ข้ามไปเนื้อหา

แกนกลางของปักกิ่ง

พิกัด: 39°32′44″N 116°13′58″E / 39.545650°N 116.232683°E / 39.545650; 116.232683
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกนกลางของปักกิ่ง
北京中轴线
The Central Axis of Beijing
ภาพถ่ายทางอากาศของเส้นแกนแกลางปักกิ่ง ค.ศ 1958-1959
แผนที่
ก่อตั้งค.ศ. 2013
ที่ตั้งปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
พิกัดภูมิศาสตร์39°32′44″N 116°13′58″E / 39.545650°N 116.232683°E / 39.545650; 116.232683
แกนกลางของปักกิ่ง
The Central Axis of Beijing
(including Beihai) *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศกรุงปักกิ่ง  จีน
ประเภทมรดกโลกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i) (iii) (iv) (vi)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2556 (คณะกรรมการสมัยที่ 37)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

แกนกลางของปักกิ่ง (จีน: 北京中轴线; อังกฤษ: The Central Axis of Beijing) เป็นแนวแกนกลางของกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ทอดยาวเป็นแนวเส้นตรงทิศเหนือ-ทิศใต้ ความยาว 7.86 กิโลเมตร เริ่มต้นจากทิศใต้ที่ ประตูหย่งติ้ง ลากเป็นเส้นตรงไปทางทิศเหนือผ่านจตุรัสเทียนอันเหมิน ประตูอันเหมิน จนถึงพระราชวังต้องห้าม ประตูอู่ พระที่นั่งไท่เหอ ซึ่งถือว่าเป็นจุดกึ่งกลางกรุงปักกิ่งพอดี ผ่านกลางพระราชวังผ่านเนินเขาจิ่งชาน จนไปจบที่หอระฆังและกลอง[1]เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556 ได้รับการขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้นมรดกโลกของยูเนสโก[2] แกนกลางของปักกิ่งนั้นมีความสำคัญในโครงการเทศบาลของปักกิ่ง

ประวัติความเป็นมาของแกนกลางของปักกิ่ง การศึกษาเชื่อว่าแกนนี้ไม่ได้ขยายไปในแนวเหนือใต้ตรง ๆ แต่มีความเอียงเล็กน้อย 2 องศาแกนกลางนี้ถูกออกแบบ เริ่มต้นตั้งแต่ราชวงศ์หยวนได้สร้างเมืองหลวงของราชวงศ์หยวนคือ "ต้าดู" ทางตะวันออกเฉียงเหนือของปักกิ่งในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับแหล่งแซนาดู ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งอื่นของอาณาจักร[3] มีแกนกลางของเมืองยาว 3.7 กิโลเมตร จากนั้นเมื่อราชวงศ์หมิงขึ้นมาปกครองจึงนำแนวคิดการสร้างเมืองหลวงของราชวงศ์หยวนมาใช้และพัฒนาต่อในการสร้างกรุงปักกิ่ง หลังจากการพัฒนาของราชวงศ์หมิงและชิงในที่สุดแกนกลางของปักกิ่งก็ขยายไปถึง 7.86 กิโลเมตร[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "北京确立城市发展脉络 重塑7.8公里中轴线 (Beijing to establish civic development network; Recreating 7.8 km central axis)" (ภาษาจีน). People Net. 2006-05-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-29. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05.
  2. The Central Axis of Beijing (including Beihai)
  3. Pan, Feng (2005-03-02). "探秘北京中轴线 (Exploring the mystery of Beijing's Central Axis)". Science Times (ภาษาจีน). Chinese Academy of Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-11. สืบค้นเมื่อ 2007-10-19.
  4. 北京中轴线:一条线,一座城