เนยขาว
หน้าตา
เนยขาว หรือ shortening เป็นไขมันพืชที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนลงในส่วนที่ไม่อิ่มตัวของกรดไขมัน ทำให้เปลี่ยนสถานะจากของเหลว (น้ำมัน) เป็นกึ่งของแข็ง มีจุดเกิดควัน (smoke point) สูงกว่าเนยและมาร์การีน และยังมีส่วนประกอบเป็นไขมันร้อยละ 100[1] สูงกว่าเนยที่มีเพียงประมาณร้อยละ 80–88[2]
เนยขาวถูกผลิตจำหน่ายเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1911 โดยบริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิลในสหรัฐ ใช้ชื่อตราสินค้าว่า คริสโก (Crisco) ซึ่งเป็นคำที่แปลงมาจากวลี ""crystallized cottonseed oil"[3]
คุณสมบัติ
[แก้]- มีคุณสมบัติคล้ายเนยและมันหมู แต่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า
- ไม่จำเป็นต้องแช่เย็น จึงเก็บได้สะดวกและทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บต่ำ
- อาหารที่ใช้เนยขาวเก็บได้นานกว่าใช้เนยสด
ข้อเสีย
[แก้]- มีไขมันทรานส์ (trans fats) เมื่อรับประทานจะเป็นเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายประการ[4] ไขมันทรานส์นี้เกิดขึ้นจากกระบวนการไฮโดรจีเนชัน
การนำไปใช้
[แก้]- ใช้ในขนมอบเพื่อให้ได้ลักษณะร่วน หรือใช้แทนไขมัน เช่นเนยและมันหมู ที่มีสถานะเป็นของแข็งในอุณหภูมิห้อง
- เติมสีผสมอาหารสีเหลือง กลิ่น และส่วนผสมอื่น ๆ เรียกเป็นมาร์การีน สำหรับใช้ทาขนมปัง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Shortening, vegetable, nutrients". FoodData Central. USDA Agricultural Research Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2020.
- ↑ "Butter, stick, salted, nutrients". FoodData Central. USDA Agricultural Research Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2020.
- ↑ Jackson & List (2007). "Giants of the Past: The Battle Over Hydrogenation (1903-1920)", Inform 18.
- ↑ Menaa F, Menaa A, Menaa B, Tréton J (มิถุนายน 2013). "Trans-fatty acids, dangerous bonds for health? A background review paper of their use, consumption, health implications and regulation in France". European Journal of Nutrition. 52 (4): 1289–302. doi:10.1007/s00394-012-0484-4. PMID 23269652. S2CID 206968361.