นิคม ไวยรัชพานิช
นิคม ไวยรัชพานิช | |
---|---|
รองประธานรัฐสภาไทย และ ประธานวุฒิสภาไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557[1] (1 ปี 267 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอกธีรเดช มีเพียร |
ถัดไป | พรเพชร วิชิตชลชัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2490 อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักษาชาติ (2561–2562) |
คู่สมรส | นพมาศ ไวยรัชพานิช |
นิคม ไวยรัชพานิช (เกิด 4 ตุลาคม พ.ศ. 2490) เป็นที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์)[2] อดีตประธานวุฒิสภา และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดฉะเชิงเทรา
ประวัติ
[แก้]นายนิคม ไวยรัชพานิช เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ที่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาสุขาภิบาล) จากมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ศาสตร์) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ M.PA. Public Affairs จากมหาวิทยาลัย San Jose State University สหรัฐอเมริกา
การทำงาน
[แก้]นายนิคม เคยรับราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เคยดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (ระดับ 10) ต่อมาหลังเกษียณอายุได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดฉะเชิงเทรา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2551 และได้รับเลือกจากวุฒิสภา ให้ดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2551[3]
จากนั้นในปี พ.ศ. 2555 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา โดยเอาชนะนายพิเชต สุนทรพิพิธ ด้วยคะแนน 77 ต่อ 69[4] นายนิคมได้ใช้อำนาจในฐานะประธานวุฒิสภาทุกวิถีทาง ในการผลักดันการแก้รัฐธรรมนูญให้ ส.ว. ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้รัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของส.ว. ไม่เป็นไปตามเจตจำนงค์ของรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ชี้มูลความผิดกรณีจงใจใช้อำนาจหน้าที่กระทำผิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ทำให้เขาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557[5]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 18 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[9]
- พ.ศ. 2544 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ทำเนียบประธานวุฒิสภา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-21. สืบค้นเมื่อ 2024-05-21.
- ↑ 2.0 2.1 "ชัชชาติตั้ง5กุนซือช่วยหาเสียงชนะเลือกตั้งนั่งคณะที่ปรึกษา". posttoday.com. 2022-06-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานวุฒิสภา (นายประสพสุข บุญเดช นายนิคม ไวยรัชพานิช นางสาวทัศนา บุญทอง)
- ↑ "สายเลือกตั้งเฉือนชนะ 'นิคม ไวยรัชพานิช' นั่งปธ.วุฒิสภาคนใหม่". www.thairath.co.th. 2012-08-14.
- ↑ "มติเอกฉันท์ ป.ป.ช.ชี้มูลฯ'นิคม'ปธ.วุฒิสภา แก้รธน.ที่มาส.ว." www.thairath.co.th. 2014-03-20.
- ↑ "เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค". www.thairath.co.th. 2019-03-07.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2021-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๖๕, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
ก่อนหน้า | นิคม ไวยรัชพานิช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ธีรเดช มีเพียร | รองประธานรัฐสภาไทย และ ประธานวุฒิสภาไทย (14 สิงหาคม 2555 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2557) |
พรเพชร วิชิตชลชัย |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองไทย
- ประธานวุฒิสภาไทย
- รองประธานวุฒิสภาไทย
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดฉะเชิงเทรา
- พรรคไทยรักษาชาติ
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- นิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ท.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา