ข้ามไปเนื้อหา

โมบูตู เซเซ เซโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โมบูตู เซเซ เซโก
โมบูตูที่เพนตากอนในวันที่ 5 สิงหาคม 1983
ประธานาธิบดีแห่งซาอีร์
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤศจิกายน 1965 – 16 พฤษภาคม 1997
ก่อนหน้าโจเซฟ คาซะ-วูบู
ถัดไปโลร็อง-เดซีเร กาบีลา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Joseph-Desiré Mobutu

14 ตุลาคม ค.ศ. 1930(1930-10-14)
ลิซาลอง, เบลเจียนคองโก
เสียชีวิต7 กันยายน ค.ศ. 1997(1997-09-07) (66 ปี)
ราบัต, โมร็อกโก
เชื้อชาติคองโก
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองขบวนการปฏิวัติสมัยนิยม
คู่สมรสMarie-Antoinette Mobutu (เสียชีวิต)
Bobi Ladawa Mobutu
บุตร14

โมบูตู เซเซ เซโก (Mobutu Sese Seko; เกิด Joseph-Desiré Mobutu; 14 ตุลาคม 1930 – 7 กันยายน 1997) เป็นเผด็จการทหารและประธานาธิบดีของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซึ่งโมบูตูเปลี่ยนชื่อเป็นซาอีร์ใน ค.ศ. 1971) ตั้งแต่ ค.ศ. 1965–1997 เขายังเป็นประธานองค์การเอกภาพแอฟริกาใน ค.ศ. 1967–1968

ขณะอยู่ในอำนาจ โมบูตูสร้างระบอบการปกครองแบบอำนาจนิยม สะสมความมั่งคั่งส่วนตัวและพยายามกวาดล้างอิทธิพลจากอารยธรรมของเจ้าอาณานิคมในประเทศ ในขณะที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาเพราะท่าทีที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์

ระหว่างวิกฤตการณ์คองโก กองทัพเบลเยียมช่วยพันเอกโมบูตูทำรัฐประหารต่อรัฐบาลชาตินิยมของ ปาทริส ลูมูมบา ในปี 1960 และได้ประหารชีวิตลูมัมบาโดยการยิงเป้า[1] โมบูตูได้เป็นเสนาธิการกองทัพ[2]ก่อนที่จะได้รับอำนาจอย่างแท้จริงในรัฐประหารครั้งที่สองในปี 1965 โมบูตูเปลี่ยนชื่อประเทศคองโกเป็นซาอีร์ในปี 1971 และเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น โมบูตู เซเซ เซโก ในปี 1972

โมบูตูเปลี่ยนประเทศเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวซึ่งอำนาจทั้งหมดตกอยู่ในมือเขา เขายังเป็นบุคคลที่ถูกบูชาตามลัทธิบูชาบุคคลอีกด้วย[2] ภายใต้การปกครองของเขา โมบูตูสร้างรัฐที่รวมอำนาจและรวมทรัพย์สมบัติไว้ส่วนตัวผ่านการแสวงหากำไรและคอร์รัปชั่น ทำให้บางคนเรียกการปกครองของเขาว่า "โจราธิปไตย"[3][4] ประเทศมีอัตราเงินเฟ้อที่ควบคุมไม่ได้ มีหนี้สินมาก และการลดลงของค่าสกุลเงิน ในปี 1991 ความถดถอยทางเศรษฐกิจและความไม่สงบทำให้เขาตกลงที่จะแบ่งอำนาจกับผู้นำฝ่ายค้านแต่เขาใช้กองทัพในการขัดขวางการเปลี่ยนแปลงนี้จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ปี 1997 กองกำลังกบฏนำโดย โลร็อง-เดซีเร กาบีลา ขับไล่เขาออกนอกประเทศ ซาอีร์ถูกเปลี่ยนชื่อกลับเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เขาเจ็บป่วยจากมะเร็งต่อมลูกหมากและเสียชีวิตในอีกสามเดือนถัดมาที่โมร็อกโก

โมบูตูมีชื่อด้านการคอร์รัปชั่นและการฉ้อฉลเงินระหว่าง 4 ล้าน ถึง 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงที่เขาปกครองเช่นเดียวกับความฟุ่มเฟือยอย่างเช่นนั่งเครื่องบินคอนคอร์ดบินไปเที่ยวและซื้อของที่ปารีส[5] โมบูตูปกครองประเทศกว่า 3 ทศวรรษ ซึ่งมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน โมบูตูยังถูกกล่าวว่าเป็น "ผู้เผด็จการในแอฟริกาตามแบบฉบับ"[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Correspondent:Who Killed Lumumba-Transcript". BBC. สืบค้นเมื่อ 21 May 2010. 00.36.57
  2. 2.0 2.1 "Mobutu Sese Seko". The Columbia Electronic Encyclopedia. Columbia University Press. 2012. สืบค้นเมื่อ 30 April 2013.
  3. Acemoglu, Daron; Robinson, James A. & Verdier, Thierry (April–May 2004). "Kleptocracy and Divide-and-Rule: A Model of Personal Rule". Journal of the European Economic Association. 2 (2–3): 162–192. doi:10.1162/154247604323067916. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-29. สืบค้นเมื่อ 2016-11-29.
  4. Pearce, Justin (16 January 2001). "DR Congo's troubled history". BBC.
  5. 5.0 5.1 Tharoor, Ishaan (20 October 2011). "Mobutu Sese Seko". Top 15 Toppled Dictators. Time Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-24. สืบค้นเมื่อ 30 April 2013.