ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศแทนซาเนีย

พิกัด: 6°S 35°E / 6°S 35°E / -6; 35
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Tanzania)

6°S 35°E / 6°S 35°E / -6; 35

สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย

Jamhuriya Muungano wa Tanzania (สวาฮีลี)
United Republic of Tanzania (อังกฤษ)
คำขวัญUhuru na Umoja (ภาษาสวาฮีลี: อิสรภาพและเอกภาพ)
ที่ตั้งของแทนซาเนีย
เมืองหลวงโดโดมา
เมืองใหญ่สุดดาร์เอสซาลาม
ภาษาราชการภาษาสวาฮีลีและภาษาอังกฤษ
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบพรรคเด่น ระบบประธานาธิบดี สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ[1][2][3]
ซาเมีย ซาลูฮู
คัสซิม มาจาลีวา
ประกาศเอกราช 
• แทนกันยีกา
9 ธันวาคม พ.ศ. 2504
• แซนซิบาร์
19 ธันวาคม พ.ศ. 2506
• รวมกัน
26 เมษายน พ.ศ. 2507
พื้นที่
• รวม
945,090 ตารางกิโลเมตร (364,900 ตารางไมล์) (30)
6.2%
ประชากร
• ก.ค.2548 ประมาณ
38,329,000 1 (32)
• สำมะโนประชากร 2544
34,443,603
20 ต่อตารางกิโลเมตร (51.8 ต่อตารางไมล์) (156)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 162.836 พันล้าน
$ 3,282
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 51.614 พันล้าน
$ 1,040
จีนี (2012)37.8[4]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.529[5]
ต่ำ · 163rd
สกุลเงินชิลลิงแทนซาเนีย (tzs)
เขตเวลาUTC+3 (MSK)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (ไม่มี)
รหัสโทรศัพท์255 2
โดเมนบนสุด.tz
1.) หมายเหตุ: ค่าประมาณสำหรับประเทศนี้ ได้คำนึงถึงผลของการตายจำนวนจากเอดส์ ซึ่งเป็นผลให้ความอายุยืนลดลง อัตราการตายเพิ่มขึ้น จำนวนประชากรและอัตราการเพิ่มน้อยลง และมีการกระจายของประชากรตามเพศและอายุต่างจากที่คาดการณ์
2. 007 จากเคนยาและยูกันดา

แทนซาเนีย หรือชื่อทางการ สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย (อังกฤษ: United Republic of Tanzania; สวาฮีลี: Jamhuri ya Muungano wa Tanzania) เป็นประเทศที่อยู่บนชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา มีอาณาเขตทางเหนือจดเคนยาและยูกันดา ทางตะวันตกจดรวันดา บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และทางใต้จดแซมเบีย มาลาวี และโมซัมบิก ส่วนทางตะวันออกจดมหาสมุทรอินเดีย ประเทศตั้งชื่อมาจากแผ่นดินใหญ่แทนกันยีกาและเกาะแซนซิบาร์ที่อยู่นอกจากชายฝั่งตะวันออก แทนซาเนียเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติ ตั้งแต่ประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2504 เมื่อ พ.ศ. 2507 แทนกันยีกาได้รวมกับแซนซีบาร์ กลายเป็นสหสาธารณรัฐแทนแกนยิกาและแซนซิบาร์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย เมื่อ พ.ศ. 2539 เมืองหลวงของแทนซาเนียย้ายจากดาร์เอสซาลามไปโดโดมา อย่างไรก็ดี สำนักงานของรัฐบาลหลายแห่งยังคงตั้งอยู่ในเมืองหลวงเดิม

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ช้างกำลังเดินผ่านเขาคิลิมันจาโรที่มีหิมะปกคลุม
อึงโกรองโกโร แอ่งภูเขาไฟไม่มีพลังที่ยังคงสภาพเดิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

แทนซาเนียเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ในแอฟริกาและใหญ่เป็นอันดับที่ 31 ของโลก[6] มีพรมแดนติดกับเคนยาและยูกันดาทางเหนือ รวันดา บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกทางทิศตะวันตก และแซมเบีย มาลาวี และโมซัมบิกทางตอนใต้ ประเทศแทนซาเนียตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา และมีชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียยาวประมาณ 1,424 ชม (885 ไมล์)[7] นอกจากนี้ยังประกอบด้วยเกาะนอกชายฝั่งหลายแห่ง เช่น อุนกูจา (แซนซิบาร์) เกาะเพมบา และเกาะมาฟีอา[8]: page 1245 

น้ำตกกาลัมโบในภาคตะวันตกเฉียงใต้เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดเป็นอันดับสองในแอฟริกาและตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลสาบแทนกันยีกา ที่ชายแดนติดกับแซมเบีย[9] พื้นที่อนุรักษ์อ่าวเมไนเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดของแซนซิบาร์

ประชากรศาสตร์

[แก้]

48,261,942 คน (ค่าประมาณการ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556)

เชื้อชาติ

[แก้]

ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 120 เผ่า ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเผ่า Bantu แต่ละเผ่าพันธุ์มีภาษาและสำเนียงเฉพาะของตนเอง และมีไม่เกิน 1 ใน 10 ของประชากร เผ่าที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ Sukuma และ Nyamwezi ส่วนประชากรในเกาะแซนซิบาร์และเกาะเพมบามีเชื้อสายแอฟริกันผสมอาหรับ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lawrence, David (2009). Tanzania: The Land, Its People and Contemporary Life. Intercontinental Books. p. 146. ISBN 978-9987-9308-3-8.
  2. "About the United Republic of Tanzania". Permanent Representative of Tanzania to the United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2011. สืบค้นเมื่อ 31 January 2015.
  3. "Article 3, Section 1" (PDF). Constitution of the United Republic of Tanzania. 25 April 1978. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 April 2015.
  4. "GINI Index". The World Bank. สืบค้นเมื่อ 14 October 2014.
  5. "Human Development Report 2019" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 10 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 March 2017. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.
  6. "CIA – The World Factbook – Rank Order – Area". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2014. สืบค้นเมื่อ 16 October 2014. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  7. "Country review: United Republic of Tanzania". Fisheries and Aquaculture Depart, United Nations. (FAO). December 2003.
  8. Joseph Lake (2013) "Economy" in Africa South of the Sahara, edited by Europa Publications and Iain Frame, Routledge. ISBN 1-85743-659-8
  9. "Kalambo Falls". Encyclopædia Britannica.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
รัฐบาล
การศึกษา
ด้านการท่องเที่ยว
  • คู่มือการท่องเที่ยว Tanzania จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)