ข้ามไปเนื้อหา

เบนจา อะปัญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบนจา อะปัญ
เบนจาขณะปราศรัยในการชุมนุมที่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564
เกิดเบญจมาพร อะปัญ
พ.ศ. 2542 (อายุ 26 ปี)
อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
ชื่ออื่นแพรว
อาชีพ
  • นักศึกษา
  • นักเคลื่อนไหว
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2563–ปัจจุบัน
มีชื่อเสียงจากแกนนำการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564
ขบวนการแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม

เบนจา อะปัญ (ชื่อเกิด: เบญจมาพร อะปัญ; เกิด พ.ศ. 2542) ชื่อเล่น แพรว เป็นนักศึกษาและนักเคลื่อนไหวชาวไทย หนึ่งในผู้นำของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมที่เริ่มต้นการเคลื่อนไหวปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ตั้งแต่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ทลายเพดานการเคลื่อนไหวแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง ภายหลังเบนจาได้กลายเป็นผู้นำคนสำคัญของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมใน พ.ศ. 2564

ในช่วงการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 เบนจาเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้จัดการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทยเพื่อกดดันพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งขณะนั้นอาศัยอยู่ที่ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีผู้ร่วมชุมนุมมากกว่า 10,000 คน ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 เบนจาได้เป็นผู้นำการชุมนุมของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมแบบ 'คาร์ม็อบ' เพื่อประท้วงในเรื่องการจัดการวัคซีนที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างเชื่อมโยงกับพระมหากษัตริย์ การปราศรัยในวันนั้นทำให้วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564 สถานีตำรวจนครบาลทองหล่อจับกุมเบนจาโดยไม่ได้ออกหมายเรียก จากข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112) ซึ่งศาลไม่ให้ประกันตัว ทำให้เบนจาถูกคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลางโดยอยู่ในเรือนจำเป็นเวลาทั้งหมด 100 วัน ก่อนได้รับการประกันตัวและปล่อยตัวชั่วคราวในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2565

ชีวิตในช่วงแรก

[แก้]

เบนจา อะปัญ เกิดและโตที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เข้าเรียนที่ระดับประถมที่โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา เข้าเรียนระดับมัธยมต้นที่โรงเรียนสุรนารีวิทยา เบนจาไม่ได้สนใจการเมืองตั้งแต่แรกเนื่องจากสมาชิกในครอบครัวนิยมเจ้า แต่เมื่อได้เข้ามาศึกษาต่อระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เบนจาได้ทำกิจกรรมโรงเรียน และสนใจการเมืองตั้งแต่ตอนนั้น ซึ่งได้รู้จักกับนักกิจกรรมทางการเมืองคนสำคัญคือพริษฐ์ ชิวารักษ์ตั้งแต่ตอนนั้น[1]

เบนจาสนใจการศึกษาอวกาศและอุตสาหกรรมอวกาศ รวมถึงอยากเป็นนักบินอวกาศตั้งแต่เด็ก[2] เนื่องจากเบนจาอยากทำงานด้านอวกาศซึ่งในประเทศไทยยังไม่พัฒนาเรื่องนี้ จึงได้เปลี่ยนชื่อจากเบญจมาพรเป็นเบนจาเพื่อให้ง่ายต่อการเรียกชื่อเวลาได้ไปทำงานในระดับนานาชาติ[1]

การเคลื่อนไหวทางการเมือง

[แก้]

เบนจา อะปัญ เข้าเรียนที่ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อศึกษาด้านวิศวกรรม.[2] ซึ่งทำให้ได้เข้าร่วมกับแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เคลื่อนไหวปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ตั้งแต่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ทลายเพดานการเคลื่อนไหวแบบเดิมอย่างสิ้นเชิงกับแกนนำอย่างปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุลและเพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์[3]

ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ในขณะที่แกนนำการเคลื่อนไหวการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2565 อานนท์ นำภายังไม่ได้รับการปล่อยตัว เบนจาได้เป็นหนึ่งในผู้นำการเคลื่อนขบวนประท้วงในหน้าสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทย เพื่อกดดันพระมหากษัตริย์ที่กำลังอาศัยอยู่ในประเทศเยอรมัน[4] การประท้วงนี้มีคนเข้าร่วมกว่า 10,000 คน จากการสังเกตของ Nikkei Asia[5] 3 วันให้หลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจทุ่งมหาเมฆได้ฟ้องเบนจาและแกนนำวันนั้นเช่น มายด์ ภัสราวลี ด้วยข้อหายุยงปลุกปั่น[6]

เบนจาเริ่มต้นการปราศรัยครั้งแรกที่ม็อบตุ้งติ้ง2 ที่สีลม ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ในเรื่องการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศในวงการวิทยาศาสตร์[7]

วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564 เบนจาได้ไปประท้วงถือป้าย "ผูกขาดวัคซีน หาซีนให้เจ้า" ที่ไอคอนสยาม ศูนย์การค้าที่สยามพิวรรธน์ (ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น) และเครือซีพีเป็นเจ้าของ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยที่เป็นเจ้าของบริษัทสยามไบโอไซน์ที่ผลิตวัคซีน เบนจาถูกคุกคามและทำร้ายโดยเจ้าหน้าที่ของไอคอนสยาม ทำให้ได้รับความสนใจจากสื่อ[8][9]

วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564 เบนจาและกลุ่มนักเรียนนักศึกษาไปประท้วงที่หน้าศาลอาญาเพื่อส่งจดหมายเรียกร้องการประกันตัวนักเคลื่อนไหวที่กำลังอดอาหารในเรือนจำ เช่น พริษฐ์ โดยนำเอกสารที่ล่ารายชื่อผู้สนับสนุนกว่า 10,000 ชื่อ แนบมาด้วย เบนจาได้เรียกร้องให้ ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาที่ไม่ให้ประกันตัว ปล่อยตัวนักเคลื่อนไหวออกมา เบนจาได้โปรยกระดาษที่มีรายชื่อนั้นบนบันไดหน้าศาล และกล่าวว่านักศึกษาไม่ใช่ภัยความมั่นคงแต่อย่างใด แต่อยากที่จะพัฒนาสังคมไทยและสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้กฎหมาย [10]

เบนจานำแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯจัดคาร์ม็อบที่แยกราชประสงค์ขึ้นในวันที่ 10 สิงหาคม และเคลื่อนขบวนไปหน้าอาคารซิโนไทยของรองนายกรัฐมนตรีอนุทิน ชาญวีรกูล และได้ปราศรัยเกี่ยวกับการจัดการวัคซีนของนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชาที่เอื้อให้กับนายทุนโครงสร้างของเขาเอง ซึ่งกล่าวโยงไปถึงพระมหากษัตริย์[11]

เบนจาถูกจับกุมในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ในข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ในประเด็นการปราศรัยเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์วันที่ 10 สิงหาคม และไม่ได้รับการประกันตัวอีกครั้ง ด้วยเนื่องจากผิดเงื่อนไขในการประกันตัว จากการได้รับประกันตัวก่อนหน้านี้ จึงถูกนำตัวคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง[12] จนกระทั่งได้รับการประกันตัวและปล่อยตัวชั่วคราวในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยรวมเป็นระยะเวลาทั้งหมด 100 วันในเรือนจำ โดยใช้เงินประกันตัวรวมทั้งหมดสองคดี 200,000 บาทจา​กกองทุนราษฎรประสงค์[13] ศาลสั่งเบนจาให้ใส่กำไลอิเล็กทรอนิกส์ ให้อยู่ในเคหสถานตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 6 โมงเช้า และห้ามออกนอกประเทศหากศาลไม่อนุญาต[14]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "28มค.64 เบนจาคือใคร? ทำไมตบน้อง?" [who is Benja? who slapped her?]. Youtube. Friends Talk. 28 January 2021.
  2. 2.0 2.1 ""เบนจา อะปัญ" : วันหนึ่งแสงดาวจะส่องพราวบนฟ้าไทย" [Benja Apan: one day stars will shine on Thailand's sky]. www.amnesty.or.th.
  3. "Thailand protests: Risking it all to challenge the monarchy". BBC News. 14 August 2020.
  4. "Thai protesters, 'human beings, not dust', march in challenge to king". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 26 October 2020.
  5. "Thailand protesters query German embassy on absent king". Nikkei Asia. 26 October 2020.
  6. "Police to summon embassy protesters". Bangkok Post. 29 October 2020.
  7. "#ม็อบตุ้งติ้ง2 เดินขบวน 'ไพร่พาเหรด' จากแยกสามย่านไปยังสีลม เพื่อส่งเสียงเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศ". The MATTER. 8 November 2020.
  8. "Mall security guard slaps activist during symbolic action". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). 21 January 2021.
  9. "Iconsiam 'sorry' for guard's assault on student protester". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 20 January 2021.
  10. "7 activists denied bail once again; student hunger striker in declining health". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). 29 April 2021.
  11. "Student movement organizes Car Mob demanding political and monarchy reform". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). 11 August 2021.
  12. "Student activist arrested, denied bail on royal defamation charge". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). 7 October 2021.
  13. "กองทุนราษฎรประสงค์". Facebook. สืบค้นเมื่อ 15 January 2022.
  14. "Bail approved for student activist Benja". Bangkok Post. 14 January 2022.