอน พมวิหาน
ໄກສອນ ພົມວິຫານ
(1920–1992)
15 สิงหาคม
1991
21 พฤศจิกายน
1992
1 ปี 98 วัน พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
คำไต สีพันดอน
(1991–1998)
3 หนูฮัก พูมสะหวัน
ໜູຮັກ ພູມສະຫວັນ
(1910–2008)
25 พฤศจิกายน
1992
24 กุมภาพันธ์
1998
5 ปี 91 วัน พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
4 คำไต สีพันดอน
ຄຳໄຕ ສີພັນດອນ
(เกิดใน ค.ศ. 1924)
24 กุมภาพันธ์
1998
8 มิถุนายน
2006
8 ปี 104 วัน พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
สีสะหวาด แก้วบุนพัน
(1998–2001)

บุนยัง วอละจิด
(2001–2006)
5 จูมมะลี ไซยะสอน
ຈູມມະລີ ໄຊຍະສອນ
(เกิดใน ค.ศ. 1936)
8 มิถุนายน
2006
20 เมษายน
2016
9 ปี 317 วัน พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
บัวสอน บุบผาวัน
(2006–2010)

ทองสิง ทำมะวง
(2010–2016)
6 บุนยัง วอละจิด
ບຸນຍັງ ວໍລະຈິດ
(เกิดใน ค.ศ. 1938)
20 เมษายน
2016
22 มีนาคม
2021
4 ปี 336 วัน พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
ทองลุน สีสุลิด
(2016–2021)
7 ทองลุน สีสุลิด
ທອງລຸນ ສີສຸລິດ
(เกิดใน ค.ศ. 1945)
22 มีนาคม
2021
ดำรงตำแหน่ง 3 ปี 279 วัน พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
พันคำ วิพาวัน
(2021–2022)

สอนไซ สีพันดอน
(2022–)

อ้างอิง

[แก้]
  1. (ในภาษาญี่ปุ่น)Bouangeun Ounnalath. "Comparison on Salary System for Government between Lao PDR and Japan" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-03-30. สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมวดที่ 6 ประธานประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.

ดูเพิ่ม

[แก้]