ข้ามไปเนื้อหา

อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ruminantiamorpha)
อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 49–0Ma สมัยอีโอซีนช่วงสุดท้าย - ปัจจุบัน
สมัน (Rucervus schomburgki) เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่อยู่ในวงศ์ Cervidae หรือกวางที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
อันดับย่อย: Cetruminantia
(ไม่ได้จัดอันดับ): Ruminantiamorpha[1]
(ไม่ได้จัดอันดับ): Ruminantia
วงศ์

สัตว์เคี้ยวเอื้อง[2] (อังกฤษ: ruminant) เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ruminantia

สัตว์เคี้ยวเอื้องประกอบไปด้วยสัตว์ส่วนใหญ่ในอันดับนี้ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ, กวาง และแอนทิโลป ลักษณะร่วมของสัตว์เคี้ยวเอื้อง ก็คือ มี กระเพาะ 4 ห้อง ที่เมื่อกินอาหารไปแล้ว คือ หญ้า คายออกมาเคี้ยวอย่างช้า ๆ อีกครั้งในเวลากลางคืน ก่อนจะถูกนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย [3]

โดยกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้องจะแบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ Rumen (ผ้าขี้ริ้ว), Reticulum (รังผึ้ง), Omasum (สามสิบกลีบ) และ Abomasum (กระเพาะแท้ หรือกระเพาะจริง)

กระบวนการเคี้ยวเอื้อง

[แก้]

โดยการทำงานของ 3 กระเพาะแรกอาศัยเอ็นไซม์ของจุลินทรีย์เป็นตัวย่อยหมักหรือย่อยอาหาร ยกเว้นกระเพาะสุดท้ายคือกระเพาะแท้ ร่างกายสัตว์จะขับเอ็นไซม์มาช่วยย่อย เมื่อลูกสัตว์ยังเล็ก 3 กระเพาะแรกยังไม่พัฒนา อาหารที่เป็นของเหลวจะไหลผ่านลำคอผ่านช่องแคบนี้ ตรงไปยังกระเพาะอาหารแท้ อาหารถูกย่อยดูดซึมไปยังทางเดินอาหารส่วนล่าง คือ ลำไส้ต่อไป ซึ่งระยะนี้ระบบการย่อยอาหารจะเหมือนสัตว์กระเพาะเดี่ยว เมื่อ 3 กระเพาะแรกพัฒนา (ประมาณ 6 สัปดาห์) จะขยายใหญ่ ถ้าสัตว์โตเต็มที่ขนาดของ 2 กระเพาะแรกจะมีความจุประมาณร้อยละ 60-85 ของความจุของกระเพาะทั้งหมด

ผ้าขี้ริ้วมีหน้าที่รับอาหารจากการผ่านขบวนการเคี้ยวที่มีอาหารในรูปของแข็งและปนกับน้ำลายปริมาณมาก (ในน้ำลายจะเป็นแหล่งไนโตรเจน คือ ยูเรีย และมิวโคโปรตีน มีฟอสฟอรัสและโซเดียม ซึ่งจุลินทรีย์จะนำไปใช้ และน้ำลายทำหน้าที่รักษาระดับความเป็นกรดด่าง และกระเพาะอื่น ๆ) อาหารจะถูกแยก ส่วนบนจะเป็นอาหารในรูปของแข็ง ส่วนล่างเป็นรูปของเหลวและอาหารแข็งที่ย่อยมีขนาดเล็กแล้ว โดยการหดตัวของผนังผ้าขี้ริ้ว อาหารชิ้นใหญ่จะถูกดันให้อยู่ด้านบนส่วนหน้า เมื่อสัตว์ต้องการเคี้ยวเอื้อง กระเพาะส่วนรังผึ้ง และผ้าขี้ริ้ว จะหดตัวมีแรงดันอาหารขยอกออกมาที่ปาก อาหารก้อนที่ถูกนำมาเคี้ยวเอื้องเรียกว่าบอลัส มีจุลินทรีย์ติดมาเป็นจำนวนมาก เมื่อเคี้ยวเอื้องแล้วจะกลืนกลับไปที่ผ้าขี้ริ้ว ทำการคลุกเคล้าใหม่อาหารขนาดใหญ่ก็ขยอกออกมาเคี้ยวเอื้อง อาหารขนาดเล็กก็ส่งไปยังรังผึ้ง ส่วนที่เป็นแก๊สก็เรอออกมา ส่วนที่เป็นสารละลายจะถูกดูดซึมผ่านผนังผ้าขี้ริ้ว เข้าสู่กระแสเลือดทันที รังผึ้งมีหน้าที่ดันอาหารที่มีขนาดใหญ่กลับไปที่ผ้าขี้ริ้วและปล่อยอาหารขนาดเล็กไปยังสามสิบกลีบ ซึ่งมีหน้าที่ย่อยอาหารต่อโดยอาศัยจุลินทรีย์ที่ติดมาจากผ้าขี้ริ้วและรังผึ้ง อาหารที่ถูกย่อยเป็นสารละลายจะถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือด ส่วนที่เหลือก็เข้าสู่กระเพาะแท้ กระเพาะแท้มีหน้าที่เหมือนสัตว์กระเพาะเดี่ยว คือ ย่อยอาหารและย่อยจุลินทรีย์ที่ติดมากับอาหาร ทำให้สัตว์ได้รับกรดอะมิโนจากเซลล์จุลินทรีย์ และวิตามินต่าง ๆ ที่จุลินทรีย์สังเคราะห์ขึ้นมา สารละลายนี้ก็จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด[4]

การจำแนก

[แก้]
ภาพแสดงถึงกระเพาะของสัตว์ในอันดับย่อยนี้

สัตว์เคี้ยวเอื้องสามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Relationships of Cetacea (Artiodactyla) among mammals: increased taxon sampling alters interpretations of key fossils and character evolution". PLoS ONE. 4 (9): e7062. 2009. doi:10.1371/journal.pone.0007062. PMC 2740860. PMID 19774069.
  2. เคี้ยวเอื้อง : ก. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  3. สัตว์เคี้ยวเอื้อง จากสนุกดอตคอม
  4. ["RUMINANT DIGESTION (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-28. สืบค้นเมื่อ 2012-08-19. RUMINANT DIGESTION (อังกฤษ)]
  5. SUBORDER RUMINANTIA (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]