ข้ามไปเนื้อหา

โททัลวอร์: โชกุน 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โททัลวอร์: โชกุน 2
ผู้พัฒนาครีเอทีพแอสเซมบลี
ผู้จัดจำหน่ายเซก้า
แต่งเพลงเจ็ฟ ฟานเด็ค
ชุดTotal War
เอนจินWarscape engine
เครื่องเล่นวินโดวส์
วางจำหน่าย15 มีนาคม 2011
แนววางแผนตามลำดับ,
กลยุทธแบบทันที
รูปแบบเล่นคนเดียว, หลายผู้เล่น

โททัลวอร์: โชกุน 2 เป็นเกมวางแผนบนคอมพิวเตอร์ พัฒนาโดยครีเอทีฟแอสเซมบลี และจัดจำหน่ายโดยเซก้า เป็นเกมล่าสุดในซีรีส์ โททัลวอร์ และเนื้อหาย้อนกลับไปในญี่ปุ่นสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 ของโททัลวอร์ภาคแรก โชกุน: โททัลวอร์ ซึ่งเนื้อหาของเกมหลังจากนั้นเกิดขึ้นในยุโรป เกมเริ่มวางจำหน่ายวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

ท้องเรื่อง

[แก้]

เนื้อหาของเกมโชกุน 2 เกิดขึ้นในยุคศักดินาญี่ปุ่นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังสงครามโอนิน ประเทศได้แตกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยภายใต้อิทธิพลของตระกูลต่าง ๆ ที่แข่งขันกัน นำโดยขุนศึกท้องถิ่น ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็พยายามต่อสู้เพื่อครอบครองประเทศ ผู้เล่นจะรับบทเป็นหนึ่งในขุนศึกเหล่านี้ โดยมีเป้าหมายพิชิตเหนือตระกูลอื่นและอ้างสิทธิ์ปกครองเหนือญี่ปุ่น รุ่นมาตรฐานของเกมจะมีตระกูลให้เลือกเล่นอยู่แปดตระกูล (ในโหมดฝึกเล่นจะมีตระกูลที่เก้าเข้ามาด้วย) แต่ละตระกูลจะเริ่มเกมที่ตำแหน่งแตกต่างกันและมีความเข้มแข็งทางการเมืองและทางทหารแตกต่างกัน[2][3]

ตัวเกมเปลี่ยนท้องเรื่องจากยุโรปในเกมโททัลวอร์ก่อนหน้า และกลับมาสู่ท้องเรื่องแรกในซีรีส์โททัลวอร์ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเล่นของโชกุน 2 ถึงแก่น ตัวอย่างเช่น เพื่อสะท้อนถึงลักษณะการทำสงครามในเอเชียตะวันออก ปัญญาประดิษฐ์ของเกมจึงถูกออกแบบมาตามหลักตำราพิชัยสงครามของซุนวู และเช่นเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเกม เอ็มไพร์: โททัลวอร์ ที่ครอบคลุมเกือบทั้งโลก เกมใหม่นี้เน้นเฉพาะหมู่เกาะญี่ปุ่น (ยกเว้น ฮอกไกโด) และลดจำนวนประเภทยูนิตลง[2]

แบบการเล่น

[แก้]

Shogun2 โชกุน 2 มีรูปแบบการเล่นของเกมวางแผนเทิร์นเบส (turn-based) และยุทธวิธีเรียลไทม์ อันเป็นส่วนสำคัญของซีรีส์โททัลวอร์ ผู้เล่นรับบทเป็นทั้งผู้นำตระกูลและแม่ทัพ สับเปลี่ยนกันระหว่างการเล่นในโหมดการทัพ (campaign) ซึ่งผู้เล่นจะบริหารแผ่นดินและกองทัพแต่ละเทิร์น และฉากยุทธการ ซึ่งผู้เล่นจะควบคุมกองทัพบนสนามรบแบบเรียลไทม์

ในฉากแผนที่ ผู้เล่นจะต้องดูแลพัฒนาการของเมือง การผลิตทหาร การเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเทคโนโลยี กองทัพและยูนิตจะถูกจัดและเคลื่อนที่ไปยังที่ต่าง ๆ ในฉากแผนที่ โดยผู้เล่นจะทำการรบกับตระกูลอื่น นอกเหนือไปจากการสู้รบแล้ว ผู้เล่นยังสามารถดำเนินการทางการทูต อุบายทางการเมืองและเจ้าหน้าที่พิเศษเพื่อชิงความได้เปรียบ นินจาและเกอิชายังได้ปรากฏในเกมโดยเป็นมือสังหารและสายลับ

มีแปดตระกูลในญี่ปุ่นซึ่งผู้เล่นเลือกเล่นได้ ตระกูลทั้งหมดมีข้อได้เปรียบในแง่หนึ่ง ๆ เพื่อที่จะให้แต่ละตระกูลมีรูปแบบการเล่นแตกต่างกันไป ตระกูลโจโซคาเบะ (Chosokabe) เริ่มที่แคว้นโทสะ (Tosa) และสามารถสร้างยูนิตทหารราบยิงธนูเหนือกว่าตระกูลอื่น ตระกูลดาเตะ (Date) เริ่มที่แคว้นอิวาเตะ (Iwate) และสามารถสร้างยูนิตซามูไรถือดาบโนะดะชิ (no-dachi) เหนือกว่าตระกูลอื่น ตระกูลโฮโจ (Hojo) เป็นผู้สร้างที่เก่งกาจและเริ่มที่แคว้นอิสึ (Izu) ตระกูลโมริ (Mori) มีประวัติศาสตร์ชำนาญทะเลมาช้านาน โดยเริ่มที่แคว้นอาคิ (Aki) ตระกูลโอดะ (Oda) เป็นผู้ปกครองที่มีความสามารถในการใช้งานอะชิงะรุ (ashigaru) ที่มีประสิทธิภาพ และเริ่มที่แคว้นโอวาริ (Owari) ตระกูลชิมะสึเริ่มที่แคว้นซัตสึมะ (Satsuma) และสามารถสร้างยูนิตซามูไรที่ถือคาตานะเหนือกว่าตระกูลอื่น ตระกูลทาเคดะ (Takeda) เริ่มที่แคว้นคาอิ (Kai) และสามารถสร้างทหารม้าที่เหนือกว่าตระกูลอื่นและเสียค่าบำรุงน้อยกว่า ตระกูลโทะกุงะวะ (Tokugawa) มีความสัมพันธ์ทางการทูตดีกว่าตระกูลอื่นและสามารถสร้างนักรบนินจาได้ดีกว่า เริ่มที่แคว้นมิคาวะ (Mikawa) ตระกูลอุเอสึงิ (Uesugi) เริ่มที่แคว้นเอจิโกะ (Echigo) และมีความพิเศษในศาสนาพุทธ โดยสามารถสร้างและรักษาพระนักรบได้ง่ายกว่าตระกูลอื่น

ใน โชกุนสอง ไดเมียวและแม่ทัพจะมีลักษณะเฉพาะเหมือนเดิม แต่ที่เหนือกว่าเดิมก็คือจะมีค่าประสบการณ์อย่างชัดเจน มีลักษณะเฉพาะ รวมถึงมีค่าความจงรักภัคดี

ส่วนการต่อสู้นั้นแผนที่ในการสู้รบจะใหญ่ขึ้น แต่การรบทางบกกับทางน้ำยังแยกออกจากกันอยู่ ทีมพัฒนาเกมได้เน้นการวางทหารในตำแหน่งที่เสถียรกว่าเดิมรวมถึงการรบทางน้ำที่สมจริงยิ่งขึ้นกว่าภาคนโปเลียน ระบบป้อมปราการจะเป็นปราสาทญี่ปุ่นซึ่งจะมีการขยายออกเป็นชั้นๆ แทนการสร้างปราสาทแบบยุโรปและป้อมปราการ การรบทางน้ำจะเน้นการบอร์ดเรือมากขึ้น มีการยิงธนูใส่เรือ

ลูกเล่นพิเศษประจำภาคนี้คือสามารถเล่นแบบหลายคนพร้อมกันถึงแปดคน[4] ในระบบเล่นหลายคนนั้นผู้เล่นสามารถเล่นเป็นแคว้นใดก็ได้ ในแต่ละแคว้นก็จะมีขุนพลให้เลือกไม่เหมือนกัน รวมถึงยูนิตก็จะเป็นยูนิตตามฝ่ายนั้นๆ การเล่นแบบหลายคนนอกจากนี้ยังจะมีโหมดเล่นเฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบเล่นแบบคลาสสิกเหมือนแต่ก่อน เช่น การเล่นแบบแคมเปญแมพหลายคน ซึ่งจะมีแผนที่ไม่เหมือนกัน และสามารถขยายแผนที่ในเกมส์ให้เต็มญี่ปุ่น[5]

แพตช์เสริม

[แก้]

แพตช์เสริมภาคอิคโค อิคคิ

[แก้]

แพจเสริมภาคอิคโค อิคคิ (วางจำหน่ายเมื่อ 26 พฤษภาคม 2011) ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นที่ยูนิตของอิคโค อิคิ ให้เสถียรมากขึ้น มียูนิตพระมากขึ้น[6]

รายละเอียด

[แก้]
  • สามารถเล่นเป็นกลุ่มกบฏอิคโค อิคิในโหมดเล่นหลายคน
  • มียูนิตเพิ่มอีกแปดชนิด
  • สายสกีลเพิ่มขึ้น
  • พระสงฆ์สายเซนมีทักษะเพิ่ม

ความสามารถพิเศษของอิคโค อิคิ

[แก้]
  • สร้างทัพแม่ชีนักรบได้
  • สร้างฮีโร่ยูนิตเป็นพระนักรบถือนะงินะตะ (ง้าวขนาดสั้น)
  • เพิ่มตัวอย่างสงครามจริง: การปิดล้อมที่นะงะชิมะ ค.ศ. 1574 (กบฏอิคโค อิคิ ปะทะ ทัพตระกูลโอดะ)
  • สร้างอวตารใส่ชุดพระของอิคโค อิคิได้
  • ผู้ติดตามใหม่สำหรับโหมดอวตารคองเควส

เดโม

[แก้]

เดโมถูกประกาศโดยสตรีมเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์[7] โดยเดโมดังกล่าวจะกล่าวครอบคลุมถึงวิธีเล่น สงครามตัวอย่างศึกเซคิงะฮะระและสาระนุกรมของเกมส์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน

การรับรอง

[แก้]
การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เมทาคริติก90%[12]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
ยูโรเกมเมอร์9 of 10[11]
เกมอินฟอร์เมอร์95%[9]
ไอจีเอ็น9.0/10[8]
พีซีเกมเมอร์ (สหราชอาณาจักร)92%[10]
เอ็กซ์-เพลย์5/5[13]
GameScope9.2/10[14]

[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Shogun 2: Total War system requirements revealed". PC Gamer. 6 January 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-01-06.
  2. 2.0 2.1 Steve Butts (2 June 2010). "Shogun 2: Total War First Look". IGN. สืบค้นเมื่อ 2011-01-06.
  3. Graham Smith (23 June 2010). "Shogun 2: Total War preview - The master returns". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ 2011-01-06.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 2011-07-17.
  5. Al Bickham (10 December 2010). "Shogun 2 multiplayer tested: clan warfare comes to Total War". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ 2011-01-09.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-22. สืบค้นเมื่อ 2011-07-17.
  7. "Total War: SHOGUN 2 - Demo Announced". totalwar.com. 15 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-16. สืบค้นเมื่อ 2011-02-16.
  8. Charles Onyett (2011-03-11). "Total War: Shogun 2 Review". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.
  9. "Total War: Shogun 2". Game Informer: 92. April 2011.
  10. Al Bickham (2011-03-11). "Total War: Shogun 2 review". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  11. Tim Stone (2011-03-11). "Total War: Shogun 2". EuroGamer. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  12. 12.0 12.1 "Shogun 2: Total War". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  13. Adam Sessler. "Total War: Shogun 2 Video Review in High Definition". G4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-17. สืบค้นเมื่อ 2011-04-11.
  14. Alex Ivanchenko (2011-03-18). "Total War: Shogun 2 PC Review (English)". GameScope. สืบค้นเมื่อ 2011-04-13.

http://shogun2.heavengames.com/

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]