ข้ามไปเนื้อหา

เรย์แมน ออริจินส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรย์แมน ออริจินส์
ผู้พัฒนายูบิซอฟต์ มงเปอลีเย
ยูบิซอฟต์ ปารีส
ยูบิซอฟต์ กาซาบล็องกา
เฟรัลอินเตอร์แอกทีฟ (โอเอสเท็น)[1]
ผู้จัดจำหน่ายยูบิซอฟต์
เฟรัลอินเตอร์แอกทีฟ (โอเอสเท็น)
กำกับมีแชล อองเซล
เซบัสเตียง โมแร็ง
อำนวยการผลิตปีแยร์-อาร์โน ล็องแบร์
ออกแบบลอเร็นโซ อาวี
ฌูเลียง เชวาลิเยร์
รอแม็ง โกลด
อักแซล กุสซาดูซ์
โปรแกรมเมอร์ฟีลิป วีมงต์
ยูซรี ซาลาส์
ศิลปินเซลีน เตลิเยร์
เขียนบทแกเบรียล ชเรเจอร์
แต่งเพลงคริสต็อฟ เอคาล
บิลลี มาร์ติน
ชุดเรย์แมน
เอนจินยูบิอาร์ต เฟรมเวิร์ก
เครื่องเล่นไมโครซอฟท์ วินโดวส์
โอเอสเท็น
วี
เอกซ์บอกซ์ 360
เพลย์สเตชัน 3
เพลย์สเตชัน วิตา
นินเทนโด ทรีดีเอส
วางจำหน่าย
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011
แนวแพลตฟอร์ม
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

เรย์แมน ออริจินส์ (อังกฤษ: Rayman Origins) เป็นวิดีโอเกมแพลตฟอร์ม ค.ศ. 2011 ที่ได้รับการพัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทยูบิซอฟต์ โดยเป็นภาคหลักในซีรีส์เรย์แมน และเป็นตอนหลักครั้งแรกนับตั้งแต่เรย์แมน 3: ฮูดลัมแฮฟวัค เกมดังกล่าวได้รับการวางจำหน่ายในแพลตฟอร์มเพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 และวีทั่วโลก โดยมีการเปิดตัวเวอร์ชันเพลย์สเตชัน วิตา, นินเท็นโด ทรีดีเอส และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ในปีถัดมา[5] ส่วนเกมเวอร์ชันโอเอสเท็นได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2013 โดยบริษัทเฟรัลอินเตอร์แอกทีฟ[1] โดยมีเรื่องราวเดินตามตัวละครอย่างเรย์แมน, โกลบอกซ์ที่เป็นเพื่อนของเขา และทีนซีสองตน ขณะที่พวกเขาต่อสู้กับดาร์กตูนส์และสิ่งมีชีวิตชั่วร้ายอื่น ๆ ที่ติดเชื้อเกลดออฟดรีมส์

เรย์แมน ออริจินส์ ได้รับการยกย่องอย่างสูงในด้านรูปแบบกราฟิก, การออกแบบด่าน และอารมณ์ขัน แม้จะมีการตอบรับที่สำคัญ แต่เกมก็มียอดขายที่ซบเซาในช่วงเริ่มต้นของการเปิดตัว แต่สุดท้ายก็ขายดีและมีส่วนทำให้กำไรแก่บริษัท ส่วนเกมมือถือที่อิงจากภาคออริจินส์ ในชื่อเรย์แมน จังเกิล รัน ได้รับการพัฒนาโดยพาสตาเกมส์ และวางจำหน่ายสำหรับไอโอเอส, แอนดรอยด์ รวมถึงสำหรับวินโดวส์โฟน 8 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 นอกจากนี้ เรย์แมน เลเจนดส์ ซึ่งเป็นภาคต่อ ได้รับการเปิดตัวสำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์, เพลย์สเตชัน 3, เพลย์สเตชัน วิตา, วียู และเอกซ์บอกซ์ 360 ใน ค.ศ. 2013 โดยได้รับการสรรเสริญที่คล้ายคลึงกัน

รูปแบบการเล่น

[แก้]
รูปแบบการเล่นแบบร่วมมือกันของเรย์แมน ออริจินส์

เรย์แมน ออริจินส์ เป็นเกมแพลตฟอร์มเลื่อนด้านข้าง ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับเกมเรย์แมนแรกเริ่ม และเรย์แมน ออริจินส์ สามารถเล่นได้กับผู้เล่นในพื้นที่สูงสุดสี่คนซึ่งอาจเข้าหรือออกได้ทุกเมื่อ ผู้เล่นสามารถเลือกที่จะควบคุมเรย์แมน, โกลบอกซ์ หรือทีนซีสองตน โดยมีเครื่องแต่งกายเพิ่มเติมเมื่อเกมดำเนินไป[6]

ผู้เล่นต้องเดินทางผ่านแต่ละด่าน, ต่อสู้กับศัตรู และช่วยเหลือบรรดาอิเล็กตูนที่ถูกคุมขัง เมื่อเกมดำเนินไป ผู้เล่นจะได้รับความสามารถใหม่ ๆ เช่น วิ่งขึ้นกำแพง, ร่อนกลางอากาศ, ว่ายน้ำ และย่อขนาดเพื่อไปยังพื้นที่ใหม่ บางส่วนยังพบผู้เล่นขี่ยุงซึ่งผู้เล่นสามารถยิงศัตรู หรือสูด และยิงพวกมัน หากตัวละตรโดนศัตรูโจมตีหรือสิ่งที่เป็นอันตราย พวกเขาจะ "พองลม" หรือพองตัวเป็นบอลลูน หากต้องการออกจากสถานะนี้ ผู้เล่นคนอื่นสามารถตบหรือกระโดดเหยียบ ซึ่งคล้ายกับเกมนิวซูเปอร์มาริโอบราเธอส์วี นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถรวบรวมหัวใจที่จะปกป้องพวกเขาจากการถูกโจมตีเพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม หากผู้เล่นทุกคนพองลมพร้อม ๆ กัน หรือหากตัวละครถูกโจมตีระหว่างการเล่นเดี่ยว พวกเขาจะระเบิดและการเล่นจะกลับไปยังเช็กพอยต์ล่าสุด ในแต่ละด่าน ผู้เล่นสามารถเก็บสะสมลูมสีเหลืองซึ่งจำเป็นสำหรับเหล่าอิเล็กตูน เมื่อตัวละครเก็บลูมคิง ตัวลูมทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งลูมสีแดงมีค่าเท่ากับลูมสีเหลืองสองตัว[5][7] นอกจากนี้ ยังมีเหรียญหัวกะโหลกวางอยู่ในพื้นที่ที่ซ่อนอยู่หรือพื้นที่อันตราย พวกมันมีค่า 25 ลูมหากรวบรวมได้สำเร็จ หากผู้เล่นได้รับบาดเจ็บขณะรวบรวมเหรียญหัวกะโหลก พวกเขาจะสูญเสียมันไป ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้เล่นจะต้องพยายามอีกครั้งเพื่อได้เหรียญ

เพื่อดำเนินเนื้อเรื่องบางส่วน ผู้เล่นจำเป็นต้องปลดปล่อยเหล่าอิเล็กตูน วิธีที่พบมากที่สุดในการได้รับเหล่าอิเล็กตูนคือการปลดปล่อยพวกมันจากกรง โดยมีหนึ่งกรงที่ส่วนท้ายของแต่ละเลเวล ส่วนที่มีมากกว่าจะพบในพื้นที่ที่ซ่อนอยู่ และได้รับการคุ้มกันจากศัตรูหลายตัวที่ใช้สนามพลังเพื่อป้องกันกรง ทีมดังกล่าวจะต้องกำจัดศัตรูทุกตัวที่ใช้สนามพลัง จากนั้นกรงจะถูกทำลายโดยการโจมตี กรงส่วนใหญ่ซ่อนอยู่ในทางเดินลับ ดังนั้น เมื่อเหล่าอิเล็กตูนเป็นอิสระ พวกมันจะสร้างประตูใหญ่ที่นำไปสู่ด้านนอกของทางเดินเหล่านี้ แต่ละเลเวลจะมีเหรียญตราที่แสดงให้เห็นจำนวนความท้าทายของอิเล็กตูนที่ผู้เล่นทำสำเร็จ เช่น ทำลายกรงเดียว, รวบรวมลัมจำนวนหนึ่ง หรือเสร็จทันท่วงทีในขณะเสร็จสิ้นเลเวล โดยในทุกเลเวลมีกรงที่ซ่อนอยู่ตั้งแต่ 1 ถึง 3 กรง เกมนี้สามารถรับเหล่าอิเล็กตูนได้มากขึ้นโดยรวบรวมลัมจำนวนหนึ่งภายในเลเวลหนึ่ง และสะสางระยะเวลาทดลองที่จะปลดล็อกหลังจากเคยสะสางเลเวล ซึ่งการได้คะแนนสูงในการท้าทายเหล่านี้สามารถได้รับเหรียญตราและถ้วยรางวัล นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถปลดล็อกเลเวล 'หีบสมบัติ' พิเศษ ซึ่งพวกเขาจะต้องไล่ตามหีบสมบัติที่หลบหนีไปในเส้นทางอันตรายเพื่อรับฟันของกะโหลกศีรษะ[8] การให้ฟันครบทุกซี่จะทำให้เข้าถึงเลเวลโบนัสที่ชื่อเดอะแลนด์ออฟเดอะลิฟวิดเดด[9]

แม้ว่าเกมทุกเวอร์ชันจะเกือบจะเหมือนกันเนื่องจากเอนจินเกมมีความสามารถรอบตัวสูง แต่ก็มีความแตกต่างเล็กน้อยในแพลตฟอร์มต่าง ๆ เกมเวอร์ชันวีใช้ประโยชน์จากความสามารถรอบด้าน (แม้ว่าจะไม่ใช่การควบคุมการเคลื่อนไหว) ของวี รีโมต เพื่อมอบรูปแบบการควบคุมที่แตกต่างกันสามแบบ ในขณะที่เวอร์ชันนินเท็นโด ทรีดีเอส จะแสดงความคืบหน้าปัจจุบันของผู้เล่นระหว่างด่านใดด่านหนึ่งบนจอสัมผัส ส่วนเวอร์ชันเพลย์สเตชัน วิตา มีเนื้อหาเพิ่มเติมที่สามารถปลดล็อกได้ และผู้เล่นสามารถใช้จอสัมผัสเพื่อดำเนินการบางอย่างในเกมได้ ขณะที่เวอร์ชันเพลย์สเตชัน 3, เพลย์สเตชัน วิตา และเอกซ์บอกซ์ รองรับรางวัลความสำเร็จออนไลน์

โครงเรื่อง

[แก้]
เรย์แมน และเบทิลลา

ในตอนเริ่มเกม บับเบิลดรีมเมอร์, เรย์แมน, โกลบอกซ์ เพื่อนที่ดีของเขา และสมัครพรรคพวกทีนซีสองตน กำลังพักผ่อนอยู่ที่สนอริงทรี ซึ่งเป็นที่พักผ่อนของบับเบิลดรีมเมอร์ อย่างไรก็ตาม การนอนกรนของพวกเขา ด้วยความช่วยเหลือจากไมโครโฟนประหลาดที่ปลอมตัวให้ดูเหมือนดอกไม้ ได้รบกวนยายแก่จากเดอะแลนด์ออฟเดอะลิฟวิดเดด ซึ่งตอบโต้ด้วยการส่งกองทัพชั่วร้ายของสิ่งมีชีวิตที่น่ากลัวและเหล่าดาร์กตูนไปทั่วโลก เหล่าตัวละครเอกที่ตื่นขึ้นมาพยายามต่อสู้กลับ แต่พ่ายแพ้และถูกจับกุม เรย์แมนหลบหนี และพบว่าเหล่าดาร์กตูนได้จับเหล่าอิเล็กตูนที่อาศัยอยู่ในโลก โดยกักขังนิมฟ์ที่ชื่อเบทิลลาซึ่งเป็น "แม่" ของเขารวมถึงน้องสาวของเธอ และทำให้เดอะเกลดออฟดรีมส์ตกอยู่ในความโกลาหล สิ่งนี้ทำให้บับเบิลดรีมเมอร์เป็นบ้าและเป็นผลให้ฝันร้าย แล้วเรย์แมนและเพื่อนของเขาได้รับมอบหมายจากเดอะแมจิกเชียนให้รวบรวมเหล่าอิเล็กตูนให้เพียงพอ เพื่อรักษาบับเบิลดรีมเมอร์และฟิ้นฟูเดอะเกลด ความพยายามของพวกเขาในการค้นหาเหล่าอิเล็กตูนทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงดินแดนต่าง ๆ ของเดอะเกลด และช่วยเหลือเหล่านิมฟ์ไปพร้อมกัน

ในที่สุดพวกเขาก็เดินไปที่ประตูลึกลับ ซึ่งสามารถเปิดได้โดยการช่วยเหลือเหล่าเกลดคิง ที่ได้กลายเป็นมอนสเตอร์อันเป็นผลมาจากฝันร้ายของบับเบิลดรีมเมอร์ เมื่อปลดปล่อยเกลดคิงส์ให้เป็นอิสระ เหล่านิมฟ์สามารถเปิดประตูดวงดาวได้ ทำให้เรย์แมนสามารถเข้าถึงที่ซ่อนในดินแดนแห่งมูดีคลาวส์ ที่นั่น พวกเขาได้ค้นพบว่าเพื่อนที่ควรจะเป็นของพวกเขา ซึ่งคือเดอะแมจิกเชียน เป็นตัวตั้งตัวตีต่อความโกลาหลทั้งหมด เขาแอบเลื่อมใส มร. ดาร์ก[10] ซึ่งเป็นตัวร้ายของเรย์แมนภาคแรก และอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ที่ทำให้กองกำลังเดอะแลนด์ออฟเดอะลิฟวิดเดดและเหล่าไนต์แมร์เข้าโจมตี โดยแกล้งอยู่ข้างเหล่าตัวละครเอก รวมถึงใช้บรรดาลูมที่พวกเขามอบให้แก่พลัง และใช้เครื่องจักรที่โหดร้ายของเขา จากนั้น เดอะแมจิกเชียนก็ส่งเรย์แมนและเพื่อน ๆ ไปที่หลุมพรางพร้อมกับเหล่ามอนสเตอร์จักรกลของเขา แต่พวกเขาก็หลบหนีและกลับไปที่ที่ทำการของเขา แล้วเดอะแมจิกเชียนก็เริ่มเต้นและส่งพวกเขาเข้าสู่การเต้นพื้น ๆ โดยใช้จังหวะนี้เป็นเวลาที่ดีในการหลบหนี เหล่าตัวละครเอกไล่ตามและต่อสู้กับเดอะแมจิกเชียนในเรือบินหลบหนีของเขา โดยส่งมันกระแทกเข้ากับแหล่งพลังงานของที่ซ่อนของเขา เหตุการณ์ที่ตามมาทำให้ที่หลบภัยระเบิด ขณะที่เรย์แมนและเพื่อน ๆ ตกในแนวดิ่งกลับไปที่สนอริงทรี ซึ่งพวกเขากลับไปพักผ่อนต่อ

หากผู้เล่นเก็บฟันทับทิมทั้งสิบซี่ได้ตลอดทั้งเกม พวกเขาจะสามารถเข้าถึงเดอะแลนด์ออฟเดอะลิฟวิดเดด ซึ่งมีมอนสเตอร์อีกตัวหนึ่งชื่อบิกมามารออยู่ เมื่อมันพ่ายแพ้ ก็มีการเปิดเผยว่ามันเป็นนางไม้แห่งเดอะแลนด์ออฟเดอะลิฟวิดเดด และกลายเป็นไนต์แมร์ตัวหนึ่งเพราะดาร์กตูน จากนั้นเธอก็ขอบคุณผู้ช่วยชีวิตที่ได้ปลดปล่อยเธอ

การพัฒนา

[แก้]

เกมดังกล่าวได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในตอนท้ายของงานแถลงข่าวอิเล็กทรอนิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์เอ็กซ์โป 2010 ของบริษัทยูบิซอฟต์ โดยเป็นเอพพิโซดที่ดาวน์โหลดได้[11] สำหรับเพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์ก และเอกซ์บอกซ์ไลฟ์อาร์เคด พร้อมวางจำหน่ายสำหรับพีซี, นินเทนโด ทรีดีเอส, ไอแพด และไอโฟน ซึ่ง "กำลังได้รับการพิจารณา"[12] โดยเอพพิโซดเดิมจะเปิดตัวภายในสิ้น ค.ศ. 2010 แต่ได้ล่าช้าไปจนถึง ค.ศ. 2011[13][14] และหลังจากการแจ้งให้ทราบไม่เพียงพอในช่วงปีใหม่ โครงการนี้ได้รับการยืนยันว่ายังคงอยู่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2011[15] กระทั่งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 มีการประกาศว่าเกมดังกล่าวได้รับการขยายเป็นเกมขายปลีกเต็มรูปแบบ โดยมีการเปิดตัวเบื้องต้นในไตรมาสที่ 4 ค.ศ. 2011[16]

เกมดังกล่าวเป็นเกมแรกที่ใช้ยูบิอาร์ต เฟรมเวิร์ก ซึ่งเป็นเอนจินกราฟิกภายในองค์กรที่ช่วยให้เหล่าศิลปินสามารถสร้างเนื้อหาได้อย่างง่ายดายแล้วใช้ในสภาพแวดล้อมแบบโต้ตอบ ฝ่ายศิลปินเพียงแค่ต้องวางท่าโมเดลและแก้ไขภาพเงา เนื่องจากซอฟต์แวร์จะดูแลการบิดเบือนของภาพโดยอัตโนมัติ จุดมุ่งหมายหลักของเอนจินนี้คือเพื่อให้ฝ่ายศิลปินและนักออกแบบมุ่งความสนใจไปที่งานศิลปะโดยไม่ต้องกังวลกับด้านเทคนิคในการพัฒนาเกม[6] ตามที่อีฟว์ กีเยอโมต์ กล่าวไว้ คือมีเพียงห้าคนที่ทำงานในเกมนี้เมื่อมีการประกาศครั้งแรก[17] โดยบริษัทยูบิซอฟต์ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสซึ่งอุทิศให้แก่การสนับสนุนศิลปะเพื่อพัฒนาเครื่องมือยูบิอาร์ต[6] เอนจินดังกล่าวได้รับการปรับให้เหมาะสมสำหรับความละเอียดความคมชัดสูง ทำให้เกมนี้สามารถดำเนินการในรูปแบบความคมชัดสูง 1080พี เต็มรูปแบบ ที่ 60 เฟรมต่อวินาที โดยเวอร์ชันทรีดีเอสดำเนินการที่ 30 เฟรมต่อวินาที[18] เอนจินนี้ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมสำหรับเกมเรย์แมน เลเจนดส์ ที่ประกอบด้วยแสงแบบไดนามิกและการบูรณาการโมเดล 3 มิติ[19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Feral Interactive: Rayman Origins release announcement". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 16, 2013. สืบค้นเมื่อ December 16, 2013.
  2. "Rayman Origins announced for PC". New Game Network. January 26, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2012. สืบค้นเมื่อ January 26, 2012.
  3. "Steam 上的 Rayman® Origins". Steam. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-10-19.
  4. "Rayman Origins: nintendo 3ds: Video Games". Amazon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 30, 2020. สืบค้นเมื่อ 2012-07-20.
  5. 5.0 5.1 Régis Déprez. "Rayman Origins coming to the Vita 3DS, Wii, Xbox 360 and PS3". Gamekyo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2011. สืบค้นเมื่อ June 11, 2011.
  6. 6.0 6.1 6.2 Game Informer, Issue 218, June 2011
  7. Mark Walton. "Rayman Origins Exclusive First Look Preview". Gamespot UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ สิงหาคม 12, 2011.
  8. "Rayman Origins – Full Access Preview, Rayman Origins Xbox 360 Features". GamesRadar. October 26, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2016. สืบค้นเมื่อ November 28, 2011.
  9. "Rayman Origins Video Game, UK 10 Ways To Beat The Game Trailer HD | Video Clip | Game Trailers & Videos". GameTrailers.com. November 18, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2011. สืบค้นเมื่อ November 28, 2011.
  10. Shrager, Gabrielle (January 17, 2012). "Gabrielle Shrager Facebook Conversation". Rayman Pirate-Community. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 28, 2012. สืบค้นเมื่อ February 8, 2012.
  11. "Ubisoft announces Rayman Origins". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 24, 2010.
  12. "Rayman Legends | Ubisoft (US)". www.ubisoft.com.
  13. Tom Magrino. "Rayman Origins zapping holiday 2010". GameSpot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2010. สืบค้นเมื่อ July 6, 2010.
  14. Ludwig Kietzmann. "Rayman Origins a no-show for holiday 2010". Joystiq. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2010. สืบค้นเมื่อ December 23, 2010.
  15. "Rayman Origins to be 'a big event,' Ubisoft CEO says". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2011. สืบค้นเมื่อ April 24, 2011.
  16. "Rayman Origins now a retail game". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2011. สืบค้นเมื่อ May 6, 2011.
  17. Fletcher, JC (July 6, 2010). "Rayman Origins slapped on XBLA, PSN this Christmas, other platforms possible". Joystiq.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2011. สืบค้นเมื่อ November 28, 2011.
  18. in development (June 14, 2010). "Ubiart's blog » Blog Archive » About the things we use in UbiArt Framework". Ubi-art.uk.ubi.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 8, 2021. สืบค้นเมื่อ November 28, 2011.
  19. Warr, Philippa (August 20, 2013). "Interview: Rayman Legends 'richer and bigger' thanks to delayed release (Wired UK)". Wired.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2013. สืบค้นเมื่อ September 30, 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]