คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60
คณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 60 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
พ.ศ. 2554 - 2557 | |
วันแต่งตั้ง | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 |
วันสิ้นสุด | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (2 ปี 286 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (พท.) นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล (พท.) (รักษาการ) |
รองนายกรัฐมนตรี |
|
จำนวนรัฐมนตรี | 24 |
จำนวนอดีตรัฐมนตรี | 48 |
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด | 72 |
พรรคร่วมรัฐบาล | พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล พรรคมหาชน พรรคประชาธิปไตยใหม่ |
สถานะในสภานิติบัญญัติ | รัฐบาลผสม 299 / 500
|
พรรคฝ่ายค้าน | พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรครักประเทศไทย พรรคมาตุภูมิ พรรครักษ์สันติ |
ผู้นำฝ่ายค้าน | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ประวัติ | |
การเลือกตั้ง | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 |
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 |
สภานิติบัญญัติ | สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 |
วาระสภานิติบัญญัติ | 4 ปี |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 |
คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60 (9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) เป็นคณะรัฐมนตรีไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2554 ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 และการแต่งตั้ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตาม ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2554 โดยลำดับ[1]
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เมื่อนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 แต่ยังคงสถานะรักษาการอยู่ จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เข้าปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ[2] วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ และรัฐมนตรี 9 คนพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี จากการลงมติโยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีที่เหลือจึงมีมติให้นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี[3] จนกระทั่งวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 16:30 น. คณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดสถานะรักษาการ เนื่องจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติทำการรัฐประหาร
การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
[แก้]ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 แล้วนั้น บัดนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบไปแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี (ตามรายนามข้างล่าง) ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 เป็นปีที่ 66 ในรัชกาลปัจจุบัน[4] โดยมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
การถวายสัตย์ปฏิญาณ
[แก้]เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 เวลาประมาณ 17:27 นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รวม 36 คน เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ในการนี้ พระราชทานพระบรมราโชวาทว่า[5]
ขอแสดงความยินดีกับคณะรัฐมนตรีที่ได้ตั้งขึ้นมาใหม่ และที่มากล่าวคำปฏิญาณว่าจะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความเจริญมั่นคงของประเทศ ประเทศชาตินี้จะต้องมีผู้ที่ปกครอง ผู้ที่ทำหน้าที่สูงสุด เพื่อให้ทุกส่วนของทั้งงานของประเทศดำเนินไปโดยดี ขอให้ท่านได้ทำตามที่ได้กล่าว เพื่อที่จะให้งานของประเทศดำเนินไปด้วยดี และทั้งขอให้ท่านสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้กล่าว สำหรับงานของประเทศก็สำคัญที่ผู้ใหญ่จะแสดงตัวอย่างให้กับทุกคนในประเทศ เพื่อที่จะให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปโดยดี ก็ขอให้ท่านทำงานตามที่ได้กล่าวปฏิญาณ และสามารถปฏิบัติตามความตั้งใจ ถ้าทำได้แล้ว ท่านก็มีความพอใจที่ได้ปฏิบัติเพื่อประเทศชาติ และความสำเร็จของท่านในทุกวันที่ท่านทำ จะเป็นผลสำเร็จที่ดีสำหรับประเทศและทุกคนในประเทศ ที่ต่างคนต่างยังอยากที่จะให้มีความสำเร็จในทุกสาขา ก็ขอให้ท่านได้สามารถปฏิบัติ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ด้วยความมีผลสำเร็จ ท่านเอง ในส่วนตัวของท่านก็จะมีความพอใจถ้าทำได้ตามที่ท่านตั้งใจไว้ ขอให้ท่านมีความสำเร็จในงานการ และทำให้บ้านเมืองมีความสำเร็จตามที่ต้องการ ซึ่งประเทศไทยนั้นน่าจะมีได้ ในปัจจุบันนี้ในโลกนี้มีความวุ่นวายอย่างยิ่ง เมืองไทยยังมีความวุ่นวายน้อย ให้รักษาความสงบสุข รักษาความสำเร็จที่ได้ทำมาแต่ปางก่อน ก็ถือว่าท่านจะมีความสำเร็จได้แล้วจะมีความพอใจ ก็ขอทุกท่านทำงานด้วยความตั้งใจอย่างดีที่สุด เพื่อผลสำเร็จของบ้านเมืองในทุกสาขาและทุกด้าน มีความพอใจในงานการ และมีความสำเร็จในงานการ ทำให้ประเทศชาติเป็นที่อยู่ที่สบายในโลก ซึ่งในโลกนี้มีความวุ่นวายพอแล้ว ขอให้ในประเทศไทยมีความเรียบร้อย
รายชื่อรัฐมนตรี
[แก้]รัฐมนตรีว่าการกระทรวง | ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี | ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี | ||
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง | แต่งตั้งเพิ่ม | เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น | ||
รัฐมนตรีลอย | ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น | ออกจากตำแหน่ง |
ตำแหน่ง | ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | พรรคการเมือง | ||||
นายกรัฐมนตรี | * | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งหลังจากยุบสภาผู้แทนราษฎร | เพื่อไทย | ||||
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | รองนายกรัฐมนตรีรักษาการแทน พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร |
เพื่อไทย | ||||||
รองนายกรัฐมนตรี | ยงยุทธ วิชัยดิษฐ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 30 กันยายน พ.ศ. 2555 | ลาออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | |||||
ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | เพื่อไทย | ||||||
พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
1 | กิตติรัตน์ ณ ระนอง | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ | เพื่อไทย | |||||
ชุมพล ศิลปอาชา | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 21 มกราคม พ.ศ. 2556 | ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง | ชาติไทยพัฒนา | ||||||
พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
2 | สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ | เพื่อไทย | |||||
3 | ปลอดประสพ สุรัสวดี | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ | เพื่อไทย | |||||
4 | พงศ์เทพ เทพกาญจนา | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
5 | ยุคล ลิ้มแหลมทอง | 2 เมษายน พ.ศ. 2556 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | ชาติไทยพัฒนา | |||||
6 | นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
7 | พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ | เพื่อไทย | |||||
สำนักนายกรัฐมนตรี | สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | เพื่อไทย | |||||
กฤษณา สีหลักษณ์ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | เพื่อไทย | ||||||
นลินี ทวีสิน | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | เพื่อไทย | ||||||
8 | วราเทพ รัตนากร | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
ศันสนีย์ นาคพงศ์ | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
9 | สันติ พร้อมพัฒน์ | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ | เพื่อไทย | |||||
กลาโหม | พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี | เพื่อไทย | |||||
พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
* | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ | เพื่อไทย | |||||
10 | พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ | เพื่อไทย | |||||
การคลัง | ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | |||||
* | กิตติรัตน์ ณ ระนอง | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ | เพื่อไทย | |||||
บุญทรง เตริยาภิรมย์ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | เพื่อไทย | ||||||
วิรุฬ เตชะไพบูลย์ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
11 | ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
12 | เบญจา หลุยเจริญ | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
การต่างประเทศ | * | สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ | เพื่อไทย | ||||
การท่องเที่ยวและกีฬา | * | ชุมพล ศิลปอาชา | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 21 มกราคม พ.ศ. 2556 | ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง | ชาติไทยพัฒนา | ||||
13 | สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ | 2 เมษายน พ.ศ. 2556 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | ชาติไทยพัฒนา | |||||
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | สันติ พร้อมพัฒน์ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ไปเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | เพื่อไทย | |||||
14 | ปวีณา หงสกุล | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
เกษตรและสหกรณ์ | ธีระ วงศ์สมุทร | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ลาออกจากตำแหน่ง | ชาติไทยพัฒนา | |||||
* | ยุคล ลิ้มแหลมทอง | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | ชาติไทยพัฒนา | |||||
พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | เพื่อไทย | ||||||
15 | ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ | ชาติไทยพัฒนา | |||||
ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
* | วราเทพ รัตนากร | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
คมนาคม | พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | เพื่อไทย | |||||
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | เพื่อไทย | ||||||
16 | ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
พลตำรวจโทชัจจ์ กุลดิลก | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | เพื่อไทย | ||||||
กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | เพื่อไทย | ||||||
17 | พลเอกพฤณท์ สุวรรณทัต | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
ประเสริฐ จันทรรวงทอง | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
18 | พ้อง ชีวานันท์ | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | |||||
19 | วิเชษฐ์ เกษมทองศรี | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจาก | เพื่อไทย | |||||
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | 20 | นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ | เพื่อไทย | ||||
พลังงาน | พิชัย นริพทะพันธุ์ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | |||||
อารักษ์ ชลธาร์นนท์ | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
21 | พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
พาณิชย์ | * | กิตติรัตน์ ณ ระนอง | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | เพื่อไทย | ||||
บุญทรง เตริยาภิรมย์ | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
* | นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
ภูมิ สาระผล | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | ชาติไทยพัฒนา | ||||||
22 | ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
23 | ยรรยง พวงราช | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
มหาดไทย | ยงยุทธ วิชัยดิษฐ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 30 กันยายน พ.ศ. 2555 | ลาออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | |||||
24 | จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
ชูชาติ หาญสวัสดิ์ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | รักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปรับออกจากตำแหน่ง |
เพื่อไทย | ||||||
ฐานิสร์ เทียนทอง | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | เพื่อไทย | ||||||
พลตำรวจโทชัจจ์ กุลดิลก | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
25 | ประชา ประสพดี | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
26 | วิสาร เตชะธีราวัฒน์ | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
ยุติธรรม | พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี | เพื่อไทย | |||||
27 | ชัยเกษม นิติสิริ | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
แรงงาน | เผดิมชัย สะสมทรัพย์ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | |||||
28 | ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ | เพื่อไทย | |||||
วัฒนธรรม | สุกุมล คุณปลื้ม | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | พลังชล | |||||
29 | สนธยา คุณปลื้ม | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | พลังชล | |||||
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | ปลอดประสพ สุรัสวดี | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี | เพื่อไทย | |||||
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
30 | พีรพันธุ์ พาลุสุข | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 30 เมษายน พ.ศ. 2557 | ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง | เพื่อไทย | |||||
ศึกษาธิการ | วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ไปเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | เพื่อไทย | |||||
สุชาติ ธาดาธำรงเวช | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
พงศ์เทพ เทพกาญจนา | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี | เพื่อไทย | ||||||
31 | จาตุรนต์ ฉายแสง | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
บุญรื่น ศรีธเรศ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
ศักดา คงเพชร | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
32 | เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
สาธารณสุข | วิทยา บุรณศิริ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | |||||
33 | ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
ต่อพงษ์ ไชยสาส์น | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
ชลน่าน ศรีแก้ว | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
34 | สรวงศ์ เทียนทอง | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | เพื่อไทย | |||||
อุตสาหกรรม | วรรณรัตน์ ชาญนุกูล | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | ชาติพัฒนา | |||||
หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ | 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย | ||||||
35 | ประเสริฐ บุญชัยสุข | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร | ชาติพัฒนา | |||||
ฐานิสร์ เทียนทอง | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | ปรับออกจากตำแหน่ง | เพื่อไทย |
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
- ยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- กิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- ชุมพล ศิลปอาชา เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- กฤษณา สีหลักษณ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- ธีระชัย ภูวนาทนรานุบาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- บุญทรง เตริยาภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- วิรุฬ เตชะไพบูลย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- สุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- สันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- ธีระ วงศ์สมุทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลตำรวจโท ชัชจ์ กุลดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- พิชัย นริพทะพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- ภูมิ สาระผล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- ชูชาติ หาญสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- ฐานิสร์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- เผดิมชัย สะสมทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- สุกุมล คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- ปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- บุญรื่น ศรีธเรศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- วิทยา บุรณศิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- ต่อพงษ์ ไชยสาส์น เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- วรรณรัตน์ ชาญนุกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ถูกปรับออกจากตำแหน่ง
[แก้]- พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ (รองนายกรัฐมนตรี)
- กฤษณา สีหลักษณ์ (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
- ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)
- พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
- กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม)
- พิชัย นริพทะพันธุ์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)
- บุญรื่น ศรีธเรศ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
- สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
- ต่อพงษ์ ไชยสาส์น (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
- วรรณรัตน์ ชาญนุกูล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)
โยกย้าย
[แก้]- พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- กิตติรัตน์ ณ ระนอง (รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- บุญทรง เตริยาภิรมย์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
แต่งตั้งเพิ่ม
[แก้]- นลินี ทวีสิน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- อารักษ์ ชลธาร์นนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- สุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ศักดา คงเพชร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ถูกปรับออกจากตำแหน่ง
[แก้]- พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา (รองนายกรัฐมนตรี)
- นลินี ทวีสิน (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
- วิรุฬ เตชะไพบูลย์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง)
- อารักษ์ ชลธาร์นนท์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)
- ฐานิสร์ เทียนทอง (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)
- ชูชาติ หาญสวัสดิ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)
- สุกุมล คุณปลื้ม (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม)
- สุชาติ ธาดาธำรงเวช (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
- ศักดา คงเพชร (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
- วิทยา บุรณศิริ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
- สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
- หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)
โยกย้าย
[แก้]- ปลอดประสพ สุรัสวดี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลตำรวจโทชัจจ์ กุลดิลก (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แต่งตั้งเพิ่ม
[แก้]- สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- พงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- วราเทพ รัตนากร เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ศันสนีย์ นาคพงศ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ยุคล ลิ้มแหลมทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลเอก พฤณฑ์ สุวรรณทัต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- ประชา ประสพดี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- สนธยา คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- ชลน่าน ศรีแก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- ประเสริฐ บุญชัยสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
แต่งตั้งเพิ่ม
[แก้]- ยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
คณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 5
[แก้]ถูกปรับออกจากตำแหน่ง
[แก้]- พงศ์เทพ เทพกาญจนา (รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- ศันสนีย์ นาคพงศ์ (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
- พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)
- ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
- ประเสริฐ จันทรรวงทอง (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม)
- ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
- บุญทรง เตริยาภิรมย์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)
- พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)
- เผดิมชัย สะสมทรัพย์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน)
- วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
- ชลน่าน ศรีแก้ว (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
- ฐานิสร์ เทียนทอง (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)
โยกย้าย
[แก้]- พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม) เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- สันติ พร้อมพัฒน์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง (รองนายกรัฐมนตรี) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
แต่งตั้งเพิ่ม
[แก้]- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- เบญจา หลุยเจริญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- ปวีณา หงสกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- วราเทพ รัตนากร (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พ้อง ชีวานันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- วิเชษฐ์ เกษมทองศรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ยรรยง พวงราช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- วิสาร เตชะธีราวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- ชัยเกษม นิติสิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- พีรพันธุ์ พาลุสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- จาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- สรวงศ์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นโยบายและผลการดำเนินงานของรัฐบาล
[แก้]มีการแนะนำว่า บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนควรย้ายไปโครงการวิกิซอร์ซ (อภิปราย) เนื่องจากการจัดรูปแบบเนื้อหาไม่ตรงตามนโยบายของวิกิพีเดียที่เป็นสารานุกรม และอาจเข้ากับโครงการวิกิซอร์ซมากกว่า |
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23-25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งประกอบด้วยนโยบายเร่งด่วน และนโยบายด้านต่าง ๆ คือ
นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก
[แก้]- สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย
- กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ
- ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง
- เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว
- เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน
- แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
- ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหาภาค ดังนี้
- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาทรวมทั้งการจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคง และสามารถใช้หนี้คืน
- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทอย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบเพื่อลดภาระแก่ผูประกอลการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
- จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุโดยผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท
- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก และรถยนต์คันแรก
- ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
- ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชนจัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย
- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท
- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท
- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจใหม่ที่เป็นแหล่งมีงานทำ รวมทั้งเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
- ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน
- ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการ และเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน
- เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยได้ปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (Miracle Thailand Year) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555
- สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น
- พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพื่อประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรคเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม ร่วมทั้งบูรณาการแผนงานของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงต่าง ๆ ให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการในให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ และภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิต รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร
- จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียนเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในระดับการให้บริหาร และในพื้นที่สาธารณะและสถานศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้างโดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐมีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ[9]
นโยบายด้านต่าง ๆ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ศูนย์การบิน
[แก้]เนื่องจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความแออัด จำนวนผู้โดยสารมากเกินขีดจำกัดของสนามบิน ดังนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 รัฐบาลจึงได้มีคำสั่งให้สายการบินต้นทุนต่ำทั้งหมด ย้ายฐานการบินไปที่ท่าอากาศยานดอนเมืองดังเดิมภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 และได้ยกระดับท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นท่าอากาศยานระดับนานาชาติ นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้ปรับปรุงท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองให้มีความทันสมัย และขยายขีดความสามารถรับผู้โดยสารได้เป็น 30 ล้านคนต่อปี จากเดิม 18.5 ล้านคนต่อปี
การลดราคาน้ำมัน
[แก้]รัฐบาลประกาศชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ลดลง 8.02 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน 91 ลดลง 7.17 บาท และน้ำมันดีเซลลดลง 3 บาทต่อลิตร เป็นผลต่อเนื่องให้กิจการรถและเรือของรัฐ ประกาศลดค่าบริการตามไปด้วย
ซึ่งผลจากการดำเนินนโยบายดังกล่าว ได้รับการวิจารณ์จากนักเศรษฐศาสตร์ อาทิ ดร.ธนวรรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เห็นว่า มาตรการดังกล่าวส่งผลกระตุ้นเศรษฐกิจเล็กน้อย แต่เสี่ยงให้เงินเฟ้อมากขึ้น ทั้งยังขัดต่อการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน[10]
คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
[แก้]คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554 โดยอาศัยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่197/2554 มีพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก เป็นประธานกรรมการ
การตอบรับ
[แก้]คำชื่นชม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คำวิจารณ์
[แก้]- ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายาคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นการตั้งฉายาของคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี ในปี พ.ศ. 2554 ได้ตั้งฉายาคณะรัฐมนตรีคณะที่ 60 ชุดนี้ว่า "รัฐบาลทักษิณส่วนหน้า" เนื่องจากมีความเห็นว่าการบริหารงานของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่สามารถสลัดภาพว่ามี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่เบื้องหลังได้ จนรัฐบาลชุดนี้เปรียบเหมือนศูนย์บัญชาการส่วนหน้าของตัว พ.ต.ท.ทักษิณ[11]
- ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใต้รัฐบาลนี้ แถลงประณาม ผศ.ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสุงสุด ณ ขณะนั้น[12]ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่รัฐบาลใช้ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยแถลงต่อสื่อมวลชน เพื่อประณาม ประธานศาลปกครองสุงสุด
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย พรรครัฐบาลได้ฟ้องร้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในข้อหากบฎและเตือนว่าระวังจะละเมิดพระราชอำนาจกับอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ นับเป็นครั้งแรกที่มีบุคคลในรัฐบาลฟ้องร้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ[13]
- ในระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐบาลนี้เลือกที่จะใช้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ นับเป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และตามกฎหมาย พรก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ไม่มีรายชื่อของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานอยู่ในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน
- กรณีคดีเงินบริจาคน้ำท่วม กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยออกหนังสือถึงประชาชนผู้บริจาคน้ำท่วมผ่านทางพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ พ.ศ. 2553 โดยขอให้ไปชี้แจงต่อดีเอสไอ ว่าการบริจาคดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 หรือไม่[14]ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการดำเนินการกลั่นแกล้งประชาชนที่บริจาคเงินผ่านพรรคประชาธิปัตย์
- รัฐบาลแต่งตั้งบุคคลใกล้ชิด อาทิ นายอภินันท์ จันทรังษี[15]เป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ทั้ง ๆ ที่นายอภินันท์ จันทรังษี ไม่เคยทำงานด้านประชาสัมพันธ์เลย ทำงานกับกระทรวงมหาดไทย มาโดยตลอด มีการย้ายลักษณะนี้อีกในบางกระทรวง อาทิ นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ที่ไม่เคยทำงานด้านการศึกษาเลย แต่ได้รับตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ[16]รัฐบาลยังปูนบำเหน็จให้นายชัยเกษม นิติสิริ เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งที่นายชัยเกษม เป็นนักกฎหมาย ไม่มีความรู้เรื่องหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เลย
- รัฐบาลจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยมีการแถลงผ่านสื่อมวลชนว่าจะไม่ให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ถวิล เปลี่ยนศรี เข้าร่วมในคณะกรรมการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย[17]
- บุคคลที่เป็นข้าราชการการเมือง และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ในรัฐบาลนี้มีประวัติทำผิดคดีอาญามาก่อน อาทิ อรรถชัย อนันตเมฆ สุภรณ์ อัตถาวงศ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ โปรดเกล้าฯครม.-ถวายสัตย์10ส.ค.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""ยิ่งลักษณ์"ประกาศ"ยุบสภา"นั่งรัฐบาลรักษาการ จัดเลือกตั้งเร็วที่สุด กปปส.ลั่นจะเอา"สภาประชาชน"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-12-09.
- ↑ ครม.มีมติให้ 'นิวัฒน์ธำรง'ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ, ไทยรัฐ, 13 พฤษภาคม 2557
- ↑ 4.0 4.1 พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
- ↑ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่เพื่อความสำเร็จของบ้านเมืองแก่คณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2011-08-10.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
- ↑ พระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556
- ↑ "นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-08-27.
- ↑ ราคาน้ำมันกับความพอเพียง
- ↑ สื่อทำเนียบตั้งฉายารัฐบาล "ทักษิณส่วนหน้า"
- ↑ ศอ.รส.แถลงตำหนิประธานศาลปกครองสูงสุดแทรกแซงโยกย้ายตำรวจ
- ↑ พรรคเพื่อไทยยื่นเอาผิดตุลาการรธน.
- ↑ ปชป.โวยดีเอสไอสอบปมเงินบริจาคน้ำท่วม
- ↑ ครม.ตั้งผวจ.บุรีรัมย์นั่งอธิบดีกรมประชาฯ
- ↑ ล้วงลึก'ย้ายข้ามห้วย'มท.ไปทำเนียบฯ
- ↑ รัฐบาลจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 130 ตอนพิเศษ 42 ง, 2 เมษายน พ.ศ. 2556.