เหตุการณ์จิ้งคัง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เหตุการณ์จิ้งคัง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามระหว่าง ซ่ง และ จิน | |||||||||
แผนที่ไคเฟิง | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
ราชวงศ์ซ่งเหนือ | ราชวงศ์จิน | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
จักรพรรดิซ่งชินจง | จักรพรรดิจินไท่จง | ||||||||
กำลัง | |||||||||
การโจมตีครั้งที่1: 200,000 การโจมตีครั้งที่2: 70,000 |
การโจมตีครั้งที่1: 100,000 การโจมตีครั้งที่2: 150,000 | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
เชื้อพระวงศ์ซ่งเหนือถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย ราชวงศ์ซ่งเหนือล่มสลาย. | ไม่ทราบข้อมูล |
เหตุการณ์จิ้งคัง[1] เป็นส่วนหนึ่งของการรุกรานและอาชญากรรมสงครามที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1127 ระหว่างสงครามจิน-ซ่ง เมื่อกองกำลังของราชวงศ์จินที่นำโดยชาวนฺหวี่เจิน เข้าปิดล้อมและปล้นพระราชวังหลวงในเปี้ยนจิง (ปัจจุบันคือเมืองไคเฟิง) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือ กองกำลังจินจับจักรพรรดิซ่งเหนือองค์ปัจจุบันคือจักรพรรดิซ่งชินจง พร้อมด้วยพระราชบิดาอดีตจักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง และสมาชิกราชวงศ์หลายพระองค์ที่สืบสายพระโลหิตจากจักรพรรดิซ่งไท่จงและขุนนางจำนวนมากในราชสำนักซ่ง ชาวซ่งแห่งเปี้ยนจิงถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังหลังจากถูกบังคับให้จ่ายค่าไถ่จำนวนมหาศาลแก่จิน
เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นการล่มสลายของราชวงศ์ซ่งเหนือซึ่งแต่เดิมควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของจีน สมาชิกราชวงศ์ซ่งหลายพระองค์ โดยเฉพาะ เจ้าโก้ว (ต่อมาคือจักรพรรดิซ่งเกาจง) สามารถหนีลงไปทางตอนใต้ของจีน[2] ที่ซึ่งพวกเขาสถาปนาราชวงศ์ซ่งขึ้นใหม่ (รู้จักกันในประวัติศาสตร์ว่าราชวงศ์ซ่งใต้) ที่เมืองหลวงแห่งใหม่ หลินอัน (ปัจจุบันคือหางโจว) เหตุการณ์นี้ยังมีส่วนอย่างมากในการทำให้ทายาทของจักรพรรดิซ่งไท่จู่กลับสู่สายการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงแทนที่สายการสืบราชสันตติวงศ์ของจักรพรรดิซ่งไท่จง เนื่องจากลูกหลานของจักรพรรดิซ่งไท่จงส่วนใหญ่ถูกนำตัวไปที่จิน โดยจักรพรรดิเกาจง นับเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายในสายของจักรพรรดิไท่จง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Coblin, W. South (2002). "Migration History and Dialect Development in the Lower Yangtze Watershed". Bulletin of the School of Oriental and African Studies. 64 (3): 533. doi:10.1017/s0041977x02000320.
- ↑ Chaffee, John W. (1999). Branches of Heaven: A History of the Imperial Clan of Sung China. Vol. 183 of Harvard East Asian monographs (illustrated ed.). Harvard Univ Asia Center. p. 120. ISBN 0674080491. ISSN 0073-0483.