คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 17
คณะรัฐมนตรีถวัลย์ | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
พ.ศ. 2489–2490 | |
วันแต่งตั้ง | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2489 |
วันสิ้นสุด | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 (0 ปี 279 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
รองนายกรัฐมนตรี | ดิเรก ชัยนาม (ถึง 2490) |
พรรคร่วมรัฐบาล | พรรคแนวรัฐธรรมนูญ (57) พรรคสหชีพ (7) |
สถานะในสภานิติบัญญัติ | รัฐบาลผสม 64 / 82
|
พรรคฝ่ายค้าน | พรรคประชาธิปัตย์ (18) |
ผู้นำฝ่ายค้าน | ควง อภัยวงศ์ |
ประวัติ | |
สภานิติบัญญัติ | สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4 |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 16 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 18 |
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 17 ของไทย (23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490)
พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประกอบด้วยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และพระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) เป็นผู้ลงนามในประกาศ
พันตรี วิลาศ โอสถานนท์ ประธานพฤฒสภา และนายเกษม บุญศรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 ของไทย
[แก้]ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2489 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้
- นายดิเรก ชัยนาม เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- พลโท จิร วิชิตสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายวิจิตร ลุลิตานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายจรูญ สืบแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
- พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- พันตรี วิลาศ โอสถานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายเดือน บุนนาค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- พันเอก ทวน วิชัยขัทคะ เป็นรัฐมนตรี
- นายจำลอง ดาวเรือง เป็นรัฐมนตรี
- นายเตียง ศิริขันธ์ เป็นรัฐมนตรี
- นายทองเปลว ชลภูมิ เป็นรัฐมนตรี
- หม่อมเจ้านนทิยาวัด สวัสดิวัตน์ เป็นรัฐมนตรี
- นายเยื้อน พาณิชวิทย์ เป็นรัฐมนตรี
- นายวิโรจน์ กมลพันธ์ เป็นรัฐมนตรี
ที่มาของคณะรัฐมนตรี
[แก้]เมื่อปรีดี พนมยงค์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ประกอบด้วยพรรคสหชีพ พรรคแนวรัฐธรรมนูญ และกลุ่มอิสระ ได้เสนอชื่อหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ผลของการซาวเสียงเพื่อสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่า หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียง 113 เสียง มากกว่าคู่แข่งขัน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ที่เสนอ เสนีย์ ปราโมช ซึ่งได้รับคะแนนเพียง 52 คะแนน[1]
การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 ของไทย
[แก้]คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2489 และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกัน คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2489 เล่ม 63 ตอน 56 หน้า 3
การปรับคณะรัฐมนตรี
[แก้]คณะรัฐมนตรีคณะนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ คือ
- วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2489 นายทอง กันทาธรรม เป็นรัฐมนตรี
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ถึงแก่อนิจกรรม เนื่องในการไปตรวจราชการโดยทางรถไฟสายพม่า–กาญจนบุรี รถคันที่ท่านรัฐมนตรีโดยสารนั้น ได้พลัดตก
จากสะพานทั้งคัน ทั้งนี้ ปรากฏว่ามีเพลิงไหม้เสาสะพานนั้นอยู่ก่อน
- วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490
- นายดิเรก ชัยนาม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
- พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อีกตำแหน่งหนึ่ง
- นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอีกตำแหน่งหนึ่ง
- วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2490 นายเตียง ศิริขันธ์ รัฐมนตรี ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็น รองตัวแทนในการประนอมระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 ของไทย
[แก้]คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่สมควรกราบถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่ ภายหลังที่ได้มี ญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปในนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เสนอ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
อ้างอิง
[แก้]- ↑ บัญชา แก้วเกตุทอง, 2520 : หน้า 165