ข้ามไปเนื้อหา

เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไวเคานต์มอนต์โกเมอรีแห่งอลามีน
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1887 – 24 มีนาคม ค.ศ. 1976 (88ปี)


ฉายา/ราชทินนาม "นายพลสปาร์ตัน"
(อังกฤษ: The Spartan General)
เกิดที่ เคนซิงตัน ลอนดอน สหราชอาณาจักร
อนิจกรรมที่ อัลตัน แฮมป์เชอร์ สหราชอาณาจักร
เหล่าทัพ กองทัพบก
ปีปฏิบัติงาน ค.ศ. 1908–1958
ยศสูงสุด จอมพล
รับใช้ สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
บัญชาการ กองพลแฟลนเดอที่ 17
กองพันทหารราบริลล์ที่ 1
กองพลทหารราบที่ 9
กองพลทหารราบที่ 8
กองพลทหารราบที่ 3
กองพลที่2
กองพลที่5
กองพลที่12
กองบัญชาการตะวันออกเฉียงใต้
กองทัพที่8
กองกำลังที่21
รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดของนาโต
การยุทธ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สงครามโลกครั้งที่สอง

บำเหน็จ Knight of the Order of the Garter
Knight Grand Cross of the Order of the Bath
Distinguished Service Order
Mentioned in dispatches

จอมพล เซอร์เบอร์นาร์ด ลอว์ มอนต์โกเมอรี ไวเคานต์มอนต์โกเมอรีแห่งอลามีน (อังกฤษ: Bernard Law Montgomery, 1st Viscount Montgomery of Alamein; 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1887 – 24 มีนาคม ค.ศ. 1976) ผู้ซึ่งได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์(KG), เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งบาธ ระดับไนท์ แกรนด์ คลอส(GCB), เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโดดเด่น(DSO) คณะองคมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร(PC) และรองผู้หมวด(Deputy lieutenant, DL) ชื่อเล่นว่า "มอนตี้" และ "นายพลสปาร์ตัน"[1]เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพบกบริติชที่เข้าร่วมสู้รบทั้งในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง

มอนต์โกเมอรีได้แสดงการปฏิบัติหน้าที่เป็นครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในฐานะที่เป็นนายทหารระดับชั้นผู้น้อยในกรมทหารรอยัล วอร์วิกเชียร์(Royal Warwickshire Regiment) ที่ Méteren ใกล้กับชายแดนเบลเยียมที่ Bailleul เขาถูกยิงทะลุปอดข้างขวาโดยพลซุ่มยิงในช่วงระหว่างยุทธการที่อิพร์ครั้งที่หนึ่ง เมื่อกลับไปที่แนวรบด้านตะวันตกในฐานะที่เป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการ เขาได้เข้าร่วมในยุทธการที่อารัสในเดือนเมษายน/พฤษภาคม ค.ศ. 1917 เขายังได้เข้าร่วมในยุทธการที่ Passchendaele ในปลายปี ค.ศ. 1917 ก่อนที่สงครามจะยุติลงในฐานะที่เป็นหัวหน้าเสนาธิการแห่งกองพล(ลอนดอนที่ 2) ที่ 47

ในช่วงสมัยระหว่างสงคราม เขาได้บัญชาการกองพัน(หน่วย)ที่ 17 รอยัล ฟิวซิเลียร์(Royal Fusiliers) และต่อมา กองพันที่ 1 กรมทหารรอยัล วอร์วิกเชียร์ ก่อนที่จะมาเป็นผู้บัญชาการกองพลน้อยทหารราบที่ 9 และนายทหารของนายพลผู้ซึ่งบังคับบัญชา(GOC) ในกองพลทหารราบที่ 8

ในช่วงการทัพทะเลทรายตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง มอนต์โกเมอรีได้บัญชาการกองทัพบริติชที่ 8 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1942 ตลอดจนถึงยุทธการที่อัลอะละมัยน์ครั้งที่สอง และชัยชนะครั้งสุดท้ายของฝ่ายสัมพันธมิตรในตูนีเซียในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 ต่อมาเขาก็ได้บัญชาการกองทัพบริติชที่ 8 ในช่วงระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองเกาะซิซิลีและอิตาลี และเป็นผู้บัญชาการกองทัพบกฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมดในช่วงยุทธการที่นอร์ม็องดี(ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด) ตั้งแต่ดีเดย์ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 จนถึง 1 กันยายน ค.ศ. 1944 เขายังคงบัญชาการกองทัพกลุ่มที่ 21 สำหรับส่วนที่เหลือของการทัพยุโรปตะวันตกเหนือ รวมทั้งความพยายามที่ล้มเหลวในการข้ามแม่น้ำไรน์ในช่วงปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน

เมื่อกองทัพบกเยอรมันได้บุกทะลวงผ่านแนวป้องกันของอเมริกันในเบลเยียมในช่วงยุทธการตอกลิ่ม มอนต์โกเมอรีได้รับคำสั่งจากทางด้านเหนือของส่วนที่ยื่นออกมา(Bulge) รวมทั้งได้บัญชาการเป็นการชั่วคราวต่อกองทัพสหรัฐที่หนึ่งและเก้า ซึ่งได้ปล่อยให้เยอรมันเข้ารุกไปยังทางเหนือของส่วนที่ยื่นออกมา ในขณะที่กองทัพสหรัฐที่สามภายใต้บัญชาการของนายพลแพตตันได้เข้ามาคลายวงล้อมที่บัสตอญจากทางใต้

กองทัพกลุ่มที่ 21 ของมอนต์โกเมอรี รวมทั้งกองทัพสหรัฐที่เก้าและกองทัพพลโดดร่มฝ่ายสัมพันธมิตรที่หนึ่ง ทำการข้ามแม่น้ำไรน์ในปฏิบัติการปล้น(Operation Plunder) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 สองสัปดาห์ต่อมา ภายหลังจากกองทัพสหรัฐที่หนึ่งได้ทำการข้ามแม่น้ำไรน์ในยุทธการที่เรเมเกิน ในช่วงท้ายสงคราม ทหารภายใต้บัญชาการของมอนต์โกเมอรีได้มีส่วนร่วมในการโอบล้อมที่รูร์ พ็อกเก็ค(Ruhr Pocket) ทำการปลดปล่อยเนเธอร์แลนด์ และเข้ายึดครองเยอรมนีทางด้านตะวันตกเหนือเป็นส่วนใหญ่ ในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 มอนต์โกเมอรีได้ยอมรับการยอมจำนนของกองทัพเยอรมันในยุโรปตะวันตก-เหนือที่ Lüneburg Heath ทางด้านตะวันออกของฮัมบวร์ค ภายหลังการยอมจำนนที่เบอร์ลินต่อสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม

ภายหลังสงคราม เขาได้กลายเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในกองทัพบกบริติชแห่งแม่น้ำไรน์(BAOR) ในเยอรมนี และได้เป็นหัวหน้าทหารฝ่ายเสนาธิการจักรวรรดิ(ค.ศ. 1946-1948) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1948 ถึง 1951 เขาได้รับหน้าที่เป็นประธานของคณะร่วมผู้บัญชาการทหารสูงสุด(Commanders-in-Chief Committee)แห่งสหภาพตะวันตก เขาได้รับหน้าที่เป็นรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรปแห่งเนโท จนกระทั่งเขาเกษียณราชการในปี ค.ศ. 1958

อ้างอิง

[แก้]
  1. Various Authors (1969). Illustrated Story of World War II. The Reader's Digest Association. p. 284. ISBN 0-89577-029-6.