ข้ามไปเนื้อหา

กองพันทหารช่างที่ 2 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองพันทหารช่างที่ 2
กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
เครื่องหมายหน่วย
ประเทศ ไทย
เหล่า กองทัพบกไทย
รูปแบบกองพันทหารช่าง
บทบาททหารช่าง
ขึ้นกับกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
กองบัญชาการค่ายศรีโสธร เลขที่ 1 ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำขวัญFirst in, Last out[1]
สีหน่วย   สีเทา-สีฟ้า[1]
เพลงหน่วยมาร์ชกองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์
สัญลักษณ์นำโชคกระทิง[1]
ปฏิบัติการสำคัญองค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา
ค่ายศรีโสธร
เมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา
อาคารเรือนไม้สัก 100 ปีในค่ายศรีโสธร
มองไปทางวัดโสธรวรารามวรวิหาร
แผนที่
พิกัด13°40′27″N 101°04′25″E / 13.674119°N 101.073529°E / 13.674119; 101.073529 (ค่ายศรีโสธร)
ประเภทค่ายทหาร
ข้อมูล
เจ้าของ กองทัพบกไทย
ประวัติศาสตร์
สร้างพ.ศ. 2451; 117 ปีที่แล้ว (2451)
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์

กองพันทหารช่างที่ 2 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (อังกฤษ: 2nd Engineer Regiment[2]) เป็นกองพันทหารช่างของกองทัพบกไทย ตั้งอยู่ที่ ค่ายศรีโสธร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

ประวัติ

[แก้]

กองพันทหารช่างที่ 2 เริ่มต้นจากกองทหารอินยิเนียในปี พ.ศ. 2418 ขึ้นตรงต่อกรมทหารมหาดเล็ก มีที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในปี พ.ศ. 2451 ได้มีการรวมหน่วยทหารช่างต่าง ๆ ขึ้นเป็นกรมทหารช่างที่ 2 และตั้งหน่วยอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บังคับการพิเศษ ประกอบไปด้วยกองพันทหารช่างที่ 1 ช่างสนาม และกองพันทหารช่างที่ 2 ช่างสะพาน[3] ในปีเดียวกันที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้มีการตั้งค่ายทหารของกองพลที่ 9 ขึ้น ที่ตำบลโสธร (ปัจจุบันตำบลหน้าเมือง) โดยสร้างอาคารกองบัญชาการขึ้น[4] และใช้งานพื้นที่มาจนถึงปี พ.ศ. 2470 จึงได้ย้ายกองพลที่ 9 ไปประจำการที่ค่ายจักรพงษ์จังหวัดปราจีนบุรี[5][6]

ต่อมาปี พ.ศ. 2473 กองพันทหารช่างที่ 2 ได้รับพระราชทานพื้นที่วังที่ประทับจากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวราชาเทวีในรัชกาลที่ 5 เพื่อใช้ตั้งเป็นกองบังคับการของกองพัน[7]

เขื่อนริมแม่น้ำบางปะกงในค่ายศรีโสธร มองไปยังวัดโสธรวรารามวรวิหาร

ในปี พ.ศ. 2476 กองพันทหารช่างที่ 2 ได้ย้ายจากที่ตั้งเดิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาตั้งในจังหวัดฉะเชิงเทรา ในพื้นที่เดิมของกองพลที่ 9[5] ซึ่งนำโดย พันตรี หลวงนาราย ฤทธา (หม่อมราชวง ประเทือง มาลากุล) ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารช่างที่ 2 ในขณะนั้น โดยแบ่งโครงสร้างหน่วยออกเป็น 3 กองร้อย คือ กองร้อยที่ 1 เป็นกองร้อยช่างสนาม กองร้อยที่ 2 เป็นกองร้อยช่างสะพาน และกองร้อยที่ 3 เป็นกองร้อยช่างรถไฟ

ในปี พ.ศ. 2490 ค่ายที่ตั้งของกองพันทหารช่างที่ 2 ได้รับพระราชทานชื่อค่ายจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรว่า ศรีโสธร[4] เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่พระพุทธโสธร พระคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา [7]จากนั้นในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ได้มีการก่อตั้งกรมทหารช่างที่ 1 (ช.1) ขึ้นที่ตำบลโคกหม้อ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โดยที่กองพันทหารช่างที่ 2 ได้เป็นหน่วยขึ้นตรงร่วมกับกองพันทหารช่างที่ 1[8]

กองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์ ได้รับพระกรุณาให้ยกเป็นหน่วยรักษาพระองค์ในปี พ.ศ. 2496[9] และประดับพระปรมาภิไทยย่อ ภปร. บนออกเสื้อเครื่องแบบด้านขวา ขึ้นตรงต่อกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ พร้อมทั้งได้รับพระราชทานธงไชยเฉลิมพลในปีเดียวกัน[7]

ในปี พ.ศ. 2504 กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ ได้ถูกแปรสภาพเป็น กองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์ และขึ้นการบังคับบัญชากับกองพลทหารม้า (พล.ม.)[8] และในปี พ.ศ. 2521 กองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์ ได้ไปขึ้นตรงกับกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์[10] โดยได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพลผืนใหม่เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557[11]

ในปี พ.ศ. 2560 ชื่อหน่วยได้ปรับเป็น กองพันทหารช่างที่ 2 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ โดยประดับพระนามาภิไทยย่อ สก. บนออกเสื้อเครื่องแบบด้านขวา

ในปี พ.ศ. 2562 ชื่อหน่วยถูกเปลี่ยนจาก กองพันทหารช่างที่ 2 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็น กองพันทหารช่างที่ 2 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง[12]

กองพันทหารช่างที่ 2 ได้รับการเปลี่ยนนามหน่วย จาก กองพันทหารช่างที่ 2 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนี พันปีหลวง เป็น กองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566[13]

กองพันทหารช่างที่ 2 ได้รับการเปลี่ยนนามหน่วย จาก กองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนี พันปีหลวง เป็น กองพันทหารช่างที่ 2 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567[14]

การรักษาสันติภาพ

[แก้]

กองพันทหารช่างที่ 2 ได้ส่งกำลังไปปฏิบัติการรักษาสันติภาพที่ประเทศกัมพูชาในกองร้อยทหารช่างที่ 2 กองพันทหารช่างเฉพาะกิจที่ 2 (สหประชาชาติ) ผลัดที่ 1 ปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 20 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536[15] โดยในผลัดที่ 2 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 มีผู้บังคับกองร้อยคือ พันตรี จำรัส ไชยรส มีผู้บังคับหมวดคือ ร้อยโท ศรายุทธ บุญจือ และร้อยตรี ประสาท มีมูล และทำพิธีส่งกำลังพลจำนวน 700 นาย ณ ค่ายศรีโสธร เมื่อวันที่ 17 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2536 ปฏิบัติงานในชื่อของ กองพันทหารช่างเฉพาะกิจที่ 2 (สหประชาชาติ) ซึ่งภารกิจกับสหประชาชาติในกัมพูชาเป็นการส่งกำลังทหารช่างไปปฏิบัติงานกับสหประชาชาติเป็นครั้งแรก

ปัจจุบัน

[แก้]

กองพันทหารช่างที่ 2 มีภารกิจหลักในการป้องกันประเทศ ได้จัดกำลังไปร่วมปฏิบัติการกับกองกำลังบูรพาในภารกิจการเก็บกู้วัตถุระเบิดตามแนวชายแดนไทย–กัมพูชา[16] และปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา[17]

หน่วยขึ้นตรง

[แก้]

กองพันทหารช่างที่ ประกอบด้วยหน่วยขึ้นตรง ดังนี้[18]

หน่วยสนับสนุน

[แก้]

กองพันทหารช่างที่ 2 มีการประกอบกำลังเพื่อจัดเป็นกำลังสนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยต่าง ๆ ดังนี้

  • ชุดทหารช่าง กองกำลังบูรพา – ตั้งกองบังคับการที่กองกำลังบูรพา อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
  • ชุดตรวจค้นทุ่นระเบิด – ตั้งกองบังคับการที่หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 1 ตำบลหนองหญ้าแก้ว อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว[16]

ที่ตั้ง

[แก้]

ค่ายศรีโสธร มีเนื้อที่ประมาณ 165 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับวัดโสธรวรารามวรวิหาร

อาคารเรือนไม้สัก 100 ปี

[แก้]

อาคารเรือนไม้สัก 100 ปี ค่ายศรีโสธร เป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2451 เพื่อเป็นกองบัญชาการของกองพลที่ 9 มณฑลปราจีน เป็นอาคารไม้สักขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 95 เมตร ซึ่งเคยใช้เป็นอาคารรับรองการเสด็จพระราชดำเนินมายังกองพันทหารช่างที่ 2 (ชื่อเดิม) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (ขณะยังไม่ครองราชย์) ในการปฏิบัติราชกรณียกิจในภาคตะวันออกและหน่วยทหารในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นครั้งแรก[20]

ปัจจุบันอาคารใช้งานเป็นกองบังคับการกองพันทหารช่างที่ 2 และพิพิธภัณฑ์กองพันทหารช่างที่ 2 ค่ายศรีโสธร[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ธงประจำหน่วยและตราหน่วยใน Facebook เก่าของหน่วย
  2. นามหน่วยภาษาอังกฤษ (PDF). กรมยุทธการทหารบก.[ลิงก์เสีย]
  3. แผ่นข้อมูลในที่ตั้งค่ายศรีโสธร ประวัติกองพันทหหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  4. 4.0 4.1 admin (2021-09-25). "ค่ายศรีโสธร Sri Sothon Camp". acaseoftherun.[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 สมุดภาพฉะเชิงเทรา. จังหวัดฉะเชิงเทรา. 2556. p. 56.[ลิงก์เสีย]
  6. "ประวัติค่ายจักรพงษ์". www.geocities.ws.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 7.2 วีดีทัศน์และบทบรรยาย ช.พัน.2 รอ. พล.ร.2 รอ. (2021-02-09), ประวัติหน่วย ช.พัน.2 พล.ร.2 รอ., สืบค้นเมื่อ 2024-07-23
  8. 8.0 8.1 "..:: กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี อ.เมือง จว.ราชบุรี ::." www.engrdept.com.
  9. คำสั่ง ทบ. ที่ 225/2028 ลว. 15 กันยายน พ.ศ. 2496
  10. คำสั่ง ทบ. ที่ 29/21 ลว. 4 มีนาคม พ.ศ. 2521
  11. "สมเด็จพระบรมฯ เสด็จฯ แทนพระองค์พิธีตรึงหมุดธง-พระราชทานธงชัยเฉลิมพล". mgronline.com. 2014-12-07.
  12. "โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต เปลี่ยนนามหน่วยทหารรักษาพระองค์". Thai PBS.
  13. "โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนามหน่วย-การเรียกนามหน่วยทหารรักษาพระองค์ | ประชาไท Prachatai.com". prachatai.com. 2024-07-22.
  14. "โปรดเกล้าฯ สถาปนาหน่วยทหารรักษาพระองค์และหน่วยทหารในพระองค์". Thai PBS.
  15. เพ็ญเขตกรณ์, ธิวา. "กองกำลังสหประชาชาติเพื่อการถ่ายโอนอำนาจในกัมพูชา" (PDF). เสนาธิปัตย์: 37.
  16. 16.0 16.1 "ทหารไทยกู้บึ้มชายแดนใกล้เขมรดับ3เจ็บ1". posttoday. 2011-12-13.
  17. "ทหารช่างสร้างสะพานข้ามคลองหลอดระบายปชช". posttoday. 2016-10-22.
  18. "..:: กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี อ.เมือง จว.ราชบุรี ::." www.engrdept.com.
  19. โพธิ์เต็ง, นัทฐพงศ์ (2557). การจัดการความรู้ในกองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  20. 20.0 20.1 "อาคารเรือนไม้สัก 100 ปี - ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม". m-culture.in.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]