เอเคบีโฟร์ตีเอต
เอเคบีโฟร์ตีเอต | |
---|---|
การแสดงของเอเคบีโฟร์ตีเอตที่โรงละครไมโครซอฟท์ ณ ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ในเดือนกรกฎาคม 2010 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | อากิฮาบาระ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
แนวเพลง | เจป็อป |
ช่วงปี | 2005–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | |
สมาชิก | ดูที่ สมาชิกเอเคบีโฟร์ตีเอต |
อดีตสมาชิก | ดูที่ อดีตสมาชิกเอเคบีโฟร์ตีเอต |
เว็บไซต์ | akb48.co.jp |
เอเคบีโฟร์ตีเอต (อังกฤษ: AKB48) เป็นกลุ่มไอดอลของประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยสมาชิกกว่า 100 คนที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 12 ถึง 30 ปี ก่อตั้งโดยยาซูชิ อากิโมโตะ เมื่อปี 2005 โดยตั้งชื่อตามย่านอากิฮาบาระในกรุงโตเกียวซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงละครประจำวง มีแนวคิดหลักคือ "ไอดอลที่คุณสามารถพบได้" (idols you can meet) ซึ่งหมายความว่าวงมีโรงละครเป็นของตัวเองที่เปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถผลัดกันขึ้นแสดงได้ทุกวัน ต่างจากเกิร์ลกรุ๊ปทั่วไปที่ปกติจะพบเห็นได้ตามคอนเสิร์ตหรือโทรทัศน์เท่านั้น รวมไปถึงการจัดตั้ง "งานจับมือ" ที่แฟนคลับสามารถไปให้กำลังใจสมาชิกที่ตนเองชื่นชอบได้ และด้วยสมาชิกที่มีจำนวนมาก ทำให้มีการแบ่งสมาชิกออกเป็นหลายทีมเพื่อผลัดกันขึ้นแสดงในโรงละคร นอกจากนี้อากิโมโตะยังได้ขยายแนวคิดนี้โดยการสร้าง "วงน้องสาว" ทั้งภายในประเทศญี่ปุ่นและในต่างประเทศ อาทิเช่น จีน อินโดนีเซีย ไทย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และอินเดีย เป็นต้น และบางประเทศนั้นมีมากกว่าหนึ่งวง อาทิเช่น ไทย เป็นต้น ทำให้กลายเป็นกลุ่มไอดอลที่มีขนาดใหญ่และจำนวนสมาชิกรวมกันมากที่สุดในเอเชีย
เอเคบีโฟร์ตีเอตเป็นหนึ่งในวงที่มีรายได้สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ในปี 2012 วงทำรายได้ไปมากกว่า 7,000 ล้านบาท และได้รับการขนานนามว่าเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม นับตั้งแต่วันเปิดตัวจนถึงเดือนมิถุนายน 2017 วงทำยอดขายแผ่นซิงเกิลไปแล้วกว่า 50 ล้านชุด และยอดขายอัลบั้มกว่า 6 ล้านชุด ทำให้เป็นวงที่มียอดขายแผ่นซิงเกิลมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้วงยังทำยอดขายของแต่ละซิงเกิลได้เกิน 1 ล้านชุด ซึ่งซิงเกิลเหล่านี้ได้รับอันดับ 1 บนชาร์ตออริคอนเป็นจำนวน 35 ซิงเกิลติดต่อกัน ซิงเกิลที่มียอดขายสูงที่สุดคือ "สึบาซะวะอิราไน" (Tsubasa wa Iranai) ซึ่งทำยอดขายไปกว่า 2.5 ล้านชุดในปี 2016 นอกจากนี้ "บีกินเนอร์" (Beginner) และ "เฮฟวีโรเทชัน" (Heavy Rotation) ยังได้รับอันดับ 1 และ 2 ในการจัดอันดับซิงเกิลที่มียอดขายสูงที่สุดประจำปี 2010 เช่นกัน และตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา ซิงเกิลของวงทุกชุดก็สลับขึ้นหมุนเวียนอยู่ในอันดับที่ 1 ถึง 5 บนชาร์ตซิงเกิลออริคอนประจำปี
แนวคิด
[แก้]เอเคบีโฟร์ตีเอตได้ก่อตั้งขึ้นมาด้วยแนวคิด "ไอดอลที่คุณสามารถพบได้"[3] โดยยาซูชิ อากิโมโตะ โปรดิวเซอร์ของวง เขากล่าวว่าปณิธานหลักคือการสร้างกลุ่มไอดอลที่สามารถพบเห็นได้ทุกวันในโรงละคร[3][4][โน้ต 1] ซึ่งต่างจากเกิร์ลกรุ๊ปวงอื่นที่จะพบเห็นได้เฉพาะตามงานคอนเสิร์ตหรือในรายการโทรทัศน์เท่านั้น โรงละครของวงตั้งอยู่ที่ร้านดองกิโฮเต้ (Don Quijote) ในย่านอากิฮาบาระ กรุงโตเกียว[5][6] ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวงเช่นกัน[7]
ด้วยจำนวนสมาชิกที่มาก วงจึงแบ่งสมาชิกออกเป็นหลายทีมด้วยกันเพื่อลดจำนวนงานของสมาชิกแต่ละคนและเพื่อแบ่งทีมแต่ละทีมให้ไปผลัดแสดงในโรงละครได้ (เนื่องจากการแสดงในโรงละครนั้นจะแสดงโดยเพียง 1 ทีมต่อ 1 วันเท่านั้น)[5] และสามารถให้วงสามารถออกงานกิจกรรมหลาย ๆ ที่ในเวลาเดียวกันได้[8] นอกจากนี้ มิซากิ อิวาซะ อดีตสมาชิกวง กล่าวว่าแต่ละทีมมีภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป ทีมเอ (A) เป็นตัวแทนของความเป็นอิสรภาพ ทีมบี (B) เป็นตัวแทนของความน่ารักและความเป็นไอดอล และทีมเค (K) เป็นตัวแทนของพลังและความแข็งแกร่ง[9] โดยเดิมทีแล้วทางวงตั้งใจว่าจะให้มีสมาชิกแค่เพียง 16 คนในแต่ละทีมเท่านั้นเพื่อที่จะให้มีสมาชิกรวมกันเป็น 48 คน[3][10][11][12] แต่ปรากฏว่าเมื่อเวลาผ่านไป สมาชิกของวงก็เพิ่มมากขึ้นจนเกิน 120 คนในปัจจุบัน[13][7] สมาชิกที่เข้ามาใหม่จะเรียกว่า "เค็งคิวเซย์" (ญี่ปุ่น: 研究生; โรมาจิ: kenkyuusei) หรือ "เด็กฝึกหัด" ที่ทำหน้าที่เป็นตัวสำรองให้กับสมาชิกทีมหลัก[14] และจะขึ้นแสดงเป็นครั้งคราวในโรงละครพร้อมกับสมาชิกคนอื่น นอกจากการแสดงในโรงละครแล้ว สมาชิกของวงยังได้รับการประชาสัมพันธ์จากสื่อญี่ปุ่นเช่นกัน[5] และยังได้จัดงานกิจกรรมหลายประเภทเพื่อส่งเสริมแนวคิดหลักที่สามารถให้แฟนคลับสามารถเข้าถึงสมาชิกในวงได้ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปคู่หรือการจับมือกับสมาชิกวง[5]
สมาชิกวงนั้นมีอายุตั้งแต่ช่วงเข้าสู่วัยรุ่นจนถึงวัยนักศึกษา[15][16] ที่ผ่านการคัดเลือกจากการออดิชัน[5][13] สมาชิกจะไม่สามารถมีแฟนได้ และจะต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี[17] การฝ่าฝืนข้อบังคับเหล่านี้ส่งผลให้ความนิยมของสมาชิกตกต่ำลงและจะถูกกดดันจากสังคมและฝ่ายบริหารให้ออกจากวง[18][19] วงมีระบบที่เรียกว่า "การจบการศึกษา" ซึ่งหมายความว่าสมาชิกในทีมที่เติบโตและมีอายุมากขึ้นสามารถออกจากวงได้เพื่อทำตามปณิธานของตนเองต่อไป และสมาชิกเค็งคิวเซย์จะได้รับการเลื่อนขั้นให้มาอยู่ในตำแหน่งของสมาชิกที่ออกจากวง โมนิกา เฮสเซ นักข่าวจาก เดอะวอชิงตันโพสต์ ได้เปรียบเทียบการคัดเลือกของสมาชิกในวงว่าเหมือนกับอเมริกันไอดอล[13]
วงน้องสาว
[แก้]จากแนวคิด "ไอดอลที่คุณสามารถพบได้" ทำให้เกิดกลุ่มไอดอลวงใหม่เป็นจำนวน 12 วง โดยเป็นวงในประเทศญี่ปุ่น 5 วง และวงนอกประเทศญี่ปุ่น 7 วง ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "วงน้องสาว" หรือ "48 กรุ๊ป" วงน้องสาวทั้งหมดจะมีซิงเกิลและโรงละครประจำวงเป็นของตัวเอง แต่วงน้องสาวนอกประเทศญี่ปุ่นจะมีซิงเกิลที่เป็นการแปลจากเพลงของเครือ 48 กรุ๊ป ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น วงน้องสาวในญี่ปุ่นยังนิยมแสดงคอนเสิร์ตร่วมกับวงเอเคบีโฟร์ตีเอต[20][21] และสมาชิกบางคนสามารถย้ายไปวงน้องสาววงอื่น หรือแม้กระทั่งควบวง (เป็นสมาชิกร่วมมากกว่า 1 วง) ได้ อาทิเช่นจูรินะ มัตสึอิ และมิยูกิ วาตานาเบะ[22]
เอสเคอีโฟร์ตีเอต (SKE48) เป็นวงน้องสาววงแรกของเอเคบีโฟร์ตีเอต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2008 และมีโรงละครประจำวงที่นาโงยะ[23][24] ส่วนเอสดีเอ็นโฟร์ตีเอต (SDN48), เอ็นเอ็มบีโฟร์ตีเอต (NMB48) ที่นัมบะ,[25] และเอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48) ที่ฮากาตะ[26] ได้ก่อตั้งขึ้นภายในเวลาต่อมา หลังจากนั้น เอ็นจีทีโฟร์ตีเอต (NGT48) ก็ได้ก่อตั้งขึ้นเช่นกันในปี 2015 ที่นีงาตะ[27] ส่วนเอสทียูโฟร์ตีเอต (STU48) วงน้องสาวล่าสุด ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2016 ในงานแข่งขันจังเก็น (เป่ายิงฉุบ) ประจำปี ซึ่งวงนี้มีสถานที่ตั้งโรงละครไม่เหมือนกับวงอื่น โดยจะตั้งอยู่บนเรือแทนที่จะอยู่ในเมือง[28] นอกจากนี้เอเคบีโฟร์ตีเอตยังได้สร้าง "วงคู่แข่งอย่างเป็นทางการ" ในชื่อโนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ (Nogizaka46)[29] และวงน้องสาวของวงดังกล่าวในชื่อเคยากิซากะโฟร์ตีซิกซ์ (Keyakizaka46) เช่นกัน[30]
ในปี 2011 เอเคบีโฟร์ตีเอต ได้ก่อตั้งวงน้องสาวนอกประเทศญี่ปุ่นวงแรกในชื่อ เจเคทีโฟร์ตีเอต (JKT48) ซึ่งประจำอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย[31] ตามด้วยวงน้องสาวที่ประเทศจีน เอสเอ็นเอชโฟร์ตีเอต (SNH48) ประจำเมืองเซี่ยงไฮ้[32] แต่ภายหลังเอเคบีได้ยกเลิกสัญญาไม่ให้เป็นวงน้องสาวอีกต่อไปตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2016[33] ซึ่งเอสเอ็นเอชก็ได้ประกาศเช่นกันว่าตนเองไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับเอเคบีมาตั้งแต่แรกและไม่เคยทำสัญญาใด ๆ กับทางวงมาก่อน[34] นอกจากนี้ วงยังได้ประกาศจัดตั้งวงน้องสาววงใหม่อีก 3 วงด้วยกันในเดือนมีนาคม 2016 ได้แก่บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48) ประจำกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย, เอ็มเอ็นแอลโฟร์ตีเอต (MNL48) ประจำกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์, และทีพีอีโฟร์ตีเอต (TPE48) ประจำกรุงไทเป ประเทศไต้หวัน[35]
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2017 ยุย โยโกยามะ หัวหน้าวงเอเคบีโฟร์ตีเอต ได้ประกาศผ่านทางแอปพลิเคชันโชว์รูม (Showroom) ถึงการก่อตั้งวงเอ็มยูเอ็มโฟร์ตีเอต (MUM48) ประจำเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ที่จะก่อตั้งอย่างเป็นทางการในปี 2018[36] นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับโปรดิวซ์วันโอวัน (Produce 101) ในการจัดตั้งรายการโปรดิวซ์โฟร์ตีเอต (Produce 48) ที่จะออกอากาศในเกาหลีใต้ในช่วงเดือนมิถุนายน 2018[37]
ระยะเวลาการก่อตั้งวงน้องสาว 48GROUP
[แก้]ปีก่อตั้ง (ค.ศ.) | ชื่อ | ฐานที่ตั้ง | ประเทศ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2008 | เอสเคอีโฟร์ตีเอต (SKE48) | ซากาเอะ, นาโกย่า | ญี่ปุ่น | |
เอสดีเอ็นโฟร์ตีเอต (SDN48) | อากิฮาบาระ, โตเกียว | ญี่ปุ่น | ปิดตัวแล้ว | |
2011 | เอ็นเอ็มบีโฟร์ตีเอต (NMB48) | นัมบะ, โอซากะ | ญี่ปุ่น | |
เอชเคทีโฟร์ตีเอต (HKT48) | ฮากาตะ, ฟูกูโอกะ | ญี่ปุ่น | ||
เจเคทีโฟร์ตีเอต (JKT48) | จาการ์ต้า | อินโดนีเซีย | วงน้องสาวต่างประเทศวงแรก | |
ทีพีอีโฟร์ตีเอต (TPE48) | ไทเป | ไต้หวัน | โปรเจกต์ถูกยกเลิก | |
2012 | เอสเอ็นเอชโฟร์ตีเอต (SNH48) | เซี่ยงไฮ้ | จีน | ปัจจุบันไม่มีความเกี่ยวข้องกับ 48Group อีก |
2013 | เอสพีอาร์โฟร์ตีเอต (SPR48) | ซับโปโร, ฮอกไกโด | ญี่ปุ่น | โปรเจกต์ไม่มีความเคลื่อนไหว |
2015 | เอ็นจีทีโฟร์ตีเอต (NGT48) | นีงาตะ, นีงาตะ | ญี่ปุ่น | |
2016 | บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48) | กรุงเทพมหานคร | ไทย | |
เอสทียูโฟร์ตีเอต (STU48) | เซโตอูจิ | ญี่ปุ่น | ||
เอ็มเอ็นแอลโฟร์ตีเอต (MNL48) | มะนิลา | ฟิลิปปินส์ | ||
ทีพีอีโฟร์ตีเอต (TPE48) | ไทเป | ไต้หวัน | ถูกเปลี่ยนชื่อและสังกัด | |
2017 | เอ็มยูเอ็มโฟร์ตีเอต (MUM48) | มุมไบ | อินเดีย | ถูกเปลี่ยนชื่อ |
2018 | เอเคบีโฟร์ตีเอต ทีม เอสเอช (AKB48 Team SH) | เซี่ยงไฮ้ | จีน | แทน SNH48 เดิม |
เอสจีโอโฟร์ตีเอต (SGO48) | โฮจิมินห์ | เวียดนาม | ปิดตัวแล้ว | |
เอเคบีโฟร์ตีเอต ทีม ทีพี (AKB48 Team TP) | ไทเป | ไต้หวัน | แทน TPE48 เดิม | |
2019 | ซีจีเอ็มโฟร์ตีเอต (CGM48) | เชียงใหม่ | ไทย | วงน้องสาวของ BNK48 |
เอ็มยูบีโฟร์ตีเอต (MUB48) | มุมไบ | อินเดีย | แทน MUM48 เดิม, ปิดตัวลงเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 | |
ดีอีแอลโฟร์ตีเอต (DEL48) | เดลี | ปิดตัวลงเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 | ||
2024 | เคแอลพีโฟร์ตีเอต (KLP48) | กัวลาลัมเปอร์ | มาเลเซีย |
วงน้องสาวที่มีอยู่ในปัจจุบัน
[แก้]SKE48, NMB48 HKT48, JKT48, NGT48, BNK48, STU48, MNL48, AKB48 Team SH, AKB48 Team TP, CGM48,
รวมทั้งหมดมีจำนวน 11 วงไม่นับ AKB48
ดูเพิ่ม: เอเคบีโฟร์ตีเอตกรุ๊ป (AKB48 Group)
วงที่เกี่ยวข้อง
[แก้]ชื่อวง | หมายเหตุ |
---|---|
โนกิซากะโฟร์ตีซิกซ์ (Nogizaka46) | Sakamichi Series |
เคยากิซากะโฟร์ตีซิกซ์ (Keyakizaka46) | |
ฮินาตะซาตะโฟร์ตีซิกซ์ (Hinatazata46) | |
โยชิโมโตะซากะโฟร์ตีซิกซ์ (Yoshimotozaka46) | |
บีอีเจโฟร์ตีเอต (BEJ48) | วงน้องสาวของ SNH48 |
จีเอ็นแซดโฟร์ตีเอต (GNZ48) | |
ซีเคจีโฟร์ตีเอต (CKG48) | |
ไอซ์วัน (IZ*ONE) | รายการ Produce 48 |
ประวัติ
[แก้]2005–2006: การเปิดตัวและการก่อตั้งทีม
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม 2005 ยะซุชิ อะกิโมะโตะ ได้จัดการคัดเลือกสมาชิกขึ้นเป็นครั้งแรก[38] จากผู้เข้าสมัครจำนวน 7,924 คน มี 24 คนที่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกรุ่นที่ 1 ของวง[38] ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม มีสมาชิก 20 คนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกทีมเอ (A) เพื่อขึ้นแสดงในโรงละคร[39] ซึ่งการแสดงในโรงละครครั้งแรกของวงนั้นมีชื่อว่า ปาร์ตีกะฮาจิมารุโยะ (Party ga Hajimaru yo)[40] มีผู้เข้าชมทั้งหมด 7 คน แต่หลังจากนั้นจำนวนผู้เข้าชมก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง[41][42] ต่อมาในเดือนมกราคม 2006 มาริโกะ ชิโนดะ พนักงานเสิร์ฟในร้านกาแฟของวง เข้าร่วมวงด้วยในฐานะสมาชิก "รุ่น 1.5" เนื่องจากเธอได้รับความนิยมมากจากลูกค้าในร้าน ทำให้อะกิโมะโตะมีความสนใจและจัดการคัดเลือกแบบพิเศษให้กับเธอ[43][44]
การคัดเลือกสมาชิกรุ่นที่ 2 นั้นจัดขึ้นร่วมกับบริษัทโทรคมนาคม เอ็นทีที โดโคโม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2006 โดยผู้สมัครจะต้องส่งวีดีโอแนะนำตนเองผ่านทางโทรศัพท์มือถือ[45][46]และจากผู้เข้าสมัครทั้ง 11,892 คน มี 19 คนที่ได้รับเลือก และ 18 คนที่ได้รับการเลื่อนขั้นให้เป็นสมาชิกทีมเค (K) ในเดือนเมษายน[47] โดยมี ปาร์ตีกะฮาจิมารุโยะ เป็นการแสดงประจำทีมในโรงละครแทนทีม A เนื่องจากทีมนี้มีการแสดงใหม่ในชื่อ ไอตะกัตตะ (Aitakatta)[48]
ในเวลาเดียวกัน ทางวงก็ได้ปล่อยซิงเกิลอินดีชุดแรกออกมาในชื่อ "ซากูระโนะฮานาบิราตาจิ" (Sakura no Hanabiratachi) ซึ่งได้ขึ้นตำแหน่งบนชาร์ตซิงเกิล 10 อันดับรายอาทิตย์ของออริคอน และมียอดขายอาทิตย์แรกจำนวน 22,011 ชุด[49] ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม ยูกิ อูซามิ ได้จบการศึกษา ทำให้เธอเป็นสมาชิกคนแรกที่ออกจากวง[50] จากนั้นในวันที่ 7 มิถุนายน ทางวงได้เปิดตัวซิงเกิลอินดีลำดับที่ 2 ในชื่อ "สเกิตฮิราริ" (Skirt Hirari)[51] ที่ขายได้ 13,349 ชุดภายในวันแรก[52] วงยังได้ปรากฏตัวในรายการโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในสองวันถัดมา[38] และได้เซ็นสัญญากับเดฟสตาร์เร็กคอร์ดส์ (Defstar Records; บริษัทย่อยของโซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์) ในเดือนสิงหาคม[53]
2006–2007: เซ็ตลิสต์: เกรตเทสต์ซองส์ 2006–2007
[แก้]ในเดือนตุลาคม 2006 เอเคบีโฟร์ตีเอตได้จัดตั้งการคัดเลือกสมาชิกสำหรับทีมบี (B)[54] และได้สมาชิก 13 คนจากทั้งหมด 12,828 คนในเดือนธันวาคม[55] ซิงเกิลแรกร่วมกับค่ายเพลงเดฟสตาร์ "ไอตากัตตะ" (Aitakatta) ที่แสดงโดยสมาชิก 20 คนจากทีมเอและทีมเค ได้ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม[56] ซึ่งติดอันดับ 12 บนชาร์ตออริคอนเป็นเวลา 65 อาทิตย์[57] และมียอดขาย 25,544 แผ่นใน 6 อาทิตย์แรก[58] ในวันที่ 3 และ 4 พฤศจิกายน วงได้จัดคอนเสิร์ตแรกในชื่อ "AKB48 First Concert: Aitakatta ~Hashira wa Nai ze!~" ที่นิปปงเซเน็นคังในชินจุกุ[59] และได้แสดงเพลง "ไอตากัตตะ" ในรายการโทรทัศน์เอ็นเอชเค โคฮากุอูตะกัซเซ็น (NHK Kohaku Uta Gassen) ครั้งที่ 58[60][61] นอกจากนี้ยังทำสถิติเป็นวงที่มีสมาชิกขึ้นแสดงพร้อมกันบนเวทีมากที่สุดในรายการเพลง โดยมีจำนวน 43 คน[62] และวงยังได้ทำการสับเปลี่ยนทีมเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคมโดยการย้ายคาซูมิ อูราโนะ, ชิโฮะ วาตานาเบะ, และนัตสึมิ ฮิราจิมะ จากทีมเอไปยังทีมบีในฐานะตัวสำรอง[63]
ซิงเกิลลำดับที่ 2 ของวง "เซฟูกุกะจามะโอะซูรุ" (Seifuku ga Jama o Suru) วางขายครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2007[64] และติดอันดับ 7 บทชาร์ตออริคอน[65] เนื้อเพลงกล่าวถึงการขายบริการของเด็กผู้หญิง ทำให้เพลงนี้ถูกวิจารณ์ในแง่ลบและทำให้เกิดข้อถกเถียงตามมา[66] ในวันที่ 18 มีนาคม วงได้วางขายซิงเกิล "เคเบ็ตสึชิเตตะไอโจ" (Keibetsu Shiteita Aijo) ซึ่งติดอันดับ 8 บทชาร์ตออริคอน แต่ร่วงลงมาที่อันดับ 98 ในอาทิตย์ถัดมา[67] คอนเสิร์ตครั้งที่สองของวง "เอเคบีโฟร์ตีเอต ฮารุจตโตะดาเกะเซ็งโกกุทัวร์ มาดามาดะดาเซะเอเคบีโฟร์ตีเอต" (AKB48 Haru no Chotto dake Zenkoku Tour ~Madamada daze AKB48!~) ที่แสดงขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม[68] มียอดขายค่อนข้างน้อย[69]
ในเดือนเมษายน 2007 วงได้โพสสมาชิกทีมบี (B) ผ่านทางเว็บไซต์ โดยมีจำนวน 5 คนที่น้อยกว่าตอนที่เคยได้ประกาศเอาไว้[70] และเป็นครั้งแรกที่รวบรวมสมาชิกได้ครบ 48 คน ซิงเกิลลำดับที่ 4 ของวง "บิงโก!" (Bingo!) วางแผงเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม[71] ตามด้วย "โบกุโนะไทโย" (Boku no Taiyo) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม[72] และ "ยูฮิโฮะมิเตรุกะ?" (Yuhi o Miteiru ka?) ในวันฮาโลวีน ซิงเกิลนี้ทำยอดขายได้ 18,429 แผ่น[73] ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดของวง[74]
2008–2010: คามิเกียวกูตาจิ
[แก้]ในวันปีใหม่ 2008 วงได้วางขายอัลบั้มแรกชื่อ เซ็ตลิสต์: เกรตเทสต์ซองส์ 2006–2007 (Setlist: Greatest Songs 2006–2007) ประกอบด้วยเพลงจากซิงเกิลรวมถึงบันทึกการแสดงสด ส่วนซิงเกิลต่อมา "โรมานซ์อิราเนะ" (Romance, Irane) ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 23 มกราคม[75] และติดอันดับ 6 บนชาร์ตออริคอนในอาทิตย์แรก[76]
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ วงได้จำหน่ายซิงเกิลลำดับที่ 8 คือ "ซากูระโนะฮานาบิราตาจิ 2008" (Sakura no Hanabiratachi 2008) ซึ่งเป็นการทำฉบับใหม่จากซิงเกิลแรก ประกอบด้วยสมาชิกทีมเอ 10 คน ทีมเค 6 คน และทีมบี 5 คน[77] ในแต่ละชุดยังประกอบด้วยโปสเตอร์ 1 แบบ บุคคลใดที่สามารถสะสมรูปโปสเตอร์ได้ครบทั้ง 44 แบบจะได้รับการเชิญชวนให้เข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ แต่กิจกรรมนี้ก็ถูกยกเลิกไปเนื่องจากมีการพบว่าเป็นการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด[78]
ในเดือนมิถุนายน 2008 มีการประกาศก่อตั้งวงน้องสาววงแรกในชื่อ เอสเคอีโฟร์ตีเอต (SKE48) ที่นาโงยะ[79] ต่อมาในเดือนสิงหาคม วงได้ยกเลิกสัญญากับค่ายเพลงเดฟสตาร์เรกคอร์ดส์ (DefStar Records) และต่อสัญญาใหม่กับคิงเรกคอร์ดส์ (King Records) แทน[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้นไม่นาน สมาชิกวงชื่อ อายากะ คิกูจิ ถูกไล่ออกเนื่องจากมีภาพที่เธอถ่ายคู่กับแฟนหนุ่มหลุดออกมา ซึ่งวงได้ให้เหตุผลว่าพฤติกรรมนี้ไม่เหมาะสมกับวัย[80][81] อย่างไรก็ตาม เธอได้กลับเข้าวงอีกครั้งหลังจากที่เธอผ่านออดิชันในปี 2010[82]
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ซิงเกิล "โอโกเอะไดมอนด์" (Oogoe Diamond) ได้ออกจำหน่ายจากค่ายคิงเรกคอร์ดส์[83] เซ็นเตอร์ของเพลงนี้คือจูรินะ มัตสึอิ ซึ่งเป็นสมาชิกของเอสเคอีโฟร์ตีเอตขณะที่ยังอายุ 11 ปี และเป็นสมาชิกคนแรกของวงน้องสาวที่ปรากฏในซิงเกิลวงหลัก[84] ซิงเกิลนี้ติดอับดับ 3 บนชาร์ตออริคอนรายอาทิตย์[85]
ซิงเกิลต่อมา "10เน็นซากูระ" (10nen Sakura) วางแผงเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2009 และได้รับอันดับ 3 ในอาทิตย์แรกเช่นกัน และเป็นซิงเกิลแรกที่ทำยอดจำหน่ายได้กว่า 1 แสนชุด[86] ถัดมา "นามิดะเซอร์ไพรส์" (Namida Surprise!) ซิงเกิลลำดับที่ 12 ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ประกอบด้วยบัตรจับมือและบัตรเลือกตั้งสมาชิกสำหรับซิงเกิลต่อไป[87] มียอดขาย 104,180 แผ่นในอาทิตย์แรกบนชาร์ตออริคอน[88] ซิงเกิลที่ 13 "อีวาเกะเมย์บี" (Iiwake Maybe) ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม[89] ทำยอดขายชนะวงสแมปและขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตซิงเกิลรายวัน[90] และอันดับ 2 บนชาร์ตรายอาทิตย์[91]ja
ทีมเอยังได้ขึ้นแสดงในงาน "เจแปนเอ็กซ์โปอินปารีส" ตั้งแต่วันที่ 2 ถึง 5 กรกฎาคม 2009 โดยแสดงเพลง "โอโกเอะไดมอนด์" ในฉบับภาษาอังกฤษ[92] วงเปิดตัวที่สหรัฐครั้งแรกที่เว็บสเตอร์ฮอลล์ กรุงนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 27 กันยายน[93]
ในเดือนตุลาคม ซิงเกิลของวงทั้ง 3 ซิงเกิล ("10เน็นซากูระ" "นามิดะเซอร์ไพรส์" และ "อีวาเกะเมย์บี" ได้รับการรับรองระดับทองจากอาร์ไอเอเจ (RIAJ)[94] ซิงเกิล "ริเวอร์" (River) ซึ่งเป็นลำดับที่ 14 ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม[95] เป็นซิงเกิลแรกที่ได้รับอันดับ 1 บนชาร์ตออริคอน[96]
วงได้จำหน่ายซิงเกิลถัดไป "ซากูระโนะชิโอริ" (Sakura no Shiori) เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2010 ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตออริคอน และมียอดขายกว่า 3 แสนแผ่น ทำให้เป็นกลุ่มศิลปินหญิงญี่ปุ่นที่ทำยอดขายได้มากที่สุดในรอบ 7 ปี[97] และเป็นซิงเกิลสุดท้ายที่จะได้บรรจุในอัลบั้ม คามิเกียวกูตาจิ (Kamikyokutachi) ที่ได้รับอันดับ 1 บนชาร์ตอัลบั้มของออริคอน[98][99] และได้รับการรับรองระดับแพลตตินัมสองชั้นจากอาร์ไอเอเจเมื่อมียอดขายครบ 5 แสนชุด[100]
2010–2011: โคโคะนิอิตะโคโตะ
[แก้]ซิงเกิลลำดับที่ 16 "โพนีเทลโทะชูชู" (Ponytail to Chouchou) วางขายเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2010 ขายได้มากกว่า 4 แสนแผ่นในวันแรก และมากกว่า 513,000 แผ่นในสัปดาห์แรก[101] เมื่อวันที่ 27 เมษายน ในงานอนิเมะเอ็กซ์โป งานมหกรรมอนิเมะที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ มีการประกาศว่าเอเคบีโฟร์ตีเอตจะมาเป็นแขกรับเชิญ และจะขึ้นแสดงในวันที่ 1 กรกฎาคมที่แอลเอไลฟ์ (L.A. Live)[102]
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม วงได้ออกจำหน่ายซิงเกิล "เฮฟวีโรเทชัน" (Heavy Rotation) มียอดจำหน่าย 880,760 แผ่น[103] ต่อมาวันที่ 23 ตุลาคม วงเข้าร่วมงานเอเชียซองเฟสติวัล จัดขึ้นโดยมูลนิธิแลกเปลี่ยนกิจกรรมระหว่างประเทศ ที่สนามกีฬาโอลิมปิกแจมซิล ประเทศเกาหลีใต้[104] 4 วันถัดมาหลังจากนั้น วงได้ออกวางขายซิงเกิลที่ 18 "บีกินเนอร์" (Beginner) ด้วยยอดขาย 826,989 แผ่นในอาทิตย์แรก และได้รับตำแหน่งกลุ่มไอดอลหญิงที่มียอดขายอาทิตย์แรกสูงที่สุด[105] ต่อมา สมาชิกวง มายุ วาตานาเบะ ปรากฏตัวในปกนิตยสารไอดอล อัพทูบอย ฉบับเดือนธันวาคม คู่กับไอริ ซูซูกิ สมาชิกวงคิวต์ ถือเป็นการร่วมงานครั้งแรกระหว่างเอเคบีโฟร์ตีเอตกับเฮลโล! พรอเจกต์[106]
ในเดือนพฤศจิกายน 2010 วงได้เข้าร่วมงานกิจกรรมหลายอย่างนอกประเทศญี่ปุ่น อาทิเช่น งานเจแปนนีสป็อปคัลเจอร์เฟสติวัลที่กรุงมอสโก[107] งานอนิเมะเฟสติวัลเอเชีย ครั้งที่ 10 และงานสิงคโปร์ทอยเกมส์แอนด์คอมิกส์คอนเวนชัน ที่ประเทศสิงคโปร์[108][109] สมาชิกที่จบการศึกษาในปี 2010 ประกอบด้วยเอเรนะ โอโนะ ที่ลาวงไปเมื่อวันที่ 27 กันยายนเนื่องจากความต้องการในการทำงานด้านการแสดงที่ต่างประเทศ[110][111]
ซิงเกิลแรกในปี 2011 คือ "ซากูระโนะคินินาโร" วางขายเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ มียอดขายวันแรกจำนวน 655,000 แผ่น ซึ่งมากกว่าของบีกินเนอร์ที่ขายได้ 568,000 แผ่น[112] และมียอดขายทั้งหมดจำนวน 942,479 แผ่นในอาทิตย์แรก เป็นซิงเกิลที่มียอดขายเติบโตเร็วมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2000[113]
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ มีการประกาศอัลบั้มที่ 3 โคโคนิอิตะโคโตะ (Koko ni Ita Koto) ซึ่งประกอบด้วยเพลงใหม่ 11 รายการ[114] ต่อมาวงได้หยุดการแสดงในโรงละครทั้งหมดและงานกิจกรรมบางประเภทเนื่องจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ ทำให้เอเคบีโฟร์ตีเอตเริ่มโครงการ "ดาเรกะโนะทาเมะนิ" (Dareka no Tame ni) ซึ่งเป็นการระดมทุนบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยเหล่านี้ วงยังได้จัดกิจกรรมการกุศลที่โยโกยามะอารีน่า และในงานเทศการภาพยนตร์โอกินาวะ ตั้งแต่วันที่ 26 ถึง 27 มีนาคม ต่อมาวันที่ 15 มีนาคม มีการประกาศว่าวงเอเคบีโฟร์ตีเอตและวงน้องสาวอีก 3 วง ได้แก่เอสเคอีโฟร์ตีเอต เอสดีเอ็นโฟร์ตีเอต และเอ็นเอ็มบีโฟร์ตีเอต จะบริจาคเงินเป็นจำนวน 500 ล้านเยนในฐานะต้นสังกัดเอเคเอส[115] เดิมทีอัลบั้ม โคโคนิอิตะโคโตะ มีกำหนดการวางขายไว้วันที่ 6 เมษายน[114] แต่ด้วยเหตุการดังกล่าวจึงทำให้ถูกเลื่อนไปเป็นวันที่ 8 มิถุนายนแทน นอกจากนี้รายได้จากยอดขายบางส่วนของอัลบั้มนี้จะถูกสมทบรวมกับยอดบริจาคทั้งหมดด้วย[116] เมื่อวันที่ 1 เมษายน วงได้ปล่อยซิงเกิลพิเศษ "ดาเระกะโนะทาเมนิ-ว็อตแคนไอดูฟอร์ซัมวัน?-" (Dareka no Tame ni -What can I do for someone?-) โดยเปิดให้ดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ มีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาเหตุการณ์ภัยพิบัติเช่นกัน[117]
2022–ปัจจุบัน โมโตะคาเระเดซุ
[แก้]ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 วงได้ปล่อยซิงเกิลที่ 59 "โมโตะคาเระเดซุ" ในรายการโทรทัศน์ "เอเคบีโฟร์ตีเอต ไซกิน คิตะ?" (AKB48, Saikin Kiita?) โดยมีฮิโตมิ ฮนดะทำหน้าที่เป็นเซ็นเตอร์ซิงเกิลนี้จะร้องโดยสมาชิกเซ็นบัตสึเอเคบีโฟร์ตีเอต 20 คนเท่านั้น และวางจำหน่ายในวันที่ 18 พฤษภาคม 2022[118]
ในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 เอเคบีโฟร์ตีเอตได้เปิดตัวสมาชิกใหม่ 11 คน ซึ่งเป็นรุ่นที่ 17 ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก [119] ซึ่งดำเนินการถ่ายทอดสดจาก AKB48 Theater กิจกรรมเริ่มจากแสดงเพลงโอโกเอะไดมอนด์แล้วจึงให้สมาชิกแนะนำตัวทีละคน [120]
สมาชิก
[แก้]จำนวนสมาชิกของวงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งเนื่องจากการออดิชัน การจบการศึกษา การย้ายทีม และการย้ายวงระหว่างวงในเครือ 48 กรุ๊ป วงเอเคบีโฟร์ตีเอตมีสมาชิกทั้งหมด 52 คน แบ่งออกเป็นสมาชิกหลัก 39 คน นอกจากนี้ยังมีสมาชิกเค็งคิวเซย์ 13 คน แบ่งออกเป็นเค็งคิวเซย์ที่เป็นตัวสำรองให้กับทีมหลัก 8 คน และที่เป็นตัวสำรองให้กับวงโดยรวม 5 คน[121] โดยมีนารูมิ คูราโนเป็นสมาชิก หัวหน้าวง และผู้จัดการวงในเครือ 48 กรุ๊ป[122]
การประชาสัมพันธ์
[แก้]ทางวงมีการเพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดต่าง ๆ ในหนึ่งซิงเกิลหรืออัลบั้มนั้นจะแบ่งออกเป็นหลายฉบับที่มีรูปปกหรือเพลงรองที่แตกต่างกัน ซึ่งนอกจากเพลงแล้ว ยังมีรูปสมาชิก ดีวีดีสำหรับมิวสิกวีดีโอ บัตรเข้างานกิจกรรม และรหัสที่ใช้กรอกในงานเลือกตั้ง ประกอบอยู่ในซิงเกิลอีกด้วย[123] อลัน สวาตซ์ จากเอ็มทีวีเจแปน กล่าวไว้ว่าการแยกซิงเกิลใด ๆ ออกเป็นหลายฉบับ ส่งผลให้ผู้ซื้อรู้สึกอยากเก็บสะสมทุกฉบับ จึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ยอดขายของวงพุ่งสูงขึ้นมาก และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมดนตรีของประเทศญี่ปุ่นมีความครึกครึ้นมากขึ้น[124]
กิจกรรมเลือกสมาชิกเซ็มบัตสึ
[แก้]ทางวงได้จัดงานกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อที่จะประชาสัมพันธ์ซิงเกิล หรือเพื่อที่จะคัดเลือกสมาชิกที่จะได้มีส่วนร่วมในซิงเกิลนั้น ๆ[125] ในปี 2009 แนวคิดของ "โซเซ็งเกียว" (ญี่ปุ่น: 総選挙; โรมาจิ: sousenkyo; แปลว่า "งานเลือกตั้ง") ได้นำมาใช้เพื่อให้แฟนคลับสามารถโหวตสมาชิกที่ตนชื่นชอบให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเป็น "เซ็มบัตสึ" (ญี่ปุ่น: 選抜; โรมาจิ: senbatsu; หรือ "สมาชิกที่ได้รับเลือก") เพื่อปรากฏอยู่ในซิงเกิลประจำปีได้[126] โดยวิธีในการโหวตนั้นจะมาจากบัตรลงคะแนนที่พบได้ในแผ่นของ "ซิงเกิลเลือกตั้ง"[127] หรือด้วยวิธีการลงคะแนนผ่านทางแอปพลิเคชันของวง[128][129] สมาชิกที่ได้รับคะแนนโหวตมากที่สุด (ส่วนใหญ่แล้วคือ 16 อันดับแรก) จะได้รับการประชาสัมพันธ์เยอะกว่าสมาชิกคนอื่นหลายเท่า[130] และสมาชิกที่ได้อันดับ 1 จะได้รับตำแหน่ง "เซ็นเตอร์" ที่อยู่ตรงกลางของวงในการแสดงสด หรือมีบทบาทในมิวสิกวีดีโอมากที่สุด ทำให้คนทั่วไปสามารถพบเห็นได้บ่อยที่สุด[131][132] จำนวนโหวตทั้งหมดสำหรับงานเลือกตั้งแต่ละปีนั้นมีจำนวนไม่ต่ำกว่าปีละ 3 ล้านโหวตนับตั้งแต่ปี 2012[133] ซึ่งแฟน ๆ แต่ละคนส่วนใหญ่แล้วจะซื้อซิงเกิลเลือกตั้งเป็นจำนวนร้อย ๆ ซิงเกิลเพื่อที่จะนำคะแนนไปโหวตให้กับสมาชิกที่พวกเขาชื่นชอบ[134][135][136][137][138][139][140]
ในซิงเกิลลำดับที่ 19 ของวง "แชนซ์โนะจุมบัง" (Chance no Junban) มีการใช้วิธีการคัดเลือกสมาชิกเซ็มบัตสึอีกหนึ่งวิธีคือ งานแข่งขันเป่ายิงฉุบ หรือ "จังเก็น" (ญี่ปุ่น: じゃん拳; โรมาจิ: Janken) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี[141] โดยสมาชิกในวง (รวมถึงวงน้องสาวเช่นกัน) จะเข้ามาแข่งขันกันแบบแพ้คัดออกโดยการเป่ายิงฉุบ สมาชิกที่ชนะจนได้อยู่ใน 16 อันดับแรกจะได้เป็นเซ็มบัตสึสำหรับซิงเกิลต่อไป[142] ซึ่งสมาชิกที่เข้าแข่งขันจะแต่งตัวกันอย่างหลากหลาย[143] เหตุผลในการจัดกิจกรรมนี้คือ เพื่อให้ให้โอกาสสมาชิกที่ไม่เคยได้เป็นเซ็มบัตสึ ได้มีโอกาสรับตำแหน่งนี้ดูสักครั้งเนื่องจากโอกาสในการชนะของสมาชิกทุกคนนั้นเท่ากัน[ต้องการอ้างอิง] ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นไป ทางวงได้เปลี่ยนแปลงกิจกรรมนี้ใหม่โดยจะหาผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น สมาชิกที่ชนะจะได้เปิดตัวเป็นศิลปินเดี่ยว หรือถ้าหากผู้นั้นเป็นศิลปินเดี่ยวมาก่อนอยู่แล้ว เธอจะได้เปิดคอนเสิร์ตเป็นของตัวเอง[144]
สารคดี
[แก้]ตั้งแต่ปี 2011 ทางวงได้ปล่อยสารคดีของวงออกมาในโรงละครเป็นจำนวน 4 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นแรก Documentary of AKB48 – To Be Continued ปล่อยออกมาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2011[145] และในฉบับดีวีดีที่สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมในปีเดียวกัน[146] ชิ้นที่ 2 Documentary of AKB48: Show Must Go On Shoujotachi wa Kizutsuki Nagara, Yume wo Miru ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2012[147] และทำรายได้ในบ็อกซ์ออฟฟิศญี่ปุ่นเป็นจำนวนกว่า 120 ล้านบาท[148] ชิ้นที่ 3 Documentary of AKB48: No Flower Without Rain: Shōjo Tachi wa Namida no Ato ni Nani o Miru? ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2013[149] และทำรายได้ไปกว่า 70 ล้านบาท[150] ชิ้นที่ 4 Documentary of AKB48 The Time has come Shōjo-tachi wa, Ima, Sono Senaka ni Nani wo Omou? ปล่อยออกมาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2014[151] และทำรายได้ไปประมาณ 30 ล้านบาท[152] ในสารคดีแต่ละชิ้นจะเล่าเรื่องเหตุการณ์และปัญหาที่ทางวงได้พบเจอในปีที่ผ่านมา[153]
มังงะและอนิเมะ
[แก้]มังงะชื่อ AKB49: Ren'ai Kinshi Jourei เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวง AKB48 และมีสมาชิกในวงเล่นเป็นบทบาทตัวละครเสริมในเรื่อง[154] ในปี 2012 ทางวงได้ปล่อยอนิเมะออกมาในชื่อ AKB0048 ซีรีส์แนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่อิงจากชีวิตของสมาชิกวง กำกับและดูแลโดย ยะซุชิ อะกิโมะโตะ[155] ตัวละครหลักทั้ง 9 คนในเรื่องนี้ได้รับการพากย์เสียงโดยสมาชิกของ AKB48 และสมาชิกในวงน้องสาวบางคนเช่นกัน[156] ออกอากาศในญี่ปุ่นในช่วงฤดูใบไม้ผลิเมื่อปี 2012[157] ฤดูกาลที่ 2 ของเรื่องนี้ออกอากาศในปี 2013[158]
วีดีโอเกม
[แก้]ทางวงมีเกมวิชวลโนเวลแนวจีบสาวเป็นของตัวเอง เกมแรกของวง AKB1/48: Idol to Koishitara... วางขายเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2010 เป็นเกมที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถสร้างความสัมพันธ์กับหนึ่งในสมาชิกวงได้ เกมที่สอง AKB1/48: Idol to Guam de Koishitara... วางขายเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2011 มีเนื้อเรื่องคล้ายคลึงกับเกมภาคแรก เป็นแรื่องราวที่เกิดขึ้นในกวม เกมที่สาม AKB1/149 Ren'ai Sōsenkyo วางขายเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2012 มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกวง AKB48 และวงน้องสาว อาทิเช่น SKE48, NMB48 และ HKT48 ทั้งสามเกมได้ลงบนคอนโซลเพลย์สเตชันพอร์เทเบิล โดยภาคล่าสุดนั้นลงบนเพลย์สเตชันวิต้าและ[[เพลย์สเตชัน 3|เพลย์สเตชัน 3[ต้องการอ้างอิง]]] ในปีเดียวกัน มีการวางขายเกม AKB48+Me ลงบนนินเท็นโด 3DS ที่ให้ผู้เล่นสามารถพยายามที่จะเป็นไอดอลเหมือนสมาชิกวงได้[159]ในปี 2014 บันไดนัมโค (Bandai Namco) พัฒนาเกม Sailor Zombie: AKB48 Arcade Edition ซึ่งต่อยอดมาจากโทรทัศน์ซีรีส์ในชื่อเดียวกัน เป็นเกมที่ให้ผู้เล่นใช้ปืนยิงกระสุนวัคซีนใส่สมาชิกวงที่เป็นซอมบี้ ในเกมยังมีโหมดพิเศษคือ โหมดริทึ่ม ที่ให้สมาชิกที่เป็นซอมบี้เต้นไปมา[160] ในเดือนเมษายน 2014 เกมแนวริทึ่ม AKB48 Group tsuini koushiki-on gee demashita ปล่อยออกมาบนแอนดรอยด์และไอโอเอส ที่ให้ผู้เล่นสามารถเลือกสมาชิกวงคนโปรดไปเต้นแข่งขันกันกับผู้เล่นอื่น[161]
รายการโทรทัศน์
[แก้]ผู้บริหารของวงได้ก่อตั้งรายการโทรทัศน์มาเป็นจำนวนหลายรายการด้วยกันเพื่อทำการประชาสัมพันธ์ให้กับวง AKBingo!, AKB48 Show!, AKB to XX, และ Nemōsu TV เป็นรายการวาไรตีหลักของวง Majisuka Gakuen[162] และ Sakura Karano Tegami เป็นรายการซีรีส์ที่นำเสนอเรื่องดรามา นอกจากนี้สมาชิกวง AKB48 ยังไปเป็นตัวละครหลักของรายการ Mecha-Mecha Iketeru!, Waratte Iitomo! และ SMAPxSMAP[ต้องการอ้างอิง]
การตอบรับ
[แก้]อิกุโอะ มิเนะวะกิ ประธานเจ้าหน้าที่ของทาวเวอร์เร็กคอร์ดส์เจแปน (Tower Records Japan) อธิบายว่าเอเคบีโฟร์ตีเอตเป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยม[163] และถือเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมในญี่ปุ่น[164] ในปี 2012 ทางวงมียอดขายในญี่ปุ่นรวมกันกว่า 7,000 ล้านบาท[165][13], มากกว่า 4,000 ล้านบาทในปี 2013, และมากกว่า 3,000 ล้านบาทในปี 2015[166][167] ซึ่งหากนับตั้งแต่วันเปิดตัวจนถึงวันที่ 6 มกราคม 2012 ทางวงได้ขายซิงเกิลไปแล้วเป็นจำนวนมากกว่า 11,787,000 ชุด ทำให้เป็น "กลุ่มดนตรีหญิงที่มียอดขายซิงเกิลสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น"[168] จากนั้นยอดขายซิงเกิลก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมากกว่า 36 ล้านชุด[169] ทำให้ทางวงเป็น "กลุ่มดนตรีที่ทำยอดขายซิงเกิลสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น"[169] ปัจจบันวงมียอดขายซิงเกิลรวมกันกว่า 50 ล้านชุด[170] และยอดขายอัลบั้มกว่า 6 ล้านชุด[171] นอกจากนี้ หากนับตั้งแต่ซิงเกิลลำดับที่ 14 เป็นต้นไป ซิงเกิลทุกชุดหลังจากนั้นก็ได้รับอันดับ 1 มาโดยตลอดบนชาร์ตออริคอนรายอาทิตย์ ในปี 2010 "บีกินเนอร์" (Beginner) และ "เฮฟวีโรเทชัน" (Heavy Rotation) ได้รับอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับบนชาร์ตซิงเกิลที่มียอดขายสูงที่สุดประจำปี[172] จากนั้น ตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2016 ซิงเกิลของวงได้อยู่ในอันดับ 1 ถึง 5 มาโดยตลอดบนชาร์ตออริคอนรายปี[173][174][175][176][177][178] ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2015 ทางวงได้ขายซิงเกิลไปแล้วกว่า 40 ล้านชุด[169][171] นับตั้งแต่ซิงเกิลลำดับที่ 21 "เอฟวรีเดย์คะชูชะ" (Everyday, Katyusha) ในปี 2011 ซิงเกิลทุกชุดหลังจากนั้นก็ขายได้เกิน 1 ล้านชุดมาโดยตลอดภายในอาทิตย์แรก แต่ว่าซิงเกิลลำดับที่ 42 ของวง "คุจิบิรุนิบีมายเบบี้" (Kuchibiru ni Be My Baby) ไม่สามารถขายได้มากกว่า 1 ล้านชุดภายในอาทิตย์แรกได้ ทำให้ซิงเกิลที่มียอดขายเกิน 1 ล้านชุดของวงภายในอาทิตย์แรกติดต่อกันอยู่ที่ 21 ซิงเกิล[179] ซิงเกิลที่มียอดขายสูงที่สุดคือ "สึบาซะวะอิราไน" (Tsubasa wa Iranai) ซึ่งทำยอดขายไปกว่า 2.5 ล้านชุดในปี 2016[180]
นอกจากนี้ทางวงยังได้รับการบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ (Guinness World Record) หลายรางวัลด้วยกัน อาทิเช่น "กลุ่มดนตรีป็อปที่มีขนาดใหญ่ที่สุด" ในวันที่ 1 ธันวาคม 2010 เมื่อมีสมาชิกทั้งหมด 48 คน[10][181] นอกจากนี้ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2012 ทางวงได้รับการขนานนามว่า "มีผลงานโฆษณาโทรทัศน์มากที่สุดในเวลา 24 ชั่วโมง" หลังจากที่สมาชิก 90 คนปรากฏตัวในโฆษณา 90 ชิ้นที่ออกอากาศในภูมิภาคคันโต, คันไซ, และโทะไก ในประเทศญี่ปุ่น[182] สถานทูตญี่ปุ่นในสหรัฐอเมริกา อิจิโร ฟุจิซะกิ กล่าวในระหว่างที่พบกับวงในวอชิงตันดี.ซี. ว่า "AKB" หมายถึง "Adorable, Kind, Beauty" (ความน่ารัก, ความอ่อนโยน, และความงดงาม)[13] เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2012 เจแปนโพสต์ได้ออกสแตมป์ที่เป็นอนุสรณ์ให้กับวง[183]
แนวเพลง
[แก้]แนวเพลงของวงได้รับการเปรียบเปรยว่าเหมือน "บับเบิลกัมป็อป" ทำให้เป็นที่ชื่นชอบสำหรับเด็กหญิงในช่วงวัยรุ่นและชายวัยกลางคนที่มีทรัพย์ซื้อสินค้าของวง[184] มะริ ยะมะกุจิ จากแอสโซซิเอเทตเพรส (Associated Press) กล่าวว่า "เมื่อสมาชิกกำลังร้องและเต้น แฟน ๆ ก็มักที่จะร้องและส่งเสียงเชียร์ไปกับพวกเธอกันอย่างมีจังหวะ" เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของแฟน ๆ กับผู้ชมของการแสดงคะบุกิ[185] นอกจากนี้ โมนิกา เฮสเซ จาก เดอะวอชิงตันโพสต์ (The Washington Post) ได้อธิบายแนวเพลงของวงว่า "เหมือนกับถ้านำ ไมลีย์ ไซรัส, เทย์เลอร์ สวิฟต์, และนักแสดงทุกคนจากเรื่องทไวไลต์ มาผสมรวมกันในกระทะและเคี่ยวจนไม่มีอะไรหลงเหลือนอกจากความหวานที่เหนียวหนึบ"[13]
แอนดรูว์ จอยซ์ และ เคนเนธ แม็กซ์เวล จาก เดอะวอลล์สตรีตเจอร์นอล (The Wall Street Journal) ได้อธิบายเช่นกันว่าเป็น "แนวเพลงป็อปที่เคลือบด้วยน้ำตาลที่มีข้อคิดในเนื้อเพลงเป็นครั้งคราว" และได้พูดอีกว่า "สมาชิกแสดงบทประพันธ์ที่เรียบง่ายซ้ำไปซ้ำมาต่อหน้าผู้ชมที่ 95% เป็นผู้ชาย โดยแนวเพลงนั้นก็เหมือนพลงป็อปญี่ปุ่นที่มีจังหวะเร็ว เสียงสูง และท่อนฮุกที่ร้องตามได้"[186]
กิจกรรมการกุศล
[แก้]เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2011 ทางวงได้ปล่อยซิงเกิลการกุศลออกมาในชื่อ "ดะเระกะโนะทะเมะนิ-ว็อตแคนไอดูฟอร์ซัมวัน?-" (Dareka no Tameni -What Can I Do for Someone?-) เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ[187] และซิงเกิลลำดับที่ 23 ของวง "คะเซะวะฟุอิเตรุ" (Kaze wa Fuiteiru) แต่งขึ้นเพื่ออุทิศแด่ผู้ประสบภัยและมีเนื้อเพลงไปในทางปลอบประโลม[188][189] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ทางวงบริจาคเงินจำนวน 150 ล้านบาทให้กับสภากาชาดญี่ปุ่น ซึ่งเงินบริจาคทั้งหมดสำหรับผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและคลื่นสึนะมิจากวงนั้นมีจำนวนรวมกันมากกว่า 350 ล้านบาท[190] ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2013 ทางวงได้ปล่อยเพลงใหม่ออกมา "เทะโนะฮิระกะคะตะรุโคะโตะ" (Tenohira ga Kataru Koto) เพลงอีกเพลงที่อุทิศให้กับผุ้ประสบภัยในเดือนมีนาคม 2011 และสามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียเงินผ่านทางเว็บไซต์.[191] หลังจากนั้น เมื่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวผ่านไปครบสองปี ทางวงและวงน้องสาวในประเทศญี่ปุ่นได้เยี่ยมเยือนเขตประสบภัย แสดงในโรงเรียนและที่โรงละครของ AKB48, SKE48, NMB48, และ HKT48 โดยนำรายได้ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยต่อไป[192]
ข้อวิจารณ์
[แก้]เพลง "เซฟุกุกะจะมะโอะซุรุ" (Seifuku ga Jama o Suru) ของวงถูกวิจารณ์ว่ามีเนื้อเพลงที่ส่อไปทางเพศ และถูกมองโดยนักข่าวฝั่งตะวันตกว่าไม่เหมาะสมสำหรับสมาชิกของวงบางคนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อ แอนนา โคเรน นักข่าวจากซีเอ็นเอ็น ถาม ยะซุชิ อะกิโมะโตะ (ผู้ประพันธ์เนื้อเพลงของวง) เกี่ยวกับประเด็นนี้ อะกิโมะโตะตอบว่าเนื้อเพลงของเขา "แสดงถึงความเป็นจริง" และเป็นตัวกระตุ้นให้คนสนใจถึงปัญหาที่มีอยู่ในโลกนี้ [193][194]
หนึ่งในมิวสิกวีดีโอของวง "เฮฟวีโรเทชัน" (Heavy Rotation) ก็ตกเป็นประเด็นของสังคมเช่นกัน นักข่าวฝั่งตะวันตกวิจารณ์ว่ามิวสิกวีดีโอของเพลงนี้มีแต่การแสดงชุดชั้นในของสมาชิก การสวมกอด[184] การจูบ และการร่วมอาบน้ำในอ่างเดียวกัน ซึ่งผู้กำกับของเพลงนี้ มิกะ นินะงะวะ กล่าวว่าเหตุผลที่การถ่ายทำเป็นแบบนี้เนื่องจากเธออยากจะแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์และความสนุกสนานของเพลง และเธอต้องการที่จะให้เป็นที่ชื่นชอบของทั้งผู้ชายและผู้หญิง เนื่องจากความนิยมของวงได้เพิ่มมากขึ้น[195] แต่ในบทสัมภาษณ์ เธอกลับยอมรับผิดถึงปัญหานี้โดยบอกว่า "คุณอะกิโมะโตะทิ้งทุกอย่างไว้ให้ฉัน แต่เขาไม่ได้ให้เงินเพิ่มเลยด้วยซ้ำ... ฉันพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่า AKB48 เป็นอย่างไรในโลกความเป็นจริง เพราะในห้องแต่งตัวของเธอ ฉันก็เห็นว่าพวกเธอก็ดูสนิทสนมกันดี ฉันจึงคิดไอเดียนี้มาได้"[196]
ในโฆษณาโทรทัศน์สำหรับลูกอมพุชโชที่เปิดตัวเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2012 มีการปรากฏตัวของสมาชิกวงในชุดนักเรียนที่ส่งลูกอมให้กันแบบปากต่อปาก โดยพวกเธอใช้ฟันกัดลูกอมเอาไว้ก่อนที่จะส่งให้คนอื่น ผู้ชมบางคนมองว่าเป็นการ "สนับสนุนพฤติกรรมทางเพศ" "ไม่ถูกสุขลักษณะ" และ "เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อเด็ก ๆ"[184][197][198][199]
ในเดือนมกราคม 2013 ทางวงถูกวิจารณ์อีกครั้งเมื่อรูปของ โทะโมะมิ คะไซ ในนิตยสาร ชุกังยังแม็กกาซีน ปรากฏตัวในสาธารณะ คะไซในรูปนั้นไม่สวมเสื้อบน และมีเด็กคนหนึ่งใช้มือปิดหน้าอกของเธอ ซึ่งรูปดังกล่าวจะนำมาใส่เป็นหน้าปกของหนังสือรวมภาพของคะไซเอง แต่ทางบริษัทก็ได้เลื่อนการปล่อยนิตยสารนี้จากวันที่ 12 เป็นวันที่ 23 มกราคม[200][201][202]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 สมาชิกวง มินะมิ มิเนะงิชิ ได้โกนหัวตัวเองโดยปรากฏตัวผ่านทางวีดีโอเพื่อที่จะขอโทษกับสังคมหลังจากที่มีข่าวว่าเธอแอบไปค้างคืนกับผู้ชาย และเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เธอถูกลดขั้นไปเป็นเค็งคิวเซย์ ถึงแม้ว่าการโกนหัวของเธอนั้นจะทำด้วยความตั้งใจของเธอเองที่อยากให้แฟน ๆ รับรู้ว่าเธอรู้สึกผิดจริง แต่เหตุการณ์นี้ก็ชักจูงให้นักวิจารณ์หลาย ๆ คนออกมาประณามการกระทำนี้และการแก้ไขปัญหาของวง[203]
สารคดีจากเอ็นเอชเคในปี 2016 กล่าวว่าความนิยมของงานจับมือได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้หนุ่มสาวญี่ปุ่นและ "ชายฉกรรจ์" ละทิ้งการหาคู่ในชีวิตจริง เป็นเหตุให้มีข้อโต้เถียงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากแฟน ๆ ต้องการที่จะจับมือกับไอดอลที่พวกเขาโปรดปรานมากกว่าการหาคู่รัก[204]
ในงานเลือกตั้งเซ็มบัตสึ ปี 2017 เอเคบีโฟร์ตีเอตมีผู้ติดอันดับ16คนแรกเพียง 4 คนตั้งแต่มีงานเลือกตั้งเซ็มบัตสึซึ่งนับว่าน้อยที่สุดโดย12คนที่เหลือมาจากวงน้องสาว
ผลงาน
[แก้]ผลงานของ AKB48 ประกอบด้วยสตูดิโออัลบั้ม 8 ชุด คอนเสิร์ตอัลบั้ม 32 ชุด มิวสิกวีดีโอ 109 เพลง ซิงเกิล 64 ชุด และเพลงประกอบภาพยนตร์ 1 เพลง
การแสดงในเธียเตอร์
[แก้]ทีมเอ (Team A)
[แก้]*ตัวหนา คือสเตจที่กำลังทำการแสดงในปัจจุบัน
ลำดับสเตจ | ชื่อสเตจ | ระยะเวลาการแสดง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
A1 | PARTY ga Hajimaru yo (PARTYが始まるよ) | 8 ธันวาคม 2005 - 31 มีนาคม 2006 | |
A2 | Aitakatta (会いたかった) | 15 เมษายน 2006 - 11 สิงหาคม 2006 | |
A3 | Dareka no Tame ni (誰かのために) | 20 สิงหาคม 2006 - 25 มกราคม 2007 | |
A4 | Tadaima Renaichuu (ただいま 恋愛中) | 25 กุมภาพันธ์ 2007 - 26 มิถุนายน 2007 และ 20 เมษายน 2008 - 11 ตุลาคม 2008 | |
A5 | Renai Kinshi Jourei (恋愛禁止条例) | 19 ตุลาคม 2008 - 27 พฤษภาคม 2010 และ 25 เมษายน 2014 - 23 สิงหาคม 2015 | |
A6 | Mokugekisha (目撃者) | 27 กรกฎาคม 2010 - 29 ตุลาคม 2012 และ 12 มิถุนายน 2018 - 15 มีนาคม 2022 | |
Waiting | Waiting Stage | 2 พฤศจิกายน 2012 - 21 เมษายน 2014 | |
A7 | M.T ni Sasagu (M.Tに捧ぐ) | 10 ธันวาคม 2016 - 16 พฤษภาคม 2018 | |
A8 | Juuryoku Sympathy (重力シンパシー) | 11 พฤษภาคม 2022 - 16 ตุลาคม 2023 |
ทีมเค (Team K)
[แก้]*ตัวหนา คือสเตจที่กำลังทำการแสดงในปัจจุบัน
ลำดับสเตจ | ชื่อสเตจ | ระยะเวลาการแสดง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
K1 | PARTY ga Hajimaru yo (PARTYが始まるよ) | 1 เมษายน 2006 - 5 กรกฎาคม 2006 และ 8 พฤศจิกายน 2006 - 14 ธันวาคม 2006 | |
K2 | Seishun Girls (青春ガールズ) | 8 กรกฎาคม 2006 - 6 พฤศจิกายน 2006 | |
K3 | Nounai Paradise (脳内パラダイス) | 17 ธันวาคม 2006 - 22 มิถุนายน 2007 | |
K4 | Saishuu Bell ga Naru (最終ベルが鳴る) | 31 พฤษภาคม 2008 - 4 เมษายน 2009
20 กุมภาพันธ์ 2014 - 16 เมษายน 2014 และ 30 พฤศจิกายน 2015 - 15 พฤษภาคม 2018 |
|
K5 | Saka Agari (逆上がり) | 11 เมษายน 2009 - 21 กุมภาพันธ์ 2010 และ 25 เมษายน 2022 - 13 ตุลาคม 2023 | |
K6 | RESET | 12 มีนาคม 2010 - 24 ตุลาคม 2012
7 พฤษภาคม 2014 - 26 สิงหาคม 2015 และ 6 กรกฎาคม 2018 - 6 เมษายน 2022 |
|
Waiting | Waiting Stage | 1 พฤศจิกายน 2012 - 12 กุมภาพันธ์ 2014 | |
Social Distance | K Shousuru Monotachi (K承する者たち) | 26 สิงหาคม 2020 - 24 ตุลาคม 2020 |
ทีมบี (Team B)
[แก้]*ตัวหนา คือสเตจที่กำลังทำการแสดงในปัจจุบัน
ลำดับสเตจ | ชื่อสเตจ | ระยะเวลาการแสดง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
B1 | Seishun Girls (青春ガールズ) | 8 เมษายน 2007 - 2 ตุลาคม 2007 | |
B2 | Aitakatta (会いたかった) | 7 ตุลาคม 2007 - 21 กุมภาพันธ์ 2008 | |
B3 | Pajama Drive (パジャマドライブ) | 1 มีนาคม 2008 - 1 กุมภาพันธ์ 2009 และ 28 เมษายน 2014 - 27 สิงหาคม 2015 | |
B4 | Idol no Yoake (アイドルの夜明け) | 8 กุมภาพันธ์ 2009 - 16 เมษายน 2010 และ 29 เมษายน 2022 - 6 ตุลาคม 2023 | |
B5 | Theater no Megami (シアターの女神) | 21 พฤษภาคม 2010 - 22 ตุลาคม 2012 และ 8 กันยายน 2018 - 19 มีนาคม 2022 | |
Waiting | Waiting Stage | 3 พฤศจิกายน 2012 - 23 เมษายน 2014 | |
B6 | Tadaima Renaichuu (ただいま 恋愛中) | 26 ธันวาคม 2015 - 28 พฤษภาคม 2018 |
ทีมโฟร์ (Team 4)
[แก้]*ตัวหนา คือสเตจที่กำลังทำการแสดงในปัจจุบัน
ลำดับสเตจ | ชื่อสเตจ | ระยะเวลาการแสดง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
41 | Boku no Taiyou (僕の太陽) | 10 ตุลาคม 2011 - 25 ตุลาคม 2012 | |
42 | Te wo Tsunaginagara (手をつなぎながら) | 3 พฤศจิกายน 2013 - 15 เมษายน 2014 และ 6 มิถุนายน 2018 - 4 เมษายน 2022 | |
43 | Idol no Yoake (アイドルの夜明け) | 24 เมษายน 2014 - 24 สิงหาคม 2015 | |
44 | Yume wo Shinaseru Wake ni Ikanai (夢を死なせるわけにいかない) | 3 ธันวาคม 2015 - 18 พฤษภาคม 2018 | |
45 | Thumbnail (サムネイル) | 19 เมษายน 2022 - 3 ตุลาคม 2023 |
ทีมเอต (Team 8)
[แก้]*ตัวหนา คือสเตจที่กำลังทำการแสดงในปัจจุบัน
ลำดับสเตจ | ชื่อสเตจ | ระยะเวลาการแสดง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
81 | PARTY ga Hajimaru yo (PARTYが始まるよ) | 5 สิงหาคม 2014 - 16 สิงหาคม 2015
5 ธันวาคม 2015 17 กุมภาพันธ์ 2018 - 3 พฤศจิกายน 2018 และ 2 กุมภาพันธ์ 2019 |
|
82 | Aitakatta (会いたかった) | 5 กันยายน 2015 - 20 สิงหาคม 2017 และ 12 กุมภาพันธ์ 2018 - 4 พฤศจิกายน 2018 | |
83 | Kimi mo 8 (Eito) de Nakou janai ka (君も8(エイト)で泣こうじゃないか) | 2 กันยายน 2017 - 8 มกราคม 2018 | |
84 | Sono Shizuku wa, Mirai e to Tsunagaru Niji ni Naru. (その雫は、未来へと繋がる虹になる。) | 22 พฤศจิกายน 2018 - 21 เมษายน 2023 |
ฮิมะวาริคุมิ (Himawarigumi)
[แก้]*ตัวหนา คือสเตจที่กำลังทำการแสดงในปัจจุบัน
ลำดับสเตจ | ชื่อสเตจ | ระยะเวลาการแสดง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
HW1 | Boku no Taiyou (僕の太陽) | 1 กรกฎาคม 2007 - 30 พฤศจิกายน 2007 16 กรกฎาคม 2016 - 28 มิถุนายน 2017 และ 21 พฤศจิกายน 2021 - ปัจจุบัน | |
HW2 | Yume wo Shinaseru Wake ni Ikanai (夢を死なせるわけにいかない) | 8 ธันวาคม 2007 - 19 เมษายน 2008 และ มิถุนายน 2009 |
เคงคิวเซย์ (Kenkyuusei)
[แก้]*ตัวหนา คือสเตจที่กำลังทำการแสดงในปัจจุบัน
ลำดับสเตจ | ชื่อสเตจ | ระยะเวลาการแสดง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
KKS1 | Tadaima Renaichuu (ただいま恋愛中) | 22 พฤษภาคม 2008 - 7 ตุลาคม 2008 และ 4 กันยายน 2022 - ปัจจุบัน | |
KKS2 | Idol no Yoake (アイドルの夜明け) | 6 มีนาคม 2009 - 12 เมษายน 2010 | |
KKS3 | Renai Kinshi Jourei (恋愛禁止条例) | 17 เมษายน 2010 - 18 มิถุนายน 2010 | |
KKS4 | Theater no Megami (シアターの女神) | 20 มิถุนายน 2010 - 3 เมษายน 2011 | |
KKS5 | RESET | 29 มีนาคม 2012 - 8 กันยายน 2012 | |
KKS6 | Boku no Taiyou (僕の太陽) | 26 ตุลาคม 2012 - 17 มีนาคม 2013 | |
KKS7 | Pajama Drive (パジャマドライブ) | 20 มีนาคม 2013 - 27 ตุลาคม 2013 และ 18 พฤศจิกายน 2018 - 27 ธันวาคม 2019 | |
KKS8 | 16th Generation Kenkyuusei (16期研究生) | 11 กุมภาพันธ์ 2017 - 22 กรกฎาคม 2017 | |
KKS9 | Let's Go Kenkyuusei! (レッツゴー研究生!公演) | 28 กรกฎาคม 2017 - 7 กรกฎาคม 2018 | |
KKS10 | Soko ni Mirai wa Aru (そこに未来はある) | 4 กุมภาพันธ์ 2024 - ปัจจุบัน |
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ ถึงแม้ว่าโรงละครของวงจะมีการแสดงทุกวัน แต่ก็จะมีการสุ่มตั๋วเข้าชมเนื่องจากมีความต้องการสูง (ในโรงละครมี 145 ที่นั่ง และ 105 ที่ยืน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Maru Music: Artists: AKB48". Maru Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2017-12-01.
- ↑ "Galaxy Records Sells AKB48's Tsugi no Ashiato Album in Philippines". animenewsnetwork.com. Anime News Network. 2015-11-06.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Japanese Idol Group AKB48 to Perform at MIPCOM" (Press release). Reuters. July 28, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-16. สืบค้นเมื่อ June 29, 2011.
- ↑ "What is AKB48? / AKB48 [Official]". AKB48. February 14, 2011. สืบค้นเมื่อ June 29, 2011.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "Girl idol group about mass exposure, fans". The Japan Times Inc. The Japan Times. August 24, 2010. สืบค้นเมื่อ June 29, 2011.
- ↑ Victoria Goldenberg (November 30, 2009). "(interview) AKB48: A classic fantasy for the 21st century". Purple Sky magazine. สืบค้นเมื่อ June 2, 2012.
- ↑ 7.0 7.1 "AKB48公式サイト|メンバー情報 (AKB48 Official Site – Member List)". AKB48 Official Website. สืบค้นเมื่อ January 5, 2017.
List is subject to change from graduations and transfers.
- ↑ Victoria Goldenberg (November 30, 2009). "(interview) AKB48: A classic fantasy for the 21st century". Purple Sky magazine. สืบค้นเมื่อ June 2, 2012. "Because the teams rotate performances, AKB48’s two theaters, four TV shows and four radio programs always have a group to fill them. Like if it’s Team A today, Team K and Team B will go next, so those two teams can be on TV or go to other places."
- ↑ SPH Razor (July 25, 2013). Rivalry among 61 girls? (AKB48 Concept Store Part 3). – video originally posted with article Tanu, Elrica (พฤษภาคม 23, 2011). "AKB48 to perform in Singapore monthly". Asia One. RazorTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2011.
- ↑ 10.0 10.1 "Guinness Worlds Records — Largest pop group". Guinness World Records. สืบค้นเมื่อ October 23, 2011.
- ↑ Ashcraft, Brian. "A Pricey PSP Bundle With 48 Girl Kisses". Kotaku.com. สืบค้นเมื่อ April 25, 2013.
- ↑ "Changes coming to AKB48, Akimoto Yasushi to kick 8 halfhearted members?". Tokyohive.com. February 4, 2011. สืบค้นเมื่อ April 25, 2013.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 Hesse, Monica (March 27, 2012). "Japanese girl group AKB48 breezes through D.C. in whirlwind of cuteness". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ April 9, 2012.
- ↑ "What is AKB48?". AKB48 official website. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2013. สืบค้นเมื่อ April 25, 2013.
- ↑ Torres, Ida (November 14, 2012). "J-Pop group AKB48 becomes the face of Tokyo electoral drive". Japan Daily Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-18. สืบค้นเมื่อ 2017-12-01.
- ↑ Akiko Fujita (February 1, 2013). "Pop Star Shaves Head in Remorse for Dating". ABC News.
- ↑ "No dating for the girls (AKB48 Part 2)". Asia One. November 15, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2012. สืบค้นเมื่อ April 21, 2012.
- ↑ Martin, Ian. "AKB48 member's 'penance' shows flaws in idol culture". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ April 25, 2013.
- ↑ "AKB48米沢瑠美&平嶋夏海、グループを離脱". Natalie. Natasha, Inc. January 28, 2012. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012.
- ↑ "SKE松井珠理奈、NMB渡辺美優紀がAKB48に期間限定加入". Natalie. Natasha, Inc. March 25, 2012. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012.
- ↑ "King Records Official Site Give Me Five! profile". King Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2012. สืบค้นเมื่อ November 5, 2015.
- ↑ "SKE松井珠理奈、NMB渡辺美優紀がAKB48に期間限定加入". Natalie. Natasha, Inc. March 25, 2012. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012.
- ↑ "AKB48 Launching SKE48 in Nagoya". Jpopasia.com. June 3, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2018-01-07.
- ↑ "SKE48 profile". Natalie. Natasha, Inc. สืบค้นเมื่อ May 7, 2012.
- ↑ "NMB48 Website". AKS. สืบค้นเมื่อ December 28, 2012.
- ↑ "HKT48 Website". AKS. สืบค้นเมื่อ December 28, 2012.
- ↑ "NGT48、劇場オープン3ヶ月延期 来年1月10日に". Oricon Inc. September 16, 2015. สืบค้นเมื่อ March 20, 2016.
- ↑ "AKB48、来夏「STU48」誕生 瀬戸内7県舞台の「船上劇場」". oricon ME inc. October 10, 2016. สืบค้นเมื่อ October 12, 2016.
- ↑ ""AKB48公式ライバル"乃木坂46結成 一般公募でメンバー決定". Oricon Inc. June 29, 2011. สืบค้นเมื่อ August 22, 2011.
- ↑ "乃木坂46、新グループ「欅坂(けやきざか)46」1期生メンバー決定 「鳥居坂46」からチーム名変更". model press. August 21, 2015. สืบค้นเมื่อ March 20, 2016.
- ↑ "JKT48 website". สืบค้นเมื่อ December 28, 2012.
- ↑ "SNH48 Project". "SNH48 Website". AKS. สืบค้นเมื่อ December 28, 2012.
- ↑ JpopAsia. "AKB48 Cuts Ties With SNH48 Due To Contract Violation - JpopAsia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-17. สืบค้นเมื่อ March 15, 2017.
- ↑ "SNH48官方声明". SNH48 official website. June 10, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-10. สืบค้นเมื่อ January 13, 2017.
- ↑ "AKB48 to form sister groups based in Taiwan, Philippines and Thailand". tokyohive. 6Theory Media, LLC. March 27, 2016. สืบค้นเมื่อ March 29, 2016.
- ↑ 横山由依 (2017-12-27). "重大発表は、 インド ムンバイ48発足でした!! 海外姉妹グループが増えるということで、AKB48、より一層気を引き締めていきたいと思います。 仲間が増えるのは嬉しいですね オーディションなどもろもろ未定なので決まり次第!! #MUM48pic.twitter.com/uX3378uzFT". @Yui_yoko1208. สืบค้นเมื่อ 2017-12-27.
- ↑ https://www.allkpop.com/article/2017/12/akb48-confirmed-to-participate-in-mnets-produce-48
- ↑ 38.0 38.1 38.2 "AKBINGO!". AKBINGO!. ฤดูกาล 4. ตอน 91. Japan. 2010-07-07. Nippon Television.
- ↑ "今月も". AKB48 Official Blog. November 1, 2005.
- ↑ "Team A 1st Stage – Official AKB48 website". akb48.co.jp. สืบค้นเมื่อ August 26, 2015.
- ↑ Akimoto, Yasushi (January 13, 2012). "Interview with Japanese Music Producer Yasushi Akimoto". Talk Asia (Interview). สัมภาษณ์โดย Anna Coren. CNN. สืบค้นเมื่อ March 31, 2014.
- ↑ AKBINGO! July 7, 2010
- ↑ "インタビュー:AKB48「天然が多いんです」". livedoor Co., Ltd. October 25, 2006.
- ↑ "篠田麻里子、涙と笑顔でAKB卒業 7年半の活動に幕 (AKB48) ニュース-ORICON STYLE". Oricon Style. July 22, 2013. สืบค้นเมื่อ August 26, 2013.
- ↑ AKBINGO! July 14, 2010
- ↑ AKB48's first CD "Sakura no Hanabiratachi" (accessed on March 9, 2011) (ญี่ปุ่น)
- ↑ "AKBINGO!". AKBINGO!. Japan. 2010-07-14. Nippon Television.
- ↑ "Team A 2nd Stage – Official AKB48 website". akb48.co.jp. สืบค้นเมื่อ August 26, 2015.
- ↑ "AKB48、デビュー作が初登場TOP10入り!モー娘。以来の快挙達成!". Oricon. February 6, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 7, 2010. สืบค้นเมื่อ May 17, 2010.
- ↑ "宇佐美友紀卒業". AKB48官方Blog. March 31, 2006. สืบค้นเมื่อ June 25, 2011.
- ↑ 「会いたかった」初回生産限定盤付属DVD『AKB48 History〜メジャーデビューへの軌跡〜』
- ↑ "AKB48 売上 – スカート、ひらり". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-16. สืบค้นเมื่อ March 28, 2014.
- ↑ "AKB48、ついにメジャーデビュー決定!!". Ranking News. Oricon. สืบค้นเมื่อ April 24, 2012.
- ↑ "チームBオーディション締め切り決定!" (ภาษาญี่ปุ่น). AKB48 Official Blog. October 5, 2006.
- ↑ 来年からの新体制について (ภาษาญี่ปุ่น). AKB48 Official Blog. December 19, 2006.
- ↑ "AITAKATTA AKB48's own anthem". supermerlion. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ April 24, 2011.
- ↑ "AKB48 売上 – AKB48シングル". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 16, 2014. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 28, 2014.
- ↑ アーティスト&楽曲検索 会いたかった (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ April 24, 2011.
- ↑ "AKBINGO!". AKBINGO!. Japan. 2010-07-14. Nippon Television.
- ↑ "AKBINGO!". AKBINGO!. Japan. 2010-07-14. Nippon Television.
- ↑ "秋葉原偶像組合AKB48 登上年末紅白對抗舞台". December 21, 2007. สืบค้นเมื่อ March 28, 2014.
- ↑ "AKBINGO!". AKBINGO!. Japan. 2010-07-14. Nippon Television.
- ↑ "AKBINGO!". AKBINGO!. Japan. 2010-07-14. Nippon Television.
- ↑ アーティスト&楽曲検索 軽蔑していた愛情 (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ April 26, 2011.
- ↑ アーティスト&楽曲検索 制服が邪魔をする (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ April 25, 2011.
- ↑ "SEIFUKU GA JAMA WO SURU The birth of a new type of pop idol?". supermerlion. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-30. สืบค้นเมื่อ April 25, 2011.
- ↑ アーティスト&楽曲検索 軽蔑していた愛情 (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ April 26, 2011.
- ↑ "ライブレポート:AKB48、初の全国ツアーが開幕" (ภาษาญี่ปุ่น). livedoor Co., Ltd. สืบค้นเมื่อ October 2, 2011.
- ↑ 海尔凯特 (2014). AKB48—21世纪的丑小鸭传说. 拇指阅读. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 28, 2014.
- ↑ "AKBINGO!". AKBINGO!. Japan. 2010-07-14. Nippon Television.
- ↑ "AKB48公式サイト|ディスコグラフィー" (ภาษาญี่ปุ่น). AKS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2011. สืบค้นเมื่อ April 25, 2011.
- ↑ "AKB48公式サイト|ディスコグラフィー" (ภาษาญี่ปุ่น). AKS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-22. สืบค้นเมื่อ 2011-04-25.
- ↑ 夕陽を見ているか? (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. October 31, 2007. สืบค้นเมื่อ June 25, 2011.
- ↑ 海尔凯特 (2014). AKB48—21世纪的丑小鸭传说. 拇指阅读. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 28, 2014.
- ↑ "AKB48の新年ニューシングル&AXライブ4daysが決定". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. December 17, 2007. สืบค้นเมื่อ April 27, 2012.
- ↑ アーティスト&楽曲検索 ロマンス、イラネ (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ April 27, 2011.
- ↑ "AKB48劇場「桜の花びらたち2008」購入者特別プレゼント!" (ภาษาญี่ปุ่น). February 25, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2008. สืบค้นเมื่อ February 28, 2008.
- ↑ "AKB48「ポスター44種類コンプでイベント招待」企画、「独禁法違反」のおそれで中止" [AKB48's "invite of the event by collecting all 44 kinds of the posters" was cancelled because of the fear of "violation of the antitrust laws"] (ภาษาญี่ปุ่น). ITmedia News. February 28, 2008. สืบค้นเมื่อ September 4, 2009.
- ↑ "AKB48 Launching SKE48 in Nagoya". Jpopasia.com. June 3, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2018-01-07.
- ↑ "AKB48 member fired over leaked 'Purikura' photo". Japan Today. August 15, 2008. สืบค้นเมื่อ January 7, 2014.
- ↑ 菊地彩香の件について (ภาษาญี่ปุ่น). AKB48 Official Blog. August 14, 2008.
- ↑ 菊地からファンの皆様へ (ภาษาญี่ปุ่น). AKB48 Official Blog. February 28, 2010.
- ↑ "AKB48コレクター心を刺激する裏ジャケ19パターン". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. October 14, 2008. สืบค้นเมื่อ April 27, 2012.
- ↑ Kono, Tommy (September 19, 2012). "Matsui Juina Solo interview: Next Center of AKB48". AKB48wrapup.com. references 松井珠理奈&大島優子!AKB新曲「UZA」はWセンター!! (ภาษาญี่ปุ่น). The Hochi Simbum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 19, 2012. สืบค้นเมื่อ November 5, 2015.
- ↑ 大声ダイヤモンド/AKB48 (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2008. สืบค้นเมื่อ November 5, 2015.
- ↑ "10年桜 AKB48のプロフィールならオリコン芸能人事典-ORICON STYLE" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon Inc. สืบค้นเมื่อ June 19, 2011.
- ↑ "AKB48選抜総選挙"開票! トップ当選の前田敦子「AKBに人生捧げる!」 (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2009. สืบค้นเมื่อ November 5, 2015.
- ↑ "歴代シングル初動ランキング". สืบค้นเมื่อ March 9, 2014.
- ↑ "KING RECORDS OFFICIAL SITE 言い訳Maybe(マキシ+DVD複合) 音楽" (ภาษาญี่ปุ่น). King Records. สืบค้นเมื่อ June 18, 2011.
- ↑ "止めたAKB48、再開したモー娘。"政権交代"が進むアイドル界の「握手会狂想曲」" (ภาษาญี่ปุ่น). Excite Japan Co., Ltd. September 19, 2009. สืบค้นเมื่อ June 27, 2011.
- ↑ 言い訳Maybe/AKB48 (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2011. สืบค้นเมื่อ November 5, 2015.
- ↑ "Come and discover AKB48 pop sensation!". กุมภาพันธ์ 25, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2009. สืบค้นเมื่อ May 12, 2009.
- ↑ "AKB48 U.S. DEBUT CONCERT". newyork-tokyo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2010. สืบค้นเมื่อ November 5, 2015.
- ↑ ゴールド等認定作品一覧 2009年9月 (ภาษาญี่ปุ่น). RIAJ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2009. สืบค้นเมื่อ October 14, 2009.
- ↑ "AKB48初のシングル首位、17.9万枚で09年女性アーティスト初動売上トップに" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon Inc. October 27, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 22, 2011. สืบค้นเมื่อ June 27, 2011.
- ↑ "AKB48初のシングル首位、17.9万枚で09年女性アーティスト初動売上トップに" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon Inc. October 27, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 22, 2011. สืบค้นเมื่อ June 27, 2011.
- ↑ "AKB48 climbs to the top with choir song". Yeinjee.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2010. สืบค้นเมื่อ March 1, 2010.
- ↑ "神曲たち AKB48のプロフィールならオリコン芸能人事典-ORICON STYLE". Oricon Style (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon Inc. สืบค้นเมื่อ June 18, 2011.
- ↑ "AKB48デビュー5年目で初のアルバム首位、秋元氏「長い道のりでした」". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). April 13, 2010. สืบค้นเมื่อ June 20, 2011.
- ↑ 2010年12月度 認定作品 (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. สืบค้นเมื่อ July 22, 2011.
- ↑ オリコン (June 1, 2010). "AKB48が初週50万枚超で首位 モー娘。以来9年半ぶり快挙" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ June 1, 2010.
- ↑ "Japanese Musical Group AKB48 will be Official Guests of Honor at Anime Expo 2010". businesswire.com. April 27, 2010. สืบค้นเมื่อ March 1, 2010.
- ↑ "オリコンランキング情報サービス「you大樹」". Oricon. สืบค้นเมื่อ February 9, 2011. (subscription only)
- ↑ KOFICE 7th Asia Song Festival เก็บถาวร มิถุนายน 12, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน October 23, 2010. Retrieved October 12, 2011
- ↑ "AKB48、女性グループ歴代最高の初週売上82.7万枚 5作連続シングル首位". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). November 2, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2010. สืบค้นเมื่อ November 2, 2010.
- ↑ "AKB48×ハロプロがグラビア初コラボ! 渡辺麻友×鈴木愛理が網タイツ姿で表紙飾る". Oricon Inc. October 27, 2010. สืบค้นเมื่อ June 3, 2011.
- ↑ AKB48が「スパシーバ」 モスクワで初コンサート (ภาษาญี่ปุ่น). Asahi Simbun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2010. สืบค้นเมื่อ November 5, 2015.
- ↑ "続 AKB48海外公演!!" (ภาษาญี่ปุ่น). AKB48 Official blog. สืบค้นเมื่อ October 2, 2011.
- ↑ "Special Events | Singapore Toy, Games & Comic Convention (STGCC)". 2010.singaporetgcc.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2013. สืบค้นเมื่อ April 25, 2013.
- ↑ "AKB48・小野恵令奈、卒業後の進路は 「海外留学」&「女優業勉強」" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. July 12, 2010. สืบค้นเมื่อ March 1, 2010.
- ↑ "AKB48から小野恵令奈が卒業......「明日から自分の夢に向かって」" (ภาษาญี่ปุ่น). livedoor Co., Ltd. September 28, 2010. สืบค้นเมื่อ March 1, 2010.
- ↑ "AKB48 breaks single-day sales records, sells over 655,000 copies". Asia Pacific Arts. February 18, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-05. สืบค้นเมื่อ 2018-05-06.
- ↑ "AKB48 sets record with Sakura no Ki ni Narou". Stareastasia. มีนาคม 1, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 5, 2012.
- ↑ 114.0 114.1 "AKB48新アルバムに新曲11曲、SKE・SDN・NMB参加曲も". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. March 5, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2011. สืบค้นเมื่อ June 20, 2011.
- ↑ "AKB48 groups pledge 500 million yen for earthquake relief". tokyograph. สืบค้นเมื่อ July 4, 2013.
- ↑ "AKB48、新シングル&選抜総選挙決定!収益一部を義援金に". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. March 29, 2011. สืบค้นเมื่อ May 22, 2011.
- ↑ "Activities of AKB48's Tohoku earthquake reconstruction support project". สืบค้นเมื่อ July 3, 2013.
- ↑ "AKB48『AKB48 59thシングル 5月18日(水)発売決定!』". AKB48 Official Blog 〜1830mから~ Powered by Ameba (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 6 May 2022.
- ↑ "AKB48、第17期生11名お披露目 最年少は14歳、メンバー実妹も<プロフィール> - モデルプレス". モデルプレス - ライフスタイル・ファッションエンタメニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 6 May 2022.
- ↑ "เปิดตัว AKB48 รุ่น 17 ที่ AKB48 Theater พร้อมแนะนำโปรไฟล์ทั้ง 11 คน". Lobby48. 4 May 2022. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024.
- ↑ "AKB48公式サイト|メンバー情報 (AKB48 Official Site – Member List)". AKB48 Official Website (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ January 5, 2017.
List is subject to change from graduations and transfers.
- ↑ "19期研究生をお披露目…新総監督・倉野尾成美による新生AKB48が始動「これからが楽しみ」". ザテレビジョン. KADOKAWA. 2024-03-17. สืบค้นเมื่อ 2024-03-18.
- ↑ Baseel, Casey (December 14, 2014). "Who's still buying physical media in Japan? Top 20 singles lists for the year reveal the answer". rocketnews24.com. สืบค้นเมื่อ January 28, 2015.
- ↑ Swarts, Alan (July 23, 2013). "Why Japan's Music Industry Is Booming... For Now". Billboard.com. สืบค้นเมื่อ May 29, 2014.
- ↑ "Japan's AKB48, a girl pop group whose lineup is chosen by fans, set to go global". New York: NY Daily News. Associated Press. June 12, 2012. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013.
- ↑ "What is AKB48? / AKB48 [Official]". AKB48. February 14, 2011. สืบค้นเมื่อ June 29, 2011.
- ↑ St. Michel, Patrick; Kikuchi, Daisuke (May 31, 2012). "AKB48 'election' shows marketing brilliance". Japan Times. p. 17.
- ↑ "AKB48 13thシングル 選抜総選". AKB48 Official Blog / Ameblo. May 13, 2009.
- ↑ Matsutani, Minoru (July 1, 2013). "Voting for idols is bigger than politics". Japan Times.
- ↑ "Girl idol group about mass exposure, fans". The Japan Times Inc. The Japan Times. August 24, 2010. สืบค้นเมื่อ June 29, 2011.
- ↑ "Japan's AKB48, a girl pop group whose lineup is chosen by fans, set to go global". New York: NY Daily News. Associated Press. June 12, 2012. สืบค้นเมื่อ April 7, 2013.
- ↑ St. Michel, Patrick; Kikuchi, Daisuke (May 31, 2012). "AKB48 'election' shows marketing brilliance". Japan Times. p. 17.
- ↑ "【第9回AKB総選挙】総投票数が過去最多338万票に ハプニング続きも記録更新". Oricon. June 17, 2017.
- ↑ Joyce, Andrew (December 28, 2011). "Japan Goes Gaga Over AKB48, a 92-Member Girl Group - WSJ.com". Online.wsj.com. สืบค้นเมื่อ April 25, 2013.
- ↑ St. Michel, Patrick; Kikuchi, Daisuke (May 31, 2012). "AKB48 'election' shows marketing brilliance". Japan Times. p. 17.
- ↑ Beck, Julie (September 16, 2013). "Lady Gaga's Scandalous Attempt to Rally Fans, J-Pop Style – Patrick St. Michel". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ January 14, 2014.
- ↑ Robertson, Adi (February 8, 2013). "Dating AKB48: the J-pop cult banned from falling in love". The Verge. สืบค้นเมื่อ January 14, 2014.
- ↑ "CDs Rule Japan's Music Market, Thanks to Girl Groups and Add-Ons". Businessweek. July 3, 2013. สืบค้นเมื่อ January 14, 2014.
- ↑ Watanabe, Anna (May 31, 2012). "Japan: AKB48 annual elections only a week away". Asian Correspondent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-31. สืบค้นเมื่อ January 14, 2014.
- ↑ "When You Have Too Much Money, Questionable Judgment, and Like Idols". Kotaku.com. May 27, 2011. สืบค้นเมื่อ January 14, 2014.
- ↑ "AKB48、じゃんけん選抜シングルは「チャンスの順番」". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. November 4, 2010. สืบค้นเมื่อ April 21, 2012.
- ↑ "AKB48じゃんけん選抜詳細レポ「新しいAKBの形見えた」". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. September 21, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2012.
- ↑ Suskin, Jeremy (September 18, 2013). "Jurina Matsui Wins Jankenpyon Tournament to Lead AKB48′s 34th Single". Nihongogo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-14. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.
- ↑ "AKBじゃんけん優勝特典はソロデビュー". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon Style. August 7, 2014. สืบค้นเมื่อ September 15, 2012.
- ↑ "DOCUMENTARY of AKB48 to be continued 10年後、少女たちは今の自分に何を思うのだろう?". eiga.com (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ January 28, 2014.
- ↑ "New People Entertainment Announces DVD Release Of AKB48 Documentary". Anime News Network. November 14, 2011. สืบค้นเมื่อ January 28, 2014.
- ↑ "DOCUMENTARY of AKB48 Show must go on 少女たちは傷つきながら、夢を見る". eiga.com (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ January 27, 2014.
- ↑ "Documentary of akb48: show must go on". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ August 27, 2014.
- ↑ "DOCUMENTARY of AKB48 No flower without rain 少女たちは涙の後に何を見る?". eiga.com (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ January 28, 2014.
- ↑ "Documentary of akb48: no flower without rain". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ August 27, 2014.
- ↑ "DOCUMENTARY of AKB48 The time has come 少女たちは、今、その背中に何を想う?". eiga.com (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ August 26, 2014.
- ↑ "Japan Box Office July 12–13, 2014". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ August 27, 2014.
- ↑ "Japanese Box Office, January 28–29". Anime News Network. February 4, 2012. สืบค้นเมื่อ January 27, 2014.
- ↑ "マンガ「AKB49」はAKB48大島優子も納得の出来!?「楽屋での私のまんまだ((;゜Д゜))」" (ภาษาญี่ปุ่น). Cinema Today. August 26, 2010. สืบค้นเมื่อ October 23, 2011.
- ↑ "AKB0048 Idol Sci-Fi Anime's TV Ad Streamed". Anime News Network. April 20, 2012. สืบค้นเมื่อ May 21, 2012.
- ↑ "AKB0048 Idol Sci-Fi Anime's TV Ad Streamed". Anime News Network. April 20, 2012. สืบค้นเมื่อ May 21, 2012.
- ↑ "AKB0048 Idol Sci-Fi Anime's TV Ad Streamed". Anime News Network. April 20, 2012. สืบค้นเมื่อ May 21, 2012.
- ↑ "AKB0048 next stage's 1st Promo Streamed". Anime News Network. December 12, 2012. สืบค้นเมื่อ April 19, 2015.
- ↑ "Japan Review Check: AKB48, Borderlands 2, Forza: Horizon". Polygon.com. October 17, 2012. สืบค้นเมื่อ January 6, 2015.
- ↑ "The AKB48 Arcade Game Is Pretty Much AKB48 House Of The Dead". Siliconera. February 6, 2014. สืบค้นเมื่อ March 31, 2014.
- ↑ "AKB48 finally gets an official music game". Siliconera. May 7, 2014. สืบค้นเมื่อ January 6, 2015.
- ↑ "From Akiba to L.A. with AKB48". สืบค้นเมื่อ March 15, 2017.
- ↑ "As CDs Spin On in Japan, Tower Records Rocks On". Japan Real Time. June 14, 2013. สืบค้นเมื่อ July 3, 2013.
- ↑ "ももクロ : "音楽好き"の支持でポストAKBに急浮上? 群雄割拠のアイドルシーン" (ภาษาญี่ปุ่น). Mainichi Shimbun Digital. May 6, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ May 18, 2012.
- ↑ "Oricon reveals "Artist Total Sales Revenue" ranking for 2012". Tokyohive. December 20, 2012. สืบค้นเมื่อ August 5, 2013. – references Oricon article
- ↑ "Oricon 2013 Yearly Charts : Artist Total Sales". Tokyohive. December 16, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ August 26, 2014. – references Oricon article
- ↑ "Oricon unveils their Yearly Sales Rankings for 2015". aramajapan. December 21, 2015. สืบค้นเมื่อ December 26, 2015.
- ↑ "AKB48、女性グループ歴代1位 シングル総売上1178.7万枚". Oricon. January 6, 2012. สืบค้นเมื่อ January 6, 2012.
- ↑ 169.0 169.1 169.2 "【オリコン】AKB48、シングル総売上日本一3615.8万枚 秋元氏総売上は1億枚突破". Oricon Style. Oricon. December 9, 2015. สืบค้นเมื่อ December 25, 2015.
- ↑ "【オリコン】AKB48、35作連続1位&30作目ミリオン CD総売上5000万枚突破". Oricon. June 5, 2017. สืบค้นเมื่อ June 5, 2017.
- ↑ 171.0 171.1 "【オリコン】AKB48、10周年ベスト首位 女性グループ歴代1位の通算6作目". Oricon Style. Oricon. November 24, 2015. สืบค้นเมื่อ December 25, 2015.
- ↑ "シングル年間ランキング-ORICON STYLE ランキング". Oricon Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 22, 2011. สืบค้นเมื่อ July 17, 2011.
- ↑ "年間 CDシングルランキング 2011年度" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ February 1, 2017.
- ↑ "年間 CDシングルランキング 2012年度" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ February 1, 2017.
- ↑ "年間 CDシングルランキング 2013年度" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ February 1, 2017.
- ↑ "年間 CDシングルランキング 2014年度" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ February 1, 2017.
- ↑ "年間 CDシングルランキング 2015年度" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ February 1, 2017.
- ↑ "年間 CDシングルランキング 2016年度" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ February 1, 2017.
- ↑ "Oricon weekly (singles)". The Natsu Style. December 15, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ December 25, 2015.
- ↑ "22016年年間音楽ソフト売上動向発表 売上金額は約2,838億円、売上枚数は約1億652万枚【SoundScan Japan調べ】". Billboard Japan. 6Billboard Japan. January 25, 2016. สืบค้นเมื่อ January 27, 2016.
- ↑ "AKB48 is officially the world's biggest group". November 15, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 18, 2011. สืบค้นเมื่อ June 29, 2011.
- ↑ "AKB48's new Guinness World Record". Cinema Online. Yahoo! Singapore. March 7, 2012. สืบค้นเมื่อ May 10, 2012.
- ↑ "New postage stamp sheets feature AKB48". Japan Times. Yahoo! Singapore. November 25, 2011. สืบค้นเมื่อ May 10, 2012.
- ↑ 184.0 184.1 184.2 "Japan all-girl group ad 'encourages homosexuality'". Agence France-Presse. April 20, 2012. สืบค้นเมื่อ April 12, 2013.
- ↑ Yamaguchi, Mari (June 12, 2012). "AKB48: Japan's Massive Pop Music Sensation (VIDEOS)". Huffington Post. AP.
- ↑ Joyce, Andrew (December 28, 2011). "Japan Goes Gaga Over AKB48, a 92-Member Girl Group - WSJ.com". Online.wsj.com. สืบค้นเมื่อ April 25, 2013.
- ↑ "AKB48、ファン待望の名曲をチャリティーソングとして配信" (ภาษาญี่ปุ่น). Model Press, Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-11. สืบค้นเมื่อ March 1, 2013.
- ↑ "AKB48、2作連続"初日ミリオン" 初日売上歴代最高の104.6万枚" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ March 1, 2013.
- ↑ "AKB48's Post-Quake Support Song Sells 1 Million on 1st Day". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ March 1, 2013.
- ↑ "AKB48 charity efforts have raised 1.25 billion yen in donations". Tokyograph (based on articles by Oricon and Sankei sports). February 18, 2011. สืบค้นเมื่อ July 21, 2012.
- ↑ "AKB48 to distribute another charity song for free". tokyohive.com. March 1, 2013. สืบค้นเมื่อ January 1, 2014.
- ↑ "AKB48 & sister groups hold special performances at their theaters + the disaster areas". tokyohive.com. March 11, 2013. สืบค้นเมื่อ January 1, 2014.
- ↑ "JAPANESE IDOL GROUP AKB48 FOUNDER YASUSHI AKIMOTO ON CNN'S TALK ASIA – Press Releases – Turner Asia". Turner International Asia Pacific. มกราคม 12, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 26, 2012. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 5, 2012.
- ↑ "CNN.com – Transcripts – TALK ASIA – Interview with Japanese Music Producer Yasushi Akimoto". January 13, 2012. สืบค้นเมื่อ June 5, 2012.
- ↑ "スペシャルロングインタビュー: 秋元康「AKB48の秘密」". M girl. Matoi Publishing (2011 Spring/Summer). ISBN 9784905353027.
- ↑ To, Jeffrey (June 23, 2013). "The Truth Behind Heavy Rotation". Nihongogo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-15. สืบค้นเมื่อ 2018-01-08.
- ↑ "Japan girl group ad 'encourages homosexuality'". ninemsn.com.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 28, 2012.
- ↑ "AKB48の"口移し"CMに抗議殺到...「こんな品位の欠けるCMはやめてほしい」" (ภาษาญี่ปุ่น). Cinema Today. April 19, 2012. สืบค้นเมื่อ May 18, 2012.
- ↑ "AKB48 candy ad criticized for encouraging homosexuality". Japan Today. April 21, 2012. สืบค้นเมื่อ April 21, 2012.
- ↑ "Publisher apologizes for 'inappropriate' picture of Tomomi Kasai's breasts". January 18, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-07. สืบค้นเมื่อ April 17, 2013.
- ↑ "Japanese girl band star at centre of 'child porn' investigation after magazine used picture of her with boy touching her breasts". London: Daily Mail. January 23, 2013. สืบค้นเมื่อ April 17, 2013.
- ↑ "Young Magazine pulls 'inappropriate' AKB48 breast pic". The Tokyo Reporter. January 11, 2013. สืบค้นเมื่อ April 17, 2012.
- ↑ Mosbergen, Dominique (February 2, 2013). "Minami Minegishi, Japanese Pop Star, Shaves Head As Penance For Dating". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ April 2, 2013.
- ↑ "Japan's Lack of Romance: Is It Due to Idol Culture?". The Huffington Post. January 2, 2017. สืบค้นเมื่อ January 2, 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ญี่ปุ่น)