ข้ามไปเนื้อหา

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
คณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 60 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2554 - 2557
วันแต่งตั้ง9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันสิ้นสุด22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(2 ปี 286 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร (พท.)
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล (พท.) (รักษาการ)
รองนายกรัฐมนตรี
จำนวนรัฐมนตรี24
จำนวนอดีตรัฐมนตรี48
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด72
พรรคร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
พรรคชาติไทยพัฒนา
พรรคชาติพัฒนา
พรรคพลังชล
พรรคมหาชน
พรรคประชาธิปไตยใหม่
สถานะในสภานิติบัญญัติรัฐบาลผสม
299 / 500
พรรคฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์
พรรคภูมิใจไทย
พรรครักประเทศไทย
พรรคมาตุภูมิ
พรรครักษ์สันติ
ผู้นำฝ่ายค้านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประวัติ
การเลือกตั้ง3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี5 สิงหาคม พ.ศ. 2554
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24
วาระสภานิติบัญญัติ4 ปี
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60 (9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) เป็นคณะรัฐมนตรีไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2554 ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 และการแต่งตั้ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตาม ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2554 โดยลำดับ[1]

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เมื่อนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 แต่ยังคงสถานะรักษาการอยู่ จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เข้าปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ[2] วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ และรัฐมนตรี 9 คนพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี จากการลงมติโยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีที่เหลือจึงมีมติให้นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี[3] จนกระทั่งวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 16:30 น. คณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดสถานะรักษาการ เนื่องจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติทำการรัฐประหาร

การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี

[แก้]

ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 แล้วนั้น บัดนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบไปแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี (ตามรายนามข้างล่าง) ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 เป็นปีที่ 66 ในรัชกาลปัจจุบัน[4] โดยมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

การถวายสัตย์ปฏิญาณ

[แก้]

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 เวลาประมาณ 17:27 นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รวม 36 คน เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ในการนี้ พระราชทานพระบรมราโชวาทว่า[5]

ขอแสดงความยินดีกับคณะรัฐมนตรีที่ได้ตั้งขึ้นมาใหม่ และที่มากล่าวคำปฏิญาณว่าจะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความเจริญมั่นคงของประเทศ ประเทศชาตินี้จะต้องมีผู้ที่ปกครอง ผู้ที่ทำหน้าที่สูงสุด เพื่อให้ทุกส่วนของทั้งงานของประเทศดำเนินไปโดยดี ขอให้ท่านได้ทำตามที่ได้กล่าว เพื่อที่จะให้งานของประเทศดำเนินไปด้วยดี และทั้งขอให้ท่านสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้กล่าว สำหรับงานของประเทศก็สำคัญที่ผู้ใหญ่จะแสดงตัวอย่างให้กับทุกคนในประเทศ เพื่อที่จะให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปโดยดี ก็ขอให้ท่านทำงานตามที่ได้กล่าวปฏิญาณ และสามารถปฏิบัติตามความตั้งใจ ถ้าทำได้แล้ว ท่านก็มีความพอใจที่ได้ปฏิบัติเพื่อประเทศชาติ และความสำเร็จของท่านในทุกวันที่ท่านทำ จะเป็นผลสำเร็จที่ดีสำหรับประเทศและทุกคนในประเทศ ที่ต่างคนต่างยังอยากที่จะให้มีความสำเร็จในทุกสาขา ก็ขอให้ท่านได้สามารถปฏิบัติ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ด้วยความมีผลสำเร็จ ท่านเอง ในส่วนตัวของท่านก็จะมีความพอใจถ้าทำได้ตามที่ท่านตั้งใจไว้ ขอให้ท่านมีความสำเร็จในงานการ และทำให้บ้านเมืองมีความสำเร็จตามที่ต้องการ ซึ่งประเทศไทยนั้นน่าจะมีได้ ในปัจจุบันนี้ในโลกนี้มีความวุ่นวายอย่างยิ่ง เมืองไทยยังมีความวุ่นวายน้อย ให้รักษาความสงบสุข รักษาความสำเร็จที่ได้ทำมาแต่ปางก่อน ก็ถือว่าท่านจะมีความสำเร็จได้แล้วจะมีความพอใจ ก็ขอทุกท่านทำงานด้วยความตั้งใจอย่างดีที่สุด เพื่อผลสำเร็จของบ้านเมืองในทุกสาขาและทุกด้าน มีความพอใจในงานการ และมีความสำเร็จในงานการ ทำให้ประเทศชาติเป็นที่อยู่ที่สบายในโลก ซึ่งในโลกนี้มีความวุ่นวายพอแล้ว ขอให้ในประเทศไทยมีความเรียบร้อย

รายชื่อรัฐมนตรี

[แก้]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง แต่งตั้งเพิ่ม เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น
รัฐมนตรีลอย ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น ออกจากตำแหน่ง
ตำแหน่ง ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ พรรคการเมือง
นายกรัฐมนตรี * ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งหลังจากยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อไทย
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 รองนายกรัฐมนตรีรักษาการแทน
พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร
เพื่อไทย
รองนายกรัฐมนตรี ยงยุทธ วิชัยดิษฐ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 30 กันยายน พ.ศ. 2555 ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อไทย
พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
1 กิตติรัตน์ ณ ระนอง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ เพื่อไทย
ชุมพล ศิลปอาชา 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 21 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง ชาติไทยพัฒนา
พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา 18 มกราคม พ.ศ. 2555 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
2 สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ เพื่อไทย
3 ปลอดประสพ สุรัสวดี 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ เพื่อไทย
4 พงศ์เทพ เทพกาญจนา 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
5 ยุคล ลิ้มแหลมทอง 2 เมษายน พ.ศ. 2556 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร ชาติไทยพัฒนา
6 นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
7 พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ เพื่อไทย
สำนักนายกรัฐมนตรี สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อไทย
กฤษณา สีหลักษณ์ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล 18 มกราคม พ.ศ. 2555 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อไทย
นลินี ทวีสิน 18 มกราคม พ.ศ. 2555 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล 18 มกราคม พ.ศ. 2555 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อไทย
8 วราเทพ รัตนากร 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
ศันสนีย์ นาคพงศ์ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
9 สันติ พร้อมพัฒน์ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ เพื่อไทย
กลาโหม พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี เพื่อไทย
พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต 18 มกราคม พ.ศ. 2555 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
* ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ เพื่อไทย
10 พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ เพื่อไทย
การคลัง ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
* กิตติรัตน์ ณ ระนอง 18 มกราคม พ.ศ. 2555 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ เพื่อไทย
บุญทรง เตริยาภิรมย์ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อไทย
วิรุฬ เตชะไพบูลย์ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
11 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย 18 มกราคม พ.ศ. 2555 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
12 เบญจา หลุยเจริญ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
การต่างประเทศ * สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ เพื่อไทย
การท่องเที่ยวและกีฬา * ชุมพล ศิลปอาชา 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 21 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง ชาติไทยพัฒนา
13 สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร ชาติไทยพัฒนา
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สันติ พร้อมพัฒน์ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ไปเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อไทย
14 ปวีณา หงสกุล 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
เกษตรและสหกรณ์ ธีระ วงศ์สมุทร 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ลาออกจากตำแหน่ง ชาติไทยพัฒนา
* ยุคล ลิ้มแหลมทอง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร ชาติไทยพัฒนา
พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อไทย
15 ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ ชาติไทยพัฒนา
ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
* วราเทพ รัตนากร 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
คมนาคม พลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อไทย
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อไทย
16 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
พลตำรวจโทชัจจ์ กุลดิลก 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อไทย
กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อไทย
17 พลเอกพฤณท์ สุวรรณทัต 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
ประเสริฐ จันทรรวงทอง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
18 พ้อง ชีวานันท์ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
19 วิเชษฐ์ เกษมทองศรี 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจาก เพื่อไทย
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 20 นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ เพื่อไทย
พลังงาน พิชัย นริพทะพันธุ์ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
อารักษ์ ชลธาร์นนท์ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
21 พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
พาณิชย์ * กิตติรัตน์ ณ ระนอง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อไทย
บุญทรง เตริยาภิรมย์ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
* นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
ภูมิ สาระผล 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชาติไทยพัฒนา
22 ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
23 ยรรยง พวงราช 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
มหาดไทย ยงยุทธ วิชัยดิษฐ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 30 กันยายน พ.ศ. 2555 ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
24 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
ชูชาติ หาญสวัสดิ์ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 รักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปรับออกจากตำแหน่ง
เพื่อไทย
ฐานิสร์ เทียนทอง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อไทย
พลตำรวจโทชัจจ์ กุลดิลก 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
25 ประชา ประสพดี 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
26 วิสาร เตชะธีราวัฒน์ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
ยุติธรรม พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี เพื่อไทย
27 ชัยเกษม นิติสิริ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
แรงงาน เผดิมชัย สะสมทรัพย์ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
28 ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งระหว่างรักษาการ เพื่อไทย
วัฒนธรรม สุกุมล คุณปลื้ม 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง พลังชล
29 สนธยา คุณปลื้ม 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร พลังชล
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปลอดประสพ สุรัสวดี 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี เพื่อไทย
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
30 พีรพันธุ์ พาลุสุข 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 30 เมษายน พ.ศ. 2557 ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง เพื่อไทย
ศึกษาธิการ วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ไปเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อไทย
สุชาติ ธาดาธำรงเวช 18 มกราคม พ.ศ. 2555 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
พงศ์เทพ เทพกาญจนา 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี เพื่อไทย
31 จาตุรนต์ ฉายแสง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
บุญรื่น ศรีธเรศ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
ศักดา คงเพชร 18 มกราคม พ.ศ. 2555 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
32 เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
สาธารณสุข วิทยา บุรณศิริ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
33 ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
ต่อพงษ์ ไชยสาส์น 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
ชลน่าน ศรีแก้ว 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
34 สรวงศ์ เทียนทอง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร เพื่อไทย
อุตสาหกรรม วรรณรัตน์ ชาญนุกูล 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 18 มกราคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง ชาติพัฒนา
หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย
35 ประเสริฐ บุญชัยสุข 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากรัฐประหาร ชาติพัฒนา
ฐานิสร์ เทียนทอง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อไทย

คณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1[4]

[แก้]
  • ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
  • ยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  • พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  • กิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • ชุมพล ศิลปอาชา เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • กฤษณา สีหลักษณ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • ธีระชัย ภูวนาทนรานุบาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • บุญทรง เตริยาภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  • วิรุฬ เตชะไพบูลย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  • สุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • สันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • ธีระ วงศ์สมุทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • พลตำรวจโท ชัชจ์ กุลดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  • กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  • ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • พิชัย นริพทะพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
  • ภูมิ สาระผล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • ชูชาติ หาญสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • ฐานิสร์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  • เผดิมชัย สะสมทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  • สุกุมล คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
  • ปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • บุญรื่น ศรีธเรศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • วิทยา บุรณศิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • ต่อพงษ์ ไชยสาส์น เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • วรรณรัตน์ ชาญนุกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

คณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 2[6]

[แก้]

ถูกปรับออกจากตำแหน่ง

[แก้]
  • พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ (รองนายกรัฐมนตรี)
  • กฤษณา สีหลักษณ์ (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
  • ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)
  • พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
  • กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม)
  • พิชัย นริพทะพันธุ์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)
  • บุญรื่น ศรีธเรศ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
  • สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
  • ต่อพงษ์ ไชยสาส์น (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
  • วรรณรัตน์ ชาญนุกูล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

โยกย้าย

[แก้]
  • พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  • วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • กิตติรัตน์ ณ ระนอง (รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • บุญทรง เตริยาภิรมย์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

แต่งตั้งเพิ่ม

[แก้]
  • นลินี ทวีสิน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  • ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  • อารักษ์ ชลธาร์นนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
  • สุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • ศักดา คงเพชร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

คณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 3[7]

[แก้]

ถูกปรับออกจากตำแหน่ง

[แก้]

โยกย้าย

[แก้]

แต่งตั้งเพิ่ม

[แก้]

คณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 4 [8]

[แก้]

แต่งตั้งเพิ่ม

[แก้]

คณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 5

[แก้]

ถูกปรับออกจากตำแหน่ง

[แก้]
  • พงศ์เทพ เทพกาญจนา (รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  • ศันสนีย์ นาคพงศ์ (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
  • พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)
  • ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
  • ประเสริฐ จันทรรวงทอง (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม)
  • ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
  • บุญทรง เตริยาภิรมย์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)
  • พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)
  • เผดิมชัย สะสมทรัพย์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน)
  • วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
  • ชลน่าน ศรีแก้ว (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
  • ฐานิสร์ เทียนทอง (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม)

โยกย้าย

[แก้]
  • พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม) เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  • นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • สันติ พร้อมพัฒน์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง (รองนายกรัฐมนตรี) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

แต่งตั้งเพิ่ม

[แก้]
  • ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
  • เบญจา หลุยเจริญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  • ปวีณา หงสกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • วราเทพ รัตนากร (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • พ้อง ชีวานันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  • วิเชษฐ์ เกษมทองศรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ยรรยง พวงราช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • วิสาร เตชะธีราวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • ชัยเกษม นิติสิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  • พีรพันธุ์ พาลุสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • จาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • สรวงศ์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นโยบายและผลการดำเนินงานของรัฐบาล

[แก้]

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23-25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งประกอบด้วยนโยบายเร่งด่วน และนโยบายด้านต่าง ๆ คือ

นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก

[แก้]
  • สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย
  • กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ
  • ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง
  • เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว
  • เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน
  • แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหาภาค ดังนี้
    • พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาทรวมทั้งการจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคง และสามารถใช้หนี้คืน
    • เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทอย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบเพื่อลดภาระแก่ผูประกอลการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    • จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุโดยผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท
    • ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก และรถยนต์คันแรก
  • ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
  • ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชนจัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย
    • เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท
    • จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท
    • จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจใหม่ที่เป็นแหล่งมีงานทำ รวมทั้งเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
  • ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน
  • ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการ และเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน
  • เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยได้ปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (Miracle Thailand Year) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555
  • สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น
  • พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพื่อประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรคเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม ร่วมทั้งบูรณาการแผนงานของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงต่าง ๆ ให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการในให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ และภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิต รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร
  • จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียนเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในระดับการให้บริหาร และในพื้นที่สาธารณะและสถานศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้างโดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐมีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ[9]

นโยบายด้านต่าง ๆ

[แก้]

ศูนย์การบิน

[แก้]

เนื่องจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความแออัด จำนวนผู้โดยสารมากเกินขีดจำกัดของสนามบิน ดังนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 รัฐบาลจึงได้มีคำสั่งให้สายการบินต้นทุนต่ำทั้งหมด ย้ายฐานการบินไปที่ท่าอากาศยานดอนเมืองดังเดิมภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 และได้ยกระดับท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นท่าอากาศยานระดับนานาชาติ นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้ปรับปรุงท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองให้มีความทันสมัย และขยายขีดความสามารถรับผู้โดยสารได้เป็น 30 ล้านคนต่อปี จากเดิม 18.5 ล้านคนต่อปี

การลดราคาน้ำมัน

[แก้]

รัฐบาลประกาศชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ลดลง 8.02 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน 91 ลดลง 7.17 บาท และน้ำมันดีเซลลดลง 3 บาทต่อลิตร เป็นผลต่อเนื่องให้กิจการรถและเรือของรัฐ ประกาศลดค่าบริการตามไปด้วย

ซึ่งผลจากการดำเนินนโยบายดังกล่าว ได้รับการวิจารณ์จากนักเศรษฐศาสตร์ อาทิ ดร.ธนวรรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เห็นว่า มาตรการดังกล่าวส่งผลกระตุ้นเศรษฐกิจเล็กน้อย แต่เสี่ยงให้เงินเฟ้อมากขึ้น ทั้งยังขัดต่อการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน[10]

คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

[แก้]

คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554 โดยอาศัยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่197/2554 มีพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก เป็นประธานกรรมการ

การตอบรับ

[แก้]

คำชื่นชม

[แก้]

คำวิจารณ์

[แก้]
  • ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายาคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นการตั้งฉายาของคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี ในปี พ.ศ. 2554 ได้ตั้งฉายาคณะรัฐมนตรีคณะที่ 60 ชุดนี้ว่า "รัฐบาลทักษิณส่วนหน้า" เนื่องจากมีความเห็นว่าการบริหารงานของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่สามารถสลัดภาพว่ามี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่เบื้องหลังได้ จนรัฐบาลชุดนี้เปรียบเหมือนศูนย์บัญชาการส่วนหน้าของตัว พ.ต.ท.ทักษิณ[11]
  • ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใต้รัฐบาลนี้ แถลงประณาม ผศ.ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสุงสุด ณ ขณะนั้น[12]ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่รัฐบาลใช้ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยแถลงต่อสื่อมวลชน เพื่อประณาม ประธานศาลปกครองสุงสุด
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย พรรครัฐบาลได้ฟ้องร้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในข้อหากบฎและเตือนว่าระวังจะละเมิดพระราชอำนาจกับอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ นับเป็นครั้งแรกที่มีบุคคลในรัฐบาลฟ้องร้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ[13]
  • ในระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐบาลนี้เลือกที่จะใช้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ นับเป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และตามกฎหมาย พรก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ไม่มีรายชื่อของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานอยู่ในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • กรณีคดีเงินบริจาคน้ำท่วม กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยออกหนังสือถึงประชาชนผู้บริจาคน้ำท่วมผ่านทางพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ พ.ศ. 2553 โดยขอให้ไปชี้แจงต่อดีเอสไอ ว่าการบริจาคดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 หรือไม่[14]ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการดำเนินการกลั่นแกล้งประชาชนที่บริจาคเงินผ่านพรรคประชาธิปัตย์

อ้างอิง

[แก้]
  1. โปรดเกล้าฯครม.-ถวายสัตย์10ส.ค.[ลิงก์เสีย]
  2. ""ยิ่งลักษณ์"ประกาศ"ยุบสภา"นั่งรัฐบาลรักษาการ จัดเลือกตั้งเร็วที่สุด กปปส.ลั่นจะเอา"สภาประชาชน"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-12-09.
  3. ครม.มีมติให้ 'นิวัฒน์ธำรง'ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ, ไทยรัฐ, 13 พฤษภาคม 2557
  4. 4.0 4.1 พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
  5. "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่เพื่อความสำเร็จของบ้านเมืองแก่คณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2011-08-10.
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
  8. พระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556
  9. "นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-08-27.
  10. ราคาน้ำมันกับความพอเพียง
  11. สื่อทำเนียบตั้งฉายารัฐบาล "ทักษิณส่วนหน้า"
  12. ศอ.รส.แถลงตำหนิประธานศาลปกครองสูงสุดแทรกแซงโยกย้ายตำรวจ
  13. พรรคเพื่อไทยยื่นเอาผิดตุลาการรธน.
  14. ปชป.โวยดีเอสไอสอบปมเงินบริจาคน้ำท่วม
  15. ครม.ตั้งผวจ.บุรีรัมย์นั่งอธิบดีกรมประชาฯ
  16. ล้วงลึก'ย้ายข้ามห้วย'มท.ไปทำเนียบฯ
  17. รัฐบาลจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]