ข้ามไปเนื้อหา

กองบัญชาการตำรวจนครบาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองบัญชาการตำรวจนครบาล
Metropolitan Police Bureau
ตราสัญลักษณ์
อักษรย่อบช.น.
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้ง1862; 162 ปีที่แล้ว (1862)
โครงสร้างเขตอำนาจ
เขตอำนาจในการปฏิบัติการประเทศไทย
เขตความรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลต่าง ๆ
ขนาด503 sq mi (1,300 km2)
จำนวนทั้งหมด8.281 ล้าน
เขตอำนาจตามกฎหมายกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป
สำนักงานใหญ่323 อาคารกองบัญชาการตำรวจนครบาล ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ผู้บริหารหน่วยงาน
กองบังคับการ
15
  • กองบ้งคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล
  • กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 1
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 2
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 3
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 4
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 5
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 6
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 7
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 8
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 9
  • กองบังคับการตำรวจจราจร
  • กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
  • กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน
  • ศูนย์ฝึกอบรม กองบัญชาการตำรวจนครบาล
สิ่งอำนวยความสะดวก
รถตำรวจลาดตระเวน6,000 คัน
เว็บไซต์
metro.police.go.th

กองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นหน่วยงานอยู่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยในเขตกรุงเทพมหานคร มีกองบังคับการทั้งหมด 15 กองบังคับการ และ 1 กองกำกับการที่ขึ้นตรงผู้บัญชาการ [1] ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลคนปัจจุบันคือ พลตำรวจโท สยาม บุญสม

ประวัติ

  • พ.ศ. 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กัปตัน เอส.เย.เบิร์ด เอมส์ ชาวอังกฤษ เป็นผู้ตั้งกองตำรวจในพระนครเป็นครั้งแรกโดยนำเอารูปแบบอย่างมาจากตำรวจอังกฤษ
  • พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว ทรงพระกรุณา กิจการตำรวจในสมัยโบราณ โปรดเกล้าให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ รับตำแหน่ง เสนาบดีว่าการ กรมมหาดไทย ดูแลตำรวจภูธร และให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นเรศวรฤทธิ์ เป็นเสนาบดีว่าการกรมพระนครบาล ดูแลตำรวจนครบาล (ขณะนั้นเรียก พลตระเวน) พระราชภารกิจในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
  • พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศรวมพลตระเวนกับกรมตำรวจภูธรเป็นกรมเดียวกัน และได้มีประกาศแต่งตั้งอธิบดีกรมตำรวจและกรมพลตระเวน
  • พ.ศ. 2465 ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งนับได้ว่า คำว่า ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางราชการตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
  • พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฐานะการเงินของประเทศอยู่ในวิกฤติมีการยุบหน่วยงานไปมาก ซึ่งปรากฏว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาล ก็ถูกยุบลงคงเหลือแต่เพียงกองบังคับการเท่านั้น
  • พ.ศ. 2491 ได้มีการรื้อฟื้นจัดตั้งกองบัญชาการตำรวจนครบาลขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งปรากฏตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ ในกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2491
  • พ.ศ. 2504 กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้มีสถานที่ทำการเป็นของตนเองที่สะพานผ่านฟ้า จนกระทั่งต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 กองบัญชาการตำรวจนครบาลที่ผ่านฟ้าได้ถูกเผาทำลายเสียหายจนหมดสิ้น จึงต้องย้ายที่ทำการมาตั้งอยู่รวม กองบังคับการตำรวจดับเพลิงพญาไท

รายชื่อผู้บัญชาการ

ยศตำรวจเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

หน่วยงานในสังกัด

รถของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
รถตำรวจนครบาลรุ่น BMW
  • กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บก.อก.บช.น.)
  • กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บก.สส.บช.น.)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 (บก.น.1)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 (บก.น.2)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 3 (บก.น.3)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 4 (บก.น.4)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 (บก.น.5)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 6 (บก.น.6)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 7 (บก.น.7)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 8 (บก.น.8)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 9 (บก.น.9)
  • กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.)
  • กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ (บก.สปพ.)
  • กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ.)
  • ศูนย์ฝึกอบรม กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ศฝร.บช.น.)
  • กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี (ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการ)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น