ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนราชวินิตบางเขน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนราชวินิตบางเขน
Rajanivitbangkhen School
ที่ตั้ง
22/18 ซอยชินเขต1/22 ถนนงามวงศ์วาน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 ประเทศไทย ไทย โทร 0 80 419 6512
ข้อมูล
ชื่ออื่นร.น.บ. (RVB)
ประเภทรัฐบาล สังกัด สพฐ.
คติพจน์ปรัชญา
ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ
ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ฝึกตนดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
คติพจน์
มีวินัย ใฝ่ศึกษา พัฒนาชุมชน
สถาปนา30 กรกฎาคม พ.ศ. 2530
ผู้ก่อตั้งคุณย่าผัน คำจงจิตร
พระครูสุวรรณสุทธารมย์
รหัส1010720143
ผู้อำนวยการโรงเรียนนายสามารถ จันหา
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
จำนวนนักเรียน2,100 คน (2567)[1]
สีกรมท่า - ขาว
เพลงมาร์ชราชวินิตบางเขน, พราวชมพู
ต้นไม้ชมพูพันธุ์ทิพย์
เว็บไซต์โรงเรียนราชวินิตบางเขน

โรงเรียนราชวินิตบางเขน เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 22/18 ซอยชินเขต 1/22 ถนนงามวงศ์วาน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยโรงเรียนราชวินิตบางเขนเป็นหนึ่งใน 8 ของโรงเรียนเครือราชวินิต

ประวัติโรงเรียน

[แก้]

โรงเรียนราชวินิตบางเขน มีเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 13 ตารางวา เดิมเป็นที่ดินของคุณย่าผัน คำจงจิตร สภาพพื้นที่เดิมเป็นที่ลุ่ม มีแอ่งน้ำ ต้นกก และ หญ้าปล้องขึ้นเต็มบริเวณพื้นที่ คุณย่าผัน คำจงจิตร ได้มอบที่ดินแปลงนี้ให้แก่วัดทองสุทธาราม แขวงบางซื่อ ปีพุทธศักราช 2528 พระครูสุวรรณสุทธารมย์ เจ้าอาวาสวัดทองสุทธาราม คณะกรรมการวัดทองสุทธาราม และนายสุรินทร์ ต่อเนื่อง ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา (ในขณะนั้น) เห็นว่าโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา ซึ่งก่อสร้างอยู่ในที่ดินของวัดทองสุทธารามได้รับนักเรียนเข้าเรียนตามเป้าหมาย และนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นจำนวนมากในแขวงบางซื่อ ท่าทราย ทุ่งสองห้อง และอำเภอเมืองนนทบุรียังไม่มีโรงเรียนใกล้บ้าน ต้องเดินทางไปเรียนต่อ ยังโรงเรียนที่อยู่ไกล ๆ ด้วยเจตนารมย์ และศรัทธาของท่านพระครูสุวรรณสุทธารมย์ในการที่จะให้การสนับสนุนการศึกษาของชาติ และให้เยาวชนไทยทุกฐานะ ได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาให้มากขึ้น

วัดทองสุทธาราม โดยพระครูสุวรรณสุทธารมย์ คณะกรรมการวัดทองสุทธาราม ได้ทำหนังสืออนุญาต ให้กรมสามัญศึกษาใช้ที่ดินแปลงนี้สร้างโรงเรียนมัธยมศึกษา เดือนมิถุนายน 2529 อธิบดีกรมสามัญศึกษา โดย ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง และเจ้าหน้าที่กรมสามัญศึกษา นายสุรินทร์ ต่อเนื่อง ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา ได้เข้ามาสำรวจพื้นที่ ที่จะก่อสร้างโรงเรียน วันที่ 14 สิงหาคม 2529 กรมสามัญศึกษาได้ตอบรับการใช้ที่ดินแปลงนี้ก่อสร้าง โรงเรียนมัธยมศึกษาปีการศึกษา 2530 กรมสามัญศึกษาได้เปิดโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 โรง ชื่อ "โรงเรียนบางเขนวิทยา" โดยเช่าพื้นที่นี้กับกรมการศาสนาเป็นเวลา 30 ปี และสิ้นสุดตามสัญญาเช่าในวันที่ 22 กรกฎาคม 2561

  • วันที่ 16 เมษายน 2530 กรมสามัญศึกษาได้มอบหมายให้โรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนพี่ เป็นผู้รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เข้าเรียนในโรงเรียนบางเขนวิทยา จำนวน 4 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 200 คน โดยมีนายสุรินทร์ ต่อเนื่อง ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา เป็นผู้ดูแลการจัดตั้งโรงเรียนบางเขนวิทยา และปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารเป็นการชั่วคราว
  • ปีการศึกษา 2531 กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้โรงเรียนบางเขนวิทยา รับนักเรียนเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 300 คน โดยใช้อาคารเรียนที่โรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา
  • วันที่ 1 มิถุนายน 2531 นายวินัย นุ่นพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา ได้รับคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่ง "ครูใหญ่โรงเรียนบางเขนวิทยา"
  • วันที่ 20 กรกฎาคม 2531 นายวินัย นุ่นพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยารักษาการในตำแหน่ง ครูใหญ่โรงเรียนบางเขนวิทยา ได้รับมอบอำนาจเป็นผู้แทนกรมสามัญศึกษาลงนามในหนังสือกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดินแปลงนี้สร้างโรงเรียน เมื่อดำเนินการในเรื่องที่ดินเรียบร้อยแล้วโรงเรียนบางเขนวิทยาได้ดำเนินการจัดทำ โครงการ "รวมน้ำใจสู่ บ.ว." เพื่อระดมทุนทำห้องเรียนชั่วคราวของโรงเรียนบางเขนวิทยา โดยปรับปรุงพื้นที่ ซ่อมแซมโรงเรือนที่บริษัทชินเขตมอบให้กับโรงเรียนโดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา ชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนบางเขนวิทยา คณะกรรมการวัดทองสุทธารามและผู้มีอุปการคุณ ในหมู่บ้านชินเขต
  • วันที่ 16 สิงหาคม 2531 คณะครู อาจารย์และนักเรียนโรงเรียนบางเขนวิทยา ได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่บริเวณที่จะทำอาคารชั่วคราว ซึ่งมีต้นกกสูงท่วมศีรษะ
  • วันที่ 12 กันยายน 2531 เทพื้นที่ห้องอาคารเรียนชั่วคราวเสร็จเรียบร้อย
  • วันที่ 28 กันยายน 2531 สำนักงบประมาณได้อนุมัติเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน ให้แก่โรงเรียนบางเขนวิทยา
  • วันที่ 11 ตุลาคม 2531 ได้ขนย้ายวัสดุอุปกรณ์จากโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยามาสู่โรงเรียนบางเขนวิทยา และเปิดทำการเรียนการสอน ณ โรงเรียนบางเขนวิทยา
  • ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 ซึ่งเป็นภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2531 โรงเรียนบางเขนวิทยาได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้ใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนราชวินิตบางเขน" เพื่อเป็นไปตามพระราชดำริในการจัดตั้งโรงเรียน ดังนั้น ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2534 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนบางเขนวิทยา เป็น "โรงเรียนราชวินิตบางเขน" สืบต่อไป และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้อัญเชิญ "พระมหาพิชัยมงกุฎ" เป็นตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน [2]

แผนการเรียน

[แก้]

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

[แก้]
  • หลักสูตรภาคปกติ
  • ห้องเรียนพิเศษ (Talented class program )
    • Intensive Science - Math Program : ISMP
    • Intensive English Program : IEP

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

[แก้]

แผนการเรียน (ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย) มีดังนี้

  • ห้องเรียนพิเศษ (Talented class program )
    • Intensive Science - Math Program : ISMP
    • Intensive Math - English Program : IMEP
  • ห้องเรียนปกติ
    • โครงสร้าง วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
    • โครงสร้าง คณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ
    • โครงสร้าง ศิลป์ (อังกฤษ) - ญี่ปุ่น
    • โครงสร้าง ศิลป์ (อังกฤษ) - จีน
    • โครงสร้าง ไทย - สังคม
    • โครงสร้าง ทักษะอาชีพ[3]

สิ่งก่อสร้างภายในโรงเรียน

[แก้]
  • อาคาร 1 ภัทรราชา
  • อาคาร 2 วชิราบดินทร์
  • อาคาร เฉลิมพระเกียรติฯ 48 พรรษา
  • อาคารอเนกประสงค์
  • เรือนพยาบาล
  • ห้องประชาสัมพันธ์
  • ห้องประชุมเกษรแก้ว
  • ห้องประชุมสุวรรณสุธารมย์
  • หอประชุมจักรินทร์สิรินธร
  • สวนป่าพงศาปาน
  • โดมสามัคคีภิรมย์

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

[แก้]
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบางเขน
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายสุรินทร์ ต่อเนื่อง พ.ศ. 2530พ.ศ. 2530
2. นายวินัย นุ่นพันธ์ พ.ศ. 2531พ.ศ. 2540
3. นางยุพา จิตเกษม พ.ศ. 2540พ.ศ. 2542
4. นางวิมวดี ธรรมาธิคม พ.ศ. 2542พ.ศ. 2544
5. นางสาลินี มีเจริญ พ.ศ. 2545พ.ศ. 2550
6. นายเฉลียว พงศาปาน พ.ศ. 2550พ.ศ. 2556
7. นายเรืองยศ อุตรศาสตร์ พ.ศ. 2556พ.ศ. 2559
8. นายสันต์ธวัช ศรีคำแท้ พ.ศ. 2559–พ.ศ. 2561
9. นายชวิศ จิตปุณยพงศ์ พ.ศ. 2561–พ.ศ. 2562
10.นายชาย จันทร์งาม พ.ศ. 2562–พ.ศ. 2563
11. นายธัญวิชญ์ ไตรรัตน์ พ.ศ. 2563–พ.ศ. 2567
12.นายสามารถ จันหา พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student.php?School_ID=1010720143&Area_CODE=101702 จำนวนนักเรียนโรงเรียนราชวินิตบางเขน
  2. http://www.rvb.ac.th/info1.html ประวัติโรงเรียนราชวินิตบางเขน
  3. http://www.rvb.ac.th/Update/pdf/Regulation_2019.pdf เอกสารรับสมัครนักเรียนโรงเรียนราชวินิตบางเขน