ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิบัติการเกรเนด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิบัติการเกรเนด (ยุทธการที่ไรชวัลด์)
ส่วนหนึ่งของ การบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตกในแนวรบด้านตะวันตกในเขตสงครามยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สอง

ปฏิบัติการเวริเทเบิลและบล็อกบัสเตอร์ (สีเหลือง) และเกรเนด (สีเขียว)
วันที่23 กุมภาพันธ์–10 มีนาคม ค.ศ. 1945
(2 สัปดาห์ และ 1 วัน)
สถานที่
ผล อเมริกันชนะ
คู่สงคราม
 สหรัฐอเมริกา  ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐอเมริกา วิลเลียม เอช ซิมสัน เยอรมนี Gustav-Adolf von Zangen
เยอรมนี Alfred Schlemm
กำลัง
380,000
1,400 tanks
2,070 guns
375 aircraft[1]
54,000
180 tanks
ความสูญเสีย
1,330 killed
Total:
7,478[1]
16,000 killed or missing
29,739 captured
Total:
45,739[a]
แม่แบบ:Campaignbox Central Europeแม่แบบ:Campaignbox Western Europe (1944-1945)

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการเกรเนด เป็นการข้ามแม่น้ำรัวร์(Roer) ระหว่างเมืองรัวร์มอนด์(Roermond)และดือเริน(Düren) โดยกองทัพสหรัฐที่เก้า ภายใต้บัญชาการโดยพลโท วิลเลียม ฮูด ซิมสัน ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการบุกครองเยอรมนีของฝ่ายสัมพันธมิตร

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 กองทัพสหรัฐที่เก้า - ที่ปฏิบัติการอยู่ภายใต้บัญชาการของจอมพล เซอร์ เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรีแห่งกองกลุ่มที่ 21 ของอังกฤษและแคนาดา นับตั้งแต่ยุทธการตอกลิ่ม—เป็นการข้ามแม่น้ำรัวร์และเข้าสมทบกับกองทัพแคนาดาที่หนึ่งภายใต้บัญชาการพลโท แฮร์รี่ ครีเรอร์ ที่เดินทางจากพิ้นที่ไนเมเคินของเนเธอร์แลนด์ในปฏิบัติการเวริเทเบิล ซึ่งจะเริ่มต้นเมื่อเวลา 05:00 นาฬิกาของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อแคนาดาได้รุกคืบเข้าไป เยอรมันก็ได้เปิดประตูน้ำของเขื่อนเหนือน้ำ(เขื่อนแม่น้ำรัวร์และเขื่อนแม่น้ำ Urft) ด้วยเหตุนี้ทำให้อเมริกันไม่สามารถข้ามไปได้ตามแผน มีการคาดการณ์ว่าเยอรมันพยายามที่จะทำเช่นนี้อีกและกองทัพกลุ่มสหรัฐที่ 12 ภายใต้บัญชาโดยพลเอก โอมาร์ แบรดลีย์ ได้เข้ายึดได้ทันเวลาเพื่อหยุดยั้งน้ำท่วม

ในช่วงสองสัปดาห์ที่แม่น้ำนั้นท่วม ฮิตเลอร์ไม่อนุญาตให้จอมพลไรช์ แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท ให้ถอนกำลังไปยังแนวหลังแม่น้ำไรน์โดยอ้างว่าจะทำให้การต่อสู้ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นล่าช้าออกไปเท่านั้น เขาออกคำสั่งให้เขาต่อสู้ในจุดที่กองกำลังของเขาจะยืนหยัดได้

กองทัพที่เก้าก็สามารถข้ามแม่น้ำได้ในที่สุดในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ในตอนนั้น กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำไรน์ กองทัพเยอรมันทางตะวันตกของแม่น้ำไรน์ในช่วงปฏิบัติการเวริเทเบิล ปฏิบัติการบล็อกบัสเตอร์ และปฏิบัติการเกรเนด ได้สูญเสียจำนวน 90,000 นาย ซึ่งมากกว่า 50,000 นายได้ตกเป็นเชลยสงคราม จำนวนผู้เสียชีวิตของฝ่ายสัมพันธมิตรมีจำนวนประมาณ 23,000 นาย

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Clodfelter 2017, p. 479.
  2. Stacey, p. 522


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน