ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล
Dechapattanayanukul School
คบเพลิงส่องสว่างอันเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียน
ที่ตั้ง
เลขที่ 8 ถนนวัฒนธรรม ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ข้อมูล
ชื่ออื่นช.ป.น.
ประเภทสถานศึกษารัฐบาล
คติพจน์เรียนดี วินัยเด่น บำเพ็ญประโยชน์
สถาปนา4 กรกฎาคม พ.ศ. 2465
ผู้ก่อตั้งคุณหญิงเดชานุชิต
ผู้อำนวยการนายสมพงศ์ สัจจาภรณ์
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1 - 6
จำนวนนักเรียน2,303 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2560)[1]
สี  เขียว
  เหลือง
เพลงมาร์ชเดชะปัตตนยานุกูล
เว็บไซต์decha.ac.th

โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดปัตตานี และเคยเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดปัตตานี

ปัจจุบันเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่เปิดสอนทั้งในระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการเรียนการสอน จนเป็นที่ยอมรับของสังคม โรงเรียนได้รับเกียรติให้เป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วย ศูนย์ภาษาสากล, Eric, ศูนย์วิทย์-คณิต, ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้เป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานแห่งหนึ่งของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ประวัติของโรงเรียน

[แก้]

เดชะ : เป็นคำที่ตัดย่อมาจากนาม พระยาเดชานุชิต สมุหเทศาภิบาลมณฑล ปัตตานีผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียน

ปัตตนยานุกูล : เกิดจากการสนธิกันของคำว่าปัตตานีซึ่งมีความหมาย สถานที่ตั้ง กับคำว่า อนุกูหมายถึง การให้ความ ช่วยเหลือ โรงเรียนเดชะปัตตนยากูล เดิมมีชื่อเรียกกันว่า "โรงเรียนสตรีมณฑลปัตตานี" ผู้ที่ริเริ่มตั้งโรงเรียนนี้ คือ คุณหญิงเดชานุชิต ภรรยาของมหาอำมาตย์ตรี พระยาเดชานุชิตสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลปัตตานี ในขณะนั้นซึ่งชาวเมืองปัตตานีรู้จักคุณหญิงเดชานุชิต ในนามคุณหญิงแหม่ม ในสมัยมณฑลปัตตานีมีโรงเรียนแห่งเดียว คือ "โรงเรียนตัวอย่างมณฑล" ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเบญจมราชูทิศจังหวัดปัตตานี

ดังนั้นทั้งนักเรียนชาย และนักเรียนหญิง และนักเรียนหญิงต้องมาเรียนรวมกัน ที่โรงเรียนตัวอย่างมณฑล สมัยนั้นหาครูสตรีมาสอนค่อนข้างยากจึงมีนักเรียนมาเรียนน้อยมีมาสมทบเรียน ที่โรงเรียนตัวอย่างมณฑล เพียงไม่กี่คนเท่านั้นต่อมาผู้ปกครองเริ่มเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงยอม ให้นักเรียนหญิงเข้าเรียนมากขึ้น คุณหญิงแหม่ม มองเห็นว่าควรจะแยกโรงเรียนสำหรับสตรีโดยเฉพาะ จึนได้ชักชวนข้าราชการ พ่อค้า คหบดี และประชาชน ในจังหวัดปัตตานีสมัยนั้น มาร่วมกันตั้งโรงเรียนสตรีขึ้น

ในระยะแรกต้องใช้บ้านพักสำหรับข้าราชการต่างมณฑล ซึ่งอยู่ใกล้จวนสมุหเทศาภิบาล เป็นสถานที่เรียนเริ่มเปิด โรงเรียนสำหรับสตรีครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 มี "ครูใหญ่" ซึ่งเป็นบุตรีของคุณหญิงแหม่ม แผ่นครูสอนในสมัยนั้น "คุณใหญ่" เรียนสำเร็จมาจากโรงเรียนเซ็นต์โยเซฟ คอนแวนต์ กรุงเทพฯ ในสมัยนั้น มีขุนพิบูย์พิทยาพรรค เป็นธรรมการจังหวัดปัตตานี และมีมหาอำมาตย์เอง พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการโรงเรียนสตรีมณฑลปัตตานี ได้เปิดสอนอย่างไม่เป็นทางการอยู่เดือนกว่า ๆ จึงได้เปิดสอนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2456 จัดการเรียนการสอนโดยอาศัยที่ของรัฐบาลหลายแห่งเป็นสถานที่เรียนจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2465 พระยาเดชานุชิต และคุณหญิงแหม่ม จึงได้หาเงินมาสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนให้เป็นการถาวร โดยได้รับความร่วมมือจากข้าราชการ พ่อค้า คหบดีของจังหวัดปัตตานีเป็นอย่างดี

โรงเรียนสตรีมณฑล ปัตตานีจึงได้มีสถานที่เรียนเป็นการถาวรที่ ถนนสะบารัง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระยาเดชานุชิต และคุณหญิงแหม่ม ได้ขอให้กระทรวงธรรมการในสมัยนั้นเป็นผู้ตั้งชื่อของโรงเรียนใหม่ ดังมีรายละเอียดปรากฏใน หนังสือราชการที่พระยาเดชานุชิตสมุหเทษาภิบาลมณฑลปัตตานี มีไปถึง เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มาตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 มีใจความตอนหนึ่งว่า ด้วยโรงเรียนสตรีมลฑลปัตตานี ได้เริ่มเปิดสอนมาครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2465 อาศัยสถานที่เรียนของรัฐบาลหลายแห่งเป็นที่สั่งสอน คุณหญิงเดชานุชิต ผู้อุปการะได้ตั้งใจที่จะขยายสถานที่ให้เป็นที่สง่าผ่าเผย กว้างขวางสืบไป จึงได้เริ่มบอกบุญแก่บรรดาข้าราชการ ราษฎรในมณฑลปัตตานี ได้เงินเป็นก้อนหนึ่ง แต่หาพอกับการปลูกสร้างไม่ จึงได้จ่ายเงินบำรุงการศึกษา ที่มีเหลืออยู่รวมกันเข้าได้เงิน 125,000 บาท ว่าจ้างช่างรับเหมาปลูกสร้างขึ้นเป็นรูปตึก 2 ชั้น ขนาดกล้าง 10 เมตร ยาว 14 เมตร แบ่งเป็นห้องเรียน 8 ห้อง

บัดนี้ โรงเรียนหลังนี้ได้ปลูกสร้างจวนจะเสร็จอยู่แล้ว ข้าพเจ้าจะกำหนดเปิดและทำบุญฉลองในราวต้น ตุลาคม พ.ศ. 2465 ข้าพเจ้าและท่านผู้มีอุปการะประสงค์จะให้มีชื่ออันเป็นมงคลแก่ตึกหลังนี้ เพื่อเป็นเกียรติประวัติ การสืบไปเพราะฉะนั้นข้าพเจ้าขอความกรุณาเป็นที่พึ่งขอให้กระทรวงธรรมการตั้ง นามตึกอันเป็น โรงเรียนสตรีนี้ต่อไปด้วย....

เสนาบดีกระทรวงธรรมการ คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้ให้ชื่อโรงเรียนสตรีแห่งนี้ว่า "เดชะปัตตนยานุกูล" ทั้งนี้เพื่อนเป็นอนุสรณ์แก่พระยาเดชานุชิตและคุณหญิงแหม่มในฐานะที่เป็นผู้ ริเริ่มก่อตั้งและเป็นผู้อุปการะโรงเรียนมาโดยตัดเอาคำ "เดชา" ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมาและมีขุนวิลาศจรรยา (นายทองสุข สุขพลินท์) เป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรกเมื่อ พ.ศ. 2472 จนถึง พ.ศ. 2486 กรมสามัญศึกษาได้ตั้งงบประมาณ ให้จัดสร้าง โรงเรียนแห่งนี้ใหม่ นายสุชาติ บุญยรัตรพันธ์ ผู้ว่าราชการจัดหวัดปัตตานีในสมัยนั้นได้เอาที่ดินราชพัสดุเนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน 6 ตารางวา เป็นที่ตั้งโรงเรียน

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียน

[แก้]
  1. ขุนวิจิตรจรรยา (ครูใหญ่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี) รักษาการ พ.ศ2472
  2. ขุนวิลาศจรรยา (นายทองสุข สุขพรินท์) พ.ศ. 2472 - 2482
  3. นางสาวประทุม เตโชชัยวัฒน์ พ.ศ. 2482 - 2489
  4. นางชับ กาญจนพิทักษ์ พ.ศ. 2490 - 2493
  5. นางสาวอมรรัตน์ หังสพฤกษ์ พ.ศ. 2493 - 2501
  6. นางตรีนุช ชูแข พ.ศ. 2501 - 2505
  7. นางสาวลิ้มลออ จงดี พ.ศ. 2505 - 2523
  8. นางสาวเอกจิตรา ชูสกุลชาติ พ.ศ. 2523 -2528
  9. นายล้อม จุลรัตน์ พ.ศ. 2528 - 2532
  10. นายสุวิชช์ ศรีทิพย์ราษฏร์ พ.ศ. 2532 - 2537
  11. นายสัญญา ณ พิบลูย์ พ.ศ. 2537 - 2541
  12. นายไพโรจน์ อินทรศรีสม พ.ศ. 2541 - 2541
  13. นางบุญงาม ไชย์รักษ์ พ.ศ. 2541 - 2542
  14. นายชิตพล พรหมจันทร์ พ.ศ. 2542 - 2545
  15. นายสัจจา ศรีเจริญ พ.ศ 2545 - 2548
  16. นายธนู นูนน้อย พ.ศ. 2549 - 2557
  17. นายสิทธิชัย เลนุกูล พ.ศ. 2558 - 2561
  18. นายสมพงค์ สัจจาภรณ์ พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student.php?School_ID=1094300330&Area_CODE=101715 จำนวนนักเรียนโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]