ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภูมิอากาศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thaanut (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
 
(ไม่แสดง 37 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 30 คน)
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Koppen-Geiger Map THA present.svg|thumb|400px|แผนที่ประเทศไทยแสดง[[การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน]] {{Legend|#0000FF|(Af) [[ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น]]}}
{{Legend|#0079FF|(Am) [[ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน]]}}
{{Legend|#44ACFA|(Aw) [[ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา]]}}
{{Legend|#97FF97|(Cwa) [[ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน|ภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนชื้น]] (ที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม)}}
{{Legend|#64C964|(Cwb) [[ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร|ภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนที่สูง]] (ที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม)}}
]]
[[ไฟล์:Seasonal flooding in Thailand and Cambodia 2002 October 9.jpg|thumb|ภาพถ่ายประเทศไทยจากทางอากาศ]]
[[ไฟล์:Seasonal flooding in Thailand and Cambodia 2002 October 9.jpg|thumb|ภาพถ่ายประเทศไทยจากทางอากาศ]]
[[ไฟล์:Thailand map of Köppen climate classification.svg|thumb|แผนที่ประเทศไทยแสดง[[การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน]]:<br>(Aw) [[ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา]]<br>(Am) [[ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน]]<br>(Af) [[ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น]]]]


ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้[[เส้นศูนย์สูตร]] ทำให้ '''ภูมิอากาศ''' ของประเทศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้นหรือ[[ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา]] (Aw) ตาม[[การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน]] ในขณะที่[[ภาคใต้ (ประเทศไทย)|ภาคใต้]]และทางตะวันออกสุดของ[[ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)|ภาคตะวันออก]]เป็นเขต[[ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน]] (Am) ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 19-38 [[องศาเซลเซียส]] อากาศจะร้อนที่สุดช่วงกลางเดือนเมษายน หลังจากนั้น ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนและฤดูหนาวตามลำดับ พื้นที่ทั้งประเทศได้รับปริมาณฝนอย่างเพียงพอ ยกเว้นบางพื้นที่เท่านั้น แต่ระยะเวลาของฤดูฝนและปริมาณฝนมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและระดับความสูง
[[ประเทศไทย]]ตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้[[เส้นศูนย์สูตร]] ทำให้ภูมิอากาศในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้นหรือ[[ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา]] (Aw) ตาม[[การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน]] ในขณะที่[[ภาคใต้ (ประเทศไทย)|ภาคใต้]]และทางตะวันออกสุดของ[[ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)|ภาคตะวันออก]]เป็นเขต[[ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน]] (Am) ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 19-38 [[องศาเซลเซียส]] อากาศจะร้อนที่สุดช่วงกลางเดือนเมษายน หลังจากนั้น ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนและฤดูหนาวตามลำดับ พื้นที่ทั้งประเทศได้รับปริมาณฝนอย่างเพียงพอ ยกเว้นบางพื้นที่เท่านั้น แต่ระยะเวลาของฤดูฝนและปริมาณฝนมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและระดับความสูง


== ปัจจัยภูมิอากาศในประเทศไทย ==
== ปัจจัยภูมิอากาศในประเทศไทย ==
บรรทัด 8: บรรทัด 13:
* '''ที่ตั้งตามละติจูด''': ตามปกติตำแหน่งที่ตั้งที่มีค่า[[ละติจูด]]ต่ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่าตำแหน่งที่ตั้งที่มีค่าละติจูดสูงกว่า เพราะอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
* '''ที่ตั้งตามละติจูด''': ตามปกติตำแหน่งที่ตั้งที่มีค่า[[ละติจูด]]ต่ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่าตำแหน่งที่ตั้งที่มีค่าละติจูดสูงกว่า เพราะอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
* '''ความสูงของพื้นที่''': ตามปกติพื้นที่สูงจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่ที่เป็นที่ราบ เช่น ยอด[[ดอยอินทนนท์]]จะมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่ล่างที่[[อำเภอจอมทอง]] [[จังหวัดเชียงใหม่]]
* '''ความสูงของพื้นที่''': ตามปกติพื้นที่สูงจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่ที่เป็นที่ราบ เช่น ยอด[[ดอยอินทนนท์]]จะมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่ล่างที่[[อำเภอจอมทอง]] [[จังหวัดเชียงใหม่]]
* '''แนวทิวเขาที่ขวางกั้นทิศทางลมประจำ''': การวางตัวของทิวเขาบริเวณ[[จังหวัดกาญจนบุรี]] [[ตาก]] ส่งผลทำให้[[จังหวัดกำแพงเพชร]] [[นครสวรรค์]] [[สุพรรณบุรี]] มีอุณหภูมิสูงและมีปริมาณน้ำฝนน้อย โดยเรียกพื้นที่นี้ว่า "พื้นที่อับฝน"
* '''แนวทิวเขาที่ขวางกั้นทิศทางลมประจำ''': การวางตัวของทิวเขาบริเวณ[[จังหวัดกาญจนบุรี]] [[ตาก]] ส่งผลทำให้[[จังหวัดกำแพงเพชร]] [[นครสวรรค์]] [[สุพรรณบุรี]] มีอุณหภูมิสูงและมีปริมาณน้ำฝนน้อย โดยเรียกพื้นที่นี้ว่า "[[พื้นที่อับฝน]]"
* '''ระยะห่างจากทะเล''': พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเลจะมีโอกาสได้รับความชื้นและมีฝนตกมากกว่าบริเวณที่ห่างไกลทะเลออกไป เช่น [[จังหวัดระนอง]]และ[[ตราด]] อยู่ใกล้ทะเล และเป็นด้านรับลม จะมีปริมาณฝนตกมากกว่าจังหวัดที่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน
* '''ระยะห่างจากทะเล''': พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเลจะมีโอกาสได้รับความชื้นและมีฝนตกมากกว่าบริเวณที่ห่างไกลทะเลออกไป เช่น [[จังหวัดระนอง]]และ[[ตราด]] อยู่ใกล้ทะเล และเป็นด้านรับลม จะมีปริมาณฝนตกมากกว่าจังหวัดที่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน
* '''ทิศทางของลมประจำ''': บริเวณภาคตะวันออกช่วงที่ได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีฝนตกชุก แต่เมื่อลมเปลี่ยนทิศเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณน้ำฝนจะลดลงจนเห็นความแตกต่างชัดเจน
* '''ทิศทางของลมประจำ''': บริเวณภาคตะวันออกช่วงที่ได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีฝนตกชุก แต่เมื่อลมเปลี่ยนทิศเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณน้ำฝนจะลดลงจนเห็นความแตกต่างชัดเจน
บรรทัด 16: บรรทัด 21:
ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของ[[มรสุม]]สองชนิด<ref name="ภูมิอากาศไทย">วิรัช มณีสาร, เรือโท. ลักษณะภูมิประเทศและลักษณะอากาศตามฤดูกาลของภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย. เอกสารวิชาการเลขที่ 551.582-02-2538, ISBN 974-7567-25-3, กันยายน 2538</ref> คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของ[[มรสุม]]สองชนิด<ref name="ภูมิอากาศไทย">วิรัช มณีสาร, เรือโท. ลักษณะภูมิประเทศและลักษณะอากาศตามฤดูกาลของภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย. เอกสารวิชาการเลขที่ 551.582-02-2538, ISBN 974-7567-25-3, กันยายน 2538</ref> คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
* '''มรสุมตะวันตกเฉียงใต้'''
* '''มรสุมตะวันตกเฉียงใต้'''
*
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดีอนพฤษภาคมถึง กลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงใน[[ซีกโลกใต้]] บริเวณ[[มหาสมุทรอินเดีย]] ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็น ลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้าม[[เส้นศูนย์สูตร]] มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย มาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดีอนพฤษภาคมถึง กลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงใน[[ซีกโลกใต้]] บริเวณ[[มหาสมุทรอินเดีย]] ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็น ลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้าม[[เส้นศูนย์สูตร]] มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย มาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
* '''มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ'''
* '''มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ'''
บรรทัด 24: บรรทัด 30:


=== ฤดูร้อน ===
=== ฤดูร้อน ===
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหา[[ดวงอาทิตย์]] โดยเฉพาะเดือนเมษายนบริเวณประเทศไทย มีดวงอาทิตย์อยู่เกือบตรงศีรษะในเวลาเที่ยงวัน ทำให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าวทั่วไป ในฤดูนี้แม้ว่าโดยทั่วไปจะมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบน ทำให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายได้ พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พายุฤดูร้อน"
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหา[[ดวงอาทิตย์]] โดยเฉพาะเดือนเมษายนบริเวณประเทศไทย มีดวงอาทิตย์อยู่เกือบตรงศีรษะในเวลาเที่ยงวัน ทำให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าวทั่วไป ในฤดูนี้แม้ว่าโดยทั่วไปจะมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบน ทำให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายได้ พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พายุฤดูร้อน"
ลักษณะของอากาศในฤดูร้อนใช้เกณฑ์อุณหภูมิสูงสุดของแต่ละวัน โดยแบ่งดังนี้
ลักษณะของอากาศในฤดูร้อนใช้เกณฑ์อุณหภูมิสูงสุดของแต่ละวัน โดยแบ่งดังนี้
* '''อากาศร้อน''' จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 - 39.9 องศาเซลเซียส
* '''อากาศร้อน''' จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 - 39.9 องศาเซลเซียส
บรรทัด 30: บรรทัด 36:


=== ฤดูฝน ===
=== ฤดูฝน ===
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านประเทศไทยทำให้มีฝนชุกทั่วไป ร่องความกดอากาศต่ำนี้ปกติจะพาดผ่านภาคใต้ในเดือนพฤษภาคม แล้วจึงเลื่อนขึ้นไปทางเหนือตามลำดับจนถึงช่วงประมาณปลายเดือนมิถุนายน จะพาดผ่านอยู่บริเวณประเทศจีนตอนใต้ ทำให้ฝนในประเทศไทยลดลงระยะหนึ่ง และเรียกว่าเป็น "ช่วงฝนทิ้ง" ซึ่งอาจนานประมาณ 1 - 2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคมปกติร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนกลับลงมาทางใต้พาดผ่านบริเวณประเทศไทยอีกครั้ง ทำให้มีฝนชุกต่อเนื่อง จนกระทั่งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยแทนที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณกลางเดือนตุลาคมประเทศไทยตอนบน จะเริ่มมีอากาศเย็นและฝนลดลง โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เว้นแต่ภาคใต้ยังคงมีฝนชุกต่อไปจนถึงเดือนธันวาคมและมักมีฝนหนักถึงหนักมาก 1 - 2 สัปดาห์ จนก่อให้เกิด[[อุทกภัย]] โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งจะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก อย่างไรก็ตามการเริ่มต้นฤดูฝนอาจจะช้าหรือเร็วกว่ากำหนดได้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์การพิจารณาปริมาณฝนในเวลา 24 ชั่วโมงของแต่ละวัน จะนับตั้งแต่เวลา 07.00 น. จนถึงเวลา 07.00 น. ของวันถัดไป โดยมีเกณฑ์แบ่งดังนี้
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านประเทศไทยทำให้มีฝนชุกทั่วไป ร่องความกดอากาศต่ำนี้ปกติจะพาดผ่านภาคใต้ในเดือนพฤษภาคม แล้วจึงเลื่อนขึ้นไปทางเหนือตามลำดับจนถึงช่วงประมาณปลายเดือนมิถุนายน จะพาดผ่านอยู่บริเวณประเทศจีนตอนใต้ ทำให้ฝนในประเทศไทยลดลงระยะหนึ่ง และเรียกว่าเป็น "ฝนทิ้งช่วง" ซึ่งอาจนานประมาณ 1 - 2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคมปกติร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนกลับลงมาทางใต้พาดผ่านบริเวณประเทศไทยอีกครั้ง ทำให้มีฝนชุกต่อเนื่อง จนกระทั่งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยแทนที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณกลางเดือนตุลาคมประเทศไทยตอนบน จะเริ่มมีอากาศเย็นและฝนลดลง โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เว้นแต่ภาคใต้ยังคงมีฝนชุกต่อไปจนถึงเดือนธันวาคมและมักมีฝนหนักถึงหนักมาก 1 - 2 สัปดาห์ จนก่อให้เกิด[[อุทกภัย]] โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งจะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก อย่างไรก็ตามการเริ่มต้นฤดูฝนอาจจะช้าหรือเร็วกว่ากำหนดได้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์การพิจารณาปริมาณฝนในเวลา 24 ชั่วโมงของแต่ละวัน จะนับตั้งแต่เวลา 07.00 น. จนถึงเวลา 07.00 น. ของวันถัดไป โดยมีเกณฑ์แบ่งดังนี้


* ฝนวัดจำนวนไม่ได้: ปริมาณฝนน้อยกว่า 0.1 มิลลิเมตร
* ฝนวัดจำนวนไม่ได้: ปริมาณฝนน้อยกว่า 0.1 มิลลิเมตร
บรรทัด 50: บรรทัด 56:


{| class="wikitable" style="margin: 1em auto 1em auto"
{| class="wikitable" style="margin: 1em auto 1em auto"
|+ '''สถิติอุณหภูมิของประเทศไทยในฤดูกาลต่าง ๆ'''
|+ '''อุณหภูมิ'''
! ภาค || ฤดูร้อน || ฤดูฝน || ฤดูหนาว || ฤดูร้อน || ฤดูฝน || ฤดูหนาว || ฤดูร้อน || ฤดูฝน || ฤดูหนาว
! ภาค || ร้อน || ฝน || หนาว || ร้อน || ฝน || หนาว || ร้อน || ฝน || หนาว
|-
|-
| || colspan="3" align="center"| อุณหภูมิเฉลี่ย (°C)
| || colspan="3" align="center"| อุณหภูมิ
| colspan="3" align="center"| อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย (°C)
| colspan="3" align="center"| สูงสุด
| colspan="3" align="center"| อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย (°C)
| colspan="3" align="center"| ต่ำสุด
|-
|-
| เหนือ || 28.0 || 27.3 || 23.1 || 35.8 || 32.2 || 30.8 || 21.4 || 23.7 || 17.1
| เหนือ || 28.0 || 27.3 || 23.1 || 35.8 || 32.2 || 30.8 || 21.4 || 23.7 || 17.1
|-
|-
| ตะวันออกเฉียงเหนือ || 28.5 || 27.7 || 23.9 || 35.0 || 32.3 || 30.3 || 23.0 || 24.2 || 18.3
| อีสาน || 28.5 || 27.7 || 23.9 || 35.0 || 32.3 || 30.3 || 23.0 || 24.2 || 18.3
|-
|-
| กลาง || 29.6 || 28.3 || 26.1 || 35.5 || 32.8 || 31.7 || 24.6 || 24.8 || 21.1
| กลาง || 29.6 || 28.3 || 26.1 || 35.5 || 32.8 || 31.7 || 24.6 || 24.8 || 21.1
บรรทัด 65: บรรทัด 71:
| ตะวันออก || 28.9 || 28.1 || 26.4 || 33.9 || 32.1 || 31.7 || 25.0 || 25.0 || 21.8
| ตะวันออก || 28.9 || 28.1 || 26.4 || 33.9 || 32.1 || 31.7 || 25.0 || 25.0 || 21.8
|-
|-
| ใต้ฝั่งตะวันออก || 28.1 || 27.7 || 26.3 || 32.8 || 32.1 || 29.9 || 23.2 || 23.7 || 22.0
| อ่าวไทย || 28.1 || 27.7 || 26.3 || 32.8 || 32.1 || 29.9 || 23.2 || 23.7 || 22.0
|-
|-
| ใต้ฝั่งตะวันตก || 28.3 || 27.4 || 26.8 || 34.0 || 31.4 || 31.9 || 23.7 || 24.1 || 22.9
| อันดามัน || 28.3 || 27.4 || 26.8 || 34.0 || 31.4 || 31.9 || 23.7 || 24.1 || 22.9
|-
|-
| colspan="10" align="center"| หมายเหตุ: เป็นค่าเฉลี่ยในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2514-2543)
| colspan="10" align="center"| 30 ปี 2514-2543
|-
| colspan="10" align="center"| อ้างอิง: <ref name="สถิติอากาศไทย">ฝ่ายกรรมวิธีข้อมูล. สถิติภูมิอากาศของประเทศไทยในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2504-2533). รายงานข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเลขที่ 551.582-02-2537, ISBN : 974-7554-80-1, กองภูมิอากาศ, [[กรมอุตุนิยมวิทยา]], [[กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร]]</ref><ref name="สถิติอากาศไทย 2">วิรัช มณีสาร, เรือโท. สถิติองค์ประกอบอุตุนิยมวิทยาของภาคต่างๆ ในประเทศไทย คาบ 30 ปี (พ.ศ. 2504-2533) เอกสารวิชาการเลขที่ 551.582-03-2538, ISBN : 974-7567-24-5, กันยายน 2538</ref>

|}
|}


บรรทัด 93: บรรทัด 96:
| colspan="4" align="center"| หมายเหตุ: เป็นข้อมูลในคาบ 60 ปี (พ.ศ. 2494 - 2556)
| colspan="4" align="center"| หมายเหตุ: เป็นข้อมูลในคาบ 60 ปี (พ.ศ. 2494 - 2556)
|-
|-
| colspan="4" align="center"| อ้างอิง: <ref name="สถิติอากาศไทย">ฝ่ายกรรมวิธีข้อมูล. สถิติภูมิอากาศของประเทศไทยในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2504-2533). รายงานข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเลขที่ 551.582-02-2537, ISBN : 974-7554-80-1, กองภูมิอากาศ, [[กรมอุตุนิยมวิทยา]], [[กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม|กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร]]</ref>
| colspan="4" align="center"| อ้างอิง: <ref name="สถิติอากาศไทย"/>
|}
|}


บรรทัด 115: บรรทัด 118:
| colspan="4" align="center"| หมายเหตุ: ข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494
| colspan="4" align="center"| หมายเหตุ: ข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494
|-
|-
| colspan="4" align="center"| อ้างอิง: <ref name="สถิติอากาศไทย"/> [http://www.tmd.go.th/programs/uploads/StatLowTemp/stat_temperature_latest.pdf สถิติภูมิอากาศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2494]
| colspan="4" align="center"| อ้างอิง: <ref name="สถิติอากาศไทย"/> [http://www.tmd.go.th/programs/uploads/StatLowTemp/stat_temperature_latest.pdf สถิติภูมิอากาศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2494] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20201027175922/https://www.tmd.go.th/programs/uploads/StatLowTemp/stat_temperature_latest.pdf |date=2020-10-27 }}
|}
|}


บรรทัด 158: บรรทัด 161:
| colspan="5" align="center"| '''หมายเหตุ''': ค่าเฉลี่ยในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2524–2553) '''อ้างอิง''':<ref name="ภูมิอากาศไทย"/>
| colspan="5" align="center"| '''หมายเหตุ''': ค่าเฉลี่ยในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2524–2553) '''อ้างอิง''':<ref name="ภูมิอากาศไทย"/>
|}
|}

{{Weather box
|location = ประเทศไทย (2534–2563)
|metric first = Yes
|single line = Yes
|rain colour = green
|Jan rain mm = 30.3
|Feb rain mm = 20.4
|Mar rain mm = 49.5
|Apr rain mm = 88.7
|May rain mm = 193.1
|Jun rain mm = 188.6
|Jul rain mm = 202.6
|Aug rain mm = 240.9
|Sep rain mm = 253
|Oct rain mm = 187.2
|Nov rain mm = 98.4
|Dec rain mm = 50
|source 1 = กรมอุตุนิยมวิทยา,{{cite web
|url = https://www.tmd.go.th/ClimateChart/monthly-mean-rainfall-in-thailand-mm-30-years
|title = ปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือนของประเทศไทย (มม.) ในคาบ 30 ปี
}}
}}


== ความชื้นสัมพัทธ์ ==
== ความชื้นสัมพัทธ์ ==
บรรทัด 217: บรรทัด 243:
| colspan="14" align="center"| หมายเหตุ: เป็นสถิติในคาบ 62 ปี (พ.ศ. 2494 - 2555)
| colspan="14" align="center"| หมายเหตุ: เป็นสถิติในคาบ 62 ปี (พ.ศ. 2494 - 2555)
|-
|-
| colspan="14" align="center"| อ้างอิง: <ref name="สถิติอากาศไทย 3">[http://www.tmd.go.th/info/knowledge_weather02_n.html] กลุ่มภูมิอากาศ, สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา, กรมอุตุนิยมวิทยา, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2552.</ref>
| colspan="14" align="center"| อ้างอิง: <ref name="สถิติอากาศไทย 3">[http://www.tmd.go.th/info/knowledge_weather02_n.html กลุ่มภูมิอากาศ], สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา, กรมอุตุนิยมวิทยา, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2552.</ref>
|}
|}



รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 22:34, 21 ธันวาคม 2567

แผนที่ประเทศไทยแสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน
  (Cwa) ภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนชื้น (ที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม)
  (Cwb) ภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนที่สูง (ที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม)
ภาพถ่ายประเทศไทยจากทางอากาศ

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ภูมิอากาศในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้นหรือภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน ในขณะที่ภาคใต้และทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเป็นเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 19-38 องศาเซลเซียส อากาศจะร้อนที่สุดช่วงกลางเดือนเมษายน หลังจากนั้น ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนและฤดูหนาวตามลำดับ พื้นที่ทั้งประเทศได้รับปริมาณฝนอย่างเพียงพอ ยกเว้นบางพื้นที่เท่านั้น แต่ระยะเวลาของฤดูฝนและปริมาณฝนมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและระดับความสูง

ปัจจัยภูมิอากาศในประเทศไทย

[แก้]

แม้ว่าประเทศไทยจะมีพื้นที่อยู่ในเขตร้อน แต่ก็มีสภาพอากาศที่แตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยดังต่อไปนี้[1]

  • ที่ตั้งตามละติจูด: ตามปกติตำแหน่งที่ตั้งที่มีค่าละติจูดต่ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่าตำแหน่งที่ตั้งที่มีค่าละติจูดสูงกว่า เพราะอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
  • ความสูงของพื้นที่: ตามปกติพื้นที่สูงจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่ที่เป็นที่ราบ เช่น ยอดดอยอินทนนท์จะมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่ล่างที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
  • แนวทิวเขาที่ขวางกั้นทิศทางลมประจำ: การวางตัวของทิวเขาบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ตาก ส่งผลทำให้จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ สุพรรณบุรี มีอุณหภูมิสูงและมีปริมาณน้ำฝนน้อย โดยเรียกพื้นที่นี้ว่า "พื้นที่อับฝน"
  • ระยะห่างจากทะเล: พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเลจะมีโอกาสได้รับความชื้นและมีฝนตกมากกว่าบริเวณที่ห่างไกลทะเลออกไป เช่น จังหวัดระนองและตราด อยู่ใกล้ทะเล และเป็นด้านรับลม จะมีปริมาณฝนตกมากกว่าจังหวัดที่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน
  • ทิศทางของลมประจำ: บริเวณภาคตะวันออกช่วงที่ได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีฝนตกชุก แต่เมื่อลมเปลี่ยนทิศเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณน้ำฝนจะลดลงจนเห็นความแตกต่างชัดเจน
  • อิทธิพลของลมพายุหมุน: ลมพายุที่พัดผ่านประเทศไทย จะนำฝนมาตกเป็นปริมาณสูงและมักเกิดอุทกภัยอยู่บ่อยครั้ง แต่บางปีที่มีพายุหมุนเข้าน้อยจะมีปริมาณน้ำฝนน้อย อาจถึงการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ลมมรสุม

[แก้]

ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมสองชนิด[2] คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

  • มรสุมตะวันตกเฉียงใต้

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดีอนพฤษภาคมถึง กลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้ บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็น ลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย มาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น

  • มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ประมาณกลางเดือนตุลาคมจะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยจนถึง กลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศ มองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม

ฤดูกาล

[แก้]

ประเทศไทยแบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู[2] ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

ฤดูร้อน

[แก้]

เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะเดือนเมษายนบริเวณประเทศไทย มีดวงอาทิตย์อยู่เกือบตรงศีรษะในเวลาเที่ยงวัน ทำให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าวทั่วไป ในฤดูนี้แม้ว่าโดยทั่วไปจะมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบน ทำให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายได้ พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พายุฤดูร้อน" ลักษณะของอากาศในฤดูร้อนใช้เกณฑ์อุณหภูมิสูงสุดของแต่ละวัน โดยแบ่งดังนี้

  • อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 - 39.9 องศาเซลเซียส
  • อากาศร้อนจัด มีอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป

ฤดูฝน

[แก้]

เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านประเทศไทยทำให้มีฝนชุกทั่วไป ร่องความกดอากาศต่ำนี้ปกติจะพาดผ่านภาคใต้ในเดือนพฤษภาคม แล้วจึงเลื่อนขึ้นไปทางเหนือตามลำดับจนถึงช่วงประมาณปลายเดือนมิถุนายน จะพาดผ่านอยู่บริเวณประเทศจีนตอนใต้ ทำให้ฝนในประเทศไทยลดลงระยะหนึ่ง และเรียกว่าเป็น "ฝนทิ้งช่วง" ซึ่งอาจนานประมาณ 1 - 2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคมปกติร่องความกดอากาศต่ำจะเลื่อนกลับลงมาทางใต้พาดผ่านบริเวณประเทศไทยอีกครั้ง ทำให้มีฝนชุกต่อเนื่อง จนกระทั่งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยแทนที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณกลางเดือนตุลาคมประเทศไทยตอนบน จะเริ่มมีอากาศเย็นและฝนลดลง โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เว้นแต่ภาคใต้ยังคงมีฝนชุกต่อไปจนถึงเดือนธันวาคมและมักมีฝนหนักถึงหนักมาก 1 - 2 สัปดาห์ จนก่อให้เกิดอุทกภัย โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งจะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก อย่างไรก็ตามการเริ่มต้นฤดูฝนอาจจะช้าหรือเร็วกว่ากำหนดได้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์การพิจารณาปริมาณฝนในเวลา 24 ชั่วโมงของแต่ละวัน จะนับตั้งแต่เวลา 07.00 น. จนถึงเวลา 07.00 น. ของวันถัดไป โดยมีเกณฑ์แบ่งดังนี้

  • ฝนวัดจำนวนไม่ได้: ปริมาณฝนน้อยกว่า 0.1 มิลลิเมตร
  • ฝนเล็กน้อย: ปริมาณฝนระหว่าง 0.1 - 10.0 มิลลิเมตร
  • ฝนปานกลาง: ปริมาณฝนระหว่าง 10.1 - 35.0 มิลลิเมตร
  • ฝนหนัก: ปริมาณฝนระหว่าง 35.1 - 90.0 มิลลิเมตร
  • ฝนหนักมาก: ปริมาณฝนตั้งแต่ 90.1 มิลลิเมตรขึ้นไป

ฤดูหนาว

[แก้]

เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือน กุมภาพันธ์ เมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว 1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกลงไปซึ่งจะหมดฝน และเริ่มมีอากาศเย็นช้ากว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของอากาศในฤดูหนาว ลักษณะของอากาศในฤดูหนาวใช้เกณฑ์อุณหภูมิต่ำสุดของแต่ละวัน โดยแบ่งดังนี้

  • อากาศหนาวจัด จะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 8.0 องศาเซลเซียส
  • อากาศหนาว มีอุณหภูมิระหว่าง 8.0 - 15.9 องศาเซลเซียส
  • อากาศเย็น มีอุณหภูมิระหว่าง 16.0 - 22.9 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิ

[แก้]

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน สภาวะอากาศโดยทั่วไปจึงร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทยมีค่าประมาณ 27 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามอุณหภูมิจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินบริเวณตั้งแต่ภาคกลาง และภาคตะวันออกตอนบนขึ้นไปจนถึงภาคเหนือจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก ระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว และระหว่างกลางวันกับกลางคืน โดยในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิสูงสุดในตอนบ่าย ปกติจะสูงถึงเกือบ 40 องศาเซลเซียส หรือมากกว่านั้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยเฉพาะเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุดในรอบปี ส่วนฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำสุดในตอนเช้ามืดจะลดลงอยู่ในเกณฑ์หนาวถึงหนาวจัด โดยเฉพาะเดือนธันวาคมถึงมกราคมเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวมากที่สุดในรอบปี ซึ่งในช่วงดังกล่าวอุณหภูมิอาจลดลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณพื้นที่ซึ่งเป็นเทือกเขาหรือบนยอดเขาสูง สำหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเลได้แก่ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ความผันแปรของอุณหภูมิในช่วงวันและฤดูกาลจะน้อยกว่า โดยฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัดเท่าพื้นที่ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน[2]

อุณหภูมิ
ภาค ร้อน ฝน หนาว ร้อน ฝน หนาว ร้อน ฝน หนาว
อุณหภูมิ สูงสุด ต่ำสุด
เหนือ 28.0 27.3 23.1 35.8 32.2 30.8 21.4 23.7 17.1
อีสาน 28.5 27.7 23.9 35.0 32.3 30.3 23.0 24.2 18.3
กลาง 29.6 28.3 26.1 35.5 32.8 31.7 24.6 24.8 21.1
ตะวันออก 28.9 28.1 26.4 33.9 32.1 31.7 25.0 25.0 21.8
อ่าวไทย 28.1 27.7 26.3 32.8 32.1 29.9 23.2 23.7 22.0
อันดามัน 28.3 27.4 26.8 34.0 31.4 31.9 23.7 24.1 22.9
30 ปี 2514-2543
สถิติอุณหภูมิสูงที่สุดของประเทศไทย
ภูมิภาค อุณหภูมิ (°C) วัน/เดือน/ปี จังหวัด
เหนือ
44.6
28 เมษายน 2559 แม่ฮ่องสอน
ตะวันออกเฉียงเหนือ
43.9
28 เมษายน 2503 อุดรธานี
กลาง
43.5
29 เมษายน 2501
14 เมษายน 2526
14 เมษายน 2535
20 เมษายน 2535
กาญจนบุรี
กาญจนบุรี
กาญจนบุรี
กาญจนบุรี
ตะวันออก
42.9
23 เมษายน 2533 อำเภอกบินทร์บุรี, ปราจีนบุรี
ใต้ฝั่งตะวันออก
41.2
15 เมษายน 2541 อำเภอหัวหิน, ประจวบคีรีขันธ์
ใต้ฝั่งตะวันตก
40.5
29 มีนาคม 2535 ตรัง
หมายเหตุ: เป็นข้อมูลในคาบ 60 ปี (พ.ศ. 2494 - 2556)
อ้างอิง: [3]


สถิติอุณหภูมิต่ำที่สุดของประเทศไทย (บนพื้นราบ)
ภูมิภาค อุณหภูมิ (°C) วัน/เดือน/ปี เมือง
เหนือ
0.8
1.0
1.0
27 ธันวาคม 2542
2 มกราคม 2517
25 ธันวาคม 2542
อำเภออุ้มผาง, ตาก
อำเภอเมือง, น่าน
อำเภอเมือง, จังหวัดเชียงราย
ตะวันออกเฉียงเหนือ
-1.4
-1.3
2 มกราคม 2517
2 มกราคม 2517
อำเภอเมือง, สกลนคร
อำเภอเมือง, จังหวัดเลย
กลาง
5.2
27 มกราคม 2536 อำเภอทองผาภูมิ, จังหวัดกาญจนบุรี
ตะวันออก
7.6
16 มกราคม 2506 อำเภออรัญประเทศ, จังหวัดสระแก้ว
ใต้ฝั่งตะวันออก
6.4
26 ธันวาคม 2542 อำเภอหัวหิน, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ใต้ฝั่งตะวันตก
13.7
21 มกราคม 2499 อำเภอเมือง, จังหวัดระนอง
หมายเหตุ: ข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494
อ้างอิง: [3] สถิติภูมิอากาศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2494 เก็บถาวร 2020-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน


สถิติอุณหภูมิต่ำที่สุด (บนภูเขา)
ภูมิภาค อุณหภูมิ (°C) วัน/เดือน/ปี เมือง
เหนือ
-10
-12
-4
22 มกราคม 2542
22 มกราคม 2542
24 มกราคม 2557
ยอดดอยหลวงเชียงดาว,อำเภอเชียงดาว, จังหวัดเชียงใหม่
จุดสูงสุดแดนสยาม, ยอดดอยอินทนนท์, อำเภอจอมทอง, จังหวัดเชียงใหม่
กิ่วแม่ปาน, ดอยอินทนนท์, อำเภอจอมทอง, จังหวัดเชียงใหม่
เหนือตอนล่าง
-4
24 มกราคม 2557 หมูบ้านร่องกล้า, อำเภอนครไทย, จังหวัดพิษณุโลก
ตะวันออกเฉียงเหนือ
-6
-3
24 มกราคม 2557
29 ธันวาคม 2556
เส้นทางผาหล่มสัก-ลิงก์ ทอ., ภูกระดึง, อำเภอภูกระดึง, จังหวัดเลย
ยอดภูเรือ, อำเภอภูเรือ, จังหวัดเลย
ใต้
2
27 ธันวาคม 2555 ภูผาหมอก, อำเภอย่านตาขาว, จังหวัดตรัง
หมายเหตุ: ข้อมูลตั้งแต่ปีพ.ศ. 2494 - ปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]
  • วันที่ 24 มกราคม 2557 เส้นทางผาหล่มสัก-ลิงก์ ทอ. ภูกระดึง จังหวัดเลย สามารถวัดอุณหภูมิยอดหญ้าได้ที่ติดลบ-6องศา ในเวลาตี5ครึ่ง เกิดแม่คะนิ้งเป็นบริเวณกว้าง
  • วันที่ 24 มกราคม 2557 หมู่บ้านร่องกล้า ใกล้อุทยาแห่งชาติภูหินร่องกล้า อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก สามารถวัดอุณหภูมิยอดหญ้าได้ติดลบ-4องศา เกิดแม่คะนิ้งเป็นบริเวณกว้าง (จังหวัดพิษณุโลกอยู่ระหว่างภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน เพื่อลดความกำกวมระหว่างภาคกลางและภาคเหนือ)

ปริมาณฝน

[แก้]

โดยทั่วไปประเทศไทยมีฝนอยู่ในเกณฑ์ดี พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณฝน 1,200–1,600 มิลลิเมตรต่อปี ปริมาณฝนรวมตลอดปีเฉลี่ยทั่วประเทศมีค่า 1,587.7 มิลลิเมตร ปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่ผันแปรไปตามลักษณะภูมิประเทศ นอกเหนือจากการผันแปรตามฤดูกาล บริเวณประเทศไทยตอนบนปกติจะแห้งแล้งและมีฝนน้อยในฤดูหนาว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนปริมาณฝน จะเพิ่มขึ้นบ้างพร้อมทั้งมีพายุฟ้าคะนอง และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นมาก โดยจะมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ด้านหน้าทิวเขา หรือด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ พื้นที่ทางด้านตะวันตกของประเทศและบริเวณภาคตะวันออก โดยเฉพาะที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีปริมาณฝนรวมตลอดปีมากกว่า 4,000 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อยส่วนใหญ่อยู่ด้านหลังเขา ได้แก่พื้นที่บริเวณตอนกลางของภาคเหนือและภาคกลาง และบริเวณด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้มีฝนชุกเกือบตลอดปียกเว้นช่วงฤดูร้อน พื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันออกในช่วงฤดูฝน โดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนกันยายน ส่วนช่วงฤดูหนาวบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมากที่สุดของภาคใต้อยู่บริเวณจังหวัดระนอง ซึ่งมีปริมาณฝนรวมตลอดปีมากกว่า 4,000 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อยได้แก่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน ด้านหลังทิวเขาตะนาวศรี บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์[2]

ค่าเฉลี่ยปริมาณฝนของประเทศไทยแบ่งตามภาค
ภาค ฤดูร้อน (มม.) ฤดูฝน (มม.) ฤดูหนาว (มม.) จำนวนวันฝนตกใน 1 ปี
เหนือ 187.3 943.2 100.4 122
ตะวันออกเฉียงเหนือ 224.4 1,103.8 76.3 116
กลาง 205.4 942.5 127.3 116
ตะวันออก 277.3 1,433.2 178.4 130
ใต้ฝั่งตะวันออก 229.0 608.0 827.9 145
ใต้ฝั่งตะวันตก 411.3 1,841.3 464.6 178
หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2524–2553) อ้างอิง:[2]
ข้อมูลภูมิอากาศของประเทศไทย (2534–2563)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 30.3
(1.193)
20.4
(0.803)
49.5
(1.949)
88.7
(3.492)
193.1
(7.602)
188.6
(7.425)
202.6
(7.976)
240.9
(9.484)
253
(9.96)
187.2
(7.37)
98.4
(3.874)
50
(1.97)
1,602.7
(63.098)
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา,"ปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือนของประเทศไทย (มม.) ในคาบ 30 ปี".

ความชื้นสัมพัทธ์

[แก้]

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงมีอากาศร้อนชื้นปกคลุมเกือบตลอดปี เว้นแต่บริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไปความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงชัดเจนในช่วงฤดูหนาว และฤดูร้อน โดยเฉพาะฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ลดลงต่ำสุดในรอบปี ในบริเวณดังกล่าวมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 73–75 % และจะลดลงเหลือ 64–69 % ในช่วงฤดูร้อน และเคยมีความชื้นสัมพัทธ์ลดลงต่ำที่สุดเพียง 9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 ที่จังหวัดเลย และเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2533 ที่จังหวัดเชียงราย ส่วนบริเวณที่อยู่ติดฝั่งทะเลได้แก่ภาคตะวันออก และภาคใต้จะมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า โดยเฉพาะภาคใต้มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 79–80 %[2]

ค่าเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์ของประเทศไทยแบ่งตามภาค
ภาค ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ตลอดปี
เหนือ 63 81 74 74
ตะวันออกเฉียงเหนือ 66 80 69 73
กลาง 68 78 70 73
ตะวันออก 75 81 71 76
ใต้ฝั่งตะวันออก 78 79 81 79
ใต้ฝั่งตะวันตก 77 84 78 80
หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2524–2553) หน่วยเปอร์เซ็นต์ อ้างอิง:[2]

เมฆ

[แก้]

ในช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงต้นฤดูร้อน (พฤศจิกายนถึงมีนาคม) ปกติประเทศไทยจะมีท้องฟ้าโปร่ง และมีเมฆปกคลุมน้อยกว่าช่วงอื่น ๆ ของปี เมฆที่ปกคลุมในช่วงดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นเมฆชั้นสูง และมีเมฆก่อตัวในทางตั้ง เช่นเมฆคิวมูลัสหรือเมฆคิวมูโลนิมบัสที่ก่อให้เกิดฝนฟ้าคะนองได้บ้าง โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปถึงพฤษภาคม เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนส่วนใหญ่ท้องฟ้าจะมีเมฆมาก หรือมีเมฆเต็มท้องฟ้า เว้นแต่ในช่วงฝนทิ้งประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมอาจมีโอกาสที่จะมีท้องฟ้าโปร่งได้[2]

พายุฟ้าคะนอง

[แก้]

ประเทศไทยตอนบนมีโอกาสเกิดพายุฟ้าคะนองมากในช่วงเดือนเมษายนถึงตุลาคม โดยเฉพาะเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมเป็นช่วงที่มีโอกาสเกิดพายุฟ้าคะนองได้มาก เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว จึงมีการยกตัวขึ้นของมวลอากาศ และอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมา ในขณะที่มวลอากาศร้อนปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย ทำให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศร้อนและเย็น ซึ่งในกรณีที่มีพายุฟ้าคะนองรุนแรงอาจมีฝนตกหนักถึงหนักมาก มีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายได้ ส่วนภาคใต้เกิดขึ้นได้มากในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน[2]

ลมผิวพื้น

[แก้]

ลมผิวพื้นที่พัดปกคลุมประเทศไทยผันแปรไปตามฤดูกาล ในฤดูหนาวหรือฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่วนใหญ่เป็นลมฝ่ายเหนือและลมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ลมที่พัดปกคลุมส่วนใหญ่เป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออก ในช่วงฤดูฝนหรือฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นลมตะวันตก ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้ สำหรับช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่ลมแปรปรวน แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ ่โดยเฉพาะประเทศไทยตอนบนมักมีลมฝ่ายใต้พัดปกคลุม[2]

พายุหมุนเขตร้อน

[แก้]

ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างบริเวณแหล่งกำเนิดของพายุหมุนเขตร้อนทั้งสองด้าน ด้านตะวันออกคือมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ ส่วนด้านตะวันตกคืออ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน โดยพายุมีโอกาสเคลื่อนจากมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีนใต้เข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออกมากกว่าทางตะวันตก ปกติประเทศไทยจะมีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามาได้โดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 ลูกต่อปี บริเวณที่พายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านเข้ามามากที่สุดคือภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ในระยะต้นปีระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมเป็นช่วงที่ประเทศไทยปลอดจากอิทธิพลของพายุ ต่อมาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีที่พายุเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคใต้ แต่มีโอกาสน้อยและเคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบ 55 ปี (พ.ศ. 2494 - 2555) พายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นพายุที่เคลื่อนมาจากด้านตะวันตกเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน และตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไปพายุส่วนใหญ่จะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออก โดยช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมพายุยังคงเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ซึ่งบริเวณตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ที่พายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านเข้ามามากที่สุด และเดือนกันยายนถึงตุลาคมพายุมีโอกาสเคลื่อนเข้ามาได้ในทุกพื้นที่ โดยเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตั้งแต่เดือนกันยายน ในสองเดือนนี้เป็นระยะที่พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยได้มากโดยเฉพาะเดือนตุลาคม มีสถิตเคลื่อนเข้ามามากที่สุดในรอบปีสำหรับช่วงปลายปีตั้งแต่เดือนเดือนพฤศจิกายน พายุจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนได้น้อยลง และมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้มากขึ้น เมื่อถึงเดือนธันวาคมพายุมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้เท่านั้น โดยไม่มีพายุเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนอีก พายุหมุนเขตร้อนที่มีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศของประเทศไทย ส่วนใหญ่มีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกและทะเลจีนใต้ ซึ่งมีการแบ่งเกณฑ์ความรุนแรงของพายุตามข้อตกลง ระหว่างประเทศโดยใช้ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุดังนี้

  • พายุดีเปรสชัน (Depression) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่งโมง)
  • พายุโซนร้อน (Tropical strom) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่งโมง) ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • ไต้ฝุ่นหรือเฮอร์ริเคน (Typhoon, Hurricane) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอตขึ้นไป (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นเกย์ ที่จังหวัดชุมพร เมื่อ พ.ศ. 2532

พายุที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่เป็นพายุดีเปรสชัน เพราะพื้นดินและเทือกเขาของประเทศพม่า เวียดนาม ลาว และกัมพูชาที่ล้อมรอบประเทศไทยตอนบน เป็นปัจจัยที่ช่วยลดความรุนแรงของพายุก่อนที่จะเคลื่อนมาถึงประเทศไทย ดังนั้นความเสียหายที่เกิดจากลมแรง จึงน้อยกว่าภาคใต้ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นพื้นที่เปิดสู่ทะเล พายุที่เคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทยและขึ้นฝั่งภาคใต้ขณะมีกำลังแรงขนาดพายุโซนร้อน หรือไต้ฝุ่นจะมีผลกระทบเป็นอย่างมากจากคลื่นพายุซัดฝั่ง ลมที่พัดแรงจัด และฝนที่ตกหนักถึงหนักมากจนเกิดอุทกภัย รวมทั้งคลื่นลมแรงในอ่าวไทย ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้น 3 ครั้งในอดีต ได้แก่พายุโซนร้อนแฮเรียต ที่เคลื่อนเข้าสู่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 25 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2505 พายุไต้ฝุ่นเกย์ ที่เคลื่อนเข้าสู่จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และพายุไต้ฝุ่นลินดา ที่เคลื่อนเข้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขณะมีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[2]

สถิติพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนผ่านประเทศไทย
ภาค ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม
เหนือ - - - - 5 2 9 17 23 15 1 - 72
ตะวันออกเฉียงเหนือ - - - - 1 6 4 17 28 22 4 - 82
กลาง - - - - 2 1 1 - 7 9 2 - 22
ตะวันออก - - - - 1 1 1 - 3 13 2 - 21
ใต้ - - - 1 - - - - 3 15 24 8 50
หมายเหตุ: เป็นสถิติในคาบ 62 ปี (พ.ศ. 2494 - 2555)
อ้างอิง: [4]

ความถี่ของพายุหมุนที่เคลื่อนที่ผ่านประเทศไทย

[แก้]

จากสถิติพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในรอบ 48 ปี มีจำนวนทั้งหมด 164 ลูก[5] เมื่อนำมาหาความถี่ที่พายุแต่ละลูกเคลื่อนผ่านในแต่ละพื้นที่ พบว่าบริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดนครพนม มีพายุเคลื่อนผ่าน 20 - 25 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดจำนวน 164 ลูก รองลงมาคือพื้นที่บริเวณจังหวัดมุกดาหาร สกลนคร หนองคาย อุดรธานี กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภูและเลย มีพายุเคลื่อนผ่าน 15 - 20 เปอร์เซนต์ของจำนวนพายุทั้งหมด

  • การวัดสถิติพายุแบ่งตามเดือน
    • พฤษภาคม พายุส่วนใหญ่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันตกของประเทศ บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือพื้นที่ของภาคเหนือตอนบนในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน และพื้นที่ของภาคกลางในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ต่อเนื่องกับจังหวัดตากและอุทัยธานี โดยคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมดที่เข้าประเทศไทยในเดือนพฤษภาคมซึ่งมีทั้งหมด 6 ลูก
    • มิถุนายน ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไปพายุเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออกของประเทศ ซึ่งในเดือนนี้บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณจังหวัดนครพนม หนองคายและตอนบนของสกลนคร โดยคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมดที่เข้าประเทศไทยในเดือนมิถุนายนซึ่งมีทั้งหมด 6 ลูก
    • สิงหาคม บริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือ พื้นที่ทางด้านตะวันออกของภาคเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดน่าน พะเยา แพร่ ลำปาง เชียงรายและเชียงใหม่ รวมถึงพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภูและเลย โดยคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมดที่เข้าประเทศไทยในเดือนสิงหาคมซึ่งมี 18 ลูก
    • กันยายน เดือนนี้เป็นเดือนแรกที่พายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนตัวเข้ามาในภาคใต้ตอนบน แต่ยังมีโอกาสน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านยังคงเป็นประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนต่อกับภาคเหนือตอนล่าง บริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย อุตรดิตถ์ และพิษณุโลกมีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามาคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนเข้ามาในเดือนนี้ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 39 ลูก
    • ตุลาคม เป็นเดือนที่ศูนย์กลางพายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านประเทศไทยได้ทั้งในประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ โดยในเดือนนี้พายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตอนล่างได้บ้างแต่มีโอกาสน้อย ส่วนบริเวณที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านมากที่สุดคือพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบทั้งหมด ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่างต่อเนื่องถึงภาคใต้ตอนบน ซึ่งมีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้ซึ่งมีจำนวน 48 ลูก
    • พฤศจิกายน พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ได้มากกว่าประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพายุเคลื่อนผ่านมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้ซึ่งมีจำนวน 28 ลูก บริเวณที่พายุเคลื่อนผ่านได้มากเป็นอันดับรองลงมา ได้แก่ พื้นที่ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสงขลา ซึ่งมีศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่าน 10 - 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมด อย่างไรก็ตามบริเวณประเทศไทยตอนบน ยังมีบางพื้นที่ที่ศูนย์กลางพายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ต่อกับภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสระแก้ว มีพายุเคลื่อนผ่าน 10 - 15 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพายุทั้งหมด
    • ธันวาคม เดือนนี้เป็นเดือนที่ไม่มีพายุเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนพายุทั้งหมด จะเคลื่อนผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป โดยศูนย์กลางพายุเคลื่อนผ่านบริเวณจังหวัดสงขลาและพัทลุงมากที่สุด คือ 75 เปอร์เซ็นต์ของพายุทั้งหมดที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในเดือนนี้จำนวน 7 ลูกด้วยกัน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ดร.กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ม.1, สำนักพิมพ์ อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด, 2548, หน้า 24-25
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 วิรัช มณีสาร, เรือโท. ลักษณะภูมิประเทศและลักษณะอากาศตามฤดูกาลของภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย. เอกสารวิชาการเลขที่ 551.582-02-2538, ISBN 974-7567-25-3, กันยายน 2538
  3. 3.0 3.1 ฝ่ายกรรมวิธีข้อมูล. สถิติภูมิอากาศของประเทศไทยในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2504-2533). รายงานข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเลขที่ 551.582-02-2537, ISBN : 974-7554-80-1, กองภูมิอากาศ, กรมอุตุนิยมวิทยา, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  4. กลุ่มภูมิอากาศ, สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา, กรมอุตุนิยมวิทยา, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2552.
  5. ความรู้อุตุนิยมวิทยา - เปอร์เซ็นต์ความถี่ที่ศูนย์กลางพายุเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่ของประเทศไทย จากกรมอุตุนิยมวิทยา, กระทรวงคมนาคม.